หน่วยสมรรถนะ
ปฏิบัติงานผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PRT-JCPQ-110A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | ปฏิบัติงานผลิตแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2558 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ช่างทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวกับการตรวจสอบความถูกต้องของฟิล์มต้นฉบับ สามารถปฏิบัติงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี ชนิดพอลิเมอร์เหลว ได้ถูกต้องตามชนิดและขั้นตอนการทำงาน ตั้งแต่กระบวนการเตรียมงานไปจนถึงกระบวนการล้างแม่พิมพ์และตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์ที่ผลิตได้ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์ (Pre-press technicians) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
---|---|---|---|
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ | 1.1 ทำความสะอาดฟิล์มต้นฉบับ | 203031.01 | 85700 |
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ | 1.2 ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางกายภาพของฟิล์มเนกาทิฟ | 203031.02 | 85701 |
203031 ตรวจสอบความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ | 1.3 ตรวจค่าความดำของฟิล์มต้นฉบับด้วยเครื่องมือวัด | 203031.03 | 85702 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.1 ทำความสะอาดและทำการติดตั้งฟิล์มต้นฉบับ โดยวางแผ่นพลาสติกกันฟิล์มติดและไล่อากาศให้ฟิล์มแนบสนิท | 203032.01 | 85703 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.2 ติดแถบโฟมกั้นขอบกำหนดขนาดพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง | 203032.02 | 85704 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.3 คำนวณขนาดพื้นที่ และกำหนดปริมาณพอลิเมอร์เหลวที่ใช้ตามขนาดความหนาของแม่พิมพ์ที่ต้องการ | 203032.03 | 85705 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.4 เทน้ำยางพอลิเมอร์เหลว ได้ถูกต้อง และไล่ฟองอากาศออกจากพอลิเมอร์เหลว | 203032.04 | 85706 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.5 ติดตั้งแผ่นรองหลัง (base film)ได้อย่างถูกต้อง | 203032.05 | 85707 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.6 กำหนดความหนาแม่พิมพ์ด้วยแท่งเหล็กกำหนดขนาดตามคำสั่ง | 203032.06 | 85708 |
203032 เตรียมวัสดุในการทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีตามลักษณะงาน | 2.7 ผสมน้ำยาล้าง ตามใบสั่งงาน และติดตั้งแม่พิมพ์ในเครื่องล้าง และปฏิบัติงานล้างแม่พิมพ์ | 203032.07 | 85709 |
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว | 3.1 วางเลย์เอาต์ของงานต่างๆให้เหมาะสมหรือเต็มพื้นที่การสร้างภาพของแม่พิมพ์ | 203033.01 | 85710 |
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว | 3.2 ปฏิบัติงานฉายแสงด้านหลังฉายแสงด้านหน้า ด้วยแสงยูวีเอ (UV-A) ตามใบสั่งงาน | 203033.02 | 85711 |
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว | 3.3 ปรับสภาพผิวหน้าและปรับค่าความแข็งของแม่พิมพ์ด้วยการฉายแสงยูวีเอ(UV-A)ลงสู่แม่พิมพ์ที่แช่อยู่ในน้ำ (wet cure) | 203033.03 | 85712 |
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว | 3.4 ทำความสะอาดแม่พิมพ์และทำการอบแห้ง | 203033.04 | 85713 |
203033 ปฏิบัติงานใช้เครื่องฉายแสงและล้างสร้างภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว | 3.5 ทำการฉายแสงบนแม่พิมพ์เพื่อปรับผิวหน้า ด้วยแสงยูวีซี (UV-C) ตามระยะเวลาที่กำหนดในใบสั่งงาน | 203033.05 | 85714 |
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต | 4.1 ตรวจสอบความสมบูรณ์ทางกายภาพของแม่พิมพ์ | 203034.01 | 85715 |
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต | 4.2 ตรวจสอบความเหนียวของผิวหน้าแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟี | 203034.02 | 85716 |
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต | 4.3 ตรวจสอบความหนาของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด | 203034.03 | 85717 |
203034 ตรวจสอบคุณภาพแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวหลังการผลิต | 4.4 ตรวจสอบความแข็งของแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีด้วยเครื่องมือวัด | 203034.04 | 85718 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
อ่านและเขียนภาษาไทยได้ และเข้าใจภาษาอังกฤษเที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ และปฏิบัติงานด้านการเตรียมวัสดุ และช่วยงานทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ - อ่านใบสั่งงานได้ - ตรวจสอบความถูกต้องของฟิล์มต้นฉบับ - การใช้อุปกรณ์วัดค่าความดำของฟิล์มต้นฉบับ - การติดตั้งฟิล์มต้นฉบับ - การใช้เครื่องฉายแสงยูวีทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว - เทคนิคการเทยางพอลิเมอร์เหลว - เทคนิคการไล่ฟองอากาศในพอลิเมอร์เหลว - เทคนิคและวิธีเก็บน้ำยางพอลิเมอร์ส่วนที่ไม่แข็งตัว - ติดตั้งแม่พิมพ์ในเครื่องล้าง - ล้างทำความสะอาดแม่พิมพ์ - การใช้เครื่องฉายแสงบนแม่พิมพ์ซ้ำ และตู้อบลมร้อน - การใช้อุปกรณ์วัดค่าความหนาแม่พิมพ์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ - ฟิล์มต้นฉบับทางการพิมพ์ - การทำแม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลว - การคำนวณปริมาณพอลิเมอร์เหลว - ชนิดและคุณสมบัติของแสงยูวี - การปรับค่าและตั้งเวลาการฉายแสงยูวี - การปรับสภาพผิวหน้าและความแข็งของแม่พิมพ์ - การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือวัด |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวที่ได้จากการปฏิบัติงาน - บันทึกรายการจากการสังเกตการณ์ในการปฏิบัติงานตามใบงาน - ความเห็นจากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมงาน - ใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการหรือการผ่านการฝึกอบรมในงานดังกล่าว - ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) - ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ - ผลการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้ - หลักฐานจากใบผ่านการทำงานจากสถานประกอบการ - ใบรับรอง (certificate) ประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่น ๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ค) คำแนะนำในการประเมิน การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ มีการจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสม และสถานที่ทำการประเมินต้องไม่มีสภาวะรบกวนการประเมิน มีเครื่องมือ อุปกรณ์และ เคมีภัณฑ์พร้อมใช้งาน (ง) วิธีการประเมิน ใช้วิธีการทดสอบทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ และแฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ฟิล์มต้นฉบับทางการพิมพ์ 1 สี ได้จากเครื่องสร้างฟิล์มระบบคอมพิวเตอร์ (Computer to Film) ความสมบูรณ์ของฟิล์มต้นฉบับ คือไม่มีรอยตามด (Pinhole) ความคมชัดของขอบภาพ และรอยขีดข่วน แม่พิมพ์เฟล็กโซกราฟีชนิดพอลิเมอร์เหลวประเภทล้างด้วยน้ำ แสงยูวีที่ใช้คือยูวีเอ (UV-A) และยูวีซี (UV-C) กำหนดความหนาแม่พิมพ์ตั้งแต่ 1.70-7.00 มิลลิเมตร ด้วยแท่งเหล็ก การปรับความแข็งของแม่พิมพ์ด้วยการอบน้ำ (wet cure) และฉายแสงด้วยแสงยูวีเอ (UV-A) น้ำที่ใช้ล้างแม่พิมพ์มีการผสมสารลดแรงตึงผิว และสารช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการชำระล้าง (detergent) น้ำยาอบเพิ่มความแข็งแม่พิมพ์ เป็นน้ำที่มีส่วนผสมของผงโพลีเอทิลีน (PE) การภาพแม่พิมพ์ คือการตรวจสอบ ความสะอาดของแม่พิมพ์ ความสมบูรณ์ของเม็ดสกรีน ลายเส้น ตัวอักษรและภาพ การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนต้องมีความปลอดภัยในการทำงาน (ข) คำอธิบายรายละเอียด การฉายแสงด้านหลัง หรือการฉายแสงหลัง (back exposer) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านฐาน การฉายแสงด้านหน้า หรือการฉายแสงหน้า หรือการฉายแสงหลัก (main exposure) เป็นการฉายแสงด้านหนึ่งของแม่พิมพ์เพื่อให้พอลิเมอร์ หรือยางแม่พิมพ์แข็งตัวเป็นด้านตัวพิมพ์ |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
ทดสอบหน่วยสมรรถนะนี้ทั้งทางภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยตั้งคำถามสัมภาษณ์เกี่ยวกับความรู้และขั้นตอนการปฏิบัติงาน วัดผลทางด้านความรู้จากการสอบข้อเขียนหรือแบบทดสอบความรู้ หรือ พิจารณาจากหลักฐานความเห็นจากสถานประกอบการ แฟ้มสะสมงาน หนังสือรับรองประสบการณ์ ใบผ่านงาน ประกาศนียบัตร ใบวุฒิบัตร แบบฟอร์มการปฏิบัติงานประจำวัน และอื่นๆ |