หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจสอบและควบคุมการใช้กฎระเบียบข้อบังคับและขั้นตอนปฏิบัติงาน

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-PJVO-184B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจสอบและควบคุมการใช้กฎระเบียบข้อบังคับและขั้นตอนปฏิบัติงาน

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

301 ผู้ดูแลความปลอดภัยและลดความเสี่ยงที่อาจเกิดจากทั้งภายในและภายนอกระบบ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
ตรวจสอบและควบคุมการใช้กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและขั้นตอนปฏิบัติงานตามมาตรฐานความ ปลอดภัยทั้งภายในและภายนอกระบบรถไฟฟ้า

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
30101.1

ตรวจสอบความปลอดภัยประจําวัน

1) ตรวจสอบความปลอดภัยประจำวันตาม เอกสาร Check Sheet ตามแผนงานที่กำหนด ได้อย่างถูกต้อง

30101.1.01 158461
30101.2

อบรมความปลอดภัยให้กับพนักงาน ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง หรือบุคคลภายนอก ที่ทํางานในระบบรถไฟฟ้า

1) วางแผนการฝึกอบรมและให้คำปรึกษาแก่ บุคลากรในองค์กรด้านความปลอดภัยอย่างเป็นระบบ

30101.2.01 158462
30101.2

อบรมความปลอดภัยให้กับพนักงาน ผู้รับเหมา ผู้รับเหมาช่วง หรือบุคคลภายนอก ที่ทํางานในระบบรถไฟฟ้า

2) ให้การอบรมด้านความปลอดภัยได้อย่างครบถ้วนชัดเจน

30101.2.02 158463
30101.3

ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างที่ดําเนินการก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้า

1) ประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดจากพื้นที่ ก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้าได้

30101.3.01 158464
30101.3

ตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างที่ดําเนินการก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้า

2) ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างให้เข้าใจถึงผลกระทบต่อระบบรถไฟฟ้าได้อย่างเข้าใจ

30101.3.02 158465
30101.4

ตรวจสอบสิ่งล่อแหลม ความเสี่ยง อันตรายจากสิ่งแวดล้อมโครงสร้างภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ

1) ประเมินตรวจสอบสิ่งล่อแหลมความเสี่ยง อันตรายจากสิ่งแวดล้อมโครงสร้างภายนอกที่อาจเกิดขึ้นได้

30101.4.01 158466
30101.4

ตรวจสอบสิ่งล่อแหลม ความเสี่ยง อันตรายจากสิ่งแวดล้อมโครงสร้างภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ

2) ให้คำแนะนำและให้คำปรึกษาต่อผู้รับผิดชอบโครงการก่อสร้างให้เข้าใจถึงผลกระทบต่อระบบรถไฟฟ้าได้อย่างเข้าใจ

30101.4.02 158467
30101.5

ทํารายงานสรุป

1) จัดทำรายงานเพื่อสรุปถึงความเสี่ยงที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอกกับระบบรถไฟฟ้าได้อย่างชัดเจนและถูกต้อง

30101.5.01 158468
30101.5

ทํารายงานสรุป

2) จัดทำผลการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อเป็นแนวทางแก้ไขปัญหาที่เหมาะสม

30101.5.02 158469

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร และจัดทำรายงาน



2. ทักษะการเขียนรายงาน



3. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ



4. ทักษะการใช้ program computer



5. ทักษะการสอนงานและให้คำปรึกษา

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ด้านความปลอดภัยของระบบรถไฟฟ้า



2. ความรู้เกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้า



3. ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้(Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการ ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้า



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  • การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่ รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  • การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงาน ภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสม ผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ



      พื้นที่ในการปฏิบัติงานต่างๆ ซึ่งได้แก่ พื้นที่ในระบบรถไฟฟ้า พื้นที่ก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้า รวมถึงพื้นที่ก่อสร้างอาคารสูงตลอดสายทางระบบรถไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. พื้นที่ปฏิบัติงาน หมายถึง พื้นที่ปฏิบัติงานต่างๆ ของระบบรถไฟฟ้า

  2. เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ เอกสาร Check Sheet ของระบบรถไฟฟ้า, รายงานเหตุการณ์/รายงานการ สอบสวนเหตุการณ์เบื้องต้น


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือตรวจสอบความปลอดภัยประจำวัน




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



2. เครื่องมือและเอกสารให้การอบรมด้านความปลอดภัยได้อย่างครบถ้วนชัดเจน




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  •  พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



3. เครื่องมือประเมินและตรวจสอบพื้นที่ก่อสร้างที่ดำเนินการก่อสร้างภายในระบบรถไฟฟ้า




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



4. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบสิ่งล่อแหลม (ความวิกฤติ) ความเสี่ยง อันตรายจากสิ่งแวดล้อม โครงสร้างภายนอกที่อาจเกิดขึ้นกับระบบ




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



5. เครื่องมือประเมินการจัดทำรายงานสรุป




  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio) หรือ

  • พิจารณาจากสัมภาษณ์ (Interview)



ยินดีต้อนรับ