หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-ZUTQ-150B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

ทุกอาชีพในอุตสาหกรรมระบบราง



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับทักษะและความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การจัดเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานในที่อับอากาศ การกรอกเอกสารแบบฟอร์มขออนุญาตเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ การใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การทำความสะอาดและการออกจากพื้นที่ โดยเป็นไปตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
1. กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารและการจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในที่อับอากาศ พ.ศ. 25472. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

1) ระบุอันตรายที่จะเกิดขึ้นระหว่าง ปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้

00003.1.01 158779
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

2) ระบุขีดความสามารถของร่างกายตนเอง ว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่

00003.1.02 158780
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

3) จัดเตรียมอุปกรณ์/เครื่องมือในการทำงาน ในที่อับอากาศได้เหมาะสมและเพียงพอ

00003.1.03 158781
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

4) ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับ อากาศ หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตราย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานอยู่ตลอดเวลาได้ 

00003.1.04 158782
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

5) ตรวจสอบ/ทดสอบ ไฟฟ้า แสงสว่าง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้า ให้อยู่ในสภาพที่ ปลอดภัย

00003.1.05 158783
00003.1

เตรียมการก่อนเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

6) ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมทุก ครั้งก่อนการปฏิบัติงาน 

00003.1.06 158784
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

1) กรอกเอกสาร/แบบฟอร์มขออนุญาต ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศได้ถูกต้อง ตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

00003.2.01 158785
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

2) ระบุขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัย ตามที่กฎหมายกำหนดได้

00003.2.02 158786
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

3) ปฏิบัติงานในที่อับอากาศได้ตามขั้นตอนที่ระบุในใบอนุญาตอย่างเคร่งครัด

00003.2.03 158787
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

4) ระบุวิธีการสื่อสาร/การให้สัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินใน ระหว่างการปฏิบัติงานได้

00003.2.04 158788
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

5) บอกวิธีอพยพออกจากที่อับอากาศในทันทีเมื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณได้ 

00003.2.05 158789
00003.2

ปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทํางานในที่อับอากาศ

6) บอกวิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับ ร่างกายในระหว่างการปฏิบัติงานได

00003.2.06 158790
00003.3

ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ

1) อธิบายวิธีใช้งานอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนฃบุคคลในที่อับอากาศแต่ละชนิดได้

00003.3.01 158791
00003.3

ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ

2) ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศได้ถูกต้องและเหมาะสมกับงานที่ปฏิบัติอยู่

00003.3.02 158792
00003.3

ใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ

3) จัดเก็บและบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลได้อย่างถูกวิธ

00003.3.03 158793
00003.4

ดําเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

1) ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมทุกครั้งก่อนออกจากพื้นที่การปฏิบัติงาน

00003.4.01 158794
00003.4

ดําเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

2) ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับ อากาศ หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตราย ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้ งานอยู่ตลอดเวลา

00003.4.02 158795
00003.4

ดําเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน

3) แจ้งผลการปฏิบัติงานต่อผู้บังคับบัญชาทันทีที่งานเสร็จสมบูรณ์ 

00003.4.03 158796

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

0000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงาน

2. การตรวจสอบสภาพอากาศในที่อับอากาศ

3. การให้สัญญาณเพื่อขอความช่วยเหลือ

4. การดับเพลิงขั้นต้น

5. การปฐมพยาบาลและช่วยเหลือเบื้องตน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความปลอดภัยในการปฏิบัติงานระบบรางขั้นพื้นฐาน

  2. กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

  3. ความหมาย ชนิด ประเภทและอันตรายในที่อับอากาศ

  4. การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ

  5. วิธีปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องและปลอดภัย

  6. อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศ

  7. ระบบการขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศและการขอยกเลิกการอนุญาต

  8. บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบของผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ

  9. เทคนิคการระบายอากาศ

  10. อันตรายที่อาจได้รับในกรณีฉุกเฉินและวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้พิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนและกระบวนการปฏิบัติงานในที่อับอากาศตามหลักความปลอดภัย การประเมินสภาพงานและการเตรียมความพร้อมในการทำงานในที่อับอากาศ และมีทักษะในการปฏิบัติงานในพื้นที่อับอากาศที่ถูกต้องตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งเลือกใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยส่วนบุคคลที่ใช้ในที่อับอากาศได้อย่างถูกต้อง เพื่อให้การปฏิบัติงานเกิดความคล่องตัว ปลอดภัย และสามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงานได้อย่างทันท่วงทีนอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. ขอบเขตของงาน




  • ก่อนปฏิบัติงานต้องขออนุญาตปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศ ตามแบบฟอร์มขออนุญาตให้ทำงานในสถานที่อับอากาศ

  • ต้องตรวจสอบปริมาณออกซิเจน สารเคมี ฝุ่นละออง ไอ ฟูม ค่า LEL ของสารเคมีต่างๆ ให้ค่าต่างๆ อยู่ภายใต้เกณฑ์ความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด ก่อนที่จะปฏิบัติงาน และบันทึกลงในแบบฟอร์มแบบตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน

  • ตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานอยู่ตลอดเวลา

  • ตรวจสอบ/ทดสอบไฟฟ้า แสงสว่าง สายไฟ อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยก่อนเข้าไปปฏิบัติงาน

  • ตรวจสอบเครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องจักรอุปกรณ์ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมจะใช้งาน

  • ห้ามปฏิบัติงานตามลำพังคนเดียว ต้องมีผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง และผู้ควบคุมงาน คอยสังเกตและตรวจสอบการทำงานอยู่ตลอดเวลา

  • หากอากาศมีการถ่ายเทไม่เหมาะสม ควรใช้พัดลมเป่าช่วยระบายอากาศขณะปฏิบัติงาน

  • ตรวจเช็คจำนวนผู้ปฏิบัติงานร่วมทีมงานทุกครั้งทั้งก่อนและหลังปฏิบัติงาน

  • หลังจากปฏิบัติงานเสร็จแล้วทุกครั้ง ให้ทำการตรวจสอบอุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ เช่น เครื่องช่วยหายใจ (SCBA) เชือกนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน อยู่ตลอดเวลา

  • หากเครื่องช่วยหายใจ (SCBA) ถูกนำไปใช้งานจนอากาศภายในถังหมดแล้วหรือเหลือน้อยกว่าที่จะนำไปใช้งานเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงานได้ ให้ทำการแยกออกจากจุดเก็บหรือติดป้ายบ่งชี้ว่า “ถังเก็บอากาศหมดแล้ว รอส่งไปเติม”

  • ให้ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องตามที่กฎหมายกำหนดทุกประการ




  1. สภาพแวดล้อมและบริเวณพื้นที่ปฏิบัติงาน เช่น:




  • ลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ปฏิบัติงาน

  • สภาพโครงสร้าง

  • ภัยภิบัติต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น




  1. เอกสาร/แบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง เช่น




  • แบบฟอร์มใบอนุญาตให้ทำงานในสถานที่อับอากาศ

  • แบบฟอร์มตรวจวัดปริมาณแก๊สและอุณหภูมิในสถานที่ทำงาน




  1. อุปกรณ์การทำงานในที่อับอากาศ/ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล




  • เครื่องช่วยหายใจ (SCBA)

  • เชือกนิรภัย

  • หมวกนิรภัย

  • แว่นตานิรภัย

  • Ear Plugs/Ear Muffs

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย




  1. ข้อมูล/เอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ

  • คำแนะนำด้านเทคนิค

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

1. เครื่องมือประเมินการเตรียมก่อนการเข้าปฏิบัติงานในที่อับอากาศ




  • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการปฏิบัติงานตามหลักความปลอดภัยในการทำงานในที่อับอากาศ




  • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลในที่อับอากาศ




  • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการดำเนินการออกจากพื้นที่หลังการปฏิบัติงาน




  • ข้อสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ