หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดมวยไทย
สาขาวิชาชีพการกีฬา
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | SPT-GHCJ-087A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติการชี้ขาดของผู้ชี้ขาดมวยไทย |
3. ทบทวนครั้งที่ | / |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ชี้ขาดมวยไทย |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานเฉพาะทาง ผู้ทำหน้าที่ผู้ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันมวยไทยอย่างเข้มงวดถูกต้องตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น สามารถแก้ปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานในหน้าที่ ให้เกิดประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี ตามรูปแบบวิชาชีพ เป็นผู้ที่มีสมรรถนะในการระบุรายละเอียดด้านการเตรียมตัวก่อนระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ขั้นตอนการปฏิบัติหน้าที่ ใช้กติกามวยไทยมาใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด สามารถวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาด ให้เกิดความยุติธรรมกับนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้าง การแข่งขันให้เกิดความปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่าย สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย ปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพและปฏิบัติตนเพื่อรักษาภาพลักษณ์ของวิชาชีพ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ระดับขั้นต้น ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด กีฬามวยไทยสมัครเล่น กีฬามวยไทยอาชีพ กีฬามวยสากลสมัครเล่น กีฬามวยสากลอาชีพ และกีฬาต่อสู้ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
N/A |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
พ.ร.บ. กีฬามวย พ.ศ. 2542 (ปรับปรุงแก้ไข พ.ศ. 2564) รายละเอียดในภาคผนวก B |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
X11.11 รักษาการเคลื่อนที่และระยะห่างของผู้ชี้ขาดบนเวที |
1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน |
X11.11.01 | 158921 |
X11.11 รักษาการเคลื่อนที่และระยะห่างของผู้ชี้ขาดบนเวที |
2. ผู้ชี้ขาดต้อง เคลื่อนที่ระหว่างนักมวยแข่งขันได้ เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติมหรือบอบซ้ำเกินควร |
X11.11.02 | 158922 |
X11.12 ทำการชี้ขาดบนเวที |
1.
ตรวจสภาพความพร้อมก่อนการแข่งขัน |
X11.12.01 | 158923 |
X11.12 ทำการชี้ขาดบนเวที |
2.
ป้องกันนักมวยไม่ให้ได้รับการบาดเจ็บ |
X11.12.02 | 158924 |
X11.12 ทำการชี้ขาดบนเวที |
X11.12.03 | 158925 | |
X11.12 ทำการชี้ขาดบนเวที |
4.
ใช้เสียงและแสดงสัญญาณมือ เตือนนักมวย |
X11.12.04 | 158926 |
X11.12 ทำการชี้ขาดบนเวที |
5. นับและเตือนตามแนวปฏิบัติบนเวที |
X11.12.05 | 158927 |
X11.13 ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด |
1. ยุติการแข่งขันตามกติกา |
X11.13.01 | 158928 |
X11.13 ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด |
2. หยุดการแข่งขันตามกติกา |
X11.13.02 | 158929 |
X11.13 ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด |
3. เตือนและตัดคะแนนผู้ทำผิดกติกา |
X11.13.03 | 158930 |
X11.13 ปฏิบัติตามอำนาจของผู้ชี้ขาด |
4. ตัดสินชี้ขาดเมื่อนักมวยตกเวที |
X11.13.04 | 158931 |
X11.14 ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย
เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งต่อไปได้ |
1. ประเมินผลเพื่อปรับปรุงด้านความรู้
กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหว และการใช้สัญญาณมือ |
X11.14.01 | 158932 |
X11.14 ประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย
เพื่อการปรับปรุงการปฏิบัติหน้าที่ในครั้งต่อไปได้ |
2. ประเมินผลการปฎิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย
ต่อความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้เสีย |
X11.14.02 | 158933 |
X11.15 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเวที |
1.
แก้ปัญหานักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทย จนได้รับบาดเจ็บ |
X11.15.01 | 158934 |
X11.15 แก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นบนเวที |
2. แก้ปัญหายุติการแข่งขัน |
X11.15.02 | 158935 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
ความรู้เรื่องการแข่งขันมวยไทย กติกามวยไทย และทักษะการเป็นผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาดกีฬามวย กีฬาการต่อสู้ ที่จัดการแข่งขันคล้ายการแข่งขันมวย การทำหน้าที่ผู้ตัดสิน ( ผู้ให้คะแนน ) |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. ผู้ชี้ขาดจะต้องพยายามรักษาตำแหน่ง "วี" กับนักมวยเสมอ ระยะห่างกับนักมวย ระหว่างการแข่งขัน 2. ผู้ชี้ขาดจะต้อง เคลื่อนที่อ้อมหลังนักมวย เคลื่อนที่ไม่อยู่ในมุมอับ เคลื่อนที่เข้ารับศีรษะนักมวยได้ทัน เมื่อนักมวยล้มลง เคลื่อนที่เข้าป้องกันนักมวยไม่ให้ถูกคู่ต่อสู้ซ้ำเติม 3. ผู้ชี้ขาดจะต้องใช้เสียงออกคำสั่งให้ดัง ให้นักมวยทั้งสองคนได้ยินชัดเจน สามารถปฏิบัติตามได้ 4. ระมัดระวังดูแล และป้องกันนักมวยที่อ่อนแอกว่าไม่ให้ได้รับความบอบช้ำ เกินความจำเป็น 5. รักษากติกาและความเป็นธรรมอย่างเคร่งครัด 6. ควบคุมการแข่งขันอย่างใกล้ชิดทุกระยะ 7. ตรวจนวม เครื่องแต่งกาย และฟันยางของนักมวย 8. ใช้คำสั่ง 3 คำ คือ “หยุด” เมื่อสั่งให้นักมวยหยุดชก “แยก” เมื่อสั่งให้นักมวยแยกออกจากกัน กรณีที่ผู้ชี้ขาดสั่ง “แยก” นักมวยทั้งสองต้องถอยหลังออกมาอย่างน้อย 1 ก้าว “ชก” เมื่อสั่งให้นักมวยชก 9. แสดงสัญญาณที่ถูกต้องเพื่อให้นักมวยที่ทำผิดกติกาทราบถึงความผิด 10. เมื่อมีการทำผิดกติกาจนผู้ชี้ขาดปรับนักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นฝ่ายแพ้ หรือยุติการแข่งขัน หลังจากประกาศให้ผู้ชมทราบแล้วจะต้องแจ้งเหตุผลให้ประธานผู้ตัดสินทราบ 11. ไม่ปล่อยให้นักมวยที่ทำผิดกติกาเป็นฝ่ายได้เปรียบ เช่น จับเชือกเตะ จับเชือกตีเข่า เป็นต้น 12. ไม่กระทำการใด ๆ ที่ให้คุณให้โทษ แก่นักมวยฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เช่น นับช้า - นับเร็ว เตือน – ไม่เตือน เป็นต้น อันมีผลต่อการได้เปรียบหรือเสียเปรียบ 13. เมื่อสิ้นสุดการแข่งขัน ต้องรวบรวมใบบันทึกคะแนนของผู้ให้คะแนนทั้ง 3 คน ชี้มุมผู้ชนะตามคะแนนเสียงข้างมาก แล้วชูมือนักมวยผู้ชนะขึ้น ในกรณีเสมอให้ผู้ชี้ขาดชูมือนักมวยทั้งคู่ขึ้นพร้อมกัน แล้วนำใบบันทึกคะแนนทั้งหมดให้ประธานผู้ตัดสินตรวจสอบ 14. ไม่วิพากษ์วิจารณ์หรือให้สัมภาษณ์ถึงผลการแข่งขันที่ยังไม่เกิดขึ้น หรือเกิดขึ้นแล้ว เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากประธานผู้ตัดสิน 15. ผู้ชี้ขาดปฏิบัติการนับนักมวยเมื่อ ถูกอาวุธคู่ต่อสู้ล้มลง 16. ผู้ชี้ขาดสั่ง หยุด เตือนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้ 17. ผู้ชี้ขาดตัดคะแนนนักมวยเมื่อ ออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้อย่างรุนแรง โดยเฉพาะความไม่มีน้ำใจเป็นนักกีฬา 18. ผู้ชี้ขาดต้องตัดสินใจปรับให้แพ้ กรณีที่นักมวยออกอาวุธที่ผิดกติกาใส่คู่ต่อสู้จนได้รับบาดเจ็บไม่สามารถทำการแข่งขันได้ 19. ผู้ชี้ขาดต้องเร่งนักมวยให้ชกกัน ให้สนุกสนานถูกต้องตามกติกามวยไทย 20. ปฏิบัติ หน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 21. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์อาวุธมวยไทยที่เป็นคะแนนเข้าเป้าตามเป้าหมายมีความหนักหน่วงรุนแรง จนสามารถทำให้บาดเจ็บ 22.ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย วิเคราะห์นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับบาดแผลแตก ที่เป็นอันตรายกับนักมวยและเชิญแพทย์สนามเพื่อดูบาดแผล 23. ปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดมวยไทย ตัดสินใจยุติการแข่งขันเพื่อป้องกันไม่ให้นักมวยที่ถูกอาวุธมวยไทยจนได้รับความบอบซ้ำเกินความจำเป็น 24.ประเมินการปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดให้เข้ากับบริบทของความรู้กฎ กติกา การสื่อสาร ทักษะการเคลื่อนไหวและการใช้สัญญาณมือ (ผู้ประเมินหรือหัวหน้าผู้ชี้ขาด) (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. กติกาการแข่งขันมวยไทย (รายละเอียดในภาคผนวก A) 2. พระราชบัญญัติกีฬามวย พ.ศ. 2542 (รายละเอียดในภาคผนวก B) |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
หลักฐานที่ต้องการกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) (ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) 1. เอกสาร / หลักฐานการผ่านอบรมเชิงปฏิบัติการการเป็นผู้ตัดสินในกีฬามวยไทย 2. แฟ้มสะสมผลงาน และ / หรือ สมุดประจำตัวผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด 3. เอกสาร / หลักฐานที่เกี่ยวข้อง/ บันทึกการปฏิบัติงาน (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) 1. เอกสารการผ่านการฝึกอบรม หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง 2. ผลการทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่บนเวที ไม่น้อยกว่า 5 คู่ 3. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง (ค) คำแนะนำในการประเมิน ผู้เข้ารับการประเมินต้องผ่านการประเมินที่ครอบคลุมในทุกสมรรถนะย่อยขอบเขตความรู้และทักษะที่กำหนดในกรณีที่ผู้รับการประเมินผ่านไม่ครบตามเกณฑ์กำหนด ผู้ประเมินต้องแจ้งหน่วยสมรรถนะและสมรรถนะย่อยที่ไม่ผ่านให้ผู้รับการประเมินไปทบทวนสมรรถนะที่ยังไม่ผ่านและสามารถกลับมาทดสอบสมรรถนะใหม่อีกครั้ง การเข้าสู่คุณวุฒินี้ ผู้ประเมินต้อง ส่งแฟ้มผลงาน สอบข้อเขียน สอบปฏิบัติ และสอบสัมภาษณ์ ผู้เข้าประเมินต้องทดสอบผ่านเกณฑ์ อย่างน้อย 70 % ของการประเมินทั้ง 4 ส่วน ผู้ประเมินต้องเคยปฏิบัติหน้าที่ผู้ชี้ขาดอย่างน้อย 5 ปี ผู้เข้าประเมินทดสอบภาคปฏิบัติหน้าที่จริงอย่างน้อย 5 คู่ (ง) วิธีการประเมิน 1. ผลการทดสอบรวมทั้ง 4 ส่วนต้องผ่านไม่น้อยกว่า 70 % 2. เอกสาร/หลักฐานที่เกี่ยวข้องการผ่านการฝึกอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด จากการกีฬาแห่งประเทศไทยจากสถาบันการศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการหรือหน่วยงานของรัฐให้การรับรอง |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
ผู้ชี้ขาด (Referee) เป็นผู้ทำหน้าที่ชี้ขาดบนเวทีและควบคุมการแข่งขันอย่างเข้มงวด เพื่อให้นักมวยแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและป้องกันไม่ให้นักมวยเกิดการบาดเจ็บเกินความจำเป็น ตรวจสอบการสวมใส่อุปกรณ์ ควบคุมนักมวยไม่ให้กระทำผิดกติกา ซ้ำเติมคู่ต่อสู้ ผู้ชี้ขาดจำเป็นต้องนำกติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องตามอาวุธแม่ไม้มวยไทย ดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย
สำหรับผู้ประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ต้องเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญด้านการทำหน้าที่ผู้ชี้ขาด มีประสบการณ์ในการทำหน้าที่ผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด มาแล้วไม่น้อยกว่า 15 ปี เคยทำหน้าที่วิทยากรให้การอบรมผู้ตัดสินและผู้ชี้ขาด เคยทำหน้าที่ควบคุมการแข่งขันมาก่อน ผู้ที่ผ่านการอบรมเป็นผู้ประเมินผู้ชี้ขาด สำหรับผู้เข้ารับการประเมิน ต้องมีคุณสมบัติตามคุณวุฒิ มีดรรชนีมวลกายที่เหมาะสมตามมาตรฐาน ผ่านการประเมินด้านกติกามวยไทย การปฏิบัติหน้าที่บนเวที การใช้คำสั่ง สัญญาณมือ ระดับน้ำเสียง การเตือน การตัดคะแนน การใช้ไหวพริบในการปฏิบัติหน้าที่ การตัดสินใจ การควบคุมการแข่งขัน และต้องผ่านเกณฑ์การประเมินอย่างน้อย 70 % (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. กฎกติกา หมายถึง ข้อความที่ได้ทำความตกลงกันแล้ว หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อตกลงที่บุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป กำหนดขึ้นเป็นหลักปฏิบัติ เช่น กติกาชกมวย กติกาฟุตบอล 2. การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการในการส่งสาร หรือ แลกเปลี่ยนข่าวสาร ความคิด ความรู้สึกระหว่างบุคคล เน้นความสัมพันธ์ของมนุษย์ ซึ่ง กระบวนการที่เกิดขึ้นนั้นเพื่อสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน 3. ผู้ชี้ขาด (Referee) หมายถึงผู้ทาหน้าที่ตัดสินบนเวทีและควบคุมการแข่งขันกีฬาอย่างเข้มงวดถูกต้องยุติธรรมเพื่อให้การแข่งขันเป็นไปตามกฎ กติกาและจุดมุ่งหมายของการแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพ และได้ประสิทธิผลที่ดี การเป็นผู้ชี้ขาดมีส่วนผลักดันในการยกระดับมาตรฐานการแข่งขันให้สูงขึ้น เนื่องการผู้ชี้ขาด ทาให้นักมวยจาเป็นต้องปฏิบัติตามกติกา เคารพต่อกติกาการแข่งขันเพื่อเป้าหมายของการแข่งขัน รวมถึงมีส่วนทาให้นักมวยต้องทาความเข้าใจในกติกาการแข่งขัน ต้องศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับกติกาการแข่งขัน เพื่อทาให้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันที่เป็นกรอบและขอบเขตของการประพฤติและปฏิบัติตน ในขณะทาการแข่งขันมวยไทยได้อย่างถูกต้อง ผู้ชี้ขาดที่ดีต้องมีความสามารถในการตีความหมายเนื้อหาหรือข้อความในกติกาให้มีความเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ และต้องติดตามศึกษาเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของกติกา อีกทั้งทบทวนเนื้อหาในกติกาอย่างสม่ำเสมอจนเกิดความเข้าใจและจดจาได้อย่างแม่นยา การตัดสินกีฬามวยไทยที่ดีจะเกิดขึ้นได้นั้นผู้ชี้ขาดจาเป็นต้องนากติกามาใช้บังคับกับการแข่งขันอย่างถูกต้องเหมาะสมดารงไว้ซึ่งความยุติธรรมต่อนักมวยทั้งสองฝ่าย เสริมสร้างการแข่งขันให้เกิดความสนุกสนาน ตื่นเต้น ปลอดภัย และเต็มไปด้วยความมีน้าใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ระหว่างนักมวยทั้งสองฝ่ายเพื่อเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกีฬามวยไทย 4. ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย หมายถึง ผู้มีส่วนร่วมในการแข่งขันซึ่งประกอบด้วย นักมวย พี่เลี้ยง หัวหน้าค่ายมวย ผู้จัดการนักมวย พ่อ แม่ของนักมวย รวมถึงผู้จัดรายการแข่งขัน (โปรโมเตอร์) |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. ทดสอบความรู้โดยการสอบข้อเขียน 2. ทดสอบภาคปฏิบัติ 3. การสัมภาษณ์ |