หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนงานซ่อมบํารุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-JNWO-118B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนงานซ่อมบํารุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

202 ผู้วางแผนงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เข้าใจภาพรวมการทำงานและการวางแผนงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบระบบอาณัติสัญญาณและระบบที่เกี่ยวข้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20207.1

วางแผนงานซ่อมบํารุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ

1) รู้อายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆ ในอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ

20207.1.01 156770
20207.1

วางแผนงานซ่อมบํารุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ

2) กำหนดกรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้ถูกต้องตามคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์

20207.1.02 156771

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

ทักษะในการวางแผนงานซ่อมบำรุงที่เกี่ยวข้องในระบบอาณัติสัญญาณ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

มีความสามารถในการวิเคราะห์การวางแผนงานซ่อมบำรุงของชิ้นส่วนต่างๆของอุปกรณ์ในระบบระบบอาณัติสัญญาณ


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบ Interlocking หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงระบบ Interlocking



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     การวางแผนงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบระบบอาณัติสัญญาณ ต้องคำนึงถึงอายุการใช้งานของชิ้นส่วนต่างๆในอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณโดยสามารถตรวจสอบได้จากคู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ และประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อกำหนดกรอบระยะเวลาในการบำรุงรักษาเชิงป้องกันได้ถูกต้อง

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์ทุกชนิดสำหรับระบบระบบอาณัติสัญญาณ

  2. เอกสารประกอบในการปฏิบัติงาน ได้แก่ ประวัติการซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบระบบอาณัติสัญญาณ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการวางแผนงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ