หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและแก้ไขงานวางหน้าเลย์เอาต์ และงานดิจิทัลปรู๊ฟ

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-MBQR-123A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและแก้ไขงานวางหน้าเลย์เอาต์ และงานดิจิทัลปรู๊ฟ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายทำแม่พิมพ์กราวัวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
 หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องและแก้ไขงานวางหน้าเลย์เอาต์เพื่อทำแม่พิมพ์กราวัวร์  รวมถึงการจัดการสีในงานดิจิทัลปรู๊ฟได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพทำแม่พิมพ์กราวัวร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204051 ตรวจสอบความถูกต้องของงานวางหน้าเลย์เอาต์ 1.1 ตรวจสอบงานวางหน้าเลย์เอาต์บนจอภาพให้ถูกต้องตามความเหมาะสมของงานพิมพ์ 204051.01 85844
204051 ตรวจสอบความถูกต้องของงานวางหน้าเลย์เอาต์ 1.2 ตรวจสอบงานวางหน้าเลย์เอาต์ให้ถูกต้องกับข้อกำหนดลูกค้าและการใช้งาน 204051.02 85845
204052 ปฏิบัติงานจัดการสีและทำดิจิทัลปรู๊ฟ 2.1 สั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟและขึ้นรูปแบบงานตัวอย่างตามที่ลูกค้าต้องการได้ 204052.01 85846
204052 ปฏิบัติงานจัดการสีและทำดิจิทัลปรู๊ฟ 2.2 ตั้งค่าโพรไฟล์สีให้ถูกต้องก่อนสั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ 204052.02 85847
204052 ปฏิบัติงานจัดการสีและทำดิจิทัลปรู๊ฟ 2.3 ตรวจสอบคุณภาพของงานดิจิทัลปรู๊ฟให้ถูกต้องตามมาตรฐานที่กำหนดขึ้น 204052.03 85848

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้, และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ก่อนพิมพ์กราวัวร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การตรวจสอบความถูกต้องของตัวอักษร รูปภาพ

2.    การเลือกขนาดแม่พิมพ์ 

3.    การพิมพ์งานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ

4.    การกำหนดลำดับการพิมพ์สีบนงานพิมพ์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    ขนาดแม่พิมพ์

2.    งานพิมพ์ปรู๊ฟดิจิทัล

3.    วิธีการตรวจสอบตัวอักษรและรูปภาพ

4.    การสั่งพิมพ์งานดิจิทัลปรู๊ฟ

5.    โพรไฟล์สีสำหรับงานพิมพ์

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ผลจากการสังเกตการณ์ หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ในการปฏิบัติงานตรวจสอบเรื่องความถูกต้องของตัวอักษร รูปภาพ ของไฟล์งานเลย์เอาต์ การเลือกขนาดแม่พิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (portfolio) 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ มีการเตรียมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมที่เกี่ยวข้องให้พร้อมใช้งาน มีการกำหนดสถานการจำลองที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน



(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานเลย์เอาต์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ความถูกต้องของหน้าเลย์เอาต์บนจอภาพ ได้แก่ การตรวจสอบตัวอักษร รูปภาพ แถบควบคุมคุณภาพให้ครบถ้วน หรือการตรวจทานอีกครั้งก่อนส่งไปยังงานสร้างแม่พิมพ์ หรือ สั่งพิมพ์ดิจิทัล

2.    ความถูกต้องของไฟล์เลย์เอาต์ที่สัมพันธ์กับขนาดแม่พิมพ์ ได้แก่ ขนาดกว้างและยาวของแม่พิมพ์ เป็นต้น

3.    สั่งงานพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ ได้แก่ การเลือกและใช้เครื่องพิมพ์ดิจิทัลปรู๊ฟ การปรับตั้งค่าต่างๆ ของเครื่องพิมพ์ ก่อนสั่งพิมพ์งาน

4.    จัดการค่าโพรไฟล์สี ได้แก่ การกำหนดค่าสีทางการพิมพ์ กำหนดคุณลักษณะของสีบนภาพพิมพ์ให้ตรงกับชนิดของวัสดุที่จะนำมาพิมพ์ 

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือไฟล์งานเลย์เอาต์ต้นฉบับที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ การพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ 



ยินดีต้อนรับ