หน่วยสมรรถนะ
วางแผนงาน และควบคุมการออกแบบกราฟิก บรรจุภัณฑ์
สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์
รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ
1. รหัสหน่วยสมรรถนะ | PRT-OBZQ-418A |
2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ | วางแผนงาน และควบคุมการออกแบบกราฟิก บรรจุภัณฑ์ |
3. ทบทวนครั้งที่ | 1 / 2564 |
4. สร้างใหม่ | ปรับปรุง |
5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification) | |
ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ |
6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency) | |
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรที่จำเป็น และการดำเนินงานในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ การแก้ไขปัญหาในขั้นตอนการออกแบบ |
7. สำหรับระดับคุณวุฒิ |
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 |
---|---|---|---|---|---|---|---|
8. กลุ่มอาชีพ (Sector) | |
ผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบบรรจุภัณฑ์ |
9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี) | |
กราฟิกดีไซเนอร์ (Graphic Designer)รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์ (Pre-press technicians) |
10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี) | |
N/A |
11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria) |
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) | เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) | รหัส PC (ตามเล่มมาตรฐาน) |
รหัส PC (จากระบบ) |
|
---|---|---|---|---|
103091
บรรจุภัณฑ์ |
1 วางแผนการดำเนินงานออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
103091.01 | 161825 | |
103091
บรรจุภัณฑ์ |
2 วางแผนการใช้บุคลากรในการออกแบบกราฟืกบรรจุภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ |
103091.02 | 161826 | |
103091
บรรจุภัณฑ์ |
3 วางแผนการจัดการทรัพยากรที่เหมาะสมกับการใช้งาน ต้นทุนการผลิตและเวลา |
103091.03 | 161827 | |
103092
บรรจุภัณฑ์ |
1 ตรวจสอบรายการอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ได้ครบถ้วน |
103092.01 | 161828 | |
103092
บรรจุภัณฑ์ |
2 ตรวจสอบสภาพการใช้งานของอุปกรณ์และเครื่องมือให้มีคุณภาพในการออกแบบ กราฟิกบรรจุภัณฑ์ |
103092.02 | 161829 | |
103092
บรรจุภัณฑ์ |
3 กำหนดแนวทางและเกณฑ์การตรวจสอบการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ได้ครบถ้วน |
103092.03 | 161830 | |
103092
บรรจุภัณฑ์ |
4 แนะนำวิธีแก้ไขปัญหา และวิธีใช้งานโปรแกรมการออกแบบบรรจุภัณฑ์ต่อผู้ปฏิบัติงานได้ |
103092.04 | 161831 |
12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge) | |
สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้ดีและสามารถอ่าน/พูด/เขียน ภาษาอังกฤษได้ หรือมีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่ง นักออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ หรือนักออกแบบบรรจุภัณฑ์ หรือนักออกแบบกราฟิก (สิ่งพิมพ์) |
13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) | |
(ก) ความต้องการด้านทักษะ 1. การวางแผนอุปกรณ์และเครื่องมือในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ 2. การให้คำแนะนำและข้อเสนอแนะในการทำงานออกแบบกราฟืกบรรจุภัณฑ์ 3. การแก้ไขปัญหาหน้างานในระหว่างการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (ข) ความต้องการด้านความรู้ 1. การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ องค์ประกอบศิลป์ ทฤษฎีการออกแบบ 2. การบริหารจัดการเบื้องต้น 3. อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ 4. เทคนิคการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ 5. โปรแกรมทางด้านการออกแบบบรรจุภัณฑ์ 6. วิธีการตรวจไฟล์งาน ตรวจสอบความสมบูรณ์ของอาร์ตเวิร์คต้นฉบับ |
14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide) | |
(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence) - รายงานผลการวางแผนและการควบคุมการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ - รายงานการแก้ไขและข้อเสนอแนะการแก้ปัญหางานออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ (ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence) ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (Certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ (ค) คำแนะนำในการประเมิน การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านนี้ หรือมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมจัดหน้าหนังสือในสถานประกอบการ มีการกำหนดสถานการณ์จำลองที่เหมาะสม (ง) วิธีการประเมิน ใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ ตัวอย่างผลงานจากโปรแกรมออกแบบ |
15. ขอบเขต (Range Statement) | |
(ก) คำแนะนำ ไม่มี (ข) คำอธิบายรายละเอียด 1. การใช้โปรแกรมระดับปฏิบัติการและความรู้เทคนิคขั้นสูง คือสามารถในการใช้งาน/คำสั่งเฉพาะที่ไม่ได้เป็นที่รับรู้หรือกระทำได้โดยทั่วไป |
16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี) | |
N/A |
18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure) | |
1. การสัมภาษณ์ 2. การทดสอบโดยข้อสอบ 3. การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน |