หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน และพัฒนากระบวนการผลิต

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-VBNW-171A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน และพัฒนากระบวนการผลิต

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (flexography assistant manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการวางแผน และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน และวางแผนตรวจสอบ เพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพ ประสิทธิผลการผลิต

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305111 วางแผน และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน 1.1 ควบคุมแผนการทำงานและติดต่อสื่อสารกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 305111.01 86158
305111 วางแผน และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน 1.2 วางแผนการบำรุงรักษาเพื่อป้องกันปัญหาของเครื่องจักร 305111.02 86159
305111 วางแผน และตัดสินใจปรับเปลี่ยนการทำงานให้เหมาะสมกับงาน 1.3 วางแผนงานให้เหมาะสมกับเครื่องจักร 305111.03 86160
305112 พัฒนาคุณภาพการผลิต 2.1 ตรวจสอบ และวิเคราะห์กระบวนการทำงาน 305112.01 86161
305112 พัฒนาคุณภาพการผลิต 2.2 พัฒนาการทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 305112.02 86162
305112 พัฒนาคุณภาพการผลิต 2.3 ประเมินผลความคืบหน้าของการผลิตงานพิมพ์ 305112.03 86163

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงาน

2.    สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การจัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิดขึ้น และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน

2.    การเลือกวัสดุพิมพ์ให้เหมาะสมกับเครื่องจักร

3.    การตรวจสอบ และผลบันทึกการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

4.    ใบรายงานผล/สรุปการประเมินความก้าวหน้าในกระบวนการผลิต

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การวางแผนการผลิตงานพิมพ์ สถิติ และเครื่องมือในการวิเคราะห์

2.    การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน

3.    การพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพการผลิต

4.    สถิติ และเครื่องมือในการประเมินผล

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

หลักฐานการบันทึกวีดีโอหรือผลจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน การจัดทำเอกสารสรุปการผลิต ปัญหาที่เกิด และใบรายงานประสิทธิภาพการทำงาน



(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ 

(ง)    วิธีการประเมิน

ใช้วิธีการทดสอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่น ๆ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

การวางแผนการซ่อมบำรุง

-    งานบำรุงเชิงป้องกัน เป็นงานบำรุงรักษาเชิงป้องกันซึ่งเป็นไปตามข้อแนะนำของผู้ผลิตเครื่องจักร หรือผลการตรวจสอบที่แสดงให้เห็นว่าจำเป็นต้องมีการซ่อมบำรุง เช่น การซ่อมแซมปั๊ม การเปรียบเทียบเครื่องมือวัดค่า เป็นต้น

-    งานแก้ไข เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนชิ้นส่วนย่อยของเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สึกหรอ หรือมีสภาพหลวมคลอน

-    งานซ่อมแซมฉุกเฉิน อาจเกิดขึ้นไม่บ่อยนัก และไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ หน่วยงานซ่อมบำรุงจะต้องใช้หลักการด้านวิศวกรรมบำรุงรักษาเพื่อพิจารณาเพิ่มกิจกรรมการบำรุงเชิงป้องกัน และการบำรุงรักษาแบบคาดการณ์เข้าไปในแผนการบำรุงรักษา เพื่อลดความขัดข้องของเครื่องจักรลง

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    แผนการทำงาน คือ สิ่งยืนยันว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้บรรลุตามที่กำหนดไว้ เพราะมีแผนงานรองรับที่ชัดเจน

2.    แผนการซ่อมบำรุง คือ การวางแผนเพื่อมุ่งที่จะรักษาเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้

3.    การวิเคราะห์กระบวนการทำงาน คือ การวิเคราะห์กระบวนการทำงานสนองต่อเป้าหมายขององค์กร

4.    เป้าหมายที่กำหนด คือ ดัชนีชี้วัดการปฏิบัติงาน หรือ KPI

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ