หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องปั๊มดายคัตเบื้องต้นและใช้เครื่องอย่างปลอดภัย

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-DEKK-214A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องปั๊มดายคัตเบื้องต้นและใช้เครื่องอย่างปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างดายคัต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องดายคัตเบื้องต้นให้พร้อมใช้งาน และปลอดภัย และการปฏิบัติงานใช้เครื่องดายคัตได้อย่างปลอดภัย

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7323 ช่างตกแต่งงานพิมพ์และเข้าเล่ม (Print Finishing and Binding Workers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
ข้อกำหนดคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
406021 บำรุงรักษาเครื่องดายคัตเบื้องต้น 1.1 ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องดายคัตประจำวันให้มีสภาพพร้อมใช้งาน 406021.01 86505
406021 บำรุงรักษาเครื่องดายคัตเบื้องต้น 1.2 ทำความสะอาดและบำรุงรักษาเครื่องดายคัตเบื้องต้นตามแผนการบำรุงรักษาอย่างปลอดภัย 406021.02 86506
406022 ใช้เครื่องดายคัตได้อย่างปลอดภัย 2.1 มีความรู้เกี่ยวกับระบบและอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่องและสามารถใช้เครื่องดายคัตได้อย่างปลอดภัย 406022.01 86507
406022 ใช้เครื่องดายคัตได้อย่างปลอดภัย 2.2 ใช้ระบบและอุปกรณ์ความปลอดภัยประจำเครื่องได้และหยุดเครื่องได้ทันทีอย่างปลอดภัย 406022.02 86508

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

  พูด อ่าน และเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานด้านงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถพื้นฐานในการบำรุงรักษาเครื่องดายคัต

2.    ความสามารถในการทำความสะอาดเครื่องดายคัตอย่างถูกวิธี

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องดายคัต

2.    ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยในการปฏิบัติงานเครื่องดายคัต

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการสอบข้อเขียน

2.    บันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

3.    บันทึกรายการจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบทดสอบข้อเขียน 

2.    แบบสัมภาษณ์ 

3.    แบบสังเกตการปฏิบัติงาน 



(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

มีการสอบข้อเขียน  การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน โดยให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)  คำแนะนำ

    อุปกรณ์ความปลอดภัยในเครื่องดายคัต เช่น สวิตช์หยุดเครื่องในเครื่องดายคัตป้อนมือ และ ตาไฟ ไมโครสวิตช์การ์ด ปุ่มหยุด (stop)  ปุ่มหยุดฉุกเฉิน (emergency) ในเครื่องดายคัตอัตโนมัติ

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การทดสอบโดยข้อสอบข้อเขียน 

2.    การสัมภาษณ์ 

3.    การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ