หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดมวยไทย

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-GHCJ-087A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดมวยไทย

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ชี้ขาดมวยไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเฉพาะทาง ผู้ทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันมวยไทยอย่างเข้มงวดถูกต้องตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี  ตามรูปแบบวิชาชีพ  เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียดด้านการเตรียมตัวก่อนระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่  ใช้กติกามวยไทยมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ให้เกิดความยุติธรรมกับนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้าง การแข่งขันให้เกิดความปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้  รู้ชนะ  รู้อภัย  ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่าย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย  ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ระดับขั้นต้น ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด กีฬามวยไทยสมัครเล่น  กีฬามวยไทยอาชีพ กีฬามวยสากลสมัครเล่น กีฬามวยสากลอาชีพ  และกีฬาต่อสู้

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  (ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564)  รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X11.11

รักษาการเคลื่อนที่และระยะห่างของผู้ชี้ขาดบนเวที

1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน

X11.11.01 158921
X11.11

รักษาการเคลื่อนที่และระยะห่างของผู้ชี้ขาดบนเวที

2. ผู้ชี้ขาดต้อง เคลื่อนที่ระหว่างนักมวยแข่งขันได้ เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติมหรือบอบซ้ำเกินควร

X11.11.02 158922
X11.12

ทำการชี้ขาดบนเวที

1. ตรวจสภาพความพร้อมก่อนการแข่งขัน

X11.12.01 158923
X11.12

ทำการชี้ขาดบนเวที

2. ป้องกันนักมวยไม่ให้ได้รับการบาดเจ็บ

X11.12.02 158924
X11.12

ทำการชี้ขาดบนเวที

3. ควบคุมนักมวยปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด

X11.12.03 158925
X11.12

ทำการชี้ขาดบนเวที

4. ใช้เสียงและแสดงสัญญาณมือ เตือนนักมวย

X11.12.04 158926
X11.12

ทำการชี้ขาดบนเวที

5. นับและเตือนตามแนวปฏิบัติบนเวที

X11.12.05 158927
X11.13

ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด

1. ยุติการแข่งขันตามกติกา 

X11.13.01 158928
X11.13

ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด

2. หยุดการแข่งขันตามกติกา 

X11.13.02 158929
X11.13

ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด

3. เตือนและตัดคะแนนผู้ทำผิดกติกา 

X11.13.03 158930
X11.13

ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด

4. ตัดสินชี้ขาดเมื่อนักมวยตกเวที

X11.13.04 158931
X11.14

ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งต่อไปได้

1. ประเมินผลเพื่อปรับปรุงด้านความรู้ กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้สัญญาณมือ

X11.14.01 158932
X11.14

ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งต่อไปได้

2. ประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย

X11.14.02 158933
X11.15

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเวที

1. แก้ปัญหานักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทย จนได้รับบาดเจ็บ

X11.15.01 158934
X11.15

แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเวที

2. แก้ปัญหายุติการแข่งขัน

X11.15.02 158935

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องการแข่งขันมวยไทย  กติกามวยไทย และทักษะการเป็นผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดกีฬามวย กีฬาการต่อสู้ ที่จัดการแข่งขันคล้ายการแข่งขันมวย  การทำหน้าที่ผู้ตัดสิน  ( ผู้ให้คะแนน )


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน



2. ผู้ชี้ขาดจะต้อง เคลื่อนที่อ้อมหลังนักมวย   เคลื่อนที่ไม่อยู่ในมุมอับ เคลื่อนที่เข้ารับศีรษะนักมวยได้ทัน เมื่อนักมวยล้มลง เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติม



3. ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้เสียงออกคำสั่งให้ดัง ให้นักมวยทั้งสองคนได้ยินชัดเจน สามารถปฏิบัติตามได้



4. ระมัดระวังดูแล และป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำ เกินความจำเป็น



5. รักษากติกาและความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด



6. ควบคุมการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทุกระยะ



7. ตรวจนวม เครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวย



8.  ใช้คำสั่ง 3 คำ คือ “หยุด” เมื่อสั่งให้นักมวยหยุดชก



“แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากกัน กรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่ง



“แยก” นักมวยทั้งสองต้องถอยหลังออกมาอย่างน้อย 1 ก้าว



“ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชก



9. แสดงสัญญาณที่ถูกต้องเพื่อให้นักมวยที่ทำผิดกติกาทราบถึงความผิด



10. เมื่อมีการทำผิดกติกาจนผู้ชี้ขาดปรับนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายแพ้ หรือยุติการแข่งขัน หลังจากประกาศให้ผู้ชมทราบแล้วจะต้องแจ้งเหตุผลให้ประธานผู้ตัดสินทราบ



11.  ไม่ปล่อยให้นักมวยที่ทำผิดกติกาเป็นฝ่ายได้เปรียบ เช่น จับเชือกเตะ จับเชือกตีเข่า เป็นต้น



12.  ไม่กระทำการใด ๆ ที่ให้คุณให้โทษ แก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า - นับเร็ว เตือน – ไม่เตือน เป็นต้น อันมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ



13. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ต้องรวบรวมใบบันทึกคะแนนของผู้ให้คะแนนทั้ง 3 คน ชี้มุมผู้ชนะตามคะแนนเสียงข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น ในกรณีเสมอให้ผู้ชี้ขาดชูมือนักมวยทั้งคู่ขึ้นพร้อมกัน แล้วนำใบบันทึกคะแนนทั้งหมดให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ



14. ไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือให้สัมภาษณ์ถึงผลการแข่งขันที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน



15. ผู้ชี้ขาดปฏิบัติการนับนักมวยเมื่อ ถูกอาวุธคู่ต่อสู้ล้มลง



16. ผู้ชี้ขาดสั่ง หยุด เตือนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้



17. ผู้ชี้ขาดตัดคะแนนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะความไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา



18. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจปรับให้แพ้ กรณีที่นักมวยออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้จนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำการแข่งขันได้



19. ผู้ชี้ขาดต้องเร่งนักมวยให้ชกกัน ให้สนุกสนานถูกต้องตามกติกามวยไทย



20. ปฏิบัติ หน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ



21. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์อาวุธมวยไทยที่เป็นคะแนนเข้าเป้าตามเป้าหมายมีความหนักหน่วงรุนแรง จนสามารถทำให้บาดเจ็บ



22.ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับบาดแผลแตก ที่เป็นอันตรายกับนักมวยและเชิญแพทย์สนามเพื่อดูบาดแผล



23. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ตัดสินใจยุติการแข่งขันเพื่อป้องกันไม่ให้นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับความบอบซ้ำเกินความจำเป็น



24.ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดให้เข้ากับบริบทของความรู้กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาณมือ (ผู้ประเมินหรือหัวหน้าผู้ชี้ขาด)

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก A)



2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก B)


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นผู้ตัดสินในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ สมุดประจำตัวผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารการผ่านการฝึกอบรม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง



2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่บนเวที ไม่น้อยกว่า 5 คู่



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้อง ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์  ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่จริงอย่างน้อย  5  คู่  



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ผลการทดสอบรวมทั้ง 4 ส่วนต้องผ่านไม่น้อยกว่า 70 %



2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ชี้ขาด (Referee) เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวด  เพื่อให้นักมวยแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น ตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ ควบคุมนักมวยไม่ให้กระทำผิดกติกา ซ้ำเติมคู่ต่อสู้  ผู้ชี้ขาดจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องตามอาวุธแม่ไม้มวยไทย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย




  • คำแนะนำ    



สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาด มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  มาแล้วไม่น้อยกว่า  15  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ประเมินผู้ชี้ขาด



สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  มีดรรชนีมวลกายที่เหมาะสมตามมาตรฐาน  ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย  การปฏิบัติหน้าที่บนเวที  การใช้คำสั่ง  สัญญาณมือ  ระดับน้ำเสียง  การเตือน  การตัดคะแนน  การใช้ไหวพริบในการปฏิบัติหน้าที่ การตัดสินใจ  การควบคุมการแข่งขัน และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล



2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน



3. ผู้ชี้ขาด (Referee) หมายถึงผู้ทาหน้าที่ตัดสินบนเวทีและควบคุมการแข่งขันกีฬาอย่างเข้มงวดถูกต้องยุติธรรมเพื่อให้การแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและจุดมุ่งหมายของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี การเป็นผู้ชี้ขาดมีส่วนผลักดันในการยกระดับมาตรฐานการแข่งขันให้สูงขึ้น เนื่องการผู้ชี้ขาด ทาให้นักมวยจาเป็นต้องปฏิบัติตามกติกา เคารพต่อกติกาการแข่งขันเพื่อเป้าหมายของการแข่งขัน รวมถึงมีส่วนทาให้นักมวยต้องทาความเข้าใจในกติกาการแข่งขัน ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน เพื่อทาให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันที่เป็นกรอบและขอบเขตของการประพฤติและปฏิบัติตน ในขณะทาการแข่งขันมวยไทยได้อย่างถูกต้อง ผู้ชี้ขาดที่ดีต้องมีความสามารถในการตีความหมายเนื้อหาหรือข้อความในกติกาให้มีความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และต้องติดตามศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกติกา อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจาได้อย่างแม่นยา การตัดสินกีฬามวยไทยที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้นผู้ชี้ขาดจาเป็นต้องนากติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสมดารงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย



           4. ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หมายถึง ผู้มีส่วนร่วมในการแข่งขันซึ่งประกอบด้วย นักมวย พี่เลี้ยง หัวหน้าค่ายมวย ผู้จัดการนักมวย พ่อ แม่ของนักมวย 



           รวมถึงผู้จัดรายการแข่งขัน (โปรโมเตอร์)


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. ทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียน



2. ทดสอบภาคปฏิบัติ



3. การสัมภาษณ์



ยินดีต้อนรับ