หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบํารุงราง (Rail)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-VMKP-157B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบํารุงราง (Rail)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

209 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงราง (Rail) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงราง (Rail) และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20907.1

ตรวจวินิจฉัยสภาพราง

1) ตรวจสอบความผิดปกติของรางเบื้องต้นได้ด้วยสายตา

20907.1.01 157925
20907.1

ตรวจวินิจฉัยสภาพราง

2) ตรวจสอบความผิดปกติของรางได้โดยใช้ เครื่องมือ

20907.1.02 157926
20907.1

ตรวจวินิจฉัยสภาพราง

3) บ่งชี้ความผิดปกติของรางได้

20907.1.03 157927
20907.1

ตรวจวินิจฉัยสภาพราง

4) เสนอแนะวิธีการแก้ไขหรือซ่อมแซมรางได้

20907.1.04 157928
20907.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงราง

1) เตรียมเครื่องมือ วัสดุและอุปกรณ์ได้ถูกต้องตามใบสั่งงาน

20907.2.01 157929
20907.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบํารุงราง

2) ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงราง

20907.2.02 157930
20907.3

เปลี่ยนราง

1)  เตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานเปลี่ยนราง

20907.3.01 157931
20907.3

เปลี่ยนราง

2) ขนย้ายเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์และราง

20907.3.02 157932
20907.3

เปลี่ยนราง

3) ถอด/ตัดรางได้ถูกต้องตามขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน

20907.3.03 157933
20907.3

เปลี่ยนราง

4) ติดตั้ง/เชื่อมรางโดยใช้วิธีการที่ถูกต้องตาม มาตรฐานการเชื่อมราง

20907.3.04 157934
20907.4

ดัดและปรับแนวราง

1)  เตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานดัดและปรับแนวราง

20907.4.01 157935
20907.4

ดัดและปรับแนวราง

2) บ่งชี้ความผิดปกติทางเรขาคณิต (Geometry) ของรางได้

20907.4.02 157936
20907.4

ดัดและปรับแนวราง

3) ดัดรางโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม

20907.4.03 157937
20907.4

ดัดและปรับแนวราง

4) ปรับแนวรางโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม

20907.4.04 157938
20907.4

ดัดและปรับแนวราง

5) ปรับตั้งขนาดทาง (Track Gauge) ได้ถูกต้องตามค่าพิกัดหรือมาตรฐานทาง

20907.4.05 157939
20907.5

เจียรราง

1) บ่งชี้ความผิดปกติทางเรขาคณิต (Geometry) ของรางได้

20907.5.01 157940
20907.5

เจียรราง

2) เจียรรางโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่ถูกต้อง/เหมาะสม

20907.5.02 157941
20907.6

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

1) ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการปฏิบัติงานของการซ่อมบำรุงราง

20907.6.01 157942
20907.6

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

2) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดให้บริการ

20907.6.02 157943
20907.6

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุง

3) จัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงรางได้ตาม แบบฟอร์มของสถานประกอบการ

20907.6.03 157944

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือการตรวจสอบความผิดปกติของราง

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน

  5. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  6. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  7. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของรางด้วยสายตา

  8. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของรางโดยใช้เครื่องมือ

  9. ทักษะการประเมินความผิดปกติของราง

  10. ทักษะการควบคุมงาน

  11. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงราง

  12. ทักษะการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางและรางรถไฟ

  2. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับขนาดและชนิดของรางรถไฟ

  3. การชำรุดของราง

  4. การดัดราง

  5. การเจียรราง

  6. การลำเลียงราง

  7. เครื่องมือและเครื่องจักรกลซ่อมบำรุงทางและรางรถไฟ

  8. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับรางรถไฟ

  9. การจัดทำเอกสารและการเขียนรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านเทคนิคการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านเทคนิคการบำรุงรักษารางรถไฟ หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง/ซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้สอบสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการตรวจวินิจฉัยและประเมินความผิดปกติของรางรถไฟด้วยตาเปล่าและการใช้เครื่องมือ สามารถปฏิบัติงานซ่อมบำรุงราง และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมบำรุงรางหลังการปฏิบัติงานได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงรางได้ตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1.การชำรุดของรางอาจเกิดจาก:




  • กระบวนการผลิต

  • การเชื่อมราง

  • การใช้งาน

  • การกระทำจากภายนอก เช่น สนิมจากสารเคมี รถตกราง การขนส่ง เป็นต้น



2. การดัดราง:




  • หากรางคด สามารถใช้มือเสือในการดัด

  • หากหัวต่อราง (Rail Joint) ตกตาย สามารถใช้แม่แรงยกรางในทางดิ่ง

  • อุณหภูมิของรางไม่เกิน 50oC



3. การเจียรราง:




  • กรณีหลังการเชื่อม Termit

  • กรณีหน้าตัดรางไม่เสมอกัน



4. การลำเลียงราง




  • ใช้แรงคน

  • ใช้เครื่องจักรกล

  • ใช้รถบรรทุก



5. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools



6. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญานมือ



7. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



8. ขอบเขตของงานซ่อมบำรุงประแจ:




  • เปลี่ยนชิ้นส่วนของประแจที่ชำรุด เปลี่ยนหรือซ่อมเครื่องยึดเหนี่ยวประแจให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน

  • ซ่อมบำรุงประแจให้มั่นคงแข็งแรง

  • ปรับตั้งมิติต่างๆ ของประแจให้ถูกต้องและอยู่ในพิกัดที่กำหนด



9. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อาทิเช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

  • หมวกนิรภัย

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



10. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • ข้อกำหนดทางเทคนิค/คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานรางรถไฟ

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจวินิจฉัยสภาพราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมินการเปลี่ยนราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการดัดและปรับแนวราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



5. เครื่องมือประเมินการเจียรราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



6. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบำรุงราง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ