หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาต์ สำหรับแม่พิมพ์กราวัวร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-AUJR-121A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานวางหน้าเลย์เอาต์ สำหรับแม่พิมพ์กราวัวร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้าช่างทำแม่พิมพ์กราวัวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วางหน้าเลยเอาต์สำหรับแม่พิมพ์กราวัวร์ และใส่แถบควบคุมการพิมพ์ในเลย์เอาต์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพทำแม่พิมพ์กราวัวร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204031 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์เบื้องต้น 1.1 ใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้อง 204031.01 85827
204031 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์เบื้องต้น 1.2 นำเข้าไฟล์ดิจิทัลสู่โปรแกรมวางหน้า (inputfile) ได้อย่างถูกต้อง 204031.02 85828
204031 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์เบื้องต้น 1.3 กำหนดขนาดแม่พิมพ์ให้สัมพันธ์กับชนิดและขนาดของวัสดุที่นำมาพิมพ์งานได้อย่างถูกต้องตามใบสั่งงาน 204031.03 85829
204031 ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์เบื้องต้น 1.4 กำหนดรูปแบบการวางหน้า (template) บนแม่พิมพ์ ได้อย่างถูกต้องตามใบสั่งงาน 204031.04 85830
204032 วางหน้าเลย์เอาต์ 2.1 นำไฟล์ดิจิทัลมาจัดเรียงบนต้นแบบ (template) ได้ตรงตามลักษณะงานหลังพิมพ์และความต้องการของลูกค้า 204032.01 85831
204032 วางหน้าเลย์เอาต์ 2.2 ตั้งค่าเผื่อตัดการแบ่งหน้าม้วนวัสดุพิมพ์ได้อย่างถูกต้อง 204032.02 85832
204033 ใส่แถบควบคุมคุณภาพ 3.1 เลือกใช้แถบควบคุมคุณภาพให้เหมาะสมกับงานพิมพ์กราวัวร์ 204033.01 85833
204033 ใส่แถบควบคุมคุณภาพ 3.2ใส่แถบควบคุมคุณภาพให้มีขนาดและตำแหน่งถูกต้องตามข้อกำหนดของเครื่องพิมพ์ 204033.02 85834

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวกับการทำงานได้ และสามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ทำแม่พิมพ์กราวัวร์ได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์

2.    การกำหนดขนาดแม่พิมพ์ให้สัมพันธ์กับชนิดและขนาดของวัสดุที่นำมาพิมพ์งาน

3.    การนำไฟล์ดิจิทัลมาจัดเรียงบนต้นแบบ (template)

4.    การตั้งค่าเผื่อตัด การแบ่งหน้าม้วนวัสดุพิมพ์

5.    จัดการใส่แถบควบคุมคุณภาพ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์

2.    ขนาดแม่พิมพ์ และขนาดหน้าม้วนวัสดุพิมพ์

3.    ขนาด และชนิดของวัสดุที่จะนำมาพิมพ์

4.    รูปแบบการวางหน้าบนแม่พิมพ์

5.    ลักษณะงานหลังพิมพ์

6.    แถบควบคุมคุณภาพ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

    ผลจากการสังเกตการณ์ หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ในการปฏิบัติงาน การใช้โปรแกรมทางด้านการวางหน้างานพิมพ์บนคอมพิวเตอร์ การกำหนดขนาดแม่พิมพ์ให้สัมพันธ์กับชนิดและขนาดของวัสดุที่นำมาพิมพ์งาน 



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

    ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ 



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และโปรแกรมพร้อมใช้งาน



(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

    N/A



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.    ใช้งานโปรแกรมการวางหน้างานพิมพ์ ได้แก่ รู้และสามารถใช้คำสั่งพื้นฐาน เช่น เมนู แถบเครื่องมือ  ในการวางหน้างานพิมพ์

2.    ไฟล์ดิจิทัล เช่น ไฟล์  PS, PDF, AI, AP

3.    ขนาดที่นิยมมาใช้กำหนดขนาดของงานพิมพ์ เช่น นิ้ว เซนติเมตร และมิลลิเมตร

4.    ชนิดของวัสดุที่ใช้สำหรับงานทางด้านการพิมพ์ ได้แก่  กระดาษ ฟิล์มพลาสติก เป็นต้น

5.    รูปแบบการพิมพ์บน-ล่างวัสดุใช้พิมพ์  ได้แก่ พิมพ์บน (surface print) พิมพ์ล่าง (reverse print) เป็นต้น

6.    งานหลังพิมพ์ ได้แก่ การขึ้นรูปซอง การแบ่งม้วน เป็นต้น

7.    แถบควบคุมคุณภาพ ได้แก่ ช่องสี (color bar) สำหรับตรวจวัดเพื่อควบคุณปริมาณการปล่อยหมึกขณะพิมพ์งาน และเครื่องหมายกันเหลื่อม (register mark) ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และสามารถนำไปใช้ในการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ได้

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ 



ยินดีต้อนรับ