หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

พัฒนาการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดในการจัดการแข่งขัน

สาขาวิชาชีพการกีฬา


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ SPT-FKIR-088A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ พัฒนาการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดในการจัดการแข่งขัน

3. ทบทวนครั้งที่ /

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ชี้ขาดมวยไทย



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเฉพาะทาง และเทคนิคในการปฏิบัติ มีกระบวนการคิดและปฏิบัติที่หลากหลาย ผู้ทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันกีฬามวยไทยอย่างเข้มงวดถูกต้องตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น มีไหวพริบในแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานในหน้าที่ได้อย่างฉับพลัน ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี  เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียดด้านการเตรียมตัวก่อนระหว่างการ  ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวที ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ประยุกต์ใช้กติกามวยไทยมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด สามารถสร้างแรงจูงใจที่สอดคล้องเหมาะสมกับสถานการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามรูปแบบวิชาชีพ  สามารถวิเคราะห์สภาพ แวดล้อม ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ให้เกิดความยุติธรรมกับนักมวยทั้งสองฝ่าย ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ ยกระดับการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดสู่ความเป็นเลิศ ควบคุมการแข่งขันให้เกิดความปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจำได้อย่างแม่นยำ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ชี้ขาดมวยไทยและผู้ตัดสิน  กีฬามวยไทยสมัครเล่น     กีฬามวยไทยอาชีพ   กีฬามวยสากลสมัครเล่น  กีฬามวยสากลอาชีพ   และกีฬาที่แข่งขันกีฬามวยประยุกต์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
พ.ร.บ. กีฬามวย  พ.ศ. 2542  ( ปรับปรุงแก้ไข  พ.ศ. 2564 ) รายละเอียดในภาคผนวก  B

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
X11.21

จัดการแข่งขันมวยไทยได้หลากหลายรูปแบบ

1. จัดการแข่งขันมวยไทยรอบ มวยไทยมาตรฐาน

X11.21.01 158939
X11.21

จัดการแข่งขันมวยไทยได้หลากหลายรูปแบบ

2. จัดการแข่งขันมวยไทยคาดเชือก มวยไทยประยุกต์

X11.21.02 158940
X11.22

ถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นผู้ชี้ขาด

1. ทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวทีตามขั้นตอน 

X11.22.01 158949
X11.22

ถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นผู้ชี้ขาด

2. ใช้เสียงออกคำสั่งให้นักมวยทั้งสองคนได้ยินชัดเจน  

X11.22.02 158950
X11.22

ถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นผู้ชี้ขาด

3. ควบคุมให้นักมวยปฏิบัติตามกติกาอย่างเคร่งครัด 

X11.22.03 158951
X11.22

ถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นผู้ชี้ขาด

4. แสดงสัญญาณที่ถูกต้องระหว่างการชี้ขาด

X11.22.04 158952
X11.22

ถ่ายทอดองค์ความรู้ การเป็นผู้ชี้ขาด

5. ปฎิบัติหน้าที่ด้วยความยุติธรรม ตามกฎ กติกา

X11.22.05 158953
X11.23

จัดผู้ชี้ขาดลงปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละรายการแข่งขัน

1.    จัดผู้ชี้ขาดลงปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันตามความสามารถของผู้ชี้ขาด

X11.23.01 158954
X11.23

จัดผู้ชี้ขาดลงปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันแต่ละรายการแข่งขัน

2. จัดผู้ชี้ขาดลงปฏิบัติหน้าที่ในการแข่งขันตามลำดับความสำคัญของคู่นักมวย

X11.23.02 158955
X11.24

รวบรวบรวมผลการแข่งขัน

1. รวบรวมผลการแข่งขันในแต่ละคู่

X11.24.01 158962
X11.24

รวบรวบรวมผลการแข่งขัน

2. รวบรวมผลการแข่งขันในแต่ละยก

X11.24.02 158963

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

ความรู้เรื่องการแข่งขันมวยไทย  กติกามวยไทย และทักษะการเป็นผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดกีฬามวย กีฬามวยอื่น ๆ ที่จัดการแข่งขันคล้ายการแข่งขันมวย  การทำหน้าที่ผู้ตัดสิน  ( ผู้ให้คะแนน )


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน



2. ผู้ชี้ขาดจะต้อง เคลื่อนที่อ้อมหลังนักมวย เคลื่อนที่ไม่อยู่ในมุมอับ เคลื่อนที่เข้ารับศีรษะนักมวยได้ทัน เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติม



3. ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้คำสั่งผู้ชี้ขาดกับนักมวย การชก การหยุด การเตือน การตัดคะแนน การยกเลิกการแข่งขัน  การชูมือผู้ชนะ ได้



4. ผู้ชี้ขาดปฏิบัติการนับนักมวยเมื่อ ถูกอาวุธคู่ต่อสู้จนล้มลง



5. ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้เสียงออกคำสั่งให้ดัง ให้นักมวยทั้งสองคนได้ยินชัดเจน สามารถปฏิบัติตามได้



6. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง หลังรวบรวมคะแนนจากผู้ตัดสินข้างเวที ที่จะตัดสินชูมือให้นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ชนะหรือเสมอกันทั้งสองคน



7. ผู้ชี้ขาดสั่ง หยุด ให้คำเตือนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้



8. ผู้ชี้ขาดตัดคะแนนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้ โดยเฉพาะความไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา



9. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ที่จะยกเลิกการแข่งขันหรือปรับให้นักมวยที่ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้จนได้รับบาดเจ็บ



10. ผู้ชี้ขาดต้องให้คำเตือนนักมวยเร่งให้ชกกัน ให้สนุกสนานถูกต้องตามกติกามวยไทย



11. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์อาวุธมวยไทยที่เป็นคะแนนเข้าเป้าตามเป้าหมายมีความหนักหน่วงรุนแรง อาวุธมวยไทยที่เข้าเป้าหมายแต่เบาไม่หนักหน่วงรุนแรงไม่เป็นคะแนน อาวุธมวยไทยที่ผิดกติกากีฬามวยไทย



12.ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับบาดแผลแตก ที่เป็นอันตรายกับนักมวยและเรียกแพทย์สนามมาดูบาดแผล



13. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ตัดสินใจยุติการแข่งขันเพื่อป้องกันไม่ให้นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับความบวบซ้ำเกินความจำเป็น



14.หลังการแข่งขันเสร็จสิ้น ผู้ชี้ขาดมวยไทย ให้ความรู้กับพี่เลี้ยง หัวหน้าคณะ นักมวย เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลอาการบาดเจ็บเบื้องต้น



15. ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดให้เข้ากับบริบทของความรู้กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาณมือ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. กติกามวยไทยและทักษะการเป็นผู้ชี้ขาด นำมาประยุกต์ใช้ในการเป็นผู้ชี้ขาด



2. ร่วมกันกับทีมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด วิเคราะห์ข้อมูลความรู้และทักษะ ให้คำเสนอแนะการเป็นผู้ชี้ขาดมวยไทยในทีมงานได้



3. ประเมินความพร้อมในการตัดสิน ด้านความรู้กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาณมือของผู้ชี้ขาดเพื่อนร่วมงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)



(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นผู้ตัดสินในกีฬามวยไทย



2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ สมุดประจำตัวผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด



3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน / บันทึกการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



1. เอกสารการผ่านการฝึกอบรม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง



2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่บนเวที ไม่น้อยกว่า 5 คู่



3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง  การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้อง ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์  ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย  70  % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่จริงอย่างน้อย  5  คู่  



 (ง) วิธีการประเมิน



1. ผลการทดสอบรวมทั้ง 4 ส่วนต้องผ่านไม่น้อยกว่า 70 %



2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง


15. ขอบเขต (Range Statement)

ผู้ชี้ขาด (Referee) เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวด  เพื่อให้นักมวยแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น ตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ ควบคุมนักมวยไม่ให้กระทำผิดกติกา ซ้ำเติมคู่ต่อสู้  ผู้ชี้ขาดจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องตามอาวุธแม่ไม้มวยไทย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย



(ก) คำแนะนำ



      สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ  ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาด มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  มาแล้วไม่น้อยกว่า  15  ปี  เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด  เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน



      สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ  มีดรรชนีมวลที่เหมาะสมตามมาตรฐาน  ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย  การปฏิบัติหน้าที่บนเวที  การใช้คำสั่ง  สัญญาณมือ  ระดับน้ำเสียง  การเตือน  การตัดคะแนน  การใช้ไหวพริบในการปฏิบัติหน้าที่ การตัดสินใจ  การกระตุ้นนักมวยให้ชกกันให้สนุกสนาน  เร้าใจ  เกณฑ์การผ่าน ต้องผ่านการประเมินในแต่ละส่วน  ข้อเขียน  ปฏิบัติ  อย่างน้อยร้อยละ  70  % 



 (ข) คำอธิบายรายละเอียด



1. ทบทวนความรู้ หมายถึง การทบทวนความคิดรวบยอดและทักษะความรู้เดิม เพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนรู้ใหม่ หรือเพื่อนำไปใช้ในการปฏิบัติจริง



2. สัญญาณ หมายถึง เครื่องหมายหรือเครื่องแสดงไว้ให้เห็นหรือให้ได้ยิน เป็นต้น แม้อยู่ในระยะไกล เพื่อให้รู้ล่วงหน้าจะได้ระวังอันตรายหรือกระทำตามที่บอกหรือแนะไว้



3. คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้สั่ง ให้ผู้ฟังปฏิบัติตาม โดยชอบด้วยกฎหมาย


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)


  1. การสอบข้อเขียน




  2. ทดสอบภาคปฏิบัติ




  3. การสัมภาษณ์





ยินดีต้อนรับ