หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบํารุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ (Auxiliary system & Battery)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-SSKX-139B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบํารุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ (Auxiliary system & Battery)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

206 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าด้านระบบไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
           หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ (Auxiliary system & Battery) ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสามารถปรับปรุงคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20603.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

1) อ่านใบแจ้งซ่อมงานตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

20603.1.01 157789
20603.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

2) ตรวจสอบและสังเกตความผิดปกติตามระยะเวลาได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการ ปฏิบัติงาน 

20603.1.02 157790
20603.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆที่ประกอบในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

3) ประเมินความผิดปกติของอุปกรณ์ได้อย่าง ถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20603.1.03 157791
20603.2

แก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่ชํารุด

1) เตรียมและใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอด/ประกอบชิ้นส่วนหรืออะไหล่ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 

20603.2.01 157792
20603.2

แก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่ชํารุด

2) ถอด/แก้ไข/ประกอบอุปกรณ์ตามขั้นตอนในคู่มือซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

20603.2.02 157793
20603.3

ทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ให้ทํางานได้อย่างปกติ

1) เตรียมอุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ

20603.3.01 157794
20603.3

ทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ให้ทํางานได้อย่างปกติ

2) ใช้เครื่องมือวัดทดสอบเบื้องต้นในระบบ แปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่และแปลผลการวัดเป็นไปตามมาตรฐาน 

20603.3.02 157795
20603.3

ทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ให้ทํางานได้อย่างปกติ

3) ทดสอบโดยการวิ่งบน Test Track ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

20603.3.03 157796
20603.3

ทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอร์รี่ให้ทํางานได้อย่างปกติ

4) ทดสอบโดยการวิ่งบน main line ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

20603.3.04 157797

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน

  4. ทักษะการจัดทำรายงาน

  5. ทักษะการทำงานเป็นหัวหน้า

  6. ทักษะด้านปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

  7. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล

  8. ทักษะการอ่านแบบและวงจรไฟฟ้า

  9. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือการตรวจสอบความผิดปกติของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  10. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ด้วยประสาทสัมผัส

  11. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่โดยใช้เครื่องมือ

  12. ทักษะการประเมินความผิดปกติของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  13. ทักษะการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  14. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  2. เครื่องมือซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  3. ส่วนประกอบของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  4. ชนิดของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  5. เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  6. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  7. การจัดทำเอกสารและการเขียนรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ หรือ

  3. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการควบคุมงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  5. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์เกี่ยวกับวิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ควบคู่ไปกับการพิจารณาแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องมีทักษะในการตรวจวินิจฉัยและประเมินความผิดปกติของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ด้วยประสาทสัมผัส และโดยใช้เครื่องมือวัด และมีทักษะในการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ สามารถควบคุมการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ หลังการปฏิบัติงานได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ได้ตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ  นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การบำรุงรักษาระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่




  • การตรวจสภาพระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ตามปกติ

  • การตรวจสภาพระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่เพื่อวางแผนซ่อม

  • การตรวจสภาพระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่เพื่อการซ่อมบำรุงและการส่งมอบงาน



2. ส่วนประกอบของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่:




  • อินเวอร์เตอร์ (Inverter)

  • แบตเตอรี่และเครื่องอัดประจุ (Battery and Batery Charger)

  • ระบบควบคุมแบตเตอรี่ Battery Management System: BMS)

  • วงจรกำลังและวงจรควบคุม (Power and Control Circuits))

  • ส่วนแสดงผล (Monitoring)



3. ชนิดของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่:




  • ชนิดของอินเวอร์เตอร์ เช่น อินเวอร์เตอร์หลัก (Main or Traction Inverter), อินเวอร์เตอร์รอง (Auxiliary Inverter)

  • ชนิดของระบบแบตเตอรี่



4. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools

  • Instrument Measurements



5. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญานมือ



6. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



7. ขอบเขตของงานซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่:




  • เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ชำรุด เปลี่ยนหรือซ่อมระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน

  • ซ่อมบำรุงระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ให้มั่นคงแข็งแรง

  • ปรับตั้งค่าต่างๆ ของระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ให้ถูกต้องและอยู่ในเกณฑ์ที่มาตรฐานกำหนด

  • ส่งมอบงานภายในเวลาที่กำหนด



8. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา อาทิเช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

  • หมวกนิรภัย

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • ข้อกำหนดทางเทคนิค/คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานการทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่



ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก



2. เครื่องมือประเมินการแก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ที่ชำรุด




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง



3. เครื่องมือประเมินการทดสอบระบบแปลงพลังงานไฟฟ้าและแบตเตอรี่ให้ทำงานได้อย่างปกติ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ