หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ และระบบ ระบายน้ำ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-KBEJ-133A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ และระบบ ระบายน้ำ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบำรุงรักษาสวนสาธารณะ ระดับ 2 

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำแบบธรรมดาระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดินทั้งบริเวณ และระบบการให้น้ำแบบหยด สามารถวางแผนการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำแบบร่องเปิด ระบบระบายน้ำแบบฝั่งท่อใต้ดินรวมทั้งสามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือ และข้อมูลพื้นฐานภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03451 ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ 1.1 อธิบายหลักการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำแบบธรรมดา 155786
03451 ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ 1.2 อธิบายหลักการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดินทั้งบริเวณ 155787
03451 ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ 1.3 อธิบายหลักการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำแบบหยด 155788
03451 ดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ 1.4 เลือกวิธีการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำแต่ละประเภท 155789
03452 ดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ 2.1 อธิบายหลักการดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำแบบร่องเปิด 155790
03452 ดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ 2.2 อธิบายหลักการดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำแบบฝั่งท่อใต้ดิน 155791
03452 ดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำ 2.3 เลือกวิธีการดูแลบำรุงรักษาระบบระบายน้ำแต่ละประเภท 155792

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำระบบระบายน้ำ

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำระบบระบายน้ำ

3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำระบบระบายน้ำ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

ระบบการให้น้ำแบบธรรมดา หมายถึง การดึงน้ำออกจากแหล่งน้ำดิบโดยเครื่องสูบน้ำ หรือการดึงน้ำจากระบบประปาของชุมชน ผ่านมาตรวัด น้ำเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินในพื้นที่การจัดภูมิทัศน์

ระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดินทั้งบริเวณ แบบนี้เหมาะสำหรับงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ใช้งบประมาณในการติดตั้งสูงแบบประหยัดเวลาครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สอยพื้นที่ ระบบปิดเปิดควบคุมการทำงาน ทำได้ทั้งใช้คนควบคุมระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ

ระบบการให้น้ำแบบหยดเป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชแต่ละต้นโดยตรง ในกรณีการปลูกพืชเป็นแถว หรือการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเป็นกลุ่ม โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำที่ส่งให้กับพืชครั้งละน้อยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยหัวปล่อยน้ำที่เรียกว่า emitter ซึ่งเป็นท่อจ่ายน้ำขนาดเล็กซึ่งผลิตจาก low density polyethylene resin ที่ติดไว้ตามจุดของท่อจ่ายน้ำ ตามระยะห่างของต้นพืชหรือกลุ่มพืช น้ำที่ปล่อยจากหัวให้น้ำต้องมีความเหมาะสมกับความต้องการของน้ำของพืช

ระบบระบายน้ำเป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดระบบหนึ่งของงานภูมิทัศน์ ถ้าระบบการระบายน้ำไม่ดี ไม่สะดวก จะมีผลต่อการใช้สอยพื้นที่สิ่งก่อสร้าง การเจริญเติบโตของพืชพรรณ ทำให้พื้นที่ฉ่ำน้ำ แฉะ เนื่องจากการระบายน้ำไม่ออก การวางระบบน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ ระบบระบายน้ำจากนายจ้าง หรือ 

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ ระบบระบายน้ำ หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ ระบบระบายน้ำ 

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

2. การสอบปฏิบัติ

3. แฟ้มสะสมผลงาน

4. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ข้อที่ 5 และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ข้อที่6

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานดูแลบำรุงรักษาระบบการให้น้ำ ข้อที่ 1 2 และ 3 

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. ระบบการให้น้ำแบบธรรมดา

คือ การดึงน้ำออกจากแหล่งน้ำดิบโดยเครื่องสูบน้ำ หรือการดึงน้ำจากระบบประปาของชุมชน ผ่านมาตรวัด น้ำเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินในพื้นที่การจัดภูมิทัศน์ ท่อลำเลียงน้ำที่นิยมมีอยู่ 3 ชนิด คือท่ออาบสังกะสี (galvanized iron pipe) ท่อความดันที่ผลิตจากโพลีมินีน (polyvinyle chloride) หรือท่อ PVC ท่อ และท่อที่ทนแรงน้ำ (polyethylene-PE) ทนแรงดันน้ำสูง (height density) ใช้กับระบบการให้น้ำแบบฝนโปรย ถ้าท่อแรงดันน้ำต่ำ (low density) ใช้กับการให้น้ำแบบหยด

การลำเลียงน้ำจะผ่านท่อดังกล่าวแบบใดแบบหนึ่ง และโผล่ปลายท่อขึ้นเนื้อดินเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณจุดละ 15.0 ถึง 20.00 เมตร ตามขอบแปลงชิดกำแพง หรือตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อต่อเข้ากับก๊อกสนาม (faucet) ที่ทำหน้าที่ควบคุมปิดเปิดการจ่ายน้ำ

วิธีการนำน้ำไปใช้รถพืชพรรณ

ที่ปฏิบัติโดยทั่วไปคือ ก๊อกสนาม-สายยาง (hose-bib) แล้วปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับหัวให้น้ำแบบต่างๆ เช่น ต่อเข้ากับหัวให้น้ำแบบหัวพ่นหมอก (nozzle) หรือแบบ spray gun โดยใช้คนควบคุมการให้น้ำ ต่อเข้ากับสายยางให้น้ำฝนแบบฝนโปรย (sprinkler hose) การให้น้ำแก่พืชเป็นฝอยละเอียดเหมาะสำหรับสนามหญ้าแคบๆ แปลงดอกไม้ต่อเข้ากับผัวให้น้ำแบบฝนโปรยต่างๆแล้วปล่อยให้ทำงานเอง เช่น แบบสายแกว่งไปมา แบบหัวหมุนรอบตัว แบบหัวเหวี่ยง แบบมีล้อเคลื่อนอย่าให้ และแบบไม่เคลื่อนตัว

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง

หลังเสร็จสิ้นการให้น้ำแต่ละครั้ง ปิดก๊อกน้ำที่ควบคุมระบบการจ่ายน้ำเก็บ ม้วนสายยางเก็บหัวให้น้ำแบบต่างๆ และตรวจการอุดตันที่จะเกิดสิ่งสก ปรกหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่แกนหมุน และเก็บไว้ในสถานที่เก็บให้เรียบร้อย

หมั่นตรวจรอยเชื่อมต่อระหว่างท่อลำเลียงน้ำแต่ละช่วง โดยเฉพาะช่วงต่อขึ้นมาเหนือดินที่ติดเข้ากับก๊อกสนาม อาจหลุดหรือหักได้ เนื่องจากการลากสายยางเวลาให้น้ำแก่พืชพรรณ วิธีการซ่อมบำรุงหรือป้องกัน คือ การเทคอนกรีตหุ้มเสา ปล่อยเฉพาะส่วนหัวก๊อกสนามไว้ และตกแต่งเสาหุ้มให้สวยงาม

ระบบการให้น้ำแบบฝนโปรยก้านเสียบเร็ว (rain spray quick coupling) 

ระบบการให้น้ำแก่พันธุ์พรรณแบบนี้ เหมาะสำหรับสนามหญ้ามากที่สุด โดยการวางท่อฝังลำเลียงน้ำใต้ดินจากถังความดัน (pressure tank) แล้ววางจุดเพื่อรับหัวก้านเสียบขึ้นเป็นจุดๆ ตามตำแหน่งการให้น้ำที่เหมาะสม ผู้ดูแลการให้น้ำจะนำก้านเสียบมาเสียบตามจุด หรือตำแหน่งที่กำหนดไว้  (quick coupling valve) ครั้งละจุด หรือหลายๆจุดพร้อมกันก็ได้ ระบบการให้น้ำแบบนี้ประหยัดหัวฉีด เพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ตามจุดต่างๆได้ 

2. ระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดินทั้งบริเวณ

แบบนี้เหมาะสำหรับงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณในการติดตั้งสูงแบบประหยัดเวลาครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สอยพื้นที่ ระบบปิดเปิดควบคุมการทำงาน ทำได้ทั้งใช้คนควบคุมระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ

การวางระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดิน เป็นงานซับซ้อนมีความประณีต มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ควบคุมได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย เช่น กระแสลม แสงแดด การระเหยน้ำ การสูญเสียน้ำ การเลือกหัวฉีดแบบฝนโปรยที่เหมาะสมกับชนิดของพรรณ ไม้ชนิดของพื้นที่ รวมถึงระบบแรงดันน้ำ ความเพียงพอของแหล่งน้ำ และความสะอาดสะอาดของน้ำ

แต่ส่วนใหญ่แล้วจะวางระบบควบคุมเป็นแบบอัตโนมัติ คือ การให้น้ำที่มีเครื่องควบคุมปิดเปิดโดยอัตโนมัติโดยตั้งเวลาการให้น้ำไว้โดยเรียบร้อย เมื่อถึงเวลากำหนดจะทำงานเอง หัวฉีดน้ำจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินโดยแรงดันน้ำ และยุบตัวลงไปในกระบอกเมื่อเก็บเมื่อการให้น้ำสิ้นสุดเรียกระบบการให้น้ำแบบนี้ว่าแบ่งหัวให้น้ำขึ้นลงได้ตามภารกิจ (pop-up system) 

หัวฉีดพ่นน้ำแบบ pop up System มีหลายแบบ 1) แบบพ่นออกเป็นฝอยละอองคล้ายหมอก (spray pop-up sprinkler) ลักษณะการพ่นเป็นฝอยละอองรอบทิศทางและควบคุมทิศทาง และ 2) แบบหัวเหวียงพ่นน้ำเป็นทิศทางเดียวหรือหัวหมุนรอบ (rotor pop-up sprinkler) สามารถปรับความอยากความละเอียดของการพ่นน้ำได้ ขณะเดียวกันสามารถสร้างตั้งองศาของการทำงานได้ด้วย

องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย สถานีส่งน้ำ (pump house) ถังควบคุมแรงดัน ระบบควบคุมปิดเปิดน้ำแบบอัตโนมัติ (automatic controller) อุปกรณ์กรองน้ำให้สะอาด ท่อลำเลียง(ส่งน้ำ) เป็นท่อที่มีความทนทานต่อแรงดันน้ำ นิยมใช้ท่อ อีพี (polyethylene-PE) เป็นท่อม้วนสีดำจุดกำหนดการให้น้ำแบบ pop-up 

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง

หมั่นตรวจสอบระบบการส่งน้ำ ระบบการกรองน้ำ ระบบความควบคุมแรงดัน ระบบควบคุมเวลาอัตโนมัติให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน ตรวจสอบการอุดตันของหัวพ่นน้ำ ทั้งแบบพ่นฝอยละอองคล้ายหมอกและแบบหมุนเวียน ทำตำแหน่งจุดหัวพ่นให้ชัดเจนสวยงาม เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือตัดหญ้าสนาม

3. ระบบการให้น้ำแบบหยด

การให้น้ำแบบหยด เป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชแต่ละต้นโดยตรง ในกรณีการปลูกพืชเป็นแถว หรือการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเป็นกลุ่ม โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำที่ส่งให้กับพืชครั้งละน้อยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยหัวปล่อยน้ำที่เรียกว่า emitter ซึ่งเป็นท่อจ่ายน้ำขนาดเล็กซึ่งผลิตจาก low density polyethylene resin ที่ติดไว้ตามจุดของท่อจ่ายน้ำ ตามระยะห่างของต้นพืชหรือกลุ่มพืช น้ำที่ปล่อยจากหัวให้น้ำต้องมีความเหมาะสมกับความต้องการของน้ำของพืช

การให้น้ำแบบหยดเหมาะสมกับการปลูกพืชแบบเป็นระเบียบ แปลงปลูกดอกไม้ การปลูกต้นไม้เป็นกลุ่ม แต่ไม่เหมาะสมกับการให้น้ำแก่สนามหญ้า 

องค์ประกอบของระบบการให้น้ำแบบหยด ประกอบด้วย เครื่องกำเนิดแรงดันน้ำคือปั๊มน้ำต้องเหมาะสมเครื่องควบคุมความดันของน้ำ เป็นเครื่องวัดความดันของน้ำ เครื่องกรองน้ำมีความสำคัญมาก เพราะบางครั้งน้ำดิบจากแหล่งน้ำมีความสะอาดไม่เพียงพอเครื่องควบคุมระบบปิดเปิดการจ่ายน้ำตามเวลาที่กำหนดท่อประธาน (maim line) เป็นท่อหลักที่ลำเลียงน้ำจากปั๊ม เพื่อจ่ายน้ำเข้าสู่ท่อแยกประธานเป็นท่อ EP ฝังอยู่ใต้ระดับผิวดิน ท่อแยกประธาน (sub main line) เป็นท่อแขนงแต่ละสาย โดยมากฝังอยู่ใกล้ระดับผิว เพื่อส่งน้ำผ่านท่อแขนง ท่อแขนง (lateral line) เป็นท่อที่ต่อแยกจากท่อแยกประทาน เพื่อเสียบหัวปล่อยน้ำวางอยู่ใกล้ระดับผิวดิน และหัวปล่อยน้ำ (emitter) ทำหน้าที่ควบคุมการไหล หรือหยดของน้ำจากท่อแขนง     สู่แปลงปลูกต้นไม้ หลุมปลูกต้นไม้

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง

ตรวจสอบสิ่งสกปรกเข้าสู่เครื่องสูบน้ำ ตรวจสอบหัวจ่ายน้ำที่ทำงานเป็นปกติ เพราะหัวจ่ายน้ำมีโอกาสตันได้ถ้ามีสิ่งปฏิกูล เนื่องจากน้ำสกปรก

4. ระบบการระบายน้ำ (drainage system)

ระบบการระบายน้ำเป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดระบบหนึ่งของงานภูมิทัศน์ ถ้าระบบการระบายน้ำไม่ดี ไม่สะดวก จะมีผลต่อการใช้สอยพื้นที่สิ่งก่อสร้าง การเจริญเติบโตของพืชพรรณ ทำให้พื้นที่ฉ่ำน้ำ แฉะ เนื่องจากการระบายน้ำไม่ออก การวางระบบน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น

การระบายน้ำ เป็นวิธีการกำจัดน้ำที่มากเกินความต้องการออกจากพื้นที่ โดยใช้วิธีการระบายน้ำแบบผิวดิน (surface drain) แบบร่องคู (ditch drain) และที่นิยมมาก สำหรับการระบายน้ำในงานภูมิทัศน์ คือ แบบร่องเปิด (open ditch drain) และแบบร่องมีฝาปิดเปิด สำหรับทำความสะอาด และวางท่อระบายน้ำใต้ดิน (tile drain) คือ การที่น้ำซึมผ่านชั้นดินลงสู่ท่อระบายน้ำ ผ่านรูพรุนที่เจาะไว้ เหมาะสำหรับสนามหญ้า

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงท่อระบายน้ำแบบร่องเปิดและแบบร่องมีฝาปิด-เปิด

4.1 การระบายน้ำแบบร่องเปิด

เป็นวิธีหนึ่งของการระบายน้ำแบบร่องคู (ditch drain)  ไม่มีฝาปิด-เปิด โดยทำเป็นร่องรับน้ำในจุดต่ำสุดของแนวลาดเอียงของพื้นที่รับน้ำ เช่น จากสนามหญ้า แปลงดอกไม้ พื้นที่ผิวคาดแข็ง ไหล่ถนนลักษณะของรองรับน้ำ ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่ารูปสี่เหลี่ยมคางหมูรูปสามเหลี่ยมตัววี (v) และรูปครึ่งวงกลมหรือตัวยู (U) 

ร่องระบายน้ำแบบร่องเปิดทั้ง 4 แบบ นิยมมากที่สุดในงานภูมิทัศน์ คือ แบบครึ่งวงกลม มองดูสวยงาม การดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดโดยใช้จอปลายมน ลากตามแนวยาวของร่อง ก็สามารถทำความสะอาดได้

4.2 การระบายน้ำแบบฝังท่อใต้ดิน มีปากปล่องรับน้ำโผล่ขึ้นระดับผิวดิน ตามแนวเขตรั้วของพื้นที่ระบายน้ำ ท่อระบายน้ำฝังอยู่ใต้ดิน ใช้ท่อเอสเบสโทส (asbestos) จุดระบายน้ำลงสู่ท่อเจาะเป็นรูพรุน ทิ้งหินกรองเพื่อป้องกันการอุดตัน ปากปล่องวางห่างกันเป็นช่องเท่ากับความยาวของท่อระบายน้ำ คือ 4.00 เมตร หรือมากกว่าตามความเหมาะสม ปากปล่องมีฝาปิด-เปิดเพื่อทำความสะอาดจุดล่าสุดของ      ปากปล่องเป็นแอ่งดักทราย หรือตะกอนดิน (sand tap) 

การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง

ถ้ามีการชำรุดให้ซ่อมบำรุง ส่วนการดูแลรักษาให้ทำความสะอาดตามร่องคู นำสิ่งสกปรก เศษหญ้าเศษใบไม้ เศษดินที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำออก ตักทรายหรือตะกอนดินออกจากบ่อดักทราย

5. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร

เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ

5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือ       ที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

5.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์    ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์  สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

5.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

5.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

5.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกร ตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

5.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

5.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์             ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

 5.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยวและแบบ   สองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได้ 

5.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

5.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

5.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

5.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์

6. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะ สิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วย เพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

7. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

8. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน      พ.ศ. 2554

 หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มี        

การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก



ยินดีต้อนรับ