หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

บำรุงรักษาสนามหญ้า

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-GZPI-130A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ บำรุงรักษาสนามหญ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบำรุงรักษาสวนสาธารณะ ระดับ 2

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการแก้ปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้าป้องกันกำจัดศัตรูสนามหญ้าป้องกันกำจัดโรคสนามหญ้า และป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า สามารถวางแผนการบำรุงรักษาสนามหญ้า รวมทั้งสามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำ   โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือ และข้อมูลพื้นฐานภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03421 แก้ปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้า 1.1 อธิบายหลักการแก้ปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้า 155755
03421 แก้ปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้า 1.2 เลือกเครื่องมือการเกษตรที่ใช้ในการกำจัดชั้นเศษหญ้า 155756
03422 ป้องกันกำจัดศัตรูสนามหญ้า 2.1 อธิบายเกี่ยวกับศัตรูสนามหญ้า 155757
03422 ป้องกันกำจัดศัตรูสนามหญ้า 2.2 เลือกวิธีการกำจัดศัตรูสนามหญ้า 155758
03423 ป้องกันกำจัดโรคสนามหญ้า 3.1 อธิบายเกี่ยวกับโรคสนามหญ้า 155759
03423 ป้องกันกำจัดโรคสนามหญ้า 3.2 เลือกวิธีการป้องกันโรคสนามหญ้า 155760
03424 ป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 4.1 อธิบายเกี่ยวกับวัชพืชในสนามหญ้า 155761
03424 ป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 4.2 วิเคราะห์สาเหตุที่ทำให้เกิดวัชพืชในสนามหญ้า 155762
03424 ป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 4.3 อธิบายวิธีการป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 155763
03424 ป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 4.4 เลือกใช้วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า 155764

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการบำรุงรักษาสนามหญ้า 

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการบำรุงรักษาสนามหญ้า  

3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานในการบำรุงรักษาสนามหญ้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การเกิดชั้นเศษหญ้า มีผลทำให้หญ้าเจริญเติบโตไม่เต็มที่การตรวจสอบง่ายๆ ว่าสนามหญ้ามีชั้นเศษหญ้าหรือไม่ให้ใช้นิ้วมือจิ้มลงไปในพื้นสนามหญ้าหากรู้สึกอ่อนนุ่มหยุ่นตัวคล้ายฟองน้ำแสดงว่าเกิดชั้นเศษหญ้าขึ้นในสนามหญ้าการเกิดฉันเสร็จหญ้าในสนามหญ้าบางครั้งก็มีประโยชน์บางครั้งก็เกิดโทษ การมีประโยชน์   หรือโทษขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นเศษหญ้า โดยปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้า วิธีการกำจัดชั้นเศษหญ้าและหลักการเลือกใช้เครื่องมือการเกษตรในการกำจัดชั้นเศษหญ้า

ศัตรูสนามหญ้า สัตว์ศัตรูที่ทำความเสียหายให้แก่สนามหญ้า ได้แก่ แมลง ไส้เดือน หนู กระรอก สุนัขสัตว์เลี้ยงอื่นๆ รวมถึงมนุษย์ด้วยซึ่งสัตว์ศัตรูแต่ละชนิดมีลักษณะการทำลายที่แต่กต่างกัน

โรคสนามหญ้า เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสนามหญ้าที่พบเห็นเป็นประจำเกิดมาจากสิ่งมีชีวิตกับสิ่งที่ไม่มีชีวิต

วัชพืชในสนามหญ้า คือ พรรณไม้ที่เจริญเติบโตในพื้นที่ที่ไม่พึงประสงค์จะทำให้เจริญเติบโตถ้าในความหมายของสนามหญ้าคือพรรณไม้ที่เจริญเติบโตในสนามหญ้าที่ไม่ใช่ชนิด หรือพรรณหญ้าสนามนับว่าเป็นวัชพืชทั้งหมด

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการบำรุงรักษาสนามหญ้าจากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการบำรุงรักษาสนามหญ้า หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการบำรุงรักษาสนามหญ้า

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

2. การสอบปฏิบัติ

3. การสอบสัมภาษณ์

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3  ข้อที่6และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19  ข้อที่ 7

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตัดหญ้าสนามตาม คำจำกัดความในคำอธิบายรายละเอียดที่ 1 2 3 4 และ 5

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การแก้ปัญหาการเกิดชั้นเศษหญ้า

ทำได้ดังนี้คือ 

1.1 ควบคุมไม่ให้เกิดชั้นเสร็จหญ้าทำได้หลายวิธีเช่น

1.1.1 เสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้าเพื่อกลบชั้นเศษหญ้า

1.1.2 ตัดหญ้าสม่ำเสมอตามเวลาที่กำหนด โดยคำนึงถึงความสูงและความถี่ของการตัดหลังตัดหญ้าทุกครั้งต้องเก็บเศษหญ้าออกจากสนามหญ้าให้หมด

1.1.3 ลดปัญหาหญ้าสนามเฝือใบ เนื่องจากหญ้าสนามได้รับปุ๋ยมากเกินไปแยกสนามเฝือใบเวลาตัดหญ้าทำให้มีเศษหญ้าเวลาหลังตัดมาก

1.1.4 หมั่นตรวจสอบการเกิดชั้นเศษหญ้า ถ้าหากพบให้รีบดำเนินการแก้ไข

1.2  การกำจัดชั้นเศษหญ้า 

เป็นการกำจัดชั้นเศษหญ้าหลังเกิดชั้นเศษหญ้าแล้ว และคาดว่าจะเป็นโทษแก่   สนามหญ้าคือมีความหนามากกว่า 1/2 นิ้ว ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น

1.2.1 ครูดชั้นเศษหญ้าออกด้วยคราดซี่แหลมหรือคราดกำจัดชั้นเศษหญ้า(thatching rake) โดยใช้แรงคน

1.2.2 ครูดเอาชั้นเศษหญ้าออกโดยใช้เครื่องมือทุ่นแรงเป็นคราดซี่แหลม   ติดท้ายรถแทรกเตอร์เหมาะสำหรับสนามหญ้าขนาดใหญ่

1.2.3 ใช้เครื่องกำจัดชั้นเศษหญ้า (dethatching machine) หรือเครื่อง   ตัดหญ้าในแนวดิ่ง (vertical cutter) โดยเครื่องดังกล่าวจะครูด (tear) ผ่านชั้นเศษหญ้าและตัดชั้นเศษหญ้าลงสู่ดิน

1.3 ปฏิบัติหลังการกำจัดชั้นเศษหญ้า มีวิธีดังนี้

1.3.1 เก็บกวาดชั้นเศษหญ้า ออกจากสนามหญ้า

1.3.2 ถ้าเป็นการใช้เครื่องกำจัดชั้นเศษหญ้าหลังกำจัดชั้นเศษหญ้าแล้วควรใช้คราดปรับระดับสนามหญ้าให้ราบเรียบสม่ำเสมอ หลังจากนั้นใส่ปุ๋ย รดน้ำเพื่อเร่งให้หญ้าสนามฟื้นตัวโดยเร็ว

2. ศัตรูสนามหญ้า และวิธีการป้องกันกำจัดศัตรูสนามหญ้า

2.1 แมลงที่ทำลายสนามหญ้าส่วนใหญ่อยู่ 2 ช่วงวัย 1) เป็นตัวหนอน ได้แก่ หนอนใยหญ้า หนอนกัดกินใบ หนอนด้วง และ 2) เป็นตัวเต็มวัย ได้แก่ แมลงกะชอน เพลี้ยจักจั่น ตั๊กกะแต่น และแมลงอื่นๆ ได้แก่ ปลวก มด วิธีการป้องกันกำจัดแมลง 1) ใช้วิธีกล คือ ใช้มือจับ แสงไฟฟ้าล่อ และ 2) ใช้วิธีทางเกษตรอินทรีย์ คือ สมุนไพรไล่แมลง น้ำหมักป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

2.2 ไส้เดือน โดยปกติแล้วไส้เดือนไม่ทำลายสนามหญ้า เพียงแต่ขุยของไส้เดือนทำให้สนามหญ้าสกปรก อาจทำให้สนามหน้าตายเป็นหย่อม เนื่องจากขุยไส้เดือนกดทับเป็นเวลานาน 

2.3 หนู ทำลายสนามโดยขุดรู ทำให้เกิดโพรงดินภายใน เกิดกองดินในสนามหญ้า พื้นสนามหญ้ามีโอกาสยุบตัว การป้องกันใช้วิธีกล คือ การใช้กับดัก

3. โรคสนามหญ้า

3.1 โรคที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

สิ่งมีชีวิตที่ทำให้เกิดโรค คือ จุลินทรีย์(microorganism) ต่างๆ เช่น จากเชื้อรา(fungus) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) ซึ่งการเกิดโรคทำให้สนามหญ้าตายมีลักษณะแต่กต่างกันและสามารถ   สังเกตได้ เช่น

3.1.1 หญ้าสนามตายเป็นวงสีน้ำตาล(brown patch) ซึ่งเกิดจากการทำลายของเชื้อรา Rhizoctonia solani ใบหญ้าจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีน้ำตาลใต้เป็นวงกลมเส้นผ่าศูนย์กลาง   ของการเกิดโรคเกือบถึง1เมตรและเป็นหย่อมๆ โรคนี้เกิดขึ้นง่ายในสภาพการให้น้ำมากเกินไปเกิดขึ้นกับหญ้าสนามเกือบทุกชนิดโดยเฉพาะหญ้าเซนต์ออกัสตินหญ้าแพรกลูกผสมหญ้านวลน้อยหญ้าญี่ปุ่น

3.1.2 โรคสนิมเหล็ก(rust)เกิดจากเชื้อรา Puccinia sp. โรคนี้จะเกิดกับ    ใบหญ้าทำให้ใบหญ้าเป็นสนิมสีน้ำตาลแดงเกิดขึ้นได้ง่ายเวลาหญ้าสนามขาดธาตุไนโตรเจนโรคสนิมเหล็กเกิดขึ้นกับหญ้าสนามแทบทุกชนิด

3.1.3 หญ้าตายเป็นวงสีเหลืองหรือโรคดอลลาร์สปอต(dollar spot) เกิดจากเชื้อรา Sclerotenia homeocarpa เวลาเกิดโรคใบหญ้าสนามกับเป็นสีเหลืองทองเป็นหย่อมคล้ายเงินเหรียญเป็นวงแต่ละวงเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1-2 นิ้ว กระจายในสนามหญ้าโรคนี้ชอบเกิดขึ้นกับหญ้าแพรกลูกผสม

3.1.4 โรคฟิวซาเรียม (fusarium patch) เกิดจากเชื้อรา fusarium nivaleเวลาเกิดโรคใบหญ้าสนามจะตายเป็นจุดสีน้ำตาลเป็นหย่อมเป็นวงอิสระถ้าขยายเต็มที่แต่ละอย่างจะกว้างถึง 30 เซนติเมตร

3.1.5 โรคใบจุดสีเทา (gray leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Piricularia griseaเกิดมากกับหญ้าเซนต์ออกัสตินใบหญ้าเป็นจุดสีเทาถึงสีน้ำตาลจุดกลมตามตัวใส่วนขอบใบสีม่วง

3.1.6 โรคราน้ำค้าง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Erysiphe graminis     เวลาหญ้าสนามเกิดโรคจะเกิดเส้นใยสีขาว-เทาบนใบหญ้า โดยมากจะเกิดขึ้นเมื่ออากาศเย็นและมีความชื้นสัมพัทธ์สูง ชอบเกิดกับหญ้านวลน้อยหญ้าญี่ปุ่นและหญ้าแพรกลูกผสม

3.2 วิธีการป้องกันกำจัดโรคสนามหญ้าที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต

3.2.1 การป้องกันก่อนการเกิดโรคเป็นวิธีการสกัดกั้นไม่ให้เกิดโรคแก่หญ้าสนามในเบื้องต้น เช่น

3.2.1.1 เลือกใช้พันธุ์หญ้าสนามที่ทนทานต่อโรคปลอดเชื้อโรคและพันธุ์หญ้าสนามจากแหล่งที่ไม่มีโรค

3.2.1.2 ระหว่างการให้น้ำแก่สนามหญ้าอย่าให้เกิดการขังแฉะอย่าทำให้หญ้าขาดน้ำ ความสม่ำเสมอของการให้น้ำเป็นวิถีทางหนึ่งที่ทำให้หญ้าสนามปลอดโรค

3.2.1.3 ระวังการตัดหญ้าต่ำเกินไปจะทำให้ญาติสนามอ่อนแอ ทำให้เกิดโรค ในส่วนของลำต้นหญ้าหลังตัดควรกวาดใบหญ้าออกจากสนามหญ้าให้หมดการหมักหมมของใบหญ้าสนามเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดโรคได้

3.2.1.4 ควรใส่ปูนขาวแก่สนามหญ้าถ้าตรวจพบว่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดิน (pH) ต่ำกว่า 6

3.2.1.5 กำจัดชั้นเศษหญ้า (thatch) ที่หนาเกินไป

3.2.1.6 กำจัดแมท (mat) เพื่อให้การซึมผ่านของน้ำลงสู่ดิน       เบื้องล่างได้สะดวก 

3.2.2 การกำจัดเมื่อเกิดโรคแล้วใช้สารเคมีกำจัดโรคหญ้าสนามฉีดพ่นหรือโรยในสนามหญ้าทั้งส่วนที่เป็นโรคและไม่เป็นโรคเพื่อกำจัดและป้องกันการแพร่กระจายของเชื้อโรคและควรใช้ตัวยาที่มีการดูดซึมน้อยหรือไม่มีการดูดซึมเลยเช่นแคปแทน (captain) ได้โฟลาแทน (difolatan) และมาเนบ(maneb)

3.3 อาการคล้ายโรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต

ส่วนใหญ่เกิดจากอิทธิพลของสภาพแวดล้อมเช่นอุณหภูมิสูงแสงแดดจัดการให้น้ำมากเกินไปการใส่ปุ๋ยมากเกินไปดินแน่นตัวทำให้ขาดอากาศออกซิเจนและความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เช่น

3.3.1 นำสุนัขไปปล่อยมูลและปัสสาวะในสนามหญ้าทำให้สนามหญ้าตายเนื่องจากหญ้าสนามไหม้ (burn) จากปัสสาวะ

3.3.2 ขับรถเข้าไปในสนามหญ้าน้ำมันรถโดยเฉพาะน้ำมันเบนซินรั่วไหลหยดลงสู่สนามหญ้าทำให้หญ้าสนามไหม้ 

3.3.3 ตัดหญ้าโดยไม่ได้รับใบมีดให้คมทำให้ปลายใบหญ้าแต่กต้นหญ้า     ถูกกระชากถอน (scalping) และอันตรายที่เกิดกับสนามเนื่องจากเครื่องตัดหญ้า (dull power injury) ปลายใบหญ้าสนามแต่กทำให้หญ้าสนามเป็นสีน้ำตาล

3.3.4 ใส่ปุ๋ยเม็ดขาดความระมัดระวังทำให้เกิดกองเม็ดปุ๋ยในสนามและ    หลังใส่ปุ๋ยโดยเฉพาะปุ๋ยไนโตรเจนแล้วไม่รดน้ำทำให้หญ้าสนามกลายเป็นจุดเป็นแถบ

3.3.5 ละเลยการให้น้ำแก่สนามหญ้าในช่วงฤดูแล้งหรือฤดูฝนทิ้งช่วงทำให้ใบหญ้าสนามแห้งตายเหลืองทั้งแปลงและบางครั้งอาจทำให้ลำต้นหรือเหง้าของหญ้าสนามตายได้

3.3.6 ให้น้ำช่วงที่แสงแดดจัดมากทำให้ใบหญ้าตายนิ่ง (เฉาหรือเหี่ยวเพราะถูกแดดหรือไอร้อนคล้ายถูกนึ่ง)

วิธีป้องกันที่ดีที่สุดคือเรียนรู้เกี่ยวกับหญ้าสนามและสนามหญ้าเพิ่มความระมัดระวังและคิดก่อนปฏิบัติว่าจะเกิดผลกระทบอะไรบ้าง

4. วัชพืชในสนามหญ้า

4.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดวัชพืชในสนามหญ้า

4.1.1 การเตรียมพื้นที่ก่อนการปลูกหญ้าสนามไม่ดีมีวัชพืช (เมล็ดส่วนของลำต้น) หลงเหลืออยู่ในดินและไม่มีการทิ้งช่วงเวลาตรวจสอบว่าพื้นที่เตรียมปราศจากวัชพืชจริง

4.1.2 ดินที่นำมาใช้ภาษาจากวัชพืชแต่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์หลังปลูกหญ้าสนามไปแล้วทำให้หญ้าสนามอ่อนแอเมื่อมีเมล็ดวัชพืชปลิวมาตกโดยพาหะต่างๆทำให้เม็ดวัชพืชมีพื้นที่สำหรับงอก

4.1.3 เลือกหญ้าสนามที่ไม่มีคุณภาพมาปลูก คือ มีวัชพืชปะปนมาในแผ่นหญ้าชิ้นส่วนของหญ้าสนามและเมล็ดวัชพืชปะปนมาในเมล็ดหญ้าสนาม

4.1.4 การจัดการสนามหญ้าไม่ดี

4.2 แหล่งแพร่กระจายวัชพืชในสนามหญ้า

วัชพืชแพร่กระจายเข้าสู่สนามหญ้าได้หลายทางโดยมีแหล่งกระจายทั้งจากภายนอก   สนามหญ้าและภายในสนามหญ้าเอง

 4.2.1 นกเป็นพาหนะ (bird-borne seed) เกิดจากนกไปกินเมล็ดวัชพืชเป็นอาหารแล้วถ่ายมูลลงในสนามหญ้า หรือเมล็ดวัชพืชอาจติดตามตัวนกแล้วร่วงหล่นลงในสนามหญ้า และสภาพแวดล้อมเหมาะสมงอกเป็นวัชพืชขึ้นเจริญเติบโตและแพร่กระจายต่อไป

4.2.2 เกิดจากลมเป็นพาหะ (wind- borne seed) เมล็ดวัชพืชพวกนี้มีน้ำหนักเบา     มีปีกหมุนแล้วร่วงลงสู่สนามหญ้างอกเจริญเติบโตแพร่กระจายในสนามหญ้า

4.2.3 เมล็ดและชิ้นส่วนลำต้นของวัชพืชที่อยู่ในสนามหญ้าติดมากับเครื่องตัดหญ้ากระบะเก็บเศษหญ้าที่ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง

4.2.4 เศษเล็กเศษน้อยของลำต้น (bit of stem) และเมล็ดที่ติดมากับปุ๋ยหมัก(compost) มูลสัตว์

4.2.5 ไหล (stolon) ของวัชพืชที่เจริญเหนือดินหรือส่วนต่างๆของวัชพืชที่มีอยู่เดิมแล้วเจริญเป็นวัชพืชต้นใหม่

4.3 ผลกระทบที่สนามหญ้ามีวัชพืช

4.3.1 ทำให้สนามหญ้าไม่มีคุณภาพเพราะมีพรรณไม้ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นแซม

4.3.2 วัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโลกและแมลงที่เป็นศัตรูของสนามหญ้าเพราะวัชพืชบางชนิดเป็นแหล่งแพร่กระจายหรือเป็นพาหะ

4.3.3 แย่งปัจจัยที่มีการต่อการเจริญเติบโตของหญ้าสนามเช่นแย่งน้ำแย่งปุ๋ยเป็นสาเหตุทำให้หญ้าสนามอ่อนแอทรุดโทรม

4.3.4 การใช้สนามมีปัญหา และอุปสรรคเพราะวัชพืชบางชนิด บางพันธุ์มีหนามแหลม ใบมีความระคายเคืองใบแหลมคมลำต้นแข็ง เช่น ต้น หญ้าคา ไม่ยราบ ผักโขม หนามโคกกระสุน ทำให้เกิดเกิดความระคายเคืองเป็นอันตรายเวลาเข้าไปใช้สนามหญ้า

4.3.5 เสียเวลาแรงงานและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสนามเพิ่มขึ้น

4.4 ชนิดของวัชพืชในสนามหญ้า

วัชพืชที่ขึ้นในสนามหญ้าแบ่งได้หลายประเภทคือ 

4.4.1 แบ่งตามความกว้างแคบของใบเช่นวัชพืชใบแคบเป็นพวกหญ้าหรือการเจริญคล้ายหญ้าและพวกใบกว้างเป็นวัชพืชที่นอกเหนือจากหญ้า 

4.4.2 แบ่งตามวงจรชีวิตแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ วัชพืชอายุสั้นและวัชพืชอายุหลายปี

4.5 วิธีป้องกันกำจัดวัชพืชในสนามหญ้า

ที่ปฏิบัติในการป้องกันมีกำจัด2 วิธีคือ 

4.5.1 วิธีกล (mechanical  method) เป็นการกำจัดวัชพืชทางกายภาพด้วย      มือถอน ใช้เหล็กและตัดราก (asparagus knife weeder) เสียม จอบขุด การกำจัดโดยวิธีกลควรกำจัดแบบถอนรากถอนโคนหรือถอนต้นก่นราก (ทำลายให้ถึงต้นต่อทำลายให้สิ้น) โดยเฉพาะวัชพืชที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว

4.5.2 วิธีทางเกษตรอินทรีย์ คือ สมุนไพรไล่แมลง น้ำหมักป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช

5. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้   จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงาน ส่วนในกรณี ที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

6. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

7. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบแบบอัตนัย

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

 



ยินดีต้อนรับ