หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ประสานงานขอสิทธิซ่อมบํารุงทาง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-XRBD-179B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ประสานงานขอสิทธิซ่อมบํารุงทาง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

211 ผู้วางแผนและตรวจสอบงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่ต้องการในการประสานงานขอสิทธิในการซ่อมบำรุงทางและวิธีดำเนินการเข้า-ออกพื้นที่ และสามารถวางแผนความปลอดภัยในการปฏิบัติงานภายใต้ข้อกำหนดของสถานประกอบการ รวมทั้งดำเนินการตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21106.1

ระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย

1) ระบุประเภทของงานที่จะต้องทำการซ่อม บำรุงได้

21106.1.01 158424
21106.1

ระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย

2) ระบุความซับซ้อนในแต่ละงานที่ต้องทำการซ่อมบำรุงได

21106.1.02 158425
21106.1

ระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย

3) ระบุความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้จากการเข้าพื้นที่เพื่อทำการซ่อมบำรุงได้ 

21106.1.03 158426
21106.1

ระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย

4) วางแผนความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ภายใต้ข้อกำหนดของสถานประกอบการ

21106.1.04 158427
21106.2

ดําเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

1) จัดทำรายละเอียดและแผนการทำงานเพื่อเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องก่อนเข้าพื้นที่ 

21106.2.01 158428
21106.2

ดําเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

2) ยืนยันสิทธิการใช้พื้นที่ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน

21106.2.02 158429
21106.2

ดําเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

3) สื่อสารขั้นตอนการทำงานได้

21106.2.03 158430
21106.2

ดําเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

4) ประสานงานในการขนส่งวัสดุ/อุปกรณ์ไป ยังพื้นที่ได้ถูกต้องและครบถ้วน 

21106.2.04 158431
21106.2

ดําเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

5) กรอกแบบฟอร์ม/เอกสารเข้าพื้นที่ปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามมาตรฐานความปลอดภัยในการปฏิบัติงานและครบถ้วนตามกระบวนการของหน่วยงาน

21106.2.05 158432
21106.3

ดําเนินการออกจากพื้นที่และยุติการซ่อมบํารุง

1) แจ้งการออกจากพื้นที่การซ่อมบำรุงโดย ยืนยันความปลอดภัยตามกระบวนการของหน่วยงาน

21106.3.01 158433
21106.3

ดําเนินการออกจากพื้นที่และยุติการซ่อมบํารุง

2) สั่งการให้เคลื่อนย้ายอุปกรณ์และสัญลักษณ์ป้องกันความปลอดภัยออกจากพื้นที่ได้ครบถ้วน

21106.3.02 158434
21106.3

ดําเนินการออกจากพื้นที่และยุติการซ่อมบํารุง

3) รายงานการปฏิบัติงานตามขั้นตอนของ หน่วยงาน

21106.3.03 158435

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการจัดการสำหรับผู้บริหาร

  2. ทักษะการคิดวิเคราะห์

  3. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  5. ทักษะการแก้ปัญหาและตัดสินใจ

  6. ทักษะการใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

  7. ทักษะการเขียนและจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. วัสดุทาง

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลบำรุงทาง

  3. การซ่อมบำรุงทางรถไฟ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะเกี่ยวกับขั้นตอนในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ และความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทาง รวมทั้งมีทักษะความสามารถในการประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ขอบเขตของงาน:




  • ระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย

  • เข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย

  • ออกจากพื้นที่และการยุติการซ่อมบำรุง

  • รายงานการปฏิบัติงานตามขั้นตอนของหน่วยงาน



2. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร

  • การใช้โทรศัพท์มือถือ



3. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



4. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือนายตรวจทาง

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน

  • ตารางการเดินรถ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการระบุความต้องการเข้าพื้นที่และการป้องกันความปลอดภัย




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินดำเนินการเข้าพื้นที่และป้องกันความปลอดภัย




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการดำเนินการออกจากพื้นที่และการยุติการซ่อมบำรุง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ