หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-GFFN-181A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์กราวัวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้ โดยมีทักษะในการทำแผนบำรุงรักษา ดำเนินการบำรุงรักษาตามแผนที่กำหนด และสามารถตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องพิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
    คู่มือการบำรุงรักษาประจำเครื่องพิมพ์

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
306061 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 1.1 ตรวจจับความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 306061.01 86213
306061 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 1.2 หยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้ก่อนเกิดความเสียหาย 306061.02 86214
306061 ตรวจสอบความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 1.3 รายงานความผิดปกติให้กับผู้เกี่ยวข้องจัดเก็บข้อมูลประวัติเครื่องจักร 306061.03 86215
306062 กำหนดแผนบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 2.1 ศึกษาคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 306062.01 86216
306062 กำหนดแผนบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 2.2 กำหนดจุดและตำแหน่งการบำรุงรักษาตลอดจนการกำหนดระยะเวลาตามคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 306062.02 86217
306062 กำหนดแผนบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 2.3 กำหนดวิธีการบำรุงรักษาตามคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 306062.03 86218
306062 กำหนดแผนบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ 2.4 ทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ตามคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่อง 306062.04 86219

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ มีประสบการณ์ทางด้านการพิมพ์กราวัวร์   และไม่ตาบอดสี  


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การระบุจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษา และการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

2.    การทำแผนการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

3.    การเตรียมเครื่องมือ วัดสุ และอุปกรณ์ได้

4.    การทำความสะอาดเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

5.    การหยอดน้ำมันและสารหล่อลื่นต่างๆ ในเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

6.    การเปลี่ยนส่วนประกอบและวัสดุต่างๆ ในเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

7.    การปรับตั้งเครื่องพิมพ์กราวัวร์หลังการใช้งานได้

8.    การเขียนบันทึกและรายงานการบำรุงรักษาของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

9.    การสังเกตความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

10.    การหยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์อย่างถูกวิธีได้

11.    การเขียนรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

12.    การจัดเก็บข้อมูลประวัติเครื่องพิมพ์กราวัวร์อย่างเป็นระบบได้

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    หลักการและความสำคัญของการบำรุงรักษาเครื่องจักร

2.    ส่วนประกอบของเครื่องจักรและการบำรุงรักษา

3.    เทคนิคการทำแผนบำรุงรักษาเครื่องจักร

4.    คุณสมบัติของสารหล่อลื่น

5.    หลักการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

6.    โครงสร้างและส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์กราวัวร์

7.    ขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์

8.    การทำงานของเครื่องพิมพ์กราวัวร์

9.    ตำแหน่งสวิซต์การหยุดฉุกเฉิน และหลักการหยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์กรณีฉุกเฉิน

10.    หลักการรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการระบุจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษา และการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

2.    ผลการทำแผนการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

3.    ผลการหยอดน้ำมันและสารหล่อลื่นต่างๆ ในเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

4.    ผลการเปลี่ยนส่วนประกอบและวัสดุต่างๆ ในเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

5.    ผลการปรับตั้งเครื่องพิมพ์กราวัวร์หลังการใช้งานได้

6.    ผลการเขียนบันทึกและรายงานการบำรุงรักษาของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

7.    ผลการสังเกตความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

8.    ผลการหยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์อย่างถูกวิธีได้

9.    ผลการเขียนรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ได้

10.    ผลการจัดเก็บข้อมูลประวัติเครื่องพิมพ์กราวัวร์อย่างเป็นระบบได้

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    วิธีการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

2.    แนวทางในการกำหนดจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

3.    แนวทางในการกำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

4.    เข้าใจในการปฏิบัติการบำรุงรักษา

5.    การบ่งชี้คุณสมบัติของสารหล่อลื่น

6.    วิธีการเลือกใช้เครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์สำหรับการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

7.    ลำดับขั้นตอนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

8.    อธิบายหลักการทำงานของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ และโครงสร้างของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตำแหน่งสวิตซ์ฉุกเฉิน

9.    อธิบายขั้นตอนการหยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์กรณีฉุกเฉิน

10.    เทคนิคการรายงานความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

1.    หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินการเตรียมการ และการดำเนินการจัดทำแผนการบำรุงรักษา

เครื่องพิมพ์กราวัวร์ ตลอดจนความครอบคลุมจุดหรือตำแหน่งการบำรุงรักษาที่จำเป็น 

2.    หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ประเมินขั้นตอนการทำงาน และเทคนิคการจัดทำแผนการบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์

(ง)    วิธีการประเมิน

N/A

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1.    การบำรุงรักษาเครื่องพิมพ์กราวัวร์ ได้แก่ การซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (preventive maintenance) โดยผู้ปฏิบัติงานประจำเครื่อง 

2.    ตำแหน่งในการบำรุงรักษา กำหนดระยะเวลาการบำรุงรักษา และวิธีการบำรุงรักษา ให้เป็นไปตามคู่มือการซ่อมบำรุงประจำเครื่อง

3.    เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการบำรุงรักษา ได้แก่ อุปกรณ์ประจำเครื่อง และสารหล่อลื่นต่างๆ

4.    การทำความสะอาด ได้แก่ การกำจัดฝุ่น คราบหมึกพิมพ์ เศษวัสดุต่างๆ ตลอดจนการทำความสะอาดของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น ลูกกลิ้งหมึก ลูกน้ำ

5.    วัสดุและส่วนประกอบต่างๆ ได้แก่ วัสดุและส่วนประกอบที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

6.    การตรวจจับความผิดปกติของเครื่องพิมพ์กราวัวร์ ได้แก่ เสียงที่ดังขึ้น ความร้อนที่สูงขึ้น แรงสั่นสะเทือนที่สูงขึ้น กลิ่นเหม็นไหม้ เป็นต้น

7.    การหยุดเครื่องพิมพ์กราวัวร์ควรคำนึงถึงการหยุดเครื่องที่ถูกวิธี เช่น การใช้สวิตซ์หยุดเครื่องฉุกเฉิน เป็นต้น

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    หลักฐานการปฏิบัติงานที่ต้องการ ได้แก่ ผลจาการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน/สาธิต กระบวนการปรับตั้งส่วนต่างๆ

2.    หลักฐานความรู้ที่ต้องการ ได้แก่ ผลการตอบปากเปล่าจาการสัมภาษณ์ และหรือผลการตอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้



ยินดีต้อนรับ