หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพการพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-SVDL-436A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพการพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดการคุณภาพการพิมพ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ และคุณภาพผลิตภัณฑ์ เมื่อเกิดปัญหาและแก้ไขปัญหา จะหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นได้อีก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพจัดการคุณภาพการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต 

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
307111

ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ

1 วิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของและวัตถุดิบได้ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

307111.01 161640
307111

ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพวัตถุดิบ

2 จัดทำแผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Supplier Audit) จากผู้ขาย

307111.02 161641
307112

ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

1 วิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

307112.01 161642
307112

ดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

2 จัดทำแผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Internal Audit) ภายใน

307112.02 161643

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานด้านการควบคุมคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    สามารถจัดการกับผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบได้

2.    สามารถใช้เครื่องมือและอุปกรณ์การตรวจสอบได้

3.    วิเคราะห์และเข้าใจชิ้นงานพิมพ์ที่ผิดปกติได้

4.    สามารถสุ่มตัวอย่างและตรวจสอบเพื่อการประกันคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การแก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

2.    การวิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

3.    กระบวนการผลิตของวัตถุดิบ

4.    แผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Supplier Audit) จากผู้ขาย

5.    การสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ผู้ขาย และผู้เกี่ยวข้องภายในโรงงาน

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    บันทึกรายการการดำเนินงาน

2.    บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยงาน

3.    ผลการแก้ไขปัญหา

4.    วิธีป้องกันการแก้ไขปัญหา

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบสัมภาษณ์

2.    แบบทดสอบความรู้ 

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

-

(ง) วิธีการประเมิน

1.    การประเมินความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินทักษะจากกรณีศึกษา

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

-

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

        วิธีและขั้นตอนการดำเนินตามกระบวนการผลิตของแต่ละสถานประกอบการ

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ

3.    การทดสอบจากกรณีศึกษา

 



ยินดีต้อนรับ