หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-ZZKS-173A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประเมินผลการพัฒนาบุคลากร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการฝ่ายพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (flexography printing manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับประเมินผลการปฏิบัติงาน และวิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้ และทักษะการปฏิบัติงาน รวมถึงการมีส่วนร่วมในการคัดเลือกบุคลากร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305131 ประเมินผลการปฏิบัติงาน 1.1 กำหนดดัชนีชี้วัดการปฏิบัติงานของบุคลากรได้เหมาะสม 305131.01 86168
305131 ประเมินผลการปฏิบัติงาน 1.2 ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 305131.02 86169
305132 วิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะ 2.1 วิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานตามความสามารถของบุคลากร 305132.01 86170
305132 วิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะ 2.2 มีส่วนร่วมในการสรรหาและพัฒนาบุคลากรให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ที่ปฏิบัติ 305132.02 86171

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้

2.    สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

2.    การวิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

2.    การวิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะ

3.    สถิติ และเครื่องมือในการประเมินผล 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

2.    รายงานการวิเคราะห์ความต้องการทางด้านความรู้และทักษะ

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้

(ง)    วิธีการประเมิน



ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ รายงานและข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดทำเอกสาร การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ขั้นตอนการกำหนดดัชนีชี้วัดการปฏิบัติงาน

-    กำหนดวัตถุประสงค์

-    กำหนดปัจจัยสู่ความสำเร็จที่สัมพันธ์กับวัตถุประสงค์ เช่น ปัจจัยด้านคุณภาพ ปริมาณ ต้นทุน ความพึงพอใจ ความปลอดภัย และการเพิ่มผลผลิต เป็นต้น

-    กำหนดตัวดัชนีชี้วัดที่สามารถบ่งชี้ความสำเร็จ

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานควรมีองค์ประกอบดังนี้

-    เรื่องผลลัพธ์ในการปฏิบัติงาน

-    ยึดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร

-    มีส่วนร่วมกับผู้บังคับบัญชาในการกำหนดเป้าหมายงาน 

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

ดัชนีชี้วัดการปฏิบัติงาน (KPI) คือ การวัดความก้าวหน้าของการบรรลุปัจจัยหลักแห่งความสำเร็จ หรือผลสัมฤทธิ์ขององค์กร

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ