หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ควบคุมงานซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-WDKG-170B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ควบคุมงานซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

210 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงโครงสร้างรองรับทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการควบคุมการปฏิบัติงานและตรวจสอบหลังการซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และได้มาตรฐานความปลอดภัยขององค์กร รวมทั้งสามารถประสานงานกับฝ่ายที่เกี่ยวข้อง และสื่อสาร สั่งการ กำกับดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปฏิบัติงานตามแผนที่กำหนดไว้ได้

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
 N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21008.1

ประสานงานและกํากับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

1) ประสานการปิดพื้นที่เพื่อเข้าปฏิบัติงาน ซ่อมบำรุงซ่อมช่องน้ำและอุโมงค์ได้ตามกระบวนการขององค์กร

21008.1.01 158061
21008.1

ประสานงานและกํากับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

2) ระบุพิกัดตำแหน่ง/สถานที่ที่จะเข้าดำเนินการซ่อมบำรุงได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

21008.1.02 158062
21008.1

ประสานงานและกํากับดูแลการจัดเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

3) ควบคุมการติดตั้งป้ายเตือนและสิ่งป้องกัน อันตราย

21008.1.03 158063
21008.2

ตรวจสอบคุณภาพวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

1) บอกข้อกำหนดของเครื่องมือ และวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและ อุโมงค์ได้

21008.2.01 158064
21008.2

ตรวจสอบคุณภาพวัสดุเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

2) อ่านผลการทดสอบ (Test Result)/ คุณสมบัติจำเพาะ (Specification) ของเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์หน้างานได้ 

21008.2.02 158065
21008.3

ควบคุมการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

1) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำ และอุโมงค์ให้เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ และได้มาตรฐานความปลอดภัย

21008.3.01 158066
21008.3

ควบคุมการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

2) ตัดสินใจ สั่งการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะ หน้าระหว่างปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำ และอุโมงค์ได้อย่างทันท่วงที 

21008.3.02 158067
21008.3

ควบคุมการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

3) ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำ และอุโมงค์ในสภาวะฉุกเฉินได้ 

21008.3.03 158068
21008.3

ควบคุมการซ่อมบํารุงช่องน้ําและอุโมงค์

4) ตรวจสอบคุณภาพของงานซ่อมบำรุงช่อง น้ำและอุโมงค์ให้เป็นไปตามมาตรฐานการซ่อมบำรุง

21008.3.04 158069
21008.4

ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา

1) ประเมินความก้าวหน้าเชิงปริมาณของ งานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ได้  21008.4.01 158070
21008.4

ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา

2) วิเคราะห์ข้อมูลจากบันทึกผลการซ่อม บำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ได้

21008.4.02 158071
21008.4

ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา

3) จัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงได้ตามรูปแบบขององค์กร

21008.4.03 158072
21008.4

ตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานความก้าวหน้าต่อผู้บังคับบัญชา

4) นำเสนอผลการซ่อมบำรุงช่องน้ำและ อุโมงค์ต่อผู้บังคับบัญชา 

21008.4.04 158073

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  5. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้า

  6. ทักษะการควบคุมงาน

  7. ทักษะการสอนงาน

  8. ทักษะการประเมินปริมาณงาน

  9. ทักษะการประเมินความผิดปกติของช่องน้ำและอุโมงค์

  10. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  11. ทักษะการการใช้เครื่องมือตรวจวัดในงานซ่อมบำรุงอุโมงค์

  12. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  13. ทักษะการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อจัดทำรายงานและเอกสารนำเสนอ

  14. ทักษะการนำเสนองาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  3. การควบคุมงานซ่อมบำรุงโครงสร้างทางรถไฟ

  4. มาตรการความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ/อุโมงค์

  5. ข้อกำหนดด้านมาตรฐานคุณภาพวัสดุงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์

  6. เทคนิคการซ่อมบำรุงช่องน้ำ

  7. เทคนิคการซ่อมบำรุงอุโมงค์

  8. การวางแผนการซ่อมบำรุงตามวาระ

  9. การใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลในการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ/อุโมงค์

  10. แบบและข้อกำหนดเกี่ยวกับอุโมงค์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ

  5. รูปถ่ายผลงานก่อนและหลังการปฏิบัติงานซ่อมบำรุง



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ใบรับรองการผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงช่องน้ำ/อุโมงค์ หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ โดยต้องสามารถควบคุมและสั่งการในเบื้องต้นให้เป็นไปตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน สอนงานช่างเทคนิคและช่างฝีมือได้ และตรวจสอบความเรียบร้อยในการปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ เพื่อเสนอต่อผู้บังคับบัญชาได้  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. รายการความผิดปกติของช่องน้ำ:




  • การอุดตันจากตะกอนดินและวัชพืช

  • การแตกร้าว

  • การทรุดตัว



2. รายการตรวจสอบอุโมงค์รถไฟ:




  • ตรวจดูรอยแตกร้าวที่กำแพงกันดินปากอุโมงค์ ตรวจดูร่องดักน้ำฝนหลังอุโมงค์

  • ตรวจการเคลื่อนตัว การแตกร้าวของชั้นหิน/ดิน หลังอุโมงค์ว่ามีแนวโน้มที่จะเกิดการเลื่อนไถล ทำให้เกิดการแตกร้าวพังถล่มปิดปากอุโมงค์ หรือทำให้ภายในอุโมงค์ชำรุดหรือไม่

  • ตรวจรอยร้าวและการแตกร้าวในที่ต่างๆ ตลอดผนังภายในอุโมงค์

  • วัดสอบมิติของอุโมงค์เป็นประจำทุกปี เพื่อ เปรียบเทียบการเคลื่อนตัวภายในอุโมงค์

  • ตรวจดูร่องระบายน้ำไม่ให้มีวัชพืช/สิ่งสกปรกกีดขวางทางน้ำไหล

  • ตรวจสอบความสูงจากระดับสันรางถึงเพดานอุโมงค์ และศูนย์กลางทางรถไฟกับศูนย์กลางอุโมงค์ ว่ามีความคาดเคลื่อนหรือไม่



3. ขอบเขตการควบคุมงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์:




  • ประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมสภาพพื้นที่ปฏิบัติงาน

  • ควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์ ทั้งในวาระปกติและวาระฉุกเฉิน

  • ตัดสินใจ สั่งการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์

  • ประเมินคุณภาพของงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์

  • วิเคราะห์ข้อมูล จัดทำรายงาน และนำเสนอผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา



4. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools



5. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



6. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



7. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ ประกอบด้วย

  • อุปกรณ์ช่วยให้อากาศบริสุทธิ์ (Purifying) หรือ ตลับกรองอากาศ (Filtering) และชุดช่วยหายใจแบบส่งผ่านอากาศ (Air Supplied)

  • อุปกรณ์ป้องกันลำตัว

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เช่น แว่นตานิรภัย, หน้ากากนิรภัย

  • หมวกนิรภัย

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาณ (สีเขียว, สีแดง)



9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือนายตรวจทาง

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการดานความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดลอมในการทำงานในที่อับอากาศ พ.ศ. 2547

  • คู่มือการผลิต/คำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน/คู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการประสานงานและกำกับดูแลการเตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



2. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบคุณภาพวัสดุ อุปกรณ์ และเครื่องมือที่ใช้ในการซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมินการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงช่องน้ำและอุโมงค์




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการตรวจติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชา




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ