หน่วยสมรรถนะ
ควบคุมคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PRT-BWSO-115A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ควบคุมคุณภาพการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
หัวหน้าช่างทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัลบนพอลิเมอร์แข็ง การทำแม่พิมพ์สำหรับงานพิมพ์สอดสี ตรวจสอบความถูกต้องของกระบวนการทำแม่พิมพ์ การใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ แก้ไขปัญหาเบื้องต้นและหาวิธีป้องกัน ควบคุมกระบวนการทำงานให้เป็นไปตามปกติตั้งแต่กระบวนการเตรียมงานไปจนถึงกระบวนการตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์ (Pre-press technicians) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของไฟล์ต้นฉบับด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (preview) | 203081.01 | 85775 |
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.2 ปรับแก้ไฟล์ต้นฉบับเบื้องต้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (edit) | 203081.02 | 85776 |
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.3 ปฏิบัติงานปรับตั้งและกำหนดค่าสำหรับการสร้างลวดลายบนแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีดิจิทัล | 203081.03 | 85777 |
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.4 คำนวณการหาค่าเวลาและชนิดของประเภทหลอดไฟที่ใช้ในการฉายแสงด้านหน้าฉายแสงด้านหลัง การฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำ และการฉายแสงบนแม่พิมพ์เพื่อปรับผิวหน้า | 203081.04 | 85778 |
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.5 คำนวณหาค่าเวลาหรือรอบการขัดล้างแม่พิมพ์ การอบแห้งให้ถูกต้องกับชนิดและประเภทของแม่พิมพ์ | 203081.05 | 85779 |
203081 วิเคราะห์และกำหนดค่าในการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 1.6 คำนวณปริมาณการใช้น้ำยาล้างแม่พิมพ์ | 203081.06 | 85780 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.1 ใช้เครื่องมือในการวัดขนาดแม่พิมพ์ | 203082.01 | 85781 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.2 ใช้เครื่องมือในการวิเคราะห์และตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ ได้แก่ อ่านค่าพื้นที่เม็ดสกรีนขนาดของเส้นและตัวอักษร | 203082.02 | 85782 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.3 วิเคราะห์ค่าการฉายแสงเลเซอร์บนแม่พิมพ์ดิจิทัล | 203082.03 | 85783 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.4 ตรวจสอบความหนาของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด | 203082.04 | 85784 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.5 วิเคราะห์ความสูงของตัวพิมพ์พื้นนูน | 203082.05 | 85785 |
203082 ใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ | 2.6 ตรวจสอบและวิเคราะห์ความแข็งของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด | 203082.06 | 85786 |
203083 แก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดในกระบวนการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 3.1 เตรียมความความพร้อมของเครื่องมือและเครื่องจักรในการผลิตแม่พิมพ์ | 203083.01 | 85787 |
203083 แก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดในกระบวนการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 3.2 แก้ไขปัญหาในกระบวนการผลิตตามคู่มือการผลิตและการใช้เครื่องจักร | 203083.02 | 85788 |
203083 แก้ไขปัญหาเบื้องต้นที่เกิดในกระบวนการผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล | 3.3 ควบคุมกระบวนการล้างแม่พิมพ์ได้ทั้งระบบ | 203083.03 | 85789 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
อ่านและเขียนภาษาไทยได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ สามารถใช้คอมพิวเตอร์และโปรแกรมคอมพิวเตอร์ได้ |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - กระบวนการแก้ไขปัญหา - การตรวจสอบไฟล์ต้นฉบับ - การใช้อุปกรณ์ คอมพิวเตอร์และโปรแกรมทำแม่พิมพ์แบบดิจิทัล - การติดตั้งแม่พิมพ์แบบดิจิทัลในเครื่องสร้างลวดลายแม่พิมพ์ - การใช้เครื่องฉายแสงยูวีทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์แข็ง - การปรับค่าและตั้งเวลาการฉายแสงยูวี - ติดตั้งแม่พิมพ์ในเครื่องล้างและทำความสะอาดแม่พิมพ์ - การใช้เครื่องฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำ และตู้อบลมร้อน - การใช้เครื่องมือในการวัดและวิเคราะห์คุณภาพ - การอ่านคู่มือการทำงาน คู่มืออุปกรณ์ และคู่มือเครื่องจักร (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ไฟล์ต้นฉบับทางการพิมพ์ - การทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ - การทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์แข็ง - ชนิดของแสงยูวีและการคำนวณการหาค่าเวลาการฉายแสงด้านหน้า ฉายแสงด้านหลัง การฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำ และการฉายแสงบนแม่พิมพ์เพื่อปรับผิวหน้า - การคำนวณหาค่าเวลาหรือรอบการขัดล้างแม่พิมพ์ - การคำนวณการอบแห้งแม่พิมพ์ - การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัดคุณภาพ - พื้นที่เม็ดสกรีน ขนาดของเส้นและตัวอักษร - ความหนาและความสูงของตัวพิมพ์พื้นนูนบนแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัลที่ได้จากการปฏิบัติงาน - ผลการวัดและคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล - ผลการปรับตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์ - แผนการวางแผนป้องกันปัญหาการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีแบบดิจิทัล - บันทึกรายการจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงาน หรือบันทึกความเห็นจากสถานประกอบการ - ใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการ - ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ - ผลการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้ - หลักฐานจากใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการ - ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ค) คำแนะนำในการประเมิน การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ มีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีคอมพิวเตอร์พร้อมโปรแกรมทำแม่พิมพ์แบบดิจิทัลไฟล์งานตัวอย่าง เครื่องมือ อุปกรณ์ และเคมีภัณฑ์พร้อมใช้งาน (ง) วิธีการประเมิน ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ปรับแก้ไฟล์ต้นฉบับเบื้องต้น ได้แก่ การหมุนปรับ การวางแนวตั้ง หรือการรวมไฟล์งานต้นฉบับบนพื้นที่การทำงานเดียวกัน การปรับตั้งและกำหนดค่าสำหรับการสร้างลวดลายบนแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีดิจิทัล ได้แก่ กำหนดระยะห่างของหัวเลเซอร์กับแม่พิมพ์ (focus search) ค่าของเม็ดสกรีน มุมองศาสกรีน ความละเอียด ตามประเภทของงานหรือความต้องการของลูกค้า ไฟล์ต้นฉบับทางการพิมพ์ 2 สีขึ้นไป หรือ 4 สี (process color) ได้จากแปลงไฟล์ภาพงานพิมพ์ด้วยโปรแกรมจัดการภาพราสเตอร์ในคอมพิวเตอร์ (RIP) แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์แข็งสำหรับดิจิทัลใช้แบบที่รองรับกับเครื่องที่ใช้สร้างภาพ และเป็นแม่พิมพ์ที่ล้างด้วยตัวทำละลาย (solvent) มีขนาดความหนาตั้งแต่ 1.14 - 6.35 มิลลิเมตร แสงยูวีที่ใช้คือยูวีเอ (UV-A) และยูวีซี (UV-C) ที่ใช้ล้างแม่พิมพ์เป็นประเภทตัวทำละลาย (solvent)หรือเป็นน้ำที่มีการผสมสารลดแรงตึงผิว และสารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการชำระล้าง (detergent) ปัญหาเบื้องต้น เป็นปัญหาจากกระบวนการทำงาน เช่น ปัญหาจากมุมองศาสกรีน ปัญหาจากรูปแบบเม็ดสกรีน ปัญหาการการเจาะลึกแม่พิมพ์ หรือปัญหาแม่พิมพ์ตัน เป็นต้น โดยต้องไม่ใช่ปัญหาที่เกิดจากสภาพของเครื่องจักร การเพิ่มความแข็งแม่พิมพ์ เป็นการฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำด้วยยูวีเอ (UV-A) การปรับผิวหน้าแม่พิมพ์ เป็นการฉายแสงด้วยยูวีซี (UV-C) ควบคุมกระบวนการล้างแม่พิมพ์ทั้งระบบเป็นการปรับตั้งและแก้ไขเป็นการปรับเปลี่ยนจำนวนรอบและเวลาในกระบวนการทำงาน การเตรียมความความพร้อมของเครื่องมือและเครื่องจักร เช่น ปรับตั้งค่าความหนาให้ถูกต้อง กำลังไฟของหลอดยูวี ระบบลมดูด ความสูงของแปรงขัดล้าง และตัวควบคุมอุณหภูมิ การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน (ข) คำอธิบายรายละเอียด - การฉายแสงด้านหลัง หรือการฉายแสงหลัง (back exposer) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านฐาน - การฉายแสงด้านหน้า หรือการฉายแสงหน้า หรือการฉายแสงหลัก (main exposure) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านตัวพิมพ์ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ทดสอบหน่วยสมรรถนะนี้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยตั้งคำถามสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงาน วัดผลทางด้านความรู้จากการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้ หรือพิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ |