หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบํารุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ (Concrete Bridge and Viaduct)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-TXFQ-167B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบํารุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ (Concrete Bridge and Viaduct)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

210 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงโครงสร้างรองรับทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ (Concrete Bridge and Viaduct) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ (Concrete Bridge and Viaduct) และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21005.1

ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

1) ตรวจสังเกตด้วยสายตาและบ่งชี้ความ ผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้

21005.1.01 158022
21005.1

ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

2) จำแนกระดับความรุนแรงของความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้ 

21005.1.02 158023
21005.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบํารุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

1) เตรียมวัสดุสำหรับงานซ่อมบำรุงสะพาน คอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้สอดคล้องกับลักษณะความเสียหาย

21005.2.01 158024
21005.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในงานซ่อมบํารุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

2) เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในงาน ซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้เหมาะสมกับลักษณะงาน

21005.2.02 158025
21005.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น (Manual Maintenance)

1) เตรียมพื้นที่ทำงานได้ตามข้อกำหนดในการ ปฏิบัติงาน

21005.3.01 158026
21005.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น (Manual Maintenance)

2) ซ่อมแซม/แก้ไขรอยแตกร้าวเบื้องต้นของ สะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้ 

21005.3.02 158027
21005.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น (Manual Maintenance)

3) ซ่อมแซม/แก้ไขอุปกรณ์ส่วนควบ (Fitting Equipment) ของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับได้ 

21005.3.03 158028
21005.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น (Manual Maintenance)

4) ปรับเคลื่อนแนวสะพานกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้

21005.3.04 158029
21005.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น (Manual Maintenance)

5) ซ่อมแซม/บำรุงรักษาระบบระบายน้ำบน สะพานเบื้องต้นได้

21005.3.05 158030
21005.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

1) ตรวจความเรียบร้อยของสะพานคอนกรีต หลังการซ่อมบำรุงตามรายการ Checklist

21005.4.01 158031
21005.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

2) ทดสอบประสิทธิภาพของการซ่อมบำรุง สะพานได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

21005.4.02 158032
21005.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

3) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง 

21005.4.03 158033
21005.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

4) บันทึกผลการซ่อมบำรุงในแบบฟอร์มที่ กำหนดได้

21005.4.04 158034

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือ/แผนงานในการซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับอย่างเคร่งครัด

  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการซ่อมแซมสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

  5. ทักษะการอ่านค่าพิกัด/ค่ามาตรฐานต่างๆ ของวัสดุและงานที่เกี่ยวข้อง

  6. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

  7. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบโดยปราศจากการบาดเจ็บของตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเสียหายของเครื่องมือและอุปกรณ์

  8. ทักษะการอ่านแบบ

  9. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  10. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  11. ทักษะจัดเก็บและบันทึกข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. การปฏิบัติงานในระบบรางขั้นพื้นฐาน

  2. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  3. เครื่องมือเครื่องจักรสำหรับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  4. ข้อกำหนดเกี่ยวกับสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

  5. การซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ (Bridge and Viaduct) ได้อย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานและได้ตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ลักษณะความผิดปกติของโครงสร้างสะพานคอนกรีต ที่พึงตรวจสอบ




  • การเปลี่ยนรูปของรอยต่อพื้นสะพาน

  • การแตกของกำแพงกันตก

  • การบิดเบี้ยวของราวเหล็กต่างๆ

  • การเกิดสนิมของโครงสร้างส่วนที่เป็นเหล็ก และ เหล็กเสริมในคอนกรีต

  • การกะเทาะและการแตกร้าวของเนื้อคอนกรีต

  • การเสื่อมสภาพของคอนกรีต เนื่องจากปัญหา คาร์บอเนชั่น (Carbonation)

  • การอุดตันหรือรั่วซึมของระบบระบายน้ำบนสะพาน



2. รายการตรวจสอบสะพานคอนกรีต:




  • ตรวจรอยแตกร้าวของคาน พื้น และบริเวณที่คาน หรือพื้นสะพานวางบนแท่นตอม่อ

  • ตรวจการแอ่นตัวคานของและพื้นสะพาน

  • ตรวจการเคลื่อนตัวของสะพาน



3. ขอบเขตการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ:




  • ซ่อมแซม/แก้ไขรอยแตกร้าวเบื้องต้น (Manual Maintenance)

  • ซ่อมแซม/แก้ไขอุปกรณ์ส่วนควบ (Fitting Equipment) ของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ

  • ปรับเคลื่อนแนวสะพานกลับสู่ตำแหน่งเดิม

  • ซ่อมบำรุงรักษาระบบระบายน้ำบนสะพาน/ทางวิ่งยกระดับ



4. ส่วนประกอบของโครงสร้างสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ




  • โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) ประกอบด้วย โครงสร้างพื้นสะพาน ซึ่งอาจสร้างด้วยระบบพื้น-คานคอนกรีต หรือระบบชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูปรูปกล่อง นอกจากนี้ยังรวมถึงกำแพงกันตก กำแพงกันเสียงต่างๆ

  • โครงสร้างส่วนล่าง (Substructures) ประกอบด้วย แผ่นรองคอสะพาน เสาหรือเสาตอม่อ และฐานราก



5. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools



6. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



7. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



8. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันลำตัว

  • อุปกรณ์กันตกแบบเต็มตัว

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เช่น แว่นตานิรภัย, หน้ากากนิรภัย

  • ถุงมือ

  • หมวกนิรภัย

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  •  ป้ายสัญญานต่างๆ

  •  ธงสัญญาณ: สีเขียว, สีแดง



9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมินการซ่อมแซมแก้ไขความผิดปกติของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับเบื้องต้น




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  •  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความเรียบร้อยของสะพานคอนกรีตและทางวิ่งยกระดับก่อนเปิดใช้ทาง




  •  ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  •  สัมภาษณ์ หรือ

  •  พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ