หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บํารุงรักษาโครงสร้างสะพานเหล็ก (Steel Bridge)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-IGNP-166B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บํารุงรักษาโครงสร้างสะพานเหล็ก (Steel Bridge)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

210 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงโครงสร้างรองรับทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโครงสร้างสะพานเหล็ก (Steel Bridge) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโครงสร้างสะพานเหล็ก (Steel Bridge) และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
21004.1

ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานเหล็ก

1) ตรวจสังเกตด้วยสายตาและบ่งชี้ความ ผิดปกติของสะพานเหล็กได้ 

21004.1.01 158005
21004.1

ตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานเหล็ก

2) จำแนกระดับความรุนแรงของความผิดปกติของสะพานเหล็กได้

21004.1.02 158006
21004.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงสะพานเหล็ก

1) เตรียมวัสดุสำหรับงานซ่อมบำรุงสะพาน เหล็กได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน 

21004.2.01 158007
21004.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงสะพานเหล็ก

2) เตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการซ่อมบำรุงสะพานเหล็กได้เหมาะสมกับลักษณะของงาน

21004.2.02 158008
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

1) เตรียมพื้นที่ทำงานได้ตามข้อกำหนดในการปฏิบัติงาน 

21004.3.01 158009
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

2) ซ่อมบำรุงน็อตสกรู หรือหมุดย้ำให้แน่นตามข้อกำหนดในคู่มือการปฏิบัติงาน

21004.3.02 158010
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

3) เชื่อมประสานแก้ไขรอยแตกร้าวเบื้องต้น ของชิ้นส่วนสะพานเหล็กได้

21004.3.03 158011
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

4) แก้ไขปัญหาการคดงอของชิ้นส่วนสะพาน ด้วยเทคนิคเบื้องต้นได้ 

21004.3.04 158012
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

5) แก้ไขปัญหาเกี่ยวกับตอม่อสะพานได้

21004.3.05 158013
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

6) ปรับเคลื่อนแนวสะพานกลับสู่ตำแหน่งเดิมได้

21004.3.06 158014
21004.3

ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

7) ขจัดและป้องกันการลุกลามของสนิมได้ด้วยเครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม

21004.3.07 158015
21004.4

ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ชํารุด

1) ถอดชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ชำรุดโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่เหมาะสม

21004.4.01 158016
21004.4

ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ชํารุด

2) เปลี่ยนและติดตั้งชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ ชำรุดหรือสูญหายได้

21004.4.02 158017
21004.5

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

1) ตรวจนับจำนวนและความสมบูรณ์ของ ชิ้นส่วนสะพานเหล็กหลังการซ่อมบำรุง ตามรายการ Checklist ได้

21004.5.01 158018
21004.5

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

2) ทดสอบประสิทธิภาพของการซ่อมบำรุง สะพานเหล็กได้ตามคู่มือปฏิบัติงาน

21004.5.02 158019
21004.5

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

3) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง

21004.5.03 158020
21004.5

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

4) บันทึกผลการซ่อมบำรุงสะพานเหล็กลงใน แบบฟอร์มได้ถูกต้องและครบถ้วน 

21004.5.04 158021

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือ/แผนงานในการซ่อมบำรุงสะพานเหล็กอย่างเคร่งครัด

  3. ทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่นในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการซ่อมแซมสะพานเหล็ก

  5. ทักษะการอ่านค่าพิกัด/ค่ามาตรฐานต่างๆ ของวัสดุและงานที่เกี่ยวข้อง

  6. ทักษะการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงโครงสร้างสะพานเหล็ก

  7. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบโดยปราศจากการบาดเจ็บของตนเองและผู้อื่น หรือเกิดความเสียหายของเครื่องมือและอุปกรณ์

  8. ทักษะการอ่านแบบ

  9. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  10. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  11. ทักษะจัดเก็บและบันทึกข้อมูล

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  2. เครื่องมือเครื่องจักรสำหรับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ

  3. การใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคในการปฏิบัติงานในที่สูง

  4. แบบและข้อกำหนดเกี่ยวกับสะพานเหล็ก


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงสะพานเหล็ก



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนในการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้และทักษะความสามารถในการปฏิบัติงานบำรุงรักษาโครงสร้างสะพานเหล็ก (Steel Bridge) ได้อย่างถูกต้องตามที่ระบุไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานและตรงตามมาตรฐานที่กำหนด รวมทั้งเลือกใช้เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ส่วนประกอบพื้นฐานของโครงสร้างสะพานเหล็ก:




  • โครงสร้างส่วนบน (Superstructure) คือ โครงสร้างรับพื้นสะพาน อาจจะเป็นชนิด Deck Truss Girder, Through Truss Girder, Deck Plate Girder, Through Plate Girder ซึ่งทำด้วยเหล็ก

  • โครงสร้างส่วนล่าง (Substructure) ได้แก่ แผ่นรองคอสะพาน เสาตอม่อ และฐานราก โดยส่วนใหญ่ทำด้วยคอนกรีต



2. ลักษณะความผิดปกติของโครงสร้างสะพานเหล็กที่ตรวจพบบ่อย:




  • การผุกร่อนเนื่องจากการเกิดสนิมของชิ้นส่วนพื้นสะพาน เช่น คานหลัก (Main girder) หรือคานขวาง (Cross girder) แผ่นเหล็กประกับ สลักยึด และหมุดย้ำ ความรุนแรงของการผุกร่อนมีตั้งแต่สูญเสียเนื้อเหล็กเล็กน้อยจนถึงการสูญเสียเนื้อเหล็กทั้งหมด จนชิ้นส่วนขาดจากกันหรือการผุทะลุ

  • การหลวมของสลักและหมุดย้ำที่ใช้ยึดรอยต่อ

  • การแตกร้าวของชิ้นส่วนโครงสร้างบริเวณที่มีรูเจาะและการแตกร้าวของแผ่นรองคอสะพาน

  • การคดงอของชิ้นส่วน



3. ขอบเขตการปฏิบัติงานบำรุงรักษาสะพานเหล็ก:




  • ซ่อมแซม/แก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น (Manual Maintenance)

  • ถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ชำรุด



4. รายการตรวจสอบและบำรุงรักษาสะพานเหล็ก:




  • เหล็กทุกชิ้นต้องไม่เป็นสนิม ไม่มีน้ำขัง และสิ่งสกปรกค้างตามซอกมุมต่างๆ โดยเฉพาะ Floor Beam ที่ถูกสิ่งสกปรกจากขบวนรถต้องดูแลเป็นกรณีพิเศษ

  • ทุกชิ้นส่วนต้องได้แนว และปรับตั้งอยู่ในที่ปกติดี ไม่มีส่วนใดบุบสลาย

  • จานรองสะพาน ทั้งชนิดแผ่นเหล็ก และชนิดลูกกลิ้ง ตั้งอยู่ในแนวระดับและเคลื่อนตัวได้สะดวกขณะขบวนรถผ่าน ไม่มีสิ่งสกปรก/วัชพืชปกคลุม

  • สลักเกลียวของสะพาน (Anchor Bolt) ต้องไม่คดงอ แตก หัก และมีแป้นควงขันยึดแน่นอยู่เสมอ และต้องหมั่นรักษาความสะอาดไม่ให้มีสนิม และสิ่งสกปรกติดค้าง

  • สลักเกลียวขันหมอน (Sleeper Bolt) ต้องอยู่ครบถ้วน และมีแป้นควงพร้อมแนวสี่เหลี่ยมขนาด 50 x 50 x 6 มิลลิเมตร ขันอัดแน่นอยู่เสมอ และต้องใส่ให้ถูกต้องตามแผนผัง

  • หมอนสะพานต้องให้อยู่ในสภาพดี ไม่มีผุและระยะหมอนสะพานต้องจัดให้ถูกต้องตามแผนผัง



5. วิธีการซ่อมบำรุงโครงสร้างสะพานเหล็กเบื้องต้น




  • การขัดสนิมด้วยแรงคน หรือ

  • การขัดสนิมด้วยการพ่นทราย (Sand blast)

  • การทา/พ่นสีกันสนิม

  • การขันตรึงสลักเกลียว

  • การเชื่อมประสานรอยแตกร้าว

  • การคืนรูปชิ้นส่วนที่คดงอด้วยการใช้ความร้อน



6. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools



7. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญาณมือ



8. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



9. อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันลำตัว

  • อุปกรณ์กันตกแบบเต็มตัว

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและลำตัว อาทิเช่น แว่นตานิรภัย หน้ากากนิรภัย

  • ถุงมือ

  • หมวกนิรภัย

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาณ: สีเขียว, สีแดง



10. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูงตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับงานก่อสร้าง พ.ศ. 2551

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจวินิจฉัยความผิดปกติของสะพานเหล็ก




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการจัดเตรียมวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมแซมสะพานเหล็ก




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมินการดำเนินการซ่อมแซมแก้ไขความผิดปกติของสะพานเหล็กเบื้องต้น




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการถอดเปลี่ยนชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่ชำรุด




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



5. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการปฏิบัติงาน




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ