หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผนงานซ่อมบํารุงระบบ CTC

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-OBRS-113B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผนงานซ่อมบํารุงระบบ CTC

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

202 ผู้วางแผนงานซ่อมบำรุงระบบอาณัติสัญญาณ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
       เข้าใจภาพรวมการทำงานของการวางแผนงานซ่อมบำรุงระบบ CTC และระบบที่เกี่ยวข้อง สามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง และใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
20202.1

วิเคราะห์ Schematic diagram ของระบบ CTC

1) วิเคราะห์แบบ schematic diagram และความเชื่อมโยงของระบบต่างๆในระบบ CTC ตามคู่มือได้อย่างถูกต้อง

20202.1.01 156714
20202.2

วิเคราะห์สถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC

1) วิเคราะห์ความหมายของไฟแสดงสถานะหรือข้อความแสดงสถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.2.01 156715
20202.2

วิเคราะห์สถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC

2) กำหนดคำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.2.02 156716
20202.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบ CTC

1) วางแผนการตรวจสอบเพื่อบำรุงรักษาชิ้นส่วนต่างๆ ของอุปกรณ์ระบบ CTC

20202.3.01 156717
20202.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบ CTC

2) วางแผนการเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบได้อย่างถูกต้องครบถ้วน

20202.3.02 156718
20202.3

วางแผนการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบํารุงของระบบ CTC

3) กำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ต่างๆของระบบ CTC ที่ผิดจากปรกติให้กลับสู่ค่ามาตรฐานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.3.03 156719
20202.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบ CTC

1) วางแผนการจัดเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำการเปลี่ยนและอุปกรณ์ระบบ CTC ที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องครบถ้วนตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.4.01 156720
20202.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบ CTC

2) วางแผนการจัดเตรียมเครื่องมือที่จำเป็นในการทำงานได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.4.02 156721
20202.4

วางแผนการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ระบบ CTC

3) กำหนดค่าต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามคู่มือการปฏิบัติงาน

20202.4.03 156722
20202.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบ CTC ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

1) กำหนดคำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC

20202.5.01 156723
20202.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบ CTC ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

2) กำหนดคำสั่งในการตรวจสอบสถานะของอุปกรณ์ระบบ CTC

20202.5.02 156724
20202.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบ CTC ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

3) วิเคราะห์ปัญหาภายในเวลาที่กำหนด

20202.5.03 156725
20202.5

วางแผนการทดสอบและแก้ไขปัญหาอุปกรณ์ระบบ CTC ขัดข้องได้ภายในเวลาที่กําหนด

4) วางแผนการทดสอบการทำงานของอุปกรณ์ระบบ CTC

20202.5.04 156726

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

2. ทักษะในการแก้ไขปัญหาได้รวดเร็วในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

3. ทักษะการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับวงจร schematic diagram ของอุปกรณ์ในระบบ CTC

2. ความรู้เกี่ยวกับสัญลักษณ์ และ ศัพท์เทคนิคทางไฟฟ้าของอุปกรณ์ในระบบ CTC

3. ความรู้ความเข้าใจและแปลความหมายของสถานะที่ปรากฏของอุปกรณ์ในระบบ CTC

4. ความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์ในระบบ CTC

5. ทักษะการตรวจสอบความผิดปกติของอุปกรณ์ในระบบ CTC

6. ความรู้ความเข้าใจกับปัญหาที่เกิดขึ้นกับอุปกรณ์ในระบบ CTC

7. ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสถานะที่แสดงถึงอุปกรณ์ว่ามีปัญหาที่ส่วนใด


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการซ่อมบำรุงระบบ Interlocking หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับงานซ่อมบำรุงระบบ Interlocking



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

     การวางแผนการปฏิบัติงานซ่อมบำรุงระบบ CTC โดยสามารถปฏิบัติงานตามขั้นตอนในคู่มือที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ระบบ CTC และใช้เครื่องมือหรือเครื่องวัดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือที่เกี่ยวข้องของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบ CTC ได้แก่ คู่มือการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา

  2. แบบวงจร schematic diagram ของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

  3. สัญลักษณ์ และ ศัพท์เทคนิคทางไฟฟ้าเฉพาะของอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

  4. อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในระบบ CTC




  • อุปกรณ์เกี่ยวกับการตรวจสอบในการซ่อมบำรุงระบบ CTC

  • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาระบบ CTC

  • อุปกรณ์และเครื่องมือที่ใช้ในการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์ระบบ CTC


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการอ่าน Schematic diagram ของระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการดูสถานะของอุปกรณ์ ระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการตรวจสอบอุปกรณ์ตามรอบการซ่อมบำรุงของระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



4. เครื่องมือประเมินการถอด/เปลี่ยนอุปกรณ์และตั้งค่าเริ่มต้นของระบบ (Configuration) ของอุปกรณ์ในระบบ Interlocking




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ