หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

เตรียมการก่อนวางแผนงานซ่อมบํารุงทาง

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-VZXK-174B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ เตรียมการก่อนวางแผนงานซ่อมบํารุงทาง

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

211 ผู้วางแผนและตรวจสอบงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่ต้องการในการประสานขอข้อมูลสภาพทางและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการวางแผนงานและกำหนดกิจกรรมในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ การจำแนกรายละเอียดของงานซ่อมบำรุง การประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงทาง รวมทั้งการจัดทำข้อมูลเอกสาร/รายงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21101.1

สํารวจข้อมูลสภาพทางและปริมาณงานที่ต้องทําการซ่อมบํารุงทาง

1) ประสานงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่เพื่อขอข้อมูลสภาพทางและข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ตามกระบวนการขององค์กร 

21101.1.01 158172
21101.1

สํารวจข้อมูลสภาพทางและปริมาณงานที่ต้องทําการซ่อมบํารุงทาง

2) วิเคราะห์ข้อมูลสภาพทาง และข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องตามแผนการปฏิบัติงาน 

21101.1.02 158173
21101.1

สํารวจข้อมูลสภาพทางและปริมาณงานที่ต้องทําการซ่อมบํารุงทาง

3) บันทึกข้อมูลสภาพทางและรายการงานที่จะต้องซ่อมบำรุงลงในแบบฟอร์มที่กำหนด 

21101.1.03 158174
21101.2

สํารวจทรัพยากรที่จะใช้กับงานซ่อมบํารุงทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน

1) รวบรวมข้อมูลกำลังคน เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสุดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานซ่อมบำรุงทาง เพื่อใช้วางแผนความต้องการทรัพยากรในอนาคตให้มีความ สอดคล้องกับงบประมาณในแต่ละปี

21101.2.01 158175
21101.2

สํารวจทรัพยากรที่จะใช้กับงานซ่อมบํารุงทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน

2) วิเคราะห์ข้อมูลกำลังคนเครื่องมือ เครื่องจักรและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ใน งานซ่อมบำรุงทางได้สอดคล้องกับ แผนการปฏิบัติงาน

21101.2.02 158176
21101.2

สํารวจทรัพยากรที่จะใช้กับงานซ่อมบํารุงทางที่มีอยู่ในปัจจุบัน

3) บันทึกข้อมูลกำลังคน เครื่องมือเครื่องจักรและวัสุดอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในงานซ่อมบำรุงทางลงในแบบฟอร์มที่กำหนด 

21101.2.03 158177
21101.3

กําหนดกิจกรรมในการซ่อมบํารุงทางรถไฟ

1) ระบุขอบเขตของงานที่จะต้องทำในการซ่อมบำรุงทางได้อย่างถูกต้องและชัดเจน 

21101.3.01 158178
21101.3

กําหนดกิจกรรมในการซ่อมบํารุงทางรถไฟ

2) เลือกวิธีการทำงานได้เหมาะสมและสอดคล้องกับเวลา 

21101.3.02 158179
21101.3

กําหนดกิจกรรมในการซ่อมบํารุงทางรถไฟ

3) จัดลำดับการปฏิบัติงานได้เหมาะสมและสอดคล้องกับแผนงานและเวลา 

21101.3.03 158180
21101.4

ประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบํารุงทาง

1) ประเมินชั่วโมงการทำงานที่จะต้องใช้ในงานซ่อมบำรุงทางของแต่ละรายการได้ สอดคล้องกับแผนงาน 

21101.4.01 158189
21101.4

ประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบํารุงทาง

2) ประเมินการใช้วัสดุทางในการซ่อมบำรุงทางในแต่ละงานได้สอดคล้องกับแผนงาน 

21101.4.02 158190
21101.4

ประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบํารุงทาง

3) ประเมินการใช้อะไหล่ การจัดหาอะไหล่ และวัสดุซ่อมบำรุงของเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ทุกเครื่องได้ สอดคล้องกับแผนงาน

21101.4.03 158191
21101.5

จัดทําระบบข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานซ่อมบํารุงทาง

1) ศึกษาระบบเอกสารต่างๆ ที่ใช้อยู่ และเกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงทาง เพื่อปรับปรุงแบบฟอร์มให้ง่าย และไม่ซ้ำซ้อน กัน 

21101.5.01 158194
21101.5

จัดทําระบบข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานซ่อมบํารุงทาง

2) จัดทำ/ทบทวนระบบจัดเก็บข้อมูลต่างๆโดยเฉพาะข้อมูลการซ่อมบำรุง 

21101.5.02 158195

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการจัดการสำหรับผู้บริหาร

  2. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  5. ทักษะการประเมินปริมาณงาน

  6. ทักษะการใช้เทคโนโลยีและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูล

  7. ทักษะการเขียนและจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

  3. เครื่องมือเครื่องจักรกลบำรุงทาง

  4. วัสดุทาง

  5. การซ่อมบำรุงทางรถไฟและโครงสร้างรองรับทางรถไฟ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองการฝึกอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. ผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะและความรู้เกี่ยวกับสภาพทางรถไฟและโครงสร้างรองรับทางรถไฟ การประสานขอข้อมูลสภาพทางและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมการวางแผนงานและกำหนดกิจกรรมในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ การจำแนกรายละเอียดของงานซ่อมบำรุง การประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงทาง รวมทั้งการจัดทำข้อมูลเอกสาร/รายงานที่เกี่ยวข้องตามขั้นตอนการปฏิบัติงานขององค์กร นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ขอบเขตของงานอาจรวมถึง:




  • ประสานขอข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากภาคสนาม

  • วิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

  • กำหนดกิจกรรมในการซ่อมบำรุงทาง

  • จำแนกรายละเอียดของแต่ละงานในการซ่อมบำรุงทาง

  • ประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงทาง

  • จัดทำระบบข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนการซ่อมบำรุงทาง



2. เอกสาร/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการซ่อมบำรุงทาง อาทิเช่น:




  • ใบสั่งซ่อม

  • ใบแจ้งซ่อม

  • ใบสั่งซื้อ

  • ใบเบิกจ่ายอะไหล่ ฯลฯ



3. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร

  • การใช้โทรศัพท์มือถือ



4. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



5. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือนายตรวจทาง

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน

  • ตารางการเดินรถ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการสำรวจปริมาณงานที่ต้องทำการซ่อมบำรุงทาง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการสำรวจทรัพยากรที่จะใช้กับงานซ่อมบำรุงที่มีอยู่ในปัจจุบัน




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการกำหนดกิจกรรมในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการประเมินปริมาณงานและทรัพยากรที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงทาง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



5. เครื่องมือประเมินการจัดทำระบบข้อมูล/เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนงานซ่อมบำรุงทาง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ