หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมการพิมพ์


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ PRT-PTDV-414A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

หัวหน้างานออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์ด้วยโปรแกรมออกแบบ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบวิชาชีพออกแบบบรรจุภัณฑ์

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
กราฟิกดีไซเนอร์ (Graphic Designer)รหัส ISCO-08-7321 ช่างด้านเทคนิคก่อนการพิมพ์   (Pre-press technicians)

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
103051

ออกแบบเลย์เอาต์ไฟล์งานสำเร็จ (art work) บรรจุภัณฑ์

1 ใช้เครื่องมือในการจัดวางเลย์เอาต์ (layout) ได้อย่างมีประสิทธิภาพตรงตามแนวคิดการออกแบบ (concept design) หรือตรงตามความต้องการของลูกค้า

103051.01 161790
103051

ออกแบบเลย์เอาต์ไฟล์งานสำเร็จ (art work) บรรจุภัณฑ์

2 จัดขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับพื้นที่บรรจุภัณฑ์

103051.02 161791
103051

ออกแบบเลย์เอาต์ไฟล์งานสำเร็จ (art work) บรรจุภัณฑ์

3 จัดการตัวพิมพ์ในการออกแบบกราฟิกบนบรรจุภัณฑ์ตามลักษณะการใช้งานได้อย่างเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์

103051.03 161792
103051

ออกแบบเลย์เอาต์ไฟล์งานสำเร็จ (art work) บรรจุภัณฑ์

4 ใช้สัญลักษณ์และวางตำแหน่งได้ถูกต้องตามการใช้งานและข้อบังคับทางกฎหมาย

103051.04 161793
103051

ออกแบบเลย์เอาต์ไฟล์งานสำเร็จ (art work) บรรจุภัณฑ์

5 จัดเก็บไฟล์งานได้ถูกต้องตามกระบวนการทำงานต่อไป

103051.05 161794
103052 ใช้สีทางการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

1 ใช้สีในการออกแบบกราฟิกตามความหมายจิตวิทยาสีได้

103052.01 161795
103052 ใช้สีทางการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

2 เลือกใช้คู่สีหรือสีในวงจรสีได้ตรงตาม แนวคิดการออกแบบ หรือตามความต้องการของลูกค้า

103052.02 161796
103052 ใช้สีทางการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

3 กำหนดสีงานพิมพ์และสีพิเศษได้

103052.03 161797
103052 ใช้สีทางการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

4 ปรับแต่งแก้ไขสีให้ตรงแนวคิดการออกแบบได้

103052.04 161798
103053 ออกแบบเทคนิคหลังพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

1 ปรับรูปแบบชิ้นงานบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ ในเรื่องของเทคนิคการตกแต่งชิ้นงาน การขึ้นรูป และประกอบชิ้นงาน 

103053.01 161799
103053 ออกแบบเทคนิคหลังพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

2 แก้ไขไฟล์งานได้เหมาะสมกับวัสดุใช้พิมพ์ในงานบรรจุภัณฑ์ ระบบการพิมพ์และระบบงานหลังพิมพ์

103053.02 161800
103053 ออกแบบเทคนิคหลังพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

3 ปรับความละเอียดและขนาดรูปภาพให้เหมาะสมกับการใช้งาน และวัสดุใช้พิมพ์

103053.03 161801

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

สามารถอ่านเขียนภาษาไทยได้หรือสามารถเข้าใจคำภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับการทำงานได้ หรือมีประสบการณ์การทำงานทางด้านกราฟิกหรือออกแบบบรรจุภัณฑ์


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. การใช้เครื่องมือในโปรแกรมปรับแต่งภาพ วาดภาพเวกเตอร์ และจัดวาง layout

  2. การใช้โปรแกรมตั้งค่า เปลี่ยนแปลง แก้ไข และจัดเก็บไฟล์งาน  

  3. การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

  4. เทคนิคงานหลังพิมพ์

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. โปรแกรมในการออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

  2. รูปแบบไฟล์งานที่เกี่ยวข้องทางด้านงานพิมพ์

  3. การจัดการสีบนไฟล์งาน

  4. การจัดวางองค์ประกอบศิลป์

  5. การออกแบบกราฟิกบรรจุภัณฑ์

  6. เทคนิคงานหลังพิมพ์บนบรรจุภัณฑ์

  7. สมบัติของวัสดุใช้พิมพ์และระบบการพิมพ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)



     - รายงานการจัดเตรียมโปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์



     - รายงานผลการใช้โปรแกรมออกแบบบรรจุภัณฑ์ การตั้งค่า แก้ไขงาน ทั้งเรื่องของชนิด ขนาดตัวอักษร การจัดรูปแบบภาพ ที่มีการเชื่มโยง (Link) การเปลี่ยนแปลงแก้ไข และการจัดเก็บไฟล์งาน



     - รายงานผลการปฏิบัติงานตามต้นแบบที่กำหนด 



     - รายงานผลของไฟล์งานที่สำเร็จ



     - ผลการแยกสี



     - ไฟล์งานที่สำเร็จ



     - การใช้สัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์และการสร้างรูปกราฟิกในงาน



     - ตัวพิมพ์ ที่ใช้บนบรรจุภัณฑ์



     - ผลการกำหนดความละเอียดรูปภาพให้เหมาะกับวัสดุพิมพ์



     - ผลงานการออกแบบให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)



     ผลการตอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ หลักฐานจากใบรับรอง (Certificate) ใบผ่านการอบรม แฟ้มสะสมงาน (Portfolio) ใบผ่านงาน และประกาศนียบัตร วุฒิบัตร และอื่นๆ ตามที่ภาคอุตสาหกรรมยอมรับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



     การประเมินหลักฐานด้านทักษะและความรู้ ผู้ประเมินจะต้องมีประสบการณ์ด้านหน่วยสมรรถนะนี้ หรือมีประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมจัดหน้าหนังสือในสถานประกอบการ มีการกำหนดสถานการณ์จำลองที่เหมาะสม



(ง) วิธีการประเมิน



            ใช้วิธีการทดสอบทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สอบปากเปล่าจากการสัมภาษณ์ และหรือผลการสอบข้อเขียนจากแบบทดสอบความรู้ ตัวอย่างผลงานจากโปรแกรมออกแบบ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก)คำแนะนำ



    ไม่มี



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. แนวคิดการออกแบบ (Concept Design) คือ แนวความคิดที่กำหนดขอบเขตของการออกแบบของชิ้นงาน เพื่อเป็นการกำหนดแนวทางในการออกแบบ

  2. Layout Design คือ การจัดวางองค์ประกอบทางศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ลงบนบรรจุภัณฑ์

  3. ตัวพิมพ์ คือ ตัวอักษรที่ใช้ในงานออกแบบ มีความหมายครอบคลุมทั้งลักษณะหน้าตาของตัวอักษร (typeface) และคุณลักษณะในการใช้งาน ระยะต่าง ๆ ของตัวอักษร รวมทั้งชนิดของตัวพิมพ์

  4. การสร้างภาพ คือ การตกแต่งปรับเปลี่ยนรูปภาพต้นฉบับให้มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับ Concept Design

  5. การจัดการสีของรูปภาพ คือการปรับเปลี่ยนโหมดสี และสีของภาพให้ตรงกับระบบงานพิมพ์

  6. การปรับรูปแบบชิ้นงานบรรจุภัณฑ์ให้สอดคล้องกับงานหลังพิมพ์ เป็นการนำเทคนิคการตกแต่งชิ้นงาน การขึ้นรูป และประกอบชิ้นงานในบรรจุภัณฑ์ ทั้งนี้ต้องเหมาะสมกับวัสดุบรรจุภัณฑ์


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. การสัมภาษณ์ 



2. การทดสอบโดยข้อสอบ



3. การสังเกตการปฏิบัติงานในสภาพจริง หรือสภาวะจำลอง หรือผลงาน



ยินดีต้อนรับ