หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ซ่อมบํารุงระบบไฟแสงสว่าง (Lighting)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-CJAV-137B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ซ่อมบํารุงระบบไฟแสงสว่าง (Lighting)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

206 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบรถไฟฟ้าด้านระบบไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
        หน่วยสมรรถนะนี้เกี่ยวข้องกับความรู้และทักษะที่ต้องใช้ในการควบคุมการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง (Lighting) และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย และสามารถปรับปรุงคุณภาพได้อย่างต่อเนื่องภายใต้นโยบายและข้อกำหนดของสถานที่ปฏิบัติงาน รวมทั้งสามารถจัดเตรียมเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำเอกสารเกี่ยวข้องกับงานได้อย่างเสร็จสมบูรณ์

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20601.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบในระบบไฟแสงสว่าง (Lighting)

1) อ่านใบแจ้งซ่อมงานตามคู่มือการปฏิบัติงาน ได้อย่างถูกต้อง

20601.1.01 157773
20601.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบในระบบไฟแสงสว่าง (Lighting)

2) ตรวจสอบและสังเกตความผิดปกติตามระยะเวลาได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20601.1.02 157774
20601.1

ตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบในระบบไฟแสงสว่าง (Lighting)

3) ประเมินความผิดปกติของอุปกรณ์ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20601.1.03 157775
20601.2

แก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแสงสว่างที่ชํารุด

1) เตรียมและใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการถอด/ประกอบชิ้นส่วนหรืออะไหล่ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

20601.2.01 157776
20601.2

แก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแสงสว่างที่ชํารุด

2) ถอด/แก้ไข/ประกอบอุปกรณ์ตามขั้นตอนในคู่มือซ่อมบำรุงได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

20601.2.02 157777
20601.3

ทดสอบระบบไฟแสงสว่างให้ทํางานได้อย่างปกติ

1) เปิดระบบจ่ายไฟฟ้าให้กับตัวรถ

20601.3.01 157778
20601.3

ทดสอบระบบไฟแสงสว่างให้ทํางานได้อย่างปกติ

2) ทดสอบโดยการเปิดระบบไฟแสงสว่างและสังเกตไฟทุกดวงติดสว่างตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

20601.3.02 157779
20601.3

ทดสอบระบบไฟแสงสว่างให้ทํางานได้อย่างปกติ

3) ใช้เครื่องมือวัดทดสอบระบบไฟฟ้าแสงสว่างและแปลผลการวัดเป็นไปตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง 

20601.3.03 157780

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพในระหว่างการปฏิบัติงาน

  2. ทักษะการประสานงานในระหว่างการปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ

  3. ทักษะการแก้ไขปัญหา/เหตุการณ์เฉพาะหน้าในการปฏิบัติงาน

  4. ทักษะการจัดทำรายงาน

  5. ทักษะการทำงานเป็นหัวหน้า

  6. ทักษะด้านปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

  7. ทักษะการเลือกและใช้อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล .

  8. ทักษะการอ่านแบบและวงจรไฟฟ้า

  9. ทักษะการปฏิบัติงานตามคู่มือการตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟแสงสว่าง

  10. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟแสงสว่างด้วยประสาทสัมผัส

  11. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของระบบไฟแสงสว่างโดยใช้เครื่องมือ

  12. ทักษะการประเมินความผิดปกติของระบบไฟแสงสว่าง

  13. ทักษะการซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง

  14. ทักษะการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ในการซ่อมระบบไฟแสงสว่าง

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. หลักความปลอดภัยในการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง

  2. เครื่องมือซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง

  3. ส่วนประกอบของระบบไฟแสงสว่าง

  4. ชนิดของระบบไฟแสงสว่าง

  5. เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ที่ใช้ในการซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง

  6. ข้อกำหนดและค่ามาตรฐานเกี่ยวกับระบบไฟแสงสว่าง

  7. การจัดทำเอกสารและการเขียนรายงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง หรือ

  3. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการบำรุงรักษาระบบไฟแสงสว่าง หรือ

  4. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง

  5. ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม (ก.ว.) (ถ้ามี)



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน และพิจารณาจาก แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. สำหรับผู้เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ ต้องสามารถประเมินความผิดปกติของระบบไฟแสงสว่างด้วยประสาทสัมผัส และโดยใช้เครื่องมือวัด และมีทักษะในการ ซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง สามารถควบคุมการปฏิบัติงานและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งตรวจสอบความเรียบร้อยของการซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่างหลังการปฏิบัติงานได้ตามคู่มือการปฏิบัติงาน และจัดทำรายงานผลการซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่างได้ตามแบบฟอร์มของสถานประกอบการ นอกจากนี้ ผู้เข้ารับการประเมินควรเตรียมหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ ทั้งหลักฐานการปฏิบัติงาน และหลักฐานความรู้ มาเพื่อประกอบการพิจารณาด้วย

  2. สำหรับเจ้าหน้าที่สอบจะต้องพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ให้ตรงตามที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การบำรุงรักษาระบบไฟ แสงสว่าง:




  • การตรวจสภาพระบบไฟแสงสว่างตามปกติ

  • การตรวจสภาพระบบไฟแสงสว่างเพื่อวางแผนซ่อม

  • การตรวจสภาพระบบไฟแสงสว่างเพื่อการซ่อมบำรุงและการส่งมอบงาน



2. ส่วนประกอบของระบบไฟ แสงสว่าง:




  • หลอดไฟ (Lamps)

  • โคมไฟ (Electrical Luminaires)

  • สวิตช์ (Switches)

  • สายไฟ (Wire) และอุปกรณ์ประกอบ (Accessaries)



3. ชนิดของระบบไฟแสงสว่าง:




  • ชนิดติดตั้งภายในตัวรถ

  • ชนิดติดตั้งภายนอกตัวรถ



4. เครื่องมือที่ต้องใช้:




  • Manual Tools

  • Small Power Tools

  • Instrument Measurements



5. วิธีการสื่อสารอาจรวมถึง:




  • การใช้วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • การให้สัญญานมือ



6. การแจ้งข้อมูล:




  • ผ่านระบบอิเล็คทรอนิกส์

  • เขียนลงในแบบฟอร์ม/เอกสาร/แผนงาน

  • สื่อสารด้วยปากเปล่าแบบ Face-to-face



7. ขอบเขตของงานซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่าง:




  • เปลี่ยนชิ้นส่วนของระบบไฟแสงสว่างที่ชำรุด

  • เปลี่ยนหรือซ่อมระบบไฟแสงสว่างให้อยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง ครบถ้วนตามมาตรฐาน

  • ซ่อมบำรุงระบบไฟแสงสว่างให้มั่นคงแข็งแรง

  • ปรับตั้งค่าต่างๆ ของระบบไฟแสงสว่างให้ถูกต้องและอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด

  • ส่งมอบงานภายในเวลาที่กำหนด



8. เครื่องมือและอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่ต้องใช้ในระหว่างการปฏิบัติงาน:




  • เสื้อกั๊กความปลอดภัยสะท้อนแสง

  • อุปกรณ์ป้องกันเสียง

  • อุปกรณ์ป้องกันใบหน้าและดวงตา เช่น แว่นกันแดด, แว่นตานิรภัย, หน้ากากกันฝุ่น

  • หมวกนิรภัย

  • ถุงมือ

  • รองเท้านิรภัย

  • วิทยุสื่อสาร/โทรศัพท์มือถือ

  • ไฟฉาย

  • ป้ายสัญญานต่างๆ

  • ธงสัญญาน: สีเขียว สีแดง



9. ข้อมูล/เอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง:




  • คู่มือการปฏิบัติงาน นโยบาย และกระบวนการปฏิบัติงานขององค์กร/สถานประกอบการ

  • สมุดบันทึก/เก็บข้อมูล

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานในภาคสนาม

  • ข้อกำหนดทางเทคนิค/คำแนะนำด้านเทคนิค

  • มาตรฐานการติดตั้งไฟฟ้าและระบบแสงสว่างที่เกี่ยวข้อง

  • คู่มือการผลิต หรือคำแนะนำการใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน และคู่มือการใช้งาน

  • คู่มือความปลอดภัยในการทำงาน

  • แผน QA /การควบคุมข้อมูลและเอกสาร

  • เงื่อนไข/สัญญา/ข้อตกลงในการปฏิบัติงาน


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบในระบบไฟแสงสว่าง




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์



2. เครื่องมือประเมินการแก้ไขหรือเปลี่ยนอุปกรณ์ในระบบแสงสว่างที่ชำรุด




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง



3. เครื่องมือประเมินการทดสอบระบบไฟแสงสว่างให้ทำงานได้อย่างปกติ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ