หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมการจัดทำเอกสารคุณภาพการพิมพ์ในการจัดการคุณภาพการพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PYCP-438A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมการจัดทำเอกสารคุณภาพการพิมพ์ในการจัดการคุณภาพการพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการฝ่ายจัดการคุณภาพการพิมพ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการวางระบบการจัดการคุณภาพการพิมพ์ และการกำหนดรูปแบบเอกสารคุณภาพเพื่อใช้ในการจัดการคุณภาพการพิมพ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพจัดการคุณภาพการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
3017132

กำหนดรูปแบบของเอกสารคุณภาพ

1 กำหนดประเภทเอกสารคุณภาพรูปแบบ wp,wo,support ได้

3017132.01 161653
3017132

กำหนดรูปแบบของเอกสารคุณภาพ

2 ออกแบบรูปแบบเอกสารคุณภาพที่ใช้ในแต่ละกระบวนการทำงานตรวจสอบคุณภาพการพิมพ์ได้

3017132.02 161654
3017132

กำหนดรูปแบบของเอกสารคุณภาพ

3 วิเคราะห์และตรวจสอบความเหมาะสมของเอกสารคุณภาพที่จัดทำขึ้นมาได้

3017132.03 161655
307131

ให้ความรู้ในการจัดทำเอกสารคุณภาพ

1 จัดเตรียมเพื่อถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการจัดทำเอกสารคุณภาพด้านการพิมพ์ได้

307131.01 161651
307131

ให้ความรู้ในการจัดทำเอกสารคุณภาพ

2 ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการจัดทำเอกสารคุณภาพด้านการพิมพ์ได้

307131.02 161652

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานด้านการควบคุมคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถถ่ายทอดความรู้ในเรื่องของการจัดทำเอกสารคุณภาพได้

2.    สามารถออกแบบคู่มือคุณภาพ ระเบียบปฏิบัติได้

3.    สามารถวางแผนโครงการได้

4.    สามารถวางแผนปฏิบัติงานได้

5.    บันทึกคุณภาพ (Quality record) ได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    รายละเอียดเอกสารคุณภาพในการตรวจสอบคุณภาพการพิมพ์

2.    การออกแบบเอกสารในการควบคุมคุณภาพการพิมพ์ 

3.    การวิเคราะห์และตรวจสอบความเหมาะสมของเอกสารคุณภาพที่จัดทำขึ้นได้

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

เอกสารในการควบคุมคุณภาพการพิมพ์

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบสัมภาษณ์

2.    แบบตัวอย่างเอกสารการควบคุมคุณภาพการพิมพ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    สัมภาษณ์

2.    ปฏิบัติด้านการออกแบบเอกสารควบคุมคุณภาพ

(ง) วิธีการประเมิน

        ข้อเขียน,ใบงาน,สัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    จัดทำและกำหนดนโยบายคุณภาพที่มีผลต่อเป้าหมายขององค์การ

2.    จัดทำเอกสารเพื่อขออนุมัติและลงนามของนโยบายคุณภาพ

3.    ทำการประกาศและประชาสัมพันธ์ให้กับพนักงานทุกระดับในองค์การให้เข้าใจได้อย่างง่าย

4.    จัดทำคู่มือคุณภาพสำหรับควบคุมคุณภาพการพิมพ์

5.    จัดทำแผนการดำเนินงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    ใบงาน 

3.    ข้อเขียน

 



ยินดีต้อนรับ