หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตขั้นพื้นฐาน

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-KBSQ-213A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตขั้นพื้นฐาน

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยช่างดายคัต



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตแบบอัตโนมัติ  ได้แก่ การเตรียมวัสดุในงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต   การเตรียมแท่นวางชิ้นงานสำหรับปั๊ม การกระทุ้งชิ้นงานขึ้นเครื่องดายคัต การเดินเครื่องและหยุดเครื่องได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย  การยกชิ้นงานที่ปั๊มด้วยเครื่องดายคัตแล้ววางบนพาเลต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานหลังพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7323 ช่างตกแต่งงานพิมพ์และเข้าเล่ม (Print Finishing and Binding Workers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
406011 เตรียมวัสดุก่อนปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 1.1 เตรียมชิ้นงานก่อนปั๊มโดยการตรวจสอบ ชนิดน้ำหนักพื้นฐาน และขนาดของกระดาษหรือแผ่นกระดาษลูกฟูกและจำนวนชิ้นงานให้ตรงกับใบสั่งงาน 406011.01 86494
406011 เตรียมวัสดุก่อนปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 1.2 ตรวจสอบฉากและทิศทางของชิ้นงานก่อนป้อนเข้าเครื่องดายคัตให้ถูกต้องตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงานหรือม็อคอัป(mock up) 406011.02 86495
406011 เตรียมวัสดุก่อนปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 1.3 ตรวจสอบสภาพทั่วไปของบล็อค(แม่แบบดายคัต)ด้านความแข็งแรง สภาพความสมบูรณ์ของใบมีด ลักษณะและตำแหน่งใบมีดที่ถูกต้องตามตัวอย่างชิ้นงานในใบสั่งงาน 406011.03 86496
406011 เตรียมวัสดุก่อนปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 1.4 ตรวจสอบตำแหน่งรอยตัดรอยปรุ รอยพับ รอยปั๊มนูน-จมบนบล็อคให้ตรงกับฟิล์มแบบทำบล็อค 406011.04 86497
406012 เตรียมแท่นวางชิ้นงานให้พร้อมสำหรับการปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.1 เตรียมแท่นวางชิ้นงาน(หน้าโมหรือเขียง) ให้มีสภาพที่เรียบร้อย สะอาด และพร้อมสำหรับการปั๊ม 406012.01 86498
406012 เตรียมแท่นวางชิ้นงานให้พร้อมสำหรับการปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 2.2 ช่วยช่างติดเส้นพับบนแท่นวางชิ้นงานให้พร้อมใช้งาน 406012.02 86499
406013 ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตเบื้องต้น 3.1 กระทุ้งชิ้นงานขึ้นเครื่องดายคัตให้ตั้งชิ้นงานเรียบเสมอกันเพื่อให้ป้อนเข้าเครื่องได้จังหวะที่ถูกต้องและสามารถปั๊มงานได้โดยไม่ติดขัด 406013.01 86500
406013 ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตเบื้องต้น 3.2เดินเครื่องดายคัตอัตโนมัติให้ทำงานต่อเนื่องได้หลังจากที่ช่างปรับตั้งเครื่องแล้ว 406013.02 86501
406013 ปฏิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตเบื้องต้น 3.3ยกชิ้นงานที่ปั๊มด้วยเครื่องดายคัตแล้วบนพาเลตให้มีสภาพการวางตั้งที่เรียบร้อยไม่ล้มง่าย แนวตั้งเรียบเสมอกัน 406013.03 86502
406014 ตรวจสอบคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตเบื้องต้น 4.1 ตรวจสอบคุณภาพรอยปั๊มบนชิ้นงานตามที่กำหนดไว้ในแบบตรวจสอบคุณภาพและตามตัวอย่างชิ้นงานม็อคอัปในใบสั่งงาน 406014.01 86503
406014 ตรวจสอบคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตเบื้องต้น 4.2 บันทึกข้อมูลปริมาณการผลิตทั้งงานคุณภาพดีและงานเสียต่อใบสั่งงานในการปฎิบัติงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 406014.02 86504

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่าน และเขียนภาษาไทยเพื่อสื่อสารได้   และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้  มีประสบการณ์ทำงานด้านงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตมาแล้วไม่น้อย  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    ความสามารถในการใช้เครื่องดายคัตอัตโนมัติที่เหมาะสมกับลักษณะของงานเบื้องต้นได้

2.    ความสามารถในการพินิจพิเคราะห์คุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัตด้วยตาอย่างรอบคอบ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับลักษณะงานและขั้นตอนการปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 

2.    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับส่วนประกอบและลักษณะการทำงานของเครื่องดายคัต

3.    ความรู้เกี่ยวกับบล็อคที่ใช้กับงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต ลักษณะใบมีด และลักษณะรอยที่ได้จากการปั๊ม ได้แก่ รอยตัด รอยพับ รอยปรุ รอยปั๊มนูน-ปั๊มจม 

4.    ความรู้เกี่ยวกับการติดเส้นพับบนแท่นวางชิ้นงาน (หน้าโมหรือเขียง)

5.    ความรู้เกี่ยวกับคุณภาพงานปั๊มด้วยเครื่องดายคัต 

6.    ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาในการลงบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมินและควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการสอบข้อเขียน

2.    บันทึกรายการจากการสัมภาษณ์

3.    บันทึกรายการจากการสังเกต

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบทดสอบข้อเขียน 

2.    แบบสัมภาษณ์ 

3.    แบบสังเกตการปฏิบัติงาน 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

มีการสอบข้อเขียน  การสัมภาษณ์ การสังเกตการปฏิบัติงาน โดยให้ปฏิบัติตามแบบทดสอบที่กำหนด

วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ โดยใช้แบบทดสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกตการปฏิบัติงานตามแบบทดสอบปฏิบัติที่กำหนด 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่น ๆ หรือสถานการณ์อื่น ๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นด้วยตาเปล่า โดยตรวจสอบดังนี้  ตรวจสอบคุณภาพรอยปั๊มบนชิ้นงานว่าถูกต้องตามที่กำหนดไว้ในแบบตรวจสอบคุณภาพและตามตัวอย่างชิ้นงานม็อคอัปในใบสั่งงาน โดยรอยปั๊มแต่ละแบบต้องตรงตำแหน่ง รอยตัดต้องขาดเรียบ สม่ำเสมอ   ถ้าเป็นปั๊มฮาล์ฟคัต ต้องขาดเฉพาะแผ่นบน  รอยปรุมีระยะปรุขาดสม่ำเสมอ รอยพับต้องไม่แตก รอยปั๊มนูน-ปั๊มจม มีระดับความนูน-จมเหมาะสม   

2.    การลงบันทึกข้อมูลปฏิบัติงาน เป็นการบันทึกปริมาณงานที่ปั๊มได้ต่อใบสั่งงาน ทั้งที่เป็นงานคุณภาพดี และงานที่ไม่ได้คุณภาพ   

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลและลำดับขั้นตอนในใบสั่งงาน

2.    ทำความเข้าใจใบสั่งงานและปฏิบัติตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

3.    เตรียมวัสดุต่าง ๆ ถูกต้องและให้พร้อมใช้งาน ได้แก่ ชิ้นงานรอดายคัต ตัวอย่างงาน ใบสั่งงาน บล็อค ฟิล์มตรวจงาน วัสดุสำหรับงานติดเส้นพับ

4.    เตรียมแท่นวางชิ้นงาน (หน้าโมหรือเขียง) ของเครื่องดายคัตให้สะอาด และช่วยช่างติดเส้นพับโดยวิธีการใช้เส้นสำเร็จที่มีกาวในตัวหรือใช้การตีสีเพื่อทำรอยสำหรับติดเส้นพับบนแท่นวางชิ้นงานให้พร้อมใช้งาน

5.    กระทุ้งชิ้นงานให้เรียบพร้อมใช้งาน เดินเครื่องดายคัตอัตโนมัติให้ทำงานต่อเนื่องได้หลังจากที่ช่างปรับตั้งเครื่องแล้ว หยุดเครื่องได้ และยกชิ้นงานที่ปั๊มแล้ววางบนพาเลตได้เรียบร้อย

6.    ทำความเข้าใจลักษณะบล็อคสำหรับใช้ปั๊มในแต่ละงานตามใบสั่งงานได้อย่างถูกต้อง

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การทดสอบโดยข้อสอบข้อเขียน 

2.    การสัมภาษณ์ 

3.    การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ