หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-LPPT-163A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ โดยใช้เครื่องมือวัดได้อย่างถูกต้องตามใบงาน สามารถตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของวัสดุพิมพ์ สามารถปรับตั้งแรงกดการพิมพ์ ระบบการจ่ายหมึก register ตรวจสอบอุปกรณ์และวัสดุพิมพ์ให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ ควบคุมการเปิด-ปิดหน่วยทำแห้งได้ สามารถประเมินอายุการใช้งานชิ้นส่วน (พื้นฐาน)ของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพงานพิมพ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO – 08-7322 ช่างพิมพ์ (Printers)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
305031 ตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ 1.1 เตรียมวัสดุใช้พิมพ์ ได้แก่ ตรวจสอบขนาดของวัสดุใช้พิมพ์ด้วยเครื่องมือวัดให้ถูกต้องตามใบสั่งงานตรวจสอบชนิดของวัสดุใช้พิมพ์ให้ถูกต้องตามใบงาน ตรวจสอบความหนาและน้ำหนักมาตรฐาน (กระดาษ) ด้วยเครื่องมือวัด ให้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 305031.01 86112
305031 ตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ 1.2เตรียมหมึกพิมพ์ ได้แก่ ตรวจสอบความหนืดของหมึกพิมพ์ด้วย-เครื่องมือวัดได้ถูกต้องตามใบงานปรับความหนืดของหมึกพิมพ์ให้ได้ตามมาตรฐานการพิมพ์เฟล็กโซ กราฟี 305031.02 86113
305031 ตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ 1.3 เตรียมแม่พิมพ์ ได้แก่ ตรวจสอบความถูกต้องตรงตามงานพิมพ์ ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ประกอบแม่พิมพ์ที่โมแม่พิมพ์ได้ 305031.03 86114
305031 ตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ 1.4เตรียม Anilox ได้แก่ ตรวจสอบความละเอียดของAnilox ได้ถูกต้องตามใบงานตรวจสอบสภาพความสมบูรณ์ภายนอกของAnilox 305031.04 86115
305032 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.1 ปรับตั้งหน่วยป้อนวัสดุใช้พิมพ์ ได้แก่ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของวัสดุพิมพ์ได้ 305032.01 86116
305032 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.2 ปรับตั้งหน่วยพิมพ์ ปรับตั้งแรงกดการพิมพ์,ปรับตั้งระบบจ่ายหมึก, ปรับตั้ง register ได้ 305032.02 86117
305032 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.3 ปฏิบัติงานระหว่างพิมพ์ เช็คจำนวนวัสดุพิมพ์ให้เพียงพอต่องานพิมพ์ตรวจสอบสภาพการใช้งานของอุปกรณ์การพิมพ์ 305032.03 86118
305032 ปรับตั้งเครื่องพิมพ์ 2.4 ปรับตั้งหน่วยทำแห้ง ควบคุมการเปิด-ปิดหน่วยทำแห้งได้ถูกต้องตามลักษณะของงานพิมพ์ 305032.04 86119

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

อ่านและเขียนภาษาไทยได้  และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบขนาดของวัสดุใช้พิมพ์ที่เหมาะสมได้

2.    การเลือกชนิดของวัสดุใช้พิมพ์ได้

3.    การเลือกใช้เครื่องมือตรวจสอบความหนาของวัสดุใช้พิมพ์ที่เหมาะสมได้

4.    การใช้เครื่องมือวัดค่าความหนืดของหมึกพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง

5.    การปรับค่าความหนืดของหมึกพิมพ์ให้ได้ตามมาตรฐานการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

6.    การตรวจสอบความถูกต้องของแม่พิมพ์ให้ตรงกับงานพิมพ์ได้

7.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พิมพ์ได้

8.    การประกอบแม่พิมพ์ที่โมแม่พิมพ์ได้

9.    การตรวจสอบความละเอียดของแอนิล็อกซ์ให้ตรงกับใบงาน

10.    การตรวจสอบความสมบูรณ์ของแอนิล็อกซ์ได้

11.    การตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของวัสดุพิมพ์ได้

12.    การปรับตั้งแรงกดพิมพ์ ปรับตั้งระบบจ่ายหมึก ปรับตั้งรีจีสเตอร์ (register)

13.    การตรวจสอบจำนวนวัสดุพิมพ์ให้เพียงพอต่องานพิมพ์

14.    การตรวจสอบสภาพการใช้งานของอุปกรณ์การพิมพ์

15.    การควบคุมการเปิด-ปิดหน่วยทำแห้งให้ถูกต้องตามลักษณะของงานพิมพ์

16.    การประเมินอายุการใช้งานชิ้นส่วน (พื้นฐาน)

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    วัสดุใช้พิมพ์

2.    เครื่องมือวัด และตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์

3.    ค่ามาตรฐานของหมึกพิมพ์ สำหรับการทดสอบความหนืดของหมึกพิมพ์

4.    วิธีการตรวจสอบแม่พิมพ์ที่สมบูรณ์

5.    การเลือกใช้เทปติดแม่พิมพ์

6.    การประกอบแม่พิมพ์ลงบนโมแม่พิมพ์

7.    แอนิล็อกซ์ (Anilox)

8.    เครื่องมือวัดในการตรวจสอบคุณภาพงานพิมพ์

9.    การปรับตั้งหน่วยพิมพ์ของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

10.    การคำนวณปริมาณการใช้วัสดุพิมพ์

11.    ส่วนประกอบของเครื่องพิมพ์ (เบื้องต้น)

12.    หน่วยทำแห้งของเครื่องพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

หลักฐานที่ต้องการจะกำหนดข้อแนะนำเกี่ยวกับการประเมิน และควรที่จะใช้ประกอบร่วมกันกับเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) และ ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก)    หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1.    ผลจากการวัดขนาดวัสดุใช้พิมพ์

2.    ผลจากการเลือกชนิดของวัสดุใช้พิมพ์

3.    ผลจาการวัดความหนาของวัสดุใช้พิมพ์

4.    ผลจากการวัดค่าความหนืดของหมึกพิมพ์

5.    การปรับค่าความหนืดของหมึกพิมพ์ให้ได้ตามมาตรฐานการพิมพ์เฟล็กโซกราฟี

6.    แม่พิมพ์ตรงกับงานพิมพ์

7.    แม่พิมพ์มีความสมบูรณ์ สะอาด

8.    ผลจากการประกอบแม่พิมพ์ที่โมแม่พิมพ์

9.    ผลจากการตรวจสอบความละเอียดของแอนิล็อกซ์ (Anilox) ให้ตรงกับใบงาน

10.    แอนิล็อกซ์ (Anilox) มีความสมบูรณ์

11.    ผลจากการตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของวัสดุพิมพ์

12.    การปรับตั้งแรงกดพิมพ์ ปรับตั้งระบบจ่ายหมึก  ปรับตั้ง register

13.    ผลจากการเช็คจำนวนวัสดุพิมพ์ให้เพียงพอต่องานพิมพ์

14.    ผลจากการตรวจสอบสภาพการใช้งานของอุปกรณ์การพิมพ์

15.    ควบคุมการเปิด-ปิดหน่วยทำแห้งให้ถูกต้องตามลักษณะของงานพิมพ์

16.    ประเมินอายุการใช้งานชิ้นส่วน (พื้นฐาน)

17.    ใบบันทึกความคิดเห็นของหัวหน้างาน

18.    แฟ้มสะสมผลงาน

(ข)    หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.    แบบประเมินจากการสังเกต

2.    แบบทดสอบความรู้

3.    แบบสัมภาษณ์

(ค)    คำแนะนำในการประเมิน

การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้

(ง) วิธีการประเมิน

1.    ผู้ประเมินประเมินความรู้ โดยใช้การทดสอบด้วยแบบทดสอบ และการสัมภาษณ์

2.    การประเมินผลการปฏิบัติงานใช้การประเมินจากการสังเกต ใบบันทึกความคิดเห็นจากหัวหน้างาน และ/หรือแฟ้มสะสมผลงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

ขอบเขตอธิบายถึงขอบเขตของการปฏิบัติงาน และสภาพแวดล้อมอื่นๆหรือสถานการณ์อื่นๆ ที่มีผลกระทบต่อการทำงาน รวมถึงเครื่องมือ อุปกรณ์ เทคโนโลยี ทรัพยากรที่ใช้ หรือข้อกำหนดอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

(ก)    คำแนะนำ 

1.    ตรวจสอบวัสดุทางการพิมพ์ด้วยเครื่องมือวัดให้ถูกต้องตามใบงาน

- ตรวจสอบขนาดของวัสดุด้วยไม้บรรทัด หรือตลับเมตร

- ตรวจสอบความหนาด้วยไมโครมิเตอร์ และตรวจสอบน้ำหนักมาตรฐานด้วยเครื่องชั่งน้ำหนัก

- ตรวจสอบความหนืดของหมึกพิมพ์ด้วย Zahn Cup

- ตรวจสอบความถูกต้องตรงตามงานพิมพ์ โดยการเปรียบเทียบกับต้นฉบับ

- ตรวจสอบความละเอียดของ Anilox ให้ตรงตามใบงาน

2.    ตรวจสอบคุณสมบัติเบื้องต้นของวัสดุพิมพ์ เช่น การแห้งตัวของหมึกพิมพ์บนวัสดุใช้พิมพ์, การหลุดลอกของหมึกพิมพ์ เป็นต้น

3.    ปรับตั้งแรงกดพิมพ์ ปรับตั้งระบบการจ่ายหมึก ปรับตั้ง register ตามใบงาน หรือตามคู่มือ

4.    ตรวจสอบจำนวนวัสดุให้เพียงพอต่องานพิมพ์ เช่น ตรวจสอบจำนวนวัสดุใช้พิมพ์ ปริมาณหมึกพิมพ์ เป็นต้น

5.    ตรวจสอบสภาพการใช้งานในระหว่างการพิมพ์ของอุปกรณ์การพิมพ์ เช่น แม่พิมพ์, Anilox, doctor blade เป็นต้น

6.    ควบคุมการเปิด-ปิดหน่วยทำแห้งให้ถูกต้องตามลักษณะของงานพิมพ์ เช่น ระดับของการเปิด เป็นต้น

7.    ประเมินสภาพการใช้งานอุปกรณ์ (พื้นฐาน) โดยสามารถคาดการณ์อายุการใช้งานของอุปกรณ์ (พื้นฐาน)

(ข)    คำอธิบายรายละเอียด

1.    วัสดุทางการพิมพ์ คือ วัสดุใช้พิมพ์  หมึกพิมพ์  แม่พิมพ์  แอนิล็อกซ์ (Anilox)  เป็นต้น

2.    วัสดุใช้พิมพ์ คือ กระดาษ  ฟิล์ม ฟอยล์ เป็นต้น

3.    อุปกรณ์ (พื้นฐาน) คือ อุปกรณ์สิ้นเปลือง ตัวอย่างเช่น Side Wiper (แผ่นโฟมกันหมึกรั่วซึม), Cushion Tape หรือ Mounting Tape, Coating Roller เป็นต้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1.    การสัมภาษณ์ 

2.    การทดสอบโดยข้อสอบ 

3.    การสังเกตการณ์ปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ