หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดต่างๆ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-UQGF-090B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดต่างๆ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

102 ผู้ควบคุมรถไฟฟ้า



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
      การตรวจสอบขบวนรถไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่พร้อมสำหรับการออกให้บริการ โดยให้ความสำคัญกับการทำงานของระบบ/อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยสูงสุดและทำการเปลี่ยนโหมดการควบคุมขบวนรถไปยังโหมดต่างๆที่เกี่ยวข้องได้อย่างถูกต้อง

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10201.1

เตรียมความพร้อมและความปลอดภัยของขบวนรถไฟเพื่อเข้าสู่การให้บริการ

1) ตรวจสอบสภาพความพร้อมภายนอก ขบวนรถไฟตามคู่มือการปฏิบัติงานได้ อย่างถูกต้อง

10201.1.01 156548
10201.1

เตรียมความพร้อมและความปลอดภัยของขบวนรถไฟเพื่อเข้าสู่การให้บริการ

2) ตรวจสอบการทำงานของระบบและ อุปกรณ์ภายใน cab ท้ายขบวนตามคู่มือ การปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

10201.1.02 156549
10201.1

เตรียมความพร้อมและความปลอดภัยของขบวนรถไฟเพื่อเข้าสู่การให้บริการ

3) ตรวจสอบการทำงานของระบบและ อุปกรณ์ภายใน saloon ตามคู่มือการ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

10201.1.03 156550
10201.1

เตรียมความพร้อมและความปลอดภัยของขบวนรถไฟเพื่อเข้าสู่การให้บริการ

4) ตรวจสอบการทำงานของและอุปกรณ์ ภายใน cab หัวขบวนตามคู่มือการ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

10201.1.04 156551
10201.2

ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดManual และโหมดอัตโนมัติ (Auto)

1) เปลี่ยนโหมดขับเคลื่อนเป็น Manual รูปแบบต่างๆ และการเคลื่อนที่/การหยุด ขบวนรถไฟฟ้า ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้ อย่างถูกต้องและปลอดภัย

10201.2.01 156552
10201.2

ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดManual และโหมดอัตโนมัติ (Auto)

2) ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมด Manual ภายใต้ระบบอาณัติสัญญาณ ตามคู่มือการ ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย

10201.2.02 156553
10201.2

ขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดManual และโหมดอัตโนมัติ (Auto)

3) การขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดอัตโนมัติ (AUTO) ตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่าง ถูกต้องและปลอดภัย

10201.2.03 156554

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะในการใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ ประกอบด้วย ชุดควบคุมการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า

  2. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารที่เพียงพอต่อการติดต่อสื่อสาร และควบคุมรถไฟฟ้า

  3. ทักษะการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. มีความรู้ในเรื่องส่วนประกอบหลักของขบวนรถไฟฟ้า

  2. มีความรู้ในเรื่องระบบ/การทำงานของอุปกรณ์ภายในห้องควบคุมรถไฟฟ้า (Driver's Cab)

  3. มีความรู้ในเรื่องระบบ/การทำงานของอุปกรณ์ภายในห้องโดยสาร (Saloon)

  4. มีความรู้ในเรื่องโหมดการควบคุมรถไฟฟ้า

  5. ความรู้ในเรื่องการใช้งานระบบ และ อุปกรณ์


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการควบคุมรถไฟฟ้า หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการควบคุมรถไฟฟ้า



(ค) คำแนะนำในการประเมิน

      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐานสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

       การขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดต่างๆ ต้องคำนึงถึงความสำคัญกับการทำงานของระบบ/อุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการควบคุม อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารทั้งในด้านประสิทธิภาพการทำงานและความปลอดภัยสูงสุด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือการปฏิบัติงาน ได้แก่ คู่มือการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมดต่างๆ

  2. ระบบและอุปกรณ์ภายใน cab หัวขบวน และท้ายขบวน

  3. ระบบและอุปกรณ์ภายใน saloon

  4. อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสาร ประกอบด้วยวิทยุสื่อสารและโทรศัพท์ lan line


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการเตรียมความพร้อม และความปลอดภัยของขบวนรถไฟเพื่อเข้าสู่การให้บริการ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการขับเคลื่อนรถไฟฟ้าในโหมด Manual และโหมดอัตโนมัติ (AUTO)




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ