หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เบื้องต้น

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-KJQZ-165A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมคุณภาพงานพิมพ์เบื้องต้น

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการสุ่มตัวอย่างงานพิมพ์ ตรวจสอบความถูกต้องของงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี และรายงานปัญหาการพิมพ์ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305051 ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์เบื้องต้น 1.1 สุ่มตัวอย่างงานพิมพ์ในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์ได้เหมาะสมกับงานพิมพ์ 305051.01 86124
305051 ตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์เบื้องต้น 1.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดคุณภาพ 305051.02 86125
305052 แก้ไขปัญหาการพิมพ์เบื้องต้น 2.1 ตรวจสอบปัญหางานพิมพ์ที่เกิดขึ้นในระหว่างงานพิมพ์ได้ทันที 305052.01 86126
305052 แก้ไขปัญหาการพิมพ์เบื้องต้น 2.2 ระบุสาเหตุของปัญหางานพิมพ์ได้สอดคล้องกับลักษณะของปัญหา 305052.02 86127
305052 แก้ไขปัญหาการพิมพ์เบื้องต้น 2.3 แก้ไขปัญหางานพิมพ์ที่เกิดระหว่างพิมพ์ได้เบื้องต้น 305052.03 86128

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การสุ่มตัวอย่าง

2.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานพิมพ์

3.    การตรวจสอบปัญหา

4.    การรายงานปัญหาที่เกิดขึ้น

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วิธีการสุ่มตัวอย่าง

2.    การตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลการสุ่มตัวอย่าง

2.    งานพิมพ์ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพ

3.    ใบบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

4.    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบประเมินจากการสังเกต

2.    แบบทดสอบความรู้

3.    แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้

(ง)    วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต ใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน และ/หรือแฟ้มสะสมผลงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    แผนการสุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การกำหนดจุดสุ่มตัวอย่าง ความถี่ในการสุ่มตัวอย่าง ขนาดของตัวอย่าง

2.    สุ่มตัวอย่างสิ่งพิมพ์ได้ตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ หรือมาตรฐานอื่นๆ

3.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของงานพิมพ์ ได้แก่ การตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล, ความสมบูรณ์ของงานพิมพ์, register, slur เป็นต้น

4.    การแก้ไขปัญหาการพิมพ์เบื้องต้น ได้แก่ การส่งข้อมูลผลการตรวจสอบปัญหาที่เกิดขึ้นให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

5.    วิธีการตรวจสอบ และสภาวะการทดสอบคุณภาพงานพิมพ์ให้เป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพิมพ์ หรือข้อกำหนดมาตรฐานสากล รวมถึงการทดสอบวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และมาตรฐานสิ่งพิมพ์ที่ต้องการ

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน

 



ยินดีต้อนรับ