หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนงานซ่อมบํารุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-IMTO-116B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนงานซ่อมบํารุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

202 ผู้วางแผนงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      เข้าใจภาพรวมการทำงานของการวางแผนซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board เป็นอย่างดี สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนของคู่มือปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20205.1

วิเคราะห์ Schematic diagram ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

1) วิเคราะห์แบบ schematic diagram และความเชื่อมโยงของระบบต่างๆในระบบอาณัติสัญญาณ on-board ตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

20205.1.01 156753
20205.2

วิเคราะห์สถานะของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

1) วิเคราะห์ความหมายของไฟแสดงสถานะหรือข้อความแสดงสถานะของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.2.01 156754
20205.2

วิเคราะห์สถานะของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

2) กำหนดคำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.2.02 156755
20205.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบอาณัติสัญญาณ on-board

1) วางแผนการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ระบบ อาณัติสัญญาณ on-board

20205.3.01 156756
20205.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบอาณัติสัญญาณ on-board

2) วางแผนการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.3.02 156757
20205.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบอาณัติสัญญาณ on-board

3) วางแผนการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.3.03 156758
20205.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

1) วางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำการเปลี่ยนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาณัติสัญญาณ on-board ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

20205.4.01 156759
20205.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

2) วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.4.02 156760
20205.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

3) กำหนดค่าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.4.03 156761
20205.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

1) กำหนดคำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

20205.5.01 156762
20205.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

2) กำหนดเครื่องมือหรือใช้คำสั่งทดสอบต่างๆ ในการตรวจสอบหาปัญหาได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20205.5.02 156763
20205.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

3) วิเคราะห์ปัญหาภายในเวลาที่กำหนด

20205.5.03 156764
20205.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

4) วางแผนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board

20205.5.04 156765

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

2. ทักษะในการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

3. ทักษะการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวงจร schematic diagram ของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

2. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ และ ศัพท์เทคนิคทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

3. ความรู้ความเข้าใจและแปลความหมายของสถานะที่ปรากฏของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

4. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

5. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

6. ความรู้ความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในระบบอาณัติสัญญาณ on-board

7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะที่แสดงถึงอุปกรณ์ว่ามีปัญหาที่ส่วนใด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบ Interlocking หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงระบบ Interlocking



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

     ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้



วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)



วิธีการประเมิน

      ผู้ประเมินจะต้องทำการตรวจสอบและพิจารณาหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ที่ระบุมาโดยต้องตรงกับความต้องการของหน่วยสมรรถนะนี้


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     การวางแผนการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board โดยสามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนในคู่มือที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board และใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board ได้แก่ คู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา

  2. แบบวงจร schematic diagram ของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

  3. สัญลักษณ์ และ ศัพท์เทคนิคทางไฟฟ้าเฉพาะของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

  4. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในระบบอาณัติสัญญาณ on-board




  • อุปกรณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบในการซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ on-board

  • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาระบบอาณัติสัญญาณ on-board

  • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์ระบบอาณัติสัญญาณ on-board


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการอ่าน Schematic diagram ของระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการดูสถานะของอุปกรณ์ ระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบำรุงของระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ในระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ