หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดการเดินรถไฟฟ้าในสภาวะไม่ปกติ

สาขาวิชาชีพระบบขนส่งทางราง


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ RAI-VDTB-087B

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดการเดินรถไฟฟ้าในสภาวะไม่ปกติ

3. ทบทวนครั้งที่ - / -

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

101 ผู้ควบคุมการเดินรถไฟฟ้าในศูนย์ควบคุมการเดินรถ



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
จัดการเดินรถไฟฟ้าในสภาวะไม่ปกติ เพื่อให้การบริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัยและสะดวกสบายแก่ผู้โดยสาร

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
อุตสาหกรรมระบบราง (Rail Industry)

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
10102.1

แก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดข้องจากระบบการเดินรถไฟฟ้า

1) แก้ไขปัญหาระบบการเดินรถไฟฟ้าตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง

10102.1.01 156535
10102.1

แก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดข้องจากระบบการเดินรถไฟฟ้า

2) ใช้มาตรการด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่ของขบวนรถไฟฟ้าตามคู่มือการปฏิบัติงานอย่างถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย

10102.1.02 156536
10102.1

แก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดข้องจากระบบการเดินรถไฟฟ้า

3) ให้คำแนะนำในการแก้ปัญหาแก่พนักงานขับรถไฟฟ้าตามคู่มือการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องแม่นยำ

10102.1.03 156537
10102.2

ให้บริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบ

1) ตัดสินใจใช้แผนการเดินรถสำรองมาใช้งานได้อย่างเหมาะสม

10102.2.01 156538
10102.2

ให้บริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบ

2) ปรับเปลี่ยนการเดินรถให้เป็นไปในรูปแบบการเดินรถตามแผนสำรองได้ตามคู่มือการปฏิบัติ งานอย่างถูกต้องแม่นยำและปลอดภัย

10102.2.02 156539
10102.2

ให้บริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบ

3) ด้วยระยะเวลาสั้นที่สุดประสานงานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการเดินรถ เพื่อให้การบริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10102.2.03 156540
10102.3

จัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินในศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า

1) ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องแม่นยำมีประสิทธิภาพและปลอดภัยสูงสุด

10102.3.01 156541
10102.3

จัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินในศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า

2) ประสานงานกับหน่วยงานภายนอกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

10102.3.02 156542

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)

00000 ความปลอดภัยในการทำงานขั้นพื้นฐาน


13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ


  1. ทักษะการแก้ไขปัญหาในการควบคุมการเดินรถ

  2. ทักษะการใช้งานอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องในระบบการจัดการเดินรถไฟฟ้า

  3. ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษ ในการสื่อสารที่เพียงพอต่อการจัดการเดินรถไฟฟ้า

  4. ทักษะการจัดทำรายงาน

(ข) ความต้องการด้านความรู้


  1. ความรู้ด้านความปลอดภัยการเคลื่อนที่ของขบวนรถไฟฟ้า

  2. ความรู้เรื่องการเดินรถไฟฟ้า


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)




  1. หนังสือรับรองการปฏิบัติงานจากสถานประกอบการ หรือ

  2. แบบฟอร์มบันทึกภาระงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้ หรือ

  3. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) หรือ

  4. หนังสือรับรองการผ่านงานที่เกี่ยวข้องกับหน่วยสมรรถนะนี้จากสถานประกอบการ



(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)




  1. ใบรับรองผลการศึกษา หรือ

  2. ใบรับรองผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการจัดการเดินรถไฟฟ้า หรือ

  3. ประกาศนียบัตร/วุฒิบัตรผ่านการอบรมในหลักสูตรด้านการจัดการเดินรถไฟฟ้า



(ค) คำแนะนำในการประเมิน



      ผู้ที่เข้ารับการประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องแสดงหลักฐานการปฏิบัติงานและหลักฐานความรู้ ที่มีประเด็นและจุดสังเกตของหลักฐาสอดคล้องกับรายละเอียดที่ระบุไว้ในหน่วยสมรรถนะนี้

วิธีการประเมิน




  1. การประเมินความรู้และทักษะปฏิบัติในหน่วยสมรรถนะนี้ จะต้องดำเนินการโดยองค์กรที่มีหน้าที่รับการรับรองสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพที่ขึ้นทะเบียนเท่านั้น

  2. การประเมินความรู้ในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้ทำการสอบข้อเขียนแบบปรนัย 4 ตัวเลือก ส่วนการประเมินทักษะการปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ทำการสัมภาษณ์ ก่อนสาธิตการปฏิบัติงานภายใต้การจำลองสถานการณ์ที่เหมาะสมกับการประเมิน หรืออาจจะพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio)


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ




  1. การจัดการเดินรถไฟฟ้าในสภาวะไม่ปกติ เพื่อให้การบริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพปลอดภัย โดยจะต้องปฏิบัติตามคู่มือและระบบที่เกี่ยวข้องได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์



(ข) คำอธิบายรายละเอียด




  1. คู่มือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ได้แก่




  • คู่มือการแก้ไขปัญหาการให้บริการเดินรถ

  • คู่มือการเดินรถไม่เต็มรูปแบบต่าง ๆ

  • คู่มือการปฏิบัติงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน




  1. ระบบการเดินรถไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องได้แก่ ระบบรถไฟฟ้าและระบบควบคุมการเดินรถอัตโนมัติ


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

การประเมินในหน่วยสมรรถนะนี้ กำหนดให้เลือกใช้การประเมินจากวิธีดังต่อไปนี้



1. เครื่องมือประเมินการแก้ไขปัญหาเมื่อเกิดข้อขัดข้องจากระบบการเดินรถไฟฟ้า




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



2. เครื่องมือประเมินการให้บริการเดินรถไฟฟ้าไม่เต็มรูปแบบ




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



3. เครื่องมือประเมินการจัดการเหตุการณ์ฉุกเฉินในศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟฟ้า




  • ข้อสอบข้อเขียน แบบปรนัย 4 ตัวเลือก

  • สัมภาษณ์ หรือ

  • พิจารณาจากแฟ้มสะสมงาน (Portfolio)



ยินดีต้อนรับ