หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการอุบัติการณ์ (Incident Management)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-LSOV-185B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการอุบัติการณ์ (Incident Management)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

301 ผู้ดูแลความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากทั้งภายในและภายนอกระบบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      ปฏิบัติหน้าที่ Incident Manager สำหรับอุบัติการณ์ขั้นรุนแรง และขั้นวิกฤติ รวมถึงให้การแนะนำ มาตรการแก้ไข ป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัยอย่างเหมาะสมต่อผู้รับผิดชอบพื้นที่ เมื่อเกิดอุบัติการณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30102.1

ให้การแนะนํา มาตรการแก้ไขป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย

1) ให้การแนะนำ มาตรการแก้ไข ป้องกันแก่ ผู้รับผิดชอบพื้นที่ได้อย่างถูกต้องและ เหมาะสมตามคู่มือการปฏิบัติงาน

30102.1.01 158470
30102.2

ปฏิบัติหน้าที่ IncidentManager สําหรับอุบัติการณ์ขั้นรุนแรง และขั้นวิกฤติ

1) ปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการณ์เหตุการณ์ (Incident Manager) ได้อย่างเหมาะสม 

30102.2.01 158471
30102.3

สอบสวนเบื้องต้น เก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องสําหรับอุบัติการณ์ขั้นรุนแรง

1) เก็บหลักฐาน และทำการสอบสวนเหตุการณ์ เบื้องต้นได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์

30102.3.01 158472
30102.3

สอบสวนเบื้องต้น เก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องสําหรับอุบัติการณ์ขั้นรุนแรง

2) สรุปรายงานสาเหตุของอุบัติการณ์ขั้นรุนแรง ที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งเสนอมาตรการป้องกัน

30102.3.02 158473

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร และจัดทำรายงาน



2. ทักษะการเขียนรายงาน



3. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ



4. ทักษะการใช้ program computer



5. ทักษะการสอนงานและให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟฟ้า



2. ความรู้เกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้า 



3. ความรู้เกี่ยวกับกฏหมายที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)



      ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  • การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่ รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  • การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงาน ภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสม ผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      พื้นที่ในการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งได้แก่ พื้นที่ในระบบรถไฟฟ้า พื้นที่ก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้า รวมถึงพื้นที่ก่อสร้างอาคารสูงตลอดสายทางระบบรถไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. พื้นที่ปฏิบัติงาน หมายถึง พื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ ของระบบรถไฟฟ้า

  2. เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เอกสาร Check Sheet ของระบบรถไฟฟ้า, รายงานเหตุการณ์/รายงานการ สอบสวนเหตุการณ์เบื้องต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือตรวจสอบ และประเมินให้การแนะนำ มาตรการแก้ไข ป้องกันเพื่อให้เกิดความปลอดภัย




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



2. เครื่องมือตรวจสอบและประเมินการปฏิบัติหน้าที่ Incident Manager สำหรับอุบัติการณ์ขั้น รุนแรง และขั้นวิกฤติ




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



3. เครื่องมือประเมินและตรวจสอบสอบสวนเบื้องต้น เก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องสำหรับอุบัติการณ์ขั้น รุนแรง




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



ยินดีต้อนรับ