หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-YSFV-166A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพวัสดุอุปกรณ์ในการผลิตงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าช่างพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับวัสดุทางการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี การเลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ได้อย่างเหมาะสม  ตรวจสอบความถูกต้องของการปรับตั้งหน่วยป้อนวัสดุใช้พิมพ์ หน่วยพิมพ์ และหน่วยทำแห้ง และแก้ไขปัญหางานพิมพ์เบื้องต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างพิมพ์ การประเมินอายุการใช้งานของชิ้นส่วน (ซับซ้อน) 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305061 ตรวจสอบความถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ 1.1 เตรียมวัสดุใช้พิมพ์ ได้แก่ เลือกใช้วัสดุพิมพ์ได้เหมาะสมกับประเภทของงานพิมพ์บ่งชี้หรือคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ก่อนการนำไปพิมพ์จริง 305061.01 86129
305061 ตรวจสอบความถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ 1.2เตรียมหมึกพิมพ์ ได้แก่ เลือกชนิดของหมึกพิมพ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งานผสมหมึกให้ได้สีตามความต้องการ วัดค่าสีของหมึกพิมพ์ด้วยเครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้อง 305061.02 86130
305061 ตรวจสอบความถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ 1.3 เตรียมแม่พิมพ์ ได้แก่ เลือกแม่พิมพ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน ดูแลรักษาแม่พิมพ์ก่อนและหลังการใช้งานได้อย่างถูกต้องเลือกใช้เทปกาวได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน 305061.03 86131
305061 ตรวจสอบความถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุทางการพิมพ์ 1.4เตรียม Anilox เลือกใช้ Anilox ได้อย่างเหมาะสมกับงานพิมพ์ 305061.04 86132
305062 ตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.1 ปรับตั้งหน่วยป้อนวัสดุใช้พิมพ์ ได้แก่ ปรับแรงตึงให้เหมาะสมกับขนาดและชนิดของวัสดุใช้พิมพ์ ปรับตั้งค่าการปรับสภาพผิวหน้าของฟิล์มได้ (Corona Treatment) 305062.01 86133
305062 ตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.2 ปรับตั้งหน่วยพิมพ์ ได้แก่ ตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งได้แก้ปัญหางานพิมพ์เบื้องต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างพิมพ์ได้ 305062.02 86134
305062 ตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.3 ปรับตั้งหน่วยทำแห้ง ได้แก่ แก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทำแห้งได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย 305062.03 86135

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

1.    อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้

2.    สามารถใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้นได้

 


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    เลือกใช้วัสดุพิมพ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานพิมพ์

2.    บ่งชี้หรือคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ก่อนการนำไปพิมพ์จริง

3.    เลือกชนิดของหมึกพิมพ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

4.    ผสมหมึกพิมพ์ให้ได้สีตามความต้องการ

5.    ใช้เครื่องมือวัดค่าสีได้อย่างถูกต้อง

6.    ดูแลรักษาแม่พิมพ์ก่อนและหลังใช้งานได้อย่างถูกต้อง

7.    เลือกแม่พิมพ์ให้เหมาะกับการใช้งาน

8.    เลือกใช้เทปกาวได้อย่างเหมาะสม

9.    เลือกใช้ความละเอียดของแอนิล็อกซ์ (Anilox) ได้อย่างเหมาะสมกับงานพิมพ์

10.    ปรับแรงตึงในหน่วยป้อนวัสดุใช้พิมพ์ให้เหมาะสมกับขนาดของวัสดุใช้พิมพ์

11.    ปรับตั้งค่าการปรับปรุงผิวหน้าของฟิล์มพลาสติกได้ (ในกรณีที่พิมพ์บนฟิล์มพลาสติก)

12.    ตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งหน่วยพิมพ์

13.    แก้ปัญหางานพิมพ์เบื้องต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างพิมพ์ได้

14.    แก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทำแห้งได้อย่างถูกต้อง

15.    ประเมินอายุการใช้งานชิ้นส่วน (ซับซ้อน)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วัสดุพิมพ์

2.    หมึกพิมพ์

3.    การผสมหมึกพิมพ์

4.    การใช้เครื่องมือวัดค่าสี

5.    แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี

6.    เทปกาว

7.    Anilox

8.    การปรับตั้งแรงตึงวัสดุใช้พิมพ์

9.    การปรับปรุงผิวหน้าของฟิล์มพลาสติก (ในกรณีที่พิมพ์ฟิล์มพลาสติก)

10.    การปรับตั้งหน่วยพิมพ์

11.    การแก้ปัญหางานพิมพ์เบื้องต้น

12.    ระบบทำแห้งของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

13.    ความปลอดภัยในการควบคุมหน่วยทำแห้งของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

14.    ส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์ (ขั้นสูง)

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลจากการเลือกใช้วัสดุพิมพ์ให้เหมาะสมกับประเภทของงานพิมพ์

2.    ผลจากการบ่งชี้หรือคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ก่อนการนำไปพิมพ์จริง

3.    ผลจากการเลือกชนิดของหมึกพิมพ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน

4.    ผสมหมึกพิมพ์ให้ได้สีตามความต้องการ

5.    ใช้เครื่องมือวัดค่าสีได้อย่างถูกต้อง

6.    ดูแลรักษาแม่พิมพ์ก่อนและหลังใช้งานได้อย่างถูกต้อง

7.    เลือกแม่พิมพ์ให้เหมาะกับการใช้งาน

8.    เลือกใช้เทปกาวได้อย่างเหมาะสม

9.    เลือกใช้ความละเอียดของ Anilox ได้อย่างเหมาะสมกับงานพิมพ์

10.    ปรับแรงตึงในหน่วยป้อนวัสดุใช้พิมพ์ให้เหมาะสมกับขนาดของวัสดุใช้พิมพ์

11.    ปรับตั้งค่าการปรับปรุงผิวหน้าของฟิล์มพลาสติกได้ (ในกรณีที่พิมพ์ฟิล์มพลาสติก)

12.    ผลจากการตรวจสอบความถูกต้องในการปรับตั้งหน่วยพิมพ์

13.    แก้ปัญหางานพิมพ์เบื้องต้นที่เกิดขึ้นในระหว่างพิมพ์ได้

14.    แก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทำแห้งได้อย่างถูกต้อง

15.    ประเมินอายุการใช้งานชิ้นส่วน (ซับซ้อน)

16.    ใบบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

17.    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบประเมินจากการสังเกต

2.    แบบทดสอบความรู้

3.    แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต ใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน และ/หรือแฟ้มสะสมผลงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    เลือกวัสดุใช้พิมพ์ได้เหมาะสมกับประเภทของงานพิมพ์ เช่น กระดาษแต่ละประเภทควรใช้กับงานพิมพ์ประเภทใด บอกได้ว่าวัสดุเสื่อมสภาพหรือไม่ คุณภาพงานพิมพ์กับประเภทของวัสดุ เป็นต้น   

2.    บ่งชี้หรือคาดการณ์ถึงปัญหาของวัสดุใช้พิมพ์ก่อนการนำไปพิมพ์จริง เช่น คาดการณ์ได้ว่าวัสดุใช้พิมพ์ที่ไม่เหมาะสมอาจเกิดปัญหาในขณะพิมพ์ได้ เป็นต้น

3.    เลือกชนิดของหมึกพิมพ์ได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน ผสมหมึกให้ได้สีตามความต้องการ และวัดค่าสีของหมึกพิมพ์ด้วยเครื่องสเปกโทรโฟโตมิเตอร์

4.    เลือกแม่พิมพ์ให้เหมาะสมกับการใช้งาน  ดูแลรักษาแม่พิมพ์ก่อนและหลังการใช้งาน เลือกใช้เทปกาวได้อย่างเหมาะสมกับการใช้งาน เช่น การเลือกใช้ความแข็งของแม่พิมพ์และความแข็งของเทปกาวให้เหมาะสมกับงานพิมพ์ เป็นต้น

5.    เลือกใช้ความละเอียด (resolution) และปริมาตรความจุ (volume) ของ แอนิล็อกซ์ (anilox) ได้เหมาะสมกับงานพิมพ์ เช่น บ่อหมึกมีขนาดเล็ก ปริมาตรความจุของบ่อหมึกน้อย มีจำนวนบ่อต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ผิวมาก จะสามารถพิมพ์งานที่มีความละเอียดสูงได้ เป็นต้น

6.    แก้ปัญหาเกี่ยวกับระบบทำแห้งได้อย่างถูกต้อง เช่น เลือกใช้ระดับความร้อนของหน่วยทำแห้งอย่างเหมาะสม (ในกรณีที่ใช้ลมร้อน หรืออินฟราเรดในการทำแห้ง) หรือเปอร์เซ็นต์ความเข้มของแสงยูวี (UV Intensity) (ในกรณีที่ใช้ระบบยูวีในการทำแห้ง) เป็นต้น

7.    ประเมินอายุการใช้งานของอุปกรณ์ (ซับซ้อน) โดยสามารถคาดการณ์อายุการใช้งานของอุปกรณ์ (ซับซ้อน)

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ