หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-ELGL-119A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมโมแม่พิมพ์กราวัวร์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ช่างทำแม่พิมพ์กราวัวร์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการเตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ โดยจัดเตรียมโมแม่พิมพ์ และเครื่องจักรอุปกรณ์ในการทำแม่พิมพ์กราวัวร์ 

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพทำแม่พิมพ์กราวัวร์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
204011 ตรวจสอบโมแม่พิมพ์กราวัวร์ก่อนการเตรียมผิว 1.1 ตรวจสอบขนาดโมแม่พิมพ์ 204011.01 85808
204011 ตรวจสอบโมแม่พิมพ์กราวัวร์ก่อนการเตรียมผิว 1.2 ตรวจสอบสภาพผิวโมแม่พิมพ์ 204011.02 85809
204012 เตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.1เตรียมน้ำยาชุบแม่พิมพ์ 204012.01 85810
204012 เตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.2 ชุบนิเกิล และทองแดงให้มีความหนาถูกต้องเหมาะสมตามขนาดที่ต้องการ 204012.02 85811
204012 เตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.3 เจียเพื่อปรับขนาดของเส้นรอบวงโมแม่พิมพ์ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ 204012.03 85812
204012 เตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 2.4 ขัดผิวหน้าโมแม่พิมพ์ให้ได้ตามมาตรฐาน 204012.04 85813
204013 ตรวจสอบคุณภาพหลังเตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 3.1ตรวจสอบเส้นรอบวงโมแม่พิมพ์ 204013.01 85814
204013 ตรวจสอบคุณภาพหลังเตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 3.2 ตรวจสอบคุณสมบัติของผิวทองแดง 204013.02 85815
204013 ตรวจสอบคุณภาพหลังเตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 3.3 ตรวจสอบสภาพผิวทองแดง 204013.03 85816
204013 ตรวจสอบคุณภาพหลังเตรียมผิวหน้าโมแม่พิมพ์กราวัวร์ 3.4 ตรวจสอบสภาพผิวนิเกิล 204013.04 85817
204014 บำรุงรักษาเครื่องจักรในการทำโมแม่พิมพ์ 4.1อ่านคู่มือการใช้งานเครื่องจักรได้ 204014.01 85818
204014 บำรุงรักษาเครื่องจักรในการทำโมแม่พิมพ์ 4.2เลือกใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ในการบำรุงรักษาเครื่องจักรได้ถูกต้องตามคู่มือการใช้งานของเครื่อง 204014.02 85819

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถอ่านเขียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้  และสามารถใช้งานเครื่องชุบโมแม่พิมพ์ เครื่องเจีย-ขัดโมแม่พิมพ์ และเครื่องมือวัดได้


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1.    การตรวจสอบขนาดโมแม่พิมพ์ 

2.    การตรวจสภาพผิวแม่พิมพ์ 

3.    การเตรียมน้ำยาชุบแม่พิมพ์ 

4.    การเจียผิวโมแม่พิมพ์ 

5.    การขัดผิวโมแม่พิมพ์ 

6.    การตรวจสอบเส้นรอบวงโมแม่พิมพ์ 

7.    การตรวจสอบคุณสมบัติของผิวทองแดง

8.    การตรวจสอบสภาพผิวทองแดง 

9.    การตรวจสอบสภาพผิวนิเกิล

10.  การใช้เครื่องมือวัด

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1.    การใช้เครื่องมือในการวัดขนาดโมแม่พิมพ์

2.    การเตรียมสารละลาย เช่น  คอปเปอร์ซัลเฟต (copper sulfate) กรดซัลฟูริก (sulfuric acid) เป็นต้น

3.    การใช้เครื่องเจีย เครื่องขัดผิวโมแม่พิมพ์ 

4.    การตรวจสอบสภาพผิวทองแดง 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

- โมแม่พิมพ์ที่ได้จากการเตรียม 

- ผลจากการสังเกตการณ์การปฏิบัติงานตามใบสั่งงาน หรือหลักฐานการบันทึกวีดีโอ ในการเตรียมโมแม่พิมพ์

- ผลการตรวจสอบขนาดโมแม่พิมพ์ สภาพผิวแม่พิมพ์ การเตรียมน้ำยาชุบแม่พิมพ์ การเจียผิว การขัดผิว 

- ผลการตรวจสอบเส้นรอบวงโมแม่พิมพ์ คุณสมบัติของผิวทองแดง สภาพผิวทองแดง และสภาพผิวนิเกิล

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ 

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

    ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้  และสถานที่ทำการประเมินไม่มีสภาวะรบกวน 

(ง) วิธีการประเมิน

    ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ 

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

1.    เตรียมสารละลายที่ใช้ในการชุบโมแม่พิมพ์ เช่น  คอปเปอร์ซัลเฟต (copper sulfate) กรดซัลฟูริก (sulfuric acid) เป็นต้น

2.    การกำหนดความหนาของการชุบผิวทองแดง ให้ได้ตามมาตรฐานในการชุบ

3.    การใช้เครื่องเจีย เครื่องขัดผิวโมแม่พิมพ์ และเครื่องมือวัดให้ถูกต้องและปลอดภัย

4.    การตรวจสอบสภาพผิวทองแดงให้สมบูรณ์ ได้แก่ ความเรียบของผิวทองแดง รอยตำหนิของผิวทองแดง ให้อยู่ในสภาพที่นำไปใช้งานต่อได้

5.    การตรวจสอบคุณสมบัติของผิวทองแดงให้ได้ตามมาตรฐาน เช่น ความแข็งของทองแดง ความหนาของทองแดง 

6.    การตรวจสอบสภาพผิวนิเกิลให้สมบูรณ์ ได้แก่ ความเรียบของผิวนิเกิล รอยตำหนิของผิวนิเกิล ให้อยู่ในสภาพที่นำไปใช้งานต่อได้

7.    การดูแลรักษาเครื่องจักรเบื้องต้น ได้แก่ ความสะอาด ความปลอดภัยในการทำงาน และการตรวจคุณภาพของเครื่อง และน้ำยาเคมี 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

N/A

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

ใช้วิธีการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ จากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ 



ยินดีต้อนรับ