หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบํารุงประแจ (Turnout)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-NSJC-156B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบํารุงประแจ (Turnout)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

209 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงทางรถไฟ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องการในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงประแจ (Turnout) ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงประแจ (Turnout) และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20906.1

ตรวจสภาพประแจ

1) ตรวจสอบความผิดปกติของประแจเบื้องต้นได้ด้วยสายตา

20906.1.01 157913
20906.1

ตรวจสภาพประแจ

2) ตรวจสอบความผิดปกติของประแจได้โดยใช้เครื่องมือ

20906.1.02 157914
20906.1

ตรวจสภาพประแจ

3) บ่งชึ้ความผิดปกติของประแจได้ถูกต้องตามข้อกำหนดทางเทคนิค

20906.1.03 157915
20906.1

ตรวจสภาพประแจ

4) เสนอแนะวิธีการแก้ไขหรือซ่อมแซมประแจได้

20906.1.04 157916
20906.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์สําหรับงานซ่อมบํารุงประแจ

1) เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการซ่อมบำรุงประแจ

20906.2.01 157917
20906.2

เตรียมเครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์สําหรับงานซ่อมบํารุงประแจ

2) ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงประแจ

20906.2.02 157918
20906.3

ซ่อมบํารุงประแจ

1) เตรียมพื้นที่ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงประแจ

20906.3.01 157919
20906.3

ซ่อมบํารุงประแจ

2) เปลี่ยนชิ้นส่วนของประแจที่ชำรุดได้ถูกต้องตามคู่มือการติดตั้ง

20906.3.02 157920
20906.3

ซ่อมบํารุงประแจ

3) ปรับตั้งมิติต่างๆ ของประแจให้ถูกต้อง และอยู่ในค่าพิกัดหรือค่ามาตรฐานที่กำหนดในคู่มือการติดตั้ง

20906.3.03 157921
20906.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุงประแจ

1)  ตรวจสอบความเรียบร้อยหลังการ ปฏิบัติงานซ่อมบำรุงประแจ

20906.4.01 157922
20906.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุงประแจ

2) ตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงานก่อนเปิดใช้ทาง

20906.4.02 157923
20906.4

ตรวจสอบความเรียบร้อยของงานหลังการซ่อมบํารุงประแจ

3) จัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงประแจตามแบบฟอร์มที่กำหนด

20906.4.03 157924

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00001 ปฏิบัติงานกับไฟฟ้าแรงสูงบนทางวิ่งรถไฟฟ้าตามหลักความปลอดภัย

00002 ปฏิบัติงานในที่สูงตามหลักความปลอดภัย

00003 ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือการตรวจสอบความผิดปกติของประแจ

  3. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  4. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน

  5. ทักษะการทำงานอย่างเป็นระบบ

  6. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  7. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของประแจด้วยสายตา

  8. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของประแจโดยใช้เครื่องมือ

  9. ทักษะการประเมินความผิดปกติของประแจ

  10. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทาง

  11. ทักษะการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงทางและประแจ

  2. เครื่องมือและเครื่องจักรกลซ่อมบำรุงทาง

  3. ส่วนประกอบของประแจ

  4. ชนิดของประแจ

  5. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงประแจ

  6. หลักปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงประแจ

  7. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับประแจ

  8. การจัดทำเอกสารและการเขียนรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงทางรถไฟ หรือ

  3. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการบำรุงรักษาประแจ หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงทางรถไฟ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน และพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถประเมินความผิดปกติของประแจด้วยตาเปล่าและโดยใช้เครื่องมือ และมีทักษะในการซ่อมบำรุงประแจ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมบำรุงประแจหลังการปฏิบัติงานได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงประแจได้ตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การบำรุงรักษาประแจ:




  • การตรวจสภาพประแจตามปกติ

  • การตรวจสภาพประแจเพื่อวางแผนซ่อม



2. ส่วนประกอบของประแจ:




  • ชุดลิ้นประแจ (Switches)

  • ทางตัดประแจ (Crossing)

  • รางเสริม



3. ชนิดของประแจ:




  • ชนิดธรรมดา

  • ชนิดพิเศษ



4. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools



5. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญานมือ



6. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



7. ขอบเขตของงานซ่อมบำรุงประแจ:




  • เปลี่ยนชิ้นส่วนของประแจที่ชำรุด

  • เปลี่ยนหรือซ่อมเครื่องยึดเหนี่ยวประแจให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน

  • ซ่อมบำรุงประแจให้มั่นคงแข็งแรง

  • ปรับตั้งมิติต่างๆ ของประแจให้ถูกต้องและอยู่ในพิกัดที่กำหนด



8. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

  • หมวกนิรภัย

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • ข้อกำหนดทางเทคนิค/คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานประแจ

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจวินิจฉัยสภาพประแจ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงประแจ




  •  ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  •  สัมภาษณ์



3. เครื่องมือประเมินการเปลี่ยนประแจ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการซ่อมประแจ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



 



ยินดีต้อนรับ