หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บริหารจัดการคุณภาพการผลิตงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PBUM-169A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บริหารจัดการคุณภาพการผลิตงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายพิมพ์เฟล็กโซกราฟี (flexography assistant manager)



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุแต่ละประเภท รวมถึงบ่งชี้หรือคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุทางการพิมพ์ก่อนนำไปพิมพ์จริง  และการแก้ไขปัญหางานพิมพ์ที่มีความซับซ้อน ความสามารถในการปรับปรุงสูตรหมึกพิมพ์  กระบวนการแห้งตัวของหมึกพิมพ์ การกำหนดแนวทางการทำแผนการซ่อมบำรุง แก้ปัญหาเชิงลึก ประเมินความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์  ชิ้นส่วนทางการพิมพ์ และการวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305091 กำหนดคุณสมบัติของวัสดุทางการพิมพ์ 1.1 เตรียมวัสดุใช้พิมพ์ ได้แก่ บอกถึงสมบัติของวัสดุใช้พิมพ์แต่ละประเภทได้บ่งชี้ และคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ ก่อนนำไปพิมพ์จริงได้ถูกต้อง 305091.01 86147
305091 กำหนดคุณสมบัติของวัสดุทางการพิมพ์ 1.2เตรียมหมึกพิมพ์ ได้แก่ เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผสมหมึกได้ปรับปรุงสูตรหมึกให้ได้สีตามต้องการรู้กระบวนการแห้งตัวของหมึกพิมพ์แต่ละชนิด 305091.02 86148
305092 กำหนดแนวทางการทำแผนการซ่อมบำรุง และประเมินความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ ชิ้นส่วนทางการพิมพ์ 2.1 กำหนดแนวทางการทำแผนการซ่อมบำรุงเชิงป้องกันได้ 305092.01 86149
305092 กำหนดแนวทางการทำแผนการซ่อมบำรุง และประเมินความสามารถในการใช้งานอุปกรณ์ ชิ้นส่วนทางการพิมพ์ 2.2 ประเมินความสามารถการใช้งานอุปกรณ์ชิ้นส่วนทางการพิมพ์ได้ถูกต้อง 305092.02 86150
305093 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขและควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ 3.1 วิเคราะห์ปัญหาของวัสดุพิมพ์และปัญหาทางการพิมพ์ 305093.01 86151
305093 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขและควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ 3.2 แก้ปัญหาขั้นสูงและนำเสนอแนวทางการป้องกันปัญหาในอนาคต 305093.02 86152
305093 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางแก้ไขและควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ 3.3 วางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยงในการเกิดปัญหางานพิมพ์ได้ 305093.03 86153

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้

2.    สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    บ่งชี้ และคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ ก่อนนำไปพิมพ์จริงได้

2.    เลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผสมหมึก

3.    ปรับปรุงสูตรหมึกให้ได้สีตามต้องการ

4.    กำหนดแนวทางการซ่อมบำรุงเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

5.    ประเมินความสามารถการใช้งานอุปกรณ์, ชิ้นส่วนทางการพิมพ์

6.    วางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง

7.    นำเสนอข้อมูล

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    คุณสมบัติของวัสดุพิมพ์

2.    การใช้โปรแกรมผสมหมึก

3.    การแห้งตัวของหมึกพิมพ์แต่ละชนิด

4.    ส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

5.    การซ่อมบำรุงเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

6.    การวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลจากการบ่งชี้ และคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ ก่อนนำไปพิมพ์จริง

2.    การเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการผสมหมึก

3.    ปรับปรุงสูตรหมึกให้ได้สีตามต้องการ

4.    กำหนดแนวทางการซ่อมบำรุงเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

5.    การประเมินความสามารถการใช้งานอุปกรณ์, ชิ้นส่วนทางการพิมพ์

6.    การวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง

7.    ใบบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

8.    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบประเมินจากการสังเกต

2.    แบบทดสอบความรู้

3.    แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้   

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต ใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน และ/หรือแฟ้มสะสมผลงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    เลือกคุณสมบัติของกระดาษที่นำมาผลิตกระดาษลูกฟูก เช่น การเลือก liner/outer/inner/medium เป็นต้น

2.    เลือกคุณสมบัติของฟิล์ม/ฟอยล์/กระดาษให้เหมาะสมกับการพิมพ์ โดยไม่เกิดปัญหา เช่น ฟิล์มที่เหมาะสมกับการทำแห้งด้วยระบบยูวีต้องมีค่าพลังงานผิวไม่ต่ำกว่า 38 dyne เป็นต้น

3.    เลือกใช้เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการผสมหมึก เช่น โปรแกรมการผสมหมึก เป็นต้น

4.    การปรับปรุงสูตรหมึก เช่น การนำหมึกเหลือใช้มาผสมให้ได้สีตามต้องการ เป็นต้น

5.    กำหนดแนวทางการทำแผนการซ่อมบำรุง ประเมินความสามารถการใช้งานอุปกรณ์, ชิ้นส่วนทางการพิมพ์ เช่น ตัดสินใจว่าอุปกรณ์ควรเปลี่ยนหรือไม่ เป็นต้น

6.    นำการประเมินความเสี่ยง ภายในพื้นที่ปฏิบัติงานมาวางแผนการบริหารจัดการความเสี่ยง เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมความเสี่ยง

7.    การวางแผนการซ่อมบำรุง

- งานบำรุงรักษาเชิงป้องกัน เช่น การปรับตั้ง, การหล่อลื่น, การตรวจสอบ และงานปรับเทียบเครื่องมือ เป็นต้น

- งานบำรุงรักษาแบบคาดการณ์ เพื่อให้ทราบสภาพของเครื่องจักร และอุปกรณ์, เปรียบเทียบค่าที่วัดได้กับค่าที่กำหนด จะทำให้ทราบว่าเครื่องจักรนั้นต้องมีการซ่อมแซมหรือไม่ เป็นต้น

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    แผนการซ่อมบำรุง คือ การวางแผนการบำรุงรักษา เช่น การเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่เครื่องพิมพ์เมื่อครบอายุการใช้งาน การเปลี่ยนถ่ายวัสดุหล่อลื่นในเครื่องพิมพ์ 

2.    การประเมินความเสี่ยง คือ กระบวนการที่ใช้ในการระบุและวิเคราะห์ความเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อกระบวนการทำงาน

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ