หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-XOEE-216A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างดายคัต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานปั๊ม โดยการป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องดายคัตให้เข้าฉากตรงกันทุกชิ้น สามารถป้อนเข้าปั๊มได้อย่างเป็นจังหวะสม่ำเสมอ ไม่เกิดการติดขัด  การปั๊มชิ้นงานให้ได้ปริมาณที่กำหนดในใบสั่งงาน  และมีคุณภาพดี ถูกต้องตรงตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงานและตามชิ้นงานต้นแบบที่ขึ้นรูปแล้ว การตรวจสอบและควบคุมคุณภาพชิ้นงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตที่ผลิตจริงเทียบกับตัวอย่างชิ้นงานต้นแบบที่ขึ้นรูปแล้วและตัวอย่างชิ้นงานม็อคอัปในใบสั่งงาน และประเมินคุณภาพงานดีเพื่อแยกออกจากงานเสียได้ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7323 ช่างตกแต่งงานพิมพ์และเข้าเล่ม (Print Finishing and Binding Workers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
406041 ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องดายคัตเพื่อปั๊มชิ้นงานจริง 1.1 ในเครื่องดายคัตป้อนมือ ป้อนชิ้นงานให้ตรงกับฉากรับชิ้นงานโดยเข้าฉากตรงกันทุกชิ้น ยกป้อนชิ้นงานเข้าปั๊มและนำชิ้นงานออกให้เป็นจังหวะเดียวกันอย่างสม่ำเสมอโดยไม่เกิดการติดขัด 406041.01 86519
406041 ป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องดายคัตเพื่อปั๊มชิ้นงานจริง 1.2 ในเครื่องดายคัตอัตโนมัติช่างควบคุมและตรวจสอบให้เครื่องป้อนชิ้นงานเข้าฉากหน้าและฉากข้างตรงกันทุกชิ้นโดยสามารถควบคุมและกดปุ่มการทำงานของเครื่องได้อย่างชำนาญและเดินเครื่องได้ต่อเนื่อง 406041.02 86520
406042 ปั๊มชิ้นงานจริง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.1 ตรวจสอบและควบคุมความถูกต้องเรียบร้อยและคุณภาพของชิ้นงานปั๊มด้วยวิธีการสุ่มตรวจระหว่างเดินเครื่องและปั๊มชิ้นงานจริง 406042.01 86521
406042 ปั๊มชิ้นงานจริง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.2 ปั๊มชิ้นงานจริงให้ได้ปริมาณตามที่กำหนดในใบสั่งงานโดยมีสัดส่วนปริมาณงานดีต่องานเสียเหมาะสมกับความยากง่ายของงานที่ผลิต 406042.02 86522
406042 ปั๊มชิ้นงานจริง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.3 ปั๊มชิ้นงานจริงให้มีคุณภาพดีตามที่กำหนดในใบสั่งงานถูกต้องตรงตามตัวอย่างชิ้นงานม็อกอัปและชิ้นงานต้นแบบ 406042.03 86523
406042 ปั๊มชิ้นงานจริง ตรวจสอบและควบคุมคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.4 บันทึกข้อมูลปริมาณและคุณภาพชิ้นงานปั๊มหลังจากปฎิบัติงานเสร็จแล้วในแบบตรวจสอบคุณภาพโดยจำแนกเป็นงานคุณภาพดีงานเสีย งานแยก ระบุคุณภาพงานและปัญหาในระหว่างการปฎิบัติงานได้ถูกต้อง 406042.04 86524

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในป้อนและตรวจสอบชิ้นงานทุกชิ้นให้เข้าฉากตรงกัน

2.    ความสามารถในการเดินเครื่องและปั๊มชิ้นงานให้ถูกต้องทั้งปริมาณ คุณภาพ และเวลาที่สั่งผลิต

3.    ความสามารถในการตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตด้วยตา

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับฉากและการตรวจสอบฉากของชิ้นงานที่จะป้อนเข้าปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 

2.    ความรู้เกี่ยวกับวิธีการและเทคนิคการป้อนชิ้นงานและปั๊มชิ้นงานด้วยเครื่องดายคัต โดยไม่เกิดปัญหา

3.    ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตและวิธีการตรวจสอบ

4.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาในการบันทึกข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตและปัญหาในระหว่างการปฎิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการสอบข้อเขียน

2.    บันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

3.    บันทึกรายการจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบทดสอบข้อเขียน 

2.    แบบสัมภาษณ์ 

3.    แบบสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

มีการสอบข้อเขียน  การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน โดยให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ   

 N/A

 (ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    การป้อนชิ้นงานเข้าเครื่องดายคัตให้เข้าฉากตรงกันทุกชิ้น และป้อนเข้าปั๊มเป็นจังหวะสม่ำเสมอ โดยไม่เกิดการติดขัด ดังนี้

1)    ในเครื่องดายคัตป้อนมือ ช่างต้องป้อนชิ้นงานให้ตรงกับฉากรับชิ้นงานและโดยป้อนชิ้นงานเข้าปั๊มและนำชิ้นงานออกให้เป็นจังหวะเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ โดยไม่เกิดการติดขัด

2)    ในเครื่องดายคัตอัตโนมัติ ช่างต้องควบคุมและตรวจสอบให้เครื่องป้อนชิ้นงานเข้าฉากหน้าและฉากข้างตรงกันทุกชิ้น โดยสามารถควบคุมและกดปุ่มการทำงานของเครื่องได้อย่างชำนาญและเดินเครื่องได้ต่อเนื่อง

2.    การตรวจสอบความถูกต้อง เรียบร้อย และคุณภาพของชิ้นงานปั๊มด้วยวิธีการสุ่มตรวจระหว่างเดินเครื่อง โดยตรวจสอบตำแหน่งและน้ำหนักการกด คุณภาพรอยตัดขาด รอยปรุ รอยพับ ความนูน ความจม และทดลองขึ้นรูปชิ้นงานตามข้อกำหนดในแบบตรวจสอบคุณภาพ (ใบเช็คชีต) ร่วมกับตัวอย่างชิ้นงานม็อคอัปในใบสั่งงานและชิ้นงานต้นแบบ ดังนี้

1)    งานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต: รอยตัด ขาดสม่ำเสมอ งานฮาล์ฟคัต รอยตัด ขาดเฉพาะแผ่นบนรอยปรุสม่ำเสมอ รอยพับไม่แตก 

2)    งานปั๊มนูน-ปั๊มจม: ระดับสูง-ต่ำของรอยปั๊มนูน-ปั๊มจมเกิดจากแรงกดที่เหมาะสมจนได้คุณภาพงานปั๊มนูน-ปั๊มจมที่สวยงาม

3.    บันทึกข้อมูลการตรวจสอบคุณภาพงานและปัญหาในระหว่างการปฎิบัติงานในแบบตรวจสอบคุณภาพ งาน (ใบเช็คชีต) ได้ถูกต้อง ครบถ้วนตามข้อกำหนด เช่น เช็คทุกกี่นาที ตามที่กำหนดในใบเช็คชีต

4.    ในบันทึกข้อมูลปริมาณงานที่ผลิตหลังจากปฎิบัติงานเสร็จแล้วในแบบตรวจสอบคุณภาพ โดยจำแนกเป็นงานคุณภาพดี งานเสีย งานแยก นั้น  งานแยก หมายถึง งานที่ในแผ่นเดียวกัน ปั๊มเป็นหลายชิ้นงาน บางชิ้นงานดี บางชิ้นงานเสีย จึงแยกชิ้นงานดีไว้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การทดสอบโดยข้อสอบข้อเขียน 

2.    การสัมภาษณ์ 

3.    การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 

 



ยินดีต้อนรับ