หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ตรวจวัดล้อรถไฟฟ้า (Measuring wheel profile)

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-VLLA-124B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ตรวจวัดล้อรถไฟฟ้า (Measuring wheel profile)

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

204 ช่างเทคนิคซ่อมบำรุงระบบช่วงล่างรถไฟฟ้าด้านระบบเครื่องกล



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       เข้าใจภาพรวมการปฏิบัติงานของการตรวจวัดล้อรถไฟฟ้า สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20402.1

ตรวจสอบความผิดปกติของล้อที่อยู่ใน Bogie

1) อ่านใบแจ้งซ่อมงานและใบสั่งงานซ่อม ตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

20402.1.01 156789
20402.1

ตรวจสอบความผิดปกติของล้อที่อยู่ใน Bogie

2) ตรวจสอบและสังเกตความผิดปกติของอุปกรณ์ตามระยะเวลาได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20402.1.02 156790
20402.1

ตรวจสอบความผิดปกติของล้อที่อยู่ใน Bogie

3) เตรียมเครื่องมือตรวจวัด profile ล้อ ตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

20402.1.03 156791
20402.1

ตรวจสอบความผิดปกติของล้อที่อยู่ใน Bogie

4) จดบันทึกและเปรียบเทียบค่าล้อที่วัดได้กับค่ามาตรฐานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ

20402.1.04 156792

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะการใช้เครื่องมือวัด profile ล้อ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้ในเรื่องของ spec ของ profile ของล้อ

2. ความรู้ทางด้านกฎหมายความปลอดภัยในการทำงาน


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

     รายงานการปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น Log Book, Check Sheet เป็นต้น

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

     ประวัติการฝึกอบรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

       ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     การปฏิบัติงานของการตรวจวัดล้อรถไฟฟ้า ต้องปฏิบัติงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือ และใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม โดยปฏิบัติงานในโรงซ่อมบำรุง (Workshop) ภายหลังการเดินรถไฟฟ้า



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ เครื่องกลึงล้อ รถลากเลื่อน (shutting vehicle)

  2. อุปกรณ์จดบันทึก ได้แก่ คอมพิวเตอร์ หรือ แบบฟอร์มจดบันทึก

  3. เอกสารที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ใบแจ้งซ่อม, ใบงาน และ เอกสารขั้นตอนการทำงาน working card

  4. อุปกรณ์ที่ตั้งค่า Current collector shoe

  5. สถานที่ที่ใช้ในการทดสอบ ได้แก่ main line หรือ ใช้เครื่องมือทดสอบ Bogie teststand


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบความผิดปกติของล้อที่อยู่ใน Bogie




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • สาธิตการปฏิบัติงานในสถานการณ์จำลอง หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ