หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพงานพิมพ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-IGOW-172A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพงานพิมพ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้จัดการฝ่ายพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (flexography printing manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการนำความรู้มาวิเคราะห์เพื่อแก้ไข และประยุกต์แนวทางการแก้ไขปัญหาการพิมพ์เฟล็กโซกราหีเพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305121 วิเคราะห์ปัญหาในการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 1.1 วิเคราะห์ปัญหาทางการพิมพ์เฟล็กโซ กราฟี 305121.01 86164
305121 วิเคราะห์ปัญหาในการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 1.2 แก้ไขปัญหาเพื่อนำมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานจริง 305121.02 86165
305122 จัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหางานพิมพ์ 2.1 ติดตามผลสัมฤทธิ์ในการนำแนวทางการแก้ไขและป้องกันปัญหาในการปฏิบัติงานจริง 305122.01 86166
305122 จัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหางานพิมพ์ 2.2 จัดทำเอกสารควบคุมคุณภาพเพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหางานพิมพ์ได้สอดคล้องกับปัญหาของโรงพิมพ์ 305122.02 86167

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้

2.    สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การนำความรู้มาวิเคราะห์ปัญหาทางการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

2.    จัดทำเอกสาร เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วัสดุพิมพ์

2.    การพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

3.    การตรวจสอบปัญหา และวิธีการแก้ไข

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- เอกสารแนวทางในการแก้ปัญหาการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

- ผลการวิเคราะห์ปัญหาทางการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้

(ง)    วิธีการประเมิน

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ รายงานและข้อมูลต่างๆ เพื่อใช้ในการจัดทำเอกสาร การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

การวิเคราะห์ปัญหา เช่น การพิจารณาข้อมูล และเงื่อนไขที่กำหนด, การพิจารณาเป้าหมายหรือสิ่งที่ต้องหาคำตอบ, การพิจารณาวิธีการหาคำตอบ เป็นต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    การวิเคราะห์ปัญหา คือ การแยกแยะปัญหาที่จะพิจารณาออกเป็นส่วนย่อย เพื่อทำความเข้าใจแต่ละส่วนให้แจ่มแจ้ง หรือการทำความเข้าใจกับปัญหา เพื่อแยกให้ออกว่าข้อมูลที่กำหนดมาในปัญหาหรือเงื่อนไขของปัญหา คืออะไร

2.    การประยุกต์แนวทางแก้ไขปัญหา คือ การนำแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้มาปรับใช้อย่างเหมาะสมกับการปฏิบัติงานจริง

3.    ผลสัมฤทธิ์ คือ ผลที่ได้ตามมาจากผลผลิต หรือผลลัพธ์ของการปฏิบัติงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ