หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมอะไหล่สําหรับงานซ่อมบํารุงระบบอาณัติสัญญาณ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-EYRQ-117B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอะไหล่สําหรับงานซ่อมบํารุงระบบอาณัติสัญญาณ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

202 ผู้วางแผนงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
     เข้าใจภาพรวมการทำงานของการวางแผนจัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุง เป็นอย่างดี สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนของคู่มือปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสมและสามารถสอนงานช่างเทคนิคได้ รวมทั้งวิเคราะห์อาการ สืบหาสาเหตุและแก้ไขปัญหาของระบบอาณัติสัญญาณ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20206.1

กําหนดจํานวนอะไหล่และจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

1) วางแผนการจัดเตรียมชิ้นส่วนอะไหล่ตามคำแนะนำของผู้ผลิตและเงื่อนไขตามการใช้งาน

20206.1.01 156766
20206.1

กําหนดจํานวนอะไหล่และจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน

2) กำหนดพื้นที่จัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ได้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต

20206.1.02 156767
20206.2

ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ํากว่ากําหนด

1) กำหนดพื้นที่จัดเก็บชิ้นส่วนอะไหล่ได้ถูกต้องตามคำแนะนำของผู้ผลิต

20206.2.01 156768
20206.2

ควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ํากว่ากําหนด

2) ใช้ระบบบริหารข้อมูลการซ่อมบำรุง (Maintenance Management Information Systems) สำหรับบริหารจัดการอะไหล่ได้

20206.2.02 156769

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

        ทักษะการใช้ระบบบริหารข้อมูลการซ่อมบำรุง (Maintenance Management Information Systems) ในการใช้งานระบบที่เกี่ยวข้องในหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ

(ข) ความต้องการด้านความรู้

       ความรู้เรื่องส่วนประกอบของอุปกรณ์ และอะไหล่ที่ใช้งาน เช่น Log book, Check sheet เป็นต้น


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบ Interlocking หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงระบบ Interlocking



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     วางแผนจัดเตรียมอะไหล่สำหรับงานซ่อมบำรุงอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ โดยคำนึงถึงอายุการใช้งาน สถานที่ และจำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อไม่ให้เกิดความผิดพลาดของจำนวนอะไหล่ต่อปริมาณการใช้งาน

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. การปฏิบัติงานต้องคำนึงถึง ปริมาณและจำนวนอุปกรณ์ทั้งหมดในระบบอาณัติสัญญาณ อายุหรือ อัตราการใช้งานของอะไหล่ของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ และระยะเวลาในการสั่งซื้ออะไหล่

  2. คู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มืออุปกรณ์ Data Sheet และการบริหารอะไหล่

  3. ระบบคอมพิวเตอร์ software สำหรับบริหารจัดการอะไหล่


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการกำหนดจำนวนอะไหล่และจัดเตรียมอะไหล่ให้เหมาะสมกับการใช้งาน




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการควบคุมและติดตามอะไหล่ที่มีปริมาณต่ำกว่ากำหนด




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ