หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพการพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-FJOD-431A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพการพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

            ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายจัดการคุณภาพการพิมพ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการดำเนินการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพ โดยสามารถควบคุมการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพในแต่ละขั้นตอนเมื่อเกิดปัญหาและแก้ไขปัญหาได้และหาวิธีที่จะป้องกันไม่ให้ปัญหาเกิดขึ้นได้อีก

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพจัดการคุณภาพการพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO-08: 1321 ผู้จัดการ/หัวหน้าฝ่ายควบคุมคุณภาพ ด้านการผลิต

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
307061

แก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

1 วิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

307061.01 161680
307061

แก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

2 เข้าใจถึงกระบวนการผลิตของวัตถุดิบ

307061.02 161681
307061

แก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

3 จัดทำแผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Supplier Audit) จากผู้ขาย

307061.03 161682
307061

แก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

4 สื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ผู้ขาย และผู้เกี่ยวข้องภายในโรงงาน

307061.04 161683
307062

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

1 แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

307062.01 161684
307062

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

2 เข้าใจถึงกระบวนการผลิตของวัตถุดิบ

307062.02 161685
307062

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

3 จัดทำแผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Internal Audit) ภายใน

307062.03 161686
307062

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

4 สื่อสารและประสานงานกับทีมงานและลูกค้า

307062.04 161687
307062

แก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพผลิตภัณฑ์

5 วิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

307062.05 161688

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้   และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทำงานด้านการควบคุมคุณภาพ


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

สามารถใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ดำเนินการแก้ไขและป้องกันคุณภาพของวัตถุดิบ

  2. สามารถวิเคราะห์ด้านการแก้ไขและป้องกันปัญหาคุณภาพของวัตถุดิบ โดยใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหา

  3. สามารถความเข้าใจถึงกระบวนการผลิตของวัตถุดิบ

  4. สามารถจัดทำแผนการตรวจติดตามปัญหาคุณภาพ (Supplier Audit) จากผู้ขาย

  5. สามารถในการสื่อสารและประสานงานกับหน่วยงานอื่น ผู้ขาย และผู้เกี่ยวข้องภายในโรงงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)




  • หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. บันทึกรายการการดำเนินงาน

  2. บันทึกความคิดเห็นของหัวหน้าหน่วยงาน

  3. ผลการแก้ไขปัญหา

  4. วิธีป้องกันการแก้ไขปัญหา




  • หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. แบบสัมภาษณ์

  2. แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับวิธีการแก้ไขและป้องกันด้านการประกันคุณภาพงานพิมพ์




  • คำแนะนำในการประเมิน



ในการประเมินด้านการแก้ไขและปัญหาควรระบุวัสดุที่ใช้พิมพ์ และระบบการพิมพ์ที่ใช้



      (ง) วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้โดยใช้แบบทดสอบความรู้และการสัมภาษณ์

  2. การประเมินทักษะจากวิธีการแก้ไขปัญหาและวิธีการป้องกันตามกรณีศึกษา


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง




  • คำแนะนำ



          การดำเนินงานประกันคุณภาพขึ้นอยู่กับระบบการพิมพ์และวัสดุที่ใช้พิมพ์




  • คำอธิบายรายละเอียด



          วิธีและขั้นตอนการดำเนินตามกระบวนการผลิตของแต่ละสถานประกอบการณ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

  1. การสัมภาษณ์

  2. การทดสอบโดยข้อสอบ

  3. การทดสอบจากกรณีศึกษา



ยินดีต้อนรับ