หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

ดูแลสนามหญ้า

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-XQFS-129A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ ดูแลสนามหญ้า

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักบำรุงรักษาสวนสาธารณะ ระดับ 1 

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขึ้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า ต้องมีผู้ความรู้ความเข้าใจในการตัดหญ้าตัดเล็มหญ้า ให้น้ำสนามหญ้า ใส่ปุ๋ยสนามหญ้า รวมถึงการใช้เครื่องมือการเกษตรตามหลักความปลอดภัยในการทำงาน โดยมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชาเนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาพื้นฐานในการปฏิบัติงานได้อย่างจำกัด

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03411 ตัดหญ้า 1.1 อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตัดหญ้าสนาม 155742
03411 ตัดหญ้า 1.2 ระบุข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องตัดหญ้า 155743
03411 ตัดหญ้า 1.3 ใช้เครื่องมือในการตัดหญ้า 155744
03412 ตัดเล็มหญ้า 2.1 อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการตัดเล็มหญ้า 155745
03412 ตัดเล็มหญ้า 2.2 ระบุวิธีการเสริมแต่งผิวหญ้า 155746
03412 ตัดเล็มหญ้า 2.3 ใช้เครื่องมือการเกษตรในการตัดเล็มหญ้า 155747
03412 ตัดเล็มหญ้า 2.4 ระบุประโยชน์ของการคราดสนามหญ้า 155748
03413 ให้น้ำสนามหญ้า 3.1 ระบุเวลาของการให้น้ำแก่สนามหญ้า 155749
03413 ให้น้ำสนามหญ้า 3.2 อธิบายปริมาณการให้น้ำแก่สนามหญ้า 155750
03413 ให้น้ำสนามหญ้า 3.3 จำแนกวิธีการให้น้ำแก่สนามหญ้าด้วยวิธีต่างๆ 155751
03414 ใส่ปุ๋ยสนามหญ้า 4.1 แยกแยะความแตกต่างของวิธีการใส่ปุ๋ยสนามหญ้าด้วยวิธีต่างๆ 155752
03414 ใส่ปุ๋ยสนามหญ้า 4.2 ระบุข้อพึงระวังในการใส่ปุ๋ยแก่สนามหญ้า 155753
03414 ใส่ปุ๋ยสนามหญ้า 4.3 เลือกวิธีการใส่ปุ๋ยกับชนิดของปุ๋ย 155754

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการดูแลสนามหญ้า

2. ทักษะการใช้งานเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยสำหรับเครื่องมือการเกษตรในการดูแลสนามหญ้า

3. ทักษะการจดบันทึกการปฏิบัติงานประจำวันในการดูแลสนามหญ้า

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตัดหญ้าสนาม ประกอบด้วย เวลาที่เหมาะสม ความถี่ในการตัด ความสูง ที่เหมาะสม การปฏิบัติก่อนตัดหญ้าขณะทำการตัดหญ้า และหลังตัดหญ้า

ข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องตัดหญ้า ประกอบด้วย ขนาดของพื้นที่สนามหญ้า รูปร่างของสนามหญ้า คุณภาพของสนามหญ้า ความราบเรียบสม่ำเสมอของสนามหญ้า ฤดูกาล และความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน

เครื่องตัดหญ้า ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ และเครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตาม 

การตัดเล็ม เป็นกิจกรรมที่ปฏิบัติหลังจากการตัดหญ้าสนามสิ้นสุดลงการตัดเล็ม มีวัตถุประสงค์เพื่อการเก็บงานให้เกิดความเรียบร้อยในส่วนที่เครื่องตัดหญ้าไม่สามารถเข้าปฏิบัติงานได้ เช่น ตามโคนต้นไม้ใหญ่ผนังกำแพงกั้นดิน แนวขอบรั้ว พื้นที่รอบตัวบ้าน รอยต่อระหว่างแปลงปลูกกับสนามหญ้า หรือพื้นที่แถบแคบ (verge) ขอบทางเดิน ขอบถนน การตัดเล็มมี 2 วิธี

เครื่องมือที่ใช้ในการตัดเล็มหญ้า

การเสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า หมายถึง การนำดินผสมที่มีคุณภาพลักษณะละเอียด เกิดจากการผสมระหว่างทรายและอินทรียวัตถุมาใส่เสริมลงบนผิวหน้าของสนามหญ้า ปรับเกลี่ยให้สนามหญ้าราบเรียบ   ไม่เกิดหลุมบ่อ ทำให้หญ้าสนามเจริญเติบโตเป็นสนามหญ้าที่มีคุณภาพ สำหรับประโยชน์ของการเสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า ข้อที่ 6 และการจัดเตรียมส่วนผสมของดินผสมที่ใช้เสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า

วิธีการเสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า หมายถึง การปรับปรุงผิวพื้นสนามหญ้าให้สนามหญ้ามีความราบเรียบสม่ำเสมอ หญ้าสนามมีความสมบูรณ์ขึ้นเนื่องจากได้รับธาตุอาหารจากอินทรียวัตถุและทำให้คุณสมบัติทางกายภาพของดินดีขึ้น

การกวาดสนามหญ้า เป็นการทำความสะอาดผิวพื้นสนามหญ้าโดยใช้ไม้กวาดเพื่อเก็บกวาดสิ่งสกปรก   ที่ติดหรือร่วงอยู่เหนือสนามหญ้า เช่น เศษดิน ขุยดิน ใบไม้ กิ่งไม้ ดอกไม้ และผลร่วง ออกจากสนามหญ้าทำให้สนามหญ้าสะอาดสวยงามการกวาดสนามหญ้าทำได้ 2 วิธี ตามเครื่องมือการใช้เก็บกวาด

การคราดสนามหญ้า เป็นการกวาดขูด เขี่ย คุ้ย สิ่งสกปรกออกจากสนามหญ้าเหนือระดับผิวพื้นโดยใช้แรงกดเพียงเล็กน้อยเพื่อให้สนามหญ้าสะอาด ให้หญ้าสนามเจริญเติบโตดีขึ้น ถ้าการคราดหญ้าสนามที่ใช้    แรงมากลงลึกถึงระดับผิวดินเรียกว่าการครูดหญ้า (scarifying) การครูดหญ้ามีส่วนช่วยลดการเกิดชั้นเศษหญ้า(thatch) ชนิดเศษหญ้าส่วนที่ผสมกับดินเกิดเป็นก้อนแน่นโดยใช้เครื่องมือเป็นคราด ที่มีซี่คลาดแหลม(garden rake) ครูดลึกลงไปชั้นเศษหญ้าแล้วขูดเอาชั้นเศษหญ้าออกหรือรูดลงไปถึงชั้นเศษหญ้าและผสมดินจับกันเป็นก้อนให้เกิดการแต่กตัว

การบดสนามหญ้าเป็นการดูแลบำรุงรักษาสนามหญ้าเพื่อให้พื้นสนามหญ้าราบเรียบสม่ำเสมอ การบดสนามหญ้าจึงเป็นการปรับระดับสนามหญ้าให้เรียบเสมอตลอดเวลา ช่วยกระชับรากหญ้าให้ยึดติดกับดินเพื่อให้การเจริญเติบโตของหญ้าเป็นไปตามปกติ โดยวิธีและการใช้เครื่องมือการเกษตรในการบดสนามหญ้า 

การให้น้ำ (Watering)หญ้าสนามไม่สามารถมีชีวิตอยู่ได้ถ้าขาดน้ำน้ำเป็นส่วนประกอบสำคัญของหญ้าสนามในต้นหญ้าต้นหนึ่งจะมีน้ำเป็นองค์ประกอบถึงร้อยละ 80 เป็นสิ่งแห้งร้อยละ 20 การให้น้ำเป็นปัจจัยสำคัญ แต่อย่างไรก็ตามในการสร้างสนามหญ้าระบบการให้น้ำจะถูกสร้างไว้โดยเรียบร้อยเพียงแต่ว่าจะช่วยใช้ระบบใดเท่านั้น เพราะผู้ออกแบบสร้างสนามได้ตระหนักถึงความสำคัญของน้ำต่อการเจริญเติบโต ความมีชีวิตของหญ้าสนาม

การใส่ปุ๋ยสนามหญ้า เป็นการให้อาหารแก่หญ้าสนาม เพื่อให้หญ้าสนามเจริญเติบโตแข็งแรงในทุกส่วนโดยเฉพาะส่วนของใบที่มีความเขียวเข้ม อ่อนนุ่ม ลำต้นและรากมีความแข็งแรง การใส่ปุ๋ยแก่สนามหญ้าใช้ได้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่จะใส่ร่วมกับวัสดุเสริมแต่งผิวหน้า การเจาะรูอากาศในสนามหญ้า แต่การใส่ปุ๋ยเคมีมีความจำเป็นแก่หญ้าสนามมาก โดยวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยสนามหญ้ามี 3 วิธี ได้แก่  ใช้มือหว่าน ใช้เครื่องใส่ปุ๋ยที่ใช้กับปุ๋ยเม็ด และการใส่ปุ๋ยน้ำ

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) (ถ้ามี)

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้าจากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองผ่านการฝึกอบรมที่เกี่ยวเนื่องกับการดูแลสนามหญ้า หรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีแฟ้มสะสมผลงานที่มีข้อมูลเกี่ยวกับประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับการดูแลสนามหญ้า และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1. ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสนามหญ้า

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินความรู้ ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และข้อสอบแบบอัตนัย

2. การสอบปฏิบัติ

 


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ 

1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ.2554 ข้อ 3 ข้อที่ 18และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ข้อที่ 19 

2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตัดหญ้าสนาม ข้อที่ 1

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานตัดหญ้าสนาม 

ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่

1.1  เวลาที่เหมาะสมในการตัดหญ้า คือ จะตัดหญ้าสนามเมื่อใด คำตอบง่ายๆ ก็คือ ตัดเมื่อหญ้าสนามยาวเกินกว่าปกติ ตัดเมื่อเวลาต้องการใช้สนามหญ้า ความถี่ของการตักขึ้นอยู่กับฤดูกาล ชนิดของหญ้า แต่ละฤดูกาลมีความสำคัญที่สุดโดยการหลักการฤดูฝนความถี่ของการตัดมากกว่าฤดูหนาว ฤดูหนาวมากกว่าฤดูร้อน ในการปฏิบัติทั่วไป ฤดูฝนควรตัดหญ้าสนามทุกสัปดาห์ ฤดูหนาวควรตัดทุก 10 วัน ฤดูร้อนกับทุก 15 วัน แต่ทั้งนี้ต้องพิจารณาถึง ชนิด พันธุ์ คุณสมบัติของดิน และสภาพแวดล้อมอื่น ประกอบด้วย ถ้าการตัดหญ้าตรงเวลาที่กำหนด จะได้สนามหญ้าที่มีคุณภาพมีความสวยงามตลอดเวลา 

            1.2  ความสูงของการตัดหญ้าสนาม (height of cut) ความสูงต่ำของการตัดหญ้าสนาม มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางสรีระของหญ้าสนาม ท่าการตัดหญ้าสนามสูงจะมีผลทำให้รากหญ้าจะสามารถเจริญเติบโตแผ่กว้าง และลึกลงไปในดินได้มาก ลำต้นใต้ดิน มีขนาดใหญ่ขยายตัวเร็ว ขึ้นสนามหญ้าทนต่อการเหยียบย่ำ แต่จะมีส่วนของกาบใบแก่ตายมากขึ้น ทำให้เกิดการสะสม ชั้นเศษหญ้าระดับผิวดิน (thatch) เร็วขึ้น ถ้าหากตัดหญ้าสนามต่ำ จะกระตุ้นให้หญ้าสนามแต่กหน่อมาก ขนาดลำต้นเล็ก การเกิดรากใหม่น้อย รากสั้นอย่างลงใต้ผิวดินไม่ลึก รากหาอาหารได้น้อย ซึ่งมีผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสง และการสะสมคาร์โบไฮเดรตลง การจะตัดหญ้าสนามสูงหรือต่ำต้องพิจารณาถึง ผิวสัมผัสใบ และลักษณะของลำต้น หญ้าสนามผิวสัมผัสใบละเอียดการเจริญของลำต้นใต้ผิวดินเหมาะแก่การตัดต่ำมากกว่าหญ้าสนามผิวสัมผัสใบหยาบ การเจริญของลำต้นเหนือผิวดิน ความสูงต่ำของการตัดหญ้าสนามที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากชนิดหญ้าสนาม ดังตารางที่ 1



ตารางที่ 1 ชนิดผิวสัมผัส ลักษณะการเจริญเติบโต และความสูงของการตัดหญ้า

ชนิดของหญ้าสนาม    ผิวสัมผัสของใบ    ลักษณะการเจริญเติบโตของลำต้น    ความสูงที่ตัดจากระดับผิวดินขั้นต่ำสุดและสูงสุด

หญ้าบาเฮีย                หยาบ                  ใต้ระดับผิวดิน                                 2-3 นิ้ว

หญ้าเซนต์ออกัสติน    หยาบ                   เหนือระดับผิวดิน                            1-2 1/2 นิ้ว

หญ้ามาเลเซีย            หยาบ                   เหนือระดับผิวดิน                            1-2 นิ้ว

หญ้านวลน้อย            ปานกลาง              ใต้ระดับผิวดิน                                1/2-1 1/2 นิ้ว

หญ้าญี่ปุ่น                 ละเอียด                 ใต้ระดับผิวดิน                                1/2-1 1/2 นิ้ว

หญ้าแพรกลูกผสม     ละเอียด                 ใต้ระดับผิวดิน                                1/2-1 นิ้ว

ที่มา : ปรับปรุงจาก. Alfred J. Turgeon. Turfgrass management.Ortho Books. All about lawns



1.3 การปฏิบัติก่อนตัดหญ้า (before mowing) เมื่อทราบความถี่และความสูงต่ำของการตัดหญ้าสนามในแต่ละชนิดแล้ว ก่อนทำการตัดหญ้าจริงมีขั้นตอนการเตรียมงาน ดังนี้

1.3.1  ตั้งใบมีดตัดหญ้า ให้ได้ความสูง-ต่ำ ตามขนาดที่ต้องการโดยดูจากคู่มือที่แนะนำและปุ่มปรับที่มีอยู่ ซึ่งบอกขนาดความสูงต่ำให้ตัวเลขเป็นนิ้วไว้ 

1.3.2  เลือกเวลาตัดที่สนามหญ้าแห้ง หรือรู้เวลาตารางการตัดหญ้าชัดเจน ควรงดการให้น้ำ เพราะหญ้าเปียก ทำให้สนามหญ้าหลังตัดเป็น รอยเศษชิ้นเล็กชิ้นน้อยของใบหญ้าที่ถูกตัดออก (ragged) จะจับตามฝากครอบชั้นใน ด้านพ่นเศษหญ้าออกลำบาก ใบมีดหมุนไม่สะดวก ทำให้ขัดขวางการทำงานของเครื่องยนต์ (clog) ทำให้การทำงานช้าลง 

1.3.3  ทำความสะอาดผิวสนามหญ้า เก็บเศษอิฐ หิน ปูน หรืออื่นๆ ออกจากสนามหญ้าที่คาดว่าจะเป็นอันตรายกับทรัพย์สิน ผู้คน เครื่องตัดหญ้า การทำงานเสียเวลา

1.3.4  วางแผนทิศทางของการตัดหญ้า เพื่อการปฏิบัติงานด้วยความรวดเร็วมีประสิทธิภาพดังนี้

1.3.4.1 การกรณีการตัดหญ้าไม่ต้องการให้เกิดแถบลายของการตัดหญ้าปรากฏในสนาม ไม่มีถุงการเก็บเศษหญ้า และไม่ต้องการให้เสร็จยากในแต่ละแนวตัดเป็นอุปสรรค ต่อการตัดหญ้าแนวตัดหญ้าถัดไป

1.3.4.2 การตัดหญ้าให้เกิดเป็นแถบลาย (zebra stripes) เพื่อให้สนามหญ้าเกิดลายแถบสวยงาม เป็นการเพิ่มคุณภาพสนามหญ้าต้องเลือกใช้เครื่องตัดหญ้าใบมีดแบบเป็นเกลียวหมุน โดยมีเครื่องเก็บเศษหญ้า และมีเครื่องบดทับหญ้าด้านหลัง รอยลู่ของใบหญ้าหลังถูกบดทับจะเกิดเป็นเงา 

1.3.5  เลือกเครื่องตัดหญ้าให้เหมาะสมกับสภาพสนาม และขนาดของสนามหญ้า โดยพิจารณาถึงชนิดของสนามหญ้า คุณภาพของงานหลังสิ้นสุดการตัดหญ้า

1.3.6  ศึกษาระบบการทำงานของเครื่องตัดหญ้าให้เข้าใจสร้างเอกสารแนะนำ 

1.4 ขณะทำการตัดสนามหญ้าสนาม (when mowing) ให้คำนึงถึงความปลอดภัยความสม่ำเสมอการทำงานของเครื่องตัดหญ้า การเร่งเครื่องช้าหรือเร็วมีผลต่อคุณภาพของสนามหญ้า ขณะเดียวกันต้องพยายามสังเกตร้อยหน้าที่ตัด รอยหญ้าที่ตัดต้องคาบเกี่ยวกันหรือรอยต่อทับกันระหว่าง รอยตัดแรกและรอยตัดถัดไปอย่างต่อเนื่องประมาณ 1 ฝ่า หรือประมาณ 10 เซนติเมตรเพื่อลดปัญหาริ้วแนวหญ้าแต่ละแถบที่หลงเหลือจากการตัด การทำงานในสนามหญ้าหนึ่งๆ ควรปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งงานสิ้นสุด

1.5  หลังจากการตัดหญ้าสนามสิ้นสุด (after mowing) ดับเครื่องยนต์ ถอดปลั๊กสายไฟฟ้า กรณีการใช้เครื่องไฟฟ้า เก็บม้วนสายให้เรียบร้อย ปล่อยให้เครื่องเย็น จากนั้นจึงทำความสะอาดให้ทั่ว โดยใช้ผ้าแห้งเช็ด ไม่ควรล้างเครื่องด้วยน้ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ตรวจสอบความสึกหรอ และอื่นๆก่อนเก็บเข้ายังโรงเก็บเครื่องมือ

สำหรับสนามหญ้าหลังตัดให้ทำความสะอาด โดยนำเอาเศษหญ้าออกจากสนามหญ้าให้หมด กรณีการตัดหญ้าไม่ใช้ถุงเก็บเศษหญ้า และตรวจสอบความเรียบร้อยทั่วสนามหญ้าว่ามีที่ส่วนใดที่ละเลยการตัด ถ้ามีให้ใช้กันกรรไกรตัดหญ้าเล็มช่วย

2. ข้อพิจารณาในการเลือกเครื่องตัดหญ้า 

ข้อพิจารณาในการเลือกให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะงาน ลักษณะพื้นที่ และอื่นๆ ดังนี้

2.1 ขนาดของพื้นที่สนามหญ้า หมายถึง เนื้อที่ที่แท้จริงที่เป็นสนามหญ้าที่จำเป็นต้องตัดหญ้า ถ้าพื้นที่กว้างใหญ่ เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับเหมาะสมที่สุด ถ้าพื้นที่ขนาดเล็ก การใช้เครื่องตัดหญ้าแบบขับเคลื่อนโดยกำลังไฟฟ้าและเครื่องยนต์โดยมีคนเดินตามจะดีที่สุด

2.2 รูปร่างของสนามหญ้า มีผลโดยตรงต่อการใช้เครื่องตัดหญ้าง่ายหรือยากถ้าสนามหญ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยม หรือสามเหลี่ยม มุมแหลม สนามหญ้ามีพื้นที่เป็นแถบแคบ (verge) การใช้รถตักแบบนั่งขับ จะควบคุมการทำงานลำบาก สนามหญ้ารูปร่างอิสระและปราศจากพืชพรรณภายใน สามารถเลือกเครื่อง ตัดหญ้าได้เกือบทุกประเภท 

2.3 คุณภาพของสนามหญ้า ถ้าต้องการให้ผลงานหลังตัดหญ้าสนามมีคุณภาพราบเรียบ สม่ำเสมอ การใช้เครื่องตัดหญ้าแบบใช้ใบมีดเป็นเกลียวหมุน จะได้คุณภาพของงานดีกว่า ใบมีดแบบใบพัด

2.4 ความราบเรียบ สม่ำเสมอของสนามหญ้าสนามหญ้า ราบเรียบ เครื่องตัดหญ้าทุกประเภทสามารถนำมาใช้ได้ แต่ถ้าสนามหญ้าพื้นที่มีหลุมบ่อ (bumpy or rough) ควรเลือกใช้เครื่องตัดหญ้าแบบใบมีดแบบใบพัด หรือเครื่องขับเคลื่อนด้วยแรงดันอากาศ ดีกว่าเครื่องตัดหญ้าใบมีดแบบเกลียวหมุน 

2.5 ฤดูกาล ในช่วงฤดูฝนที่สนามหญ้าเปียกชื้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีล้อ เพราะทำให้สนามหญ้าเกิดรอยเนื่องจากน้ำหนักของเครื่องกด และหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องไฟฟ้า เพราะเป็นอันตรายจากกระแสไฟรั่ว เครื่องตัดหญ้าที่ดีที่สุดคือ แบบเครื่องตัดหญ้าไม่มีล้อแบบขับเคลื่อนด้วยแรงอากาศ

2.6 ความรวดเร็วในการปฏิบัติงาน ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่ ความราบเรียบรูปร่างของ    สนามหญ้า และเครื่องตัดหญ้า แต่ปัจจัยที่ทำให้การตัดหญ้าสำเร็จรวดเร็วหรือไม่ในหน่วยเวลาที่กำหนด คือ ความกว้างของใบมีด (cutting width) ตัวอย่างเช่นถ้า ต้องการตัดหญ้าสนามในพื้นราบเรียบให้แล้วเสร็จภายใน 30 นาที ควรเลือกใช้ขนาดของใบมีดตามตารางที่ 2



พื้นที่ตัดหญ้า/ตรม.    ความกว้างของใบมีดหรือแนวตัด/นิ้ว

405                          12

648                          14

810                          16

972                          18

1,215                       20

1,838                       30

ที่มา : ปรับปรุงจาก Dr. D.G. Hessayon, The Lawn Expert



3. เครื่องตัดหญ้า (mowers)

การใช้เครื่องตัดหญ้าที่มีคุณภาพจะทำให้งานตัดหญ้ามีคุณภาพประหยัดเวลาแรงงานและค่าใช้จ่ายลงเครื่องตัดหญ้าที่ใช้ตัดหญ้าและนิยมในปัจจุบันแบ่งได้ 2 ประเภทคือ

3.1 เครื่องตัดหญ้าแบบนั่งขับ (ride-on-mowers) ซึ่งออกแบบหลายรูปแบบโดยคำนึงถึงการใช้งานที่เหมาะสมเช่นแบบรถแทรกเตอร์ (tractor mower) แบบที่นั่งพ่วงทั้ง (trailing seat mower) 2 แบบเป็นเครื่องที่ใช้เครื่องยนต์ขับเคลื่อนโดยน้ำมัน (petrol-driven)

3.2 เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตาม (Walk Behind the world) มีทั้งแบบใช้แรงคนและเครื่องยนต์แบบใช้แรงงานคนในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมเพราะใช้แรงขับเคลื่อนสูงใช้เวลามากคุณภาพงานไม่เรียบร้อยเพราะแรงคนไม่สามารถควบคุมความสม่ำเสมอการหมุนของใบมีดตัดหญ้าได้เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า (electric driven) และน้ำมันซึ่งเป็นเครื่องยนต์มีทั้งแบบมีล้อและไม่มีล้อเครื่องตัดหญ้าทางแบบนั่งขับและแบบคนเดินตามส่วนที่ตัดหญ้าให้เรียบสม่ำเสมอคือใบมีดตัดหญ้าใบมีดตัดหญ้าที่ติดอยู่ในเครื่องตัดหญ้ามีอยู่ 3 แบบดังนี้ 

3.2.1 ใบมีดเป็นเกลียวหมุน (cylinder) การตัดหญ้าคล้ายกรรไกร (scissor-like) ใบมีดจัดวางรอบแกนเหมือนเกลียวชุดมาตรฐานสำหรับงานการตัดหญ้าสนามทั่วไป 1 ชุดจะมีใบมีด 5-6 ใบ   แต่ถ้าสำหรับงานตัดหญ้าในสนามกรีนพัต (putting green) 1 ชุดจะมีใบมีด 8-12 ใบ คุณภาพของผลงาน   หลังการตัดราบเรียบสม่ำเสมอดูสะอาดสะอ้านปลายใบหญ้าไม่ช้ำ

3.2.2 ใบมีดแบบใบพัด (rotary) การตัดหญ้าคล้ายเคียวเกี่ยวข้าว (scythe-like)   โดยใช้แรงเหวี่ยงจากความเร็วรอบสูงในแนวราบใบพัดอาจมีเพียงใบเดียวหรือเป็นกลุ่มก็ได้เครื่องมือตัดหญ้าโดยใช้ใบมีดแบบใบพัดเป็นที่นิยมทั่วไปแต่คุณภาพของผลงานสู้แบบใบมีดเป็นเกลียวไม่ได้สนามหญ้าไม่ค่อยราบเรียบบางครั้งปลายใบหญ้าช้ำแต่กเป็นสีเหลืองในกรณีขาดการลับใบมีดให้คมก่อนตัด

3.2.3 ใบมีดแบบใบพัดสำหรับเครื่องตัดหญ้าไม่มีล้อขับเคลื่อนด้วยแรงดันอากาศหรือแบบบินร่อน (hover mower) ปลายใบมีด2ข้างเรียวเป็นการตัดเป็นแบบเคียวเกี่ยวข้าว (scythe-like) ด้วยความเร็วรอบสูงทำให้เกิดแรงดันอากาศเครื่องยนต์ลอยตัวขนาดตัดหญ้าทำให้ควบคุมความสูงของการตัดยากถ้าต้องการตัดต่ำต้องใช้แรงกดช่วยหรือตัด 2 ครั้ง ทำให้สิ้นเปลืองเวลาแต่สะดวกเวลาเคลื่อนย้ายและขณะตัดเพราะมีน้ำหนักเบา

4. การตัดเล็ม (Trimming)

4.1  การตัดเล็มหญ้าทางแนวราบ (horizontal trimming) เป็นพื้นที่ที่เครื่องตัดหญ้าเข้าทำงานได้ไม่ทั่วถึงหรือพื้นที่ตัดหญ้าลำบากเช่นโคนต้นไม้ใหญ่ผนังกำแพงแนวรั้วพื้นที่ชิดตัวบ้านพื้นที่แคบการตัดเล็มทางแนวราบ

4.2  การตัดเล็มหญ้าทางแนวดิ่ง (vertical trimming) หรือการตัดขอบหญ้า (lawn edging) เช่นพื้นที่ตามขอบแปลงแนวขอบหญ้ากับถนนทางเดินรอบพื้นที่คลุมโคนต้นไม้ด้วยวัสดุคลุมดินเพื่อแยกพื้นที่สนามหญ้าออกจากแปลงปลูกกำจัดหญ้าที่เหลือเข้าไปในแปลงปลูกถนนทางเดิน

5. เครื่องมือที่ใช้ในการตัดเล็มหญ้า 

ตัดเล็มหญ้าทางแนวราบได้แก่ กรรไกรตัดหญ้า (lawn shears) เครื่องตัดหญ้าสายเอ็น (nylon cord trimmer) 

ตัดเล็มหญ้าทางแนวดิ่ง ได้แก่ กรรไกรตัดขอบ (edging shears) ลูกกลิ้งตัดขอบ (roller edger) เครื่องตัดขอบ (power driven edger)

6. ประโยชน์การเสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า

6.1 ในสนามที่หญ้าสนามแน่นตัว การเสริมแต่งผิวหน้าจะช่วยกระตุ้นให้หญ้าสนามแต่กหน่อใหม่และลำต้นใต้ดินพัฒนารวดเร็วขึ้น

6.2 เสริมและปรับหลุมบ่อภายในผิวพื้นสนามหญ้าให้เกิดความราบเรียบ

6.3 วัสดุผสมที่เป็นทรายช่วยลดปัญหาดินแน่นตัวทำให้ดินอุ้มน้ำได้ดี

6.4 ทำให้การระบายน้ำลงสู่ใต้ดินดีขึ้นเนื่องจากวัสดุเสริมแต่งผิวหน้าทำให้ดินร่วนซุย

7. ส่วนผสมของดินผสมที่ใช้เสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้า

วัสดุที่ใช้ผสมประกอบไปด้วย ทราย (sand) ดินร่วน (loam) ที่ละเอียด อินทรียวัตถุ (organic matter)เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ของเทศบาลเบอร์ 901 ชนิดเม็ดละเอียดพีท (peat) ที่ละเอียด โดยมีอัตราส่วนผสมแต่กต่างกันขึ้นอยู่กับดินพื้นฐานในการเตรียมพื้นที่สร้างสนามหญ้า ตารางที่ 3



ตารางที่ 3 เปรียบเทียบอัตราส่วนของวัสดุโดยอาศัยพื้นฐาน

ดินพื้นฐานที่เตรียมปลูก    อัตราส่วนผสมระหว่างวัสดุผสมที่ใช้ใน 7 ส่วน

                                      ทราย         ดินร่วน         อินทรียวัตถุ

ดินเหนียว                        4                2                1

ดินร่วน                            2                4                1

ดินทราย                         1                4                 2

    



8. วิธีการแต่งผิวหน้าสนามหญ้า

        8.1  ตัดสนามหญ้าให้สั้นหรือตัดต่ำ การตัดสนามหญ้าให้สั้น ทำให้สามารถสังเกตส่วนพื้นที่สนามหญ้ายุบตัว ความหนาแน่นของหน่อหญ้า เมื่อเสริมแต่งผิวหน้าแล้ว สามารถปรับผิวพื้นสนามหญ้าให้เรียบสม่ำเสมอไม่เป็นอุปสรรคเวลาใช้เครื่องเกลี่ย ใช้กระดานลาก เพื่อทำให้ดินผสมตกแต่งผิวหน้ากระจายสม่ำเสมอ และสามารถแทรกลงไปสู่ลำต้นหญ้าและผิวหน้าดินได้



        8.2  การปฏิบัติเลือกวิธีการปฏิบัติได้ดังนี้

        วิธีที่ 1 โรยวัสดุผสมเสริมแต่งผิวหน้า ลงในสนามหญ้า ให้มีความหนาจากผิวพื้นของสนามหญ้าไม่เกิน 1/ 4 นิ้วหรือ 0.6 มิลลิเมตรให้ทั่ว จากนั้นจึงใช้คราดหรือกระดานลาก ลากปรับสนามให้สม่ำเสมอราบเรียบทั่วทั้งสนาม เมื่อปรับได้ตามต้องการแล้ว จึงรดน้ำให้ชุ่ม

        วิธีที่ 2 การเสริมแต่งผิวหน้าโดยผ่านการเจาะรูอากาศในดิน เป็นการแก้ปัญหาการแน่นตัวของดิน การปรับสภาพทางกายภาพของดิน ทำได้โดยใช้เครื่องเจาะรูอากาศลงไปในดินพื้นสนามหญ้า (aerating machine) หลังเจาะรูอากาศเสร็จเรียบร้อย ให้นำเอาเศษดินจากสนามหญ้าออกให้หมด จึงนำวัสดุผสมที่ใช้ตกแต่งผิวหน้าโรยลงในสนามหญ้าแล้วเกลี่ยให้ทั่ว ดินแต่งผิวหน้าจะถูกเกลี่ยลงไปในรูเจาะไว้         แล้วกวาดให้เรียบร้อย จากนั้นจึงรดน้ำ

    9. เครื่องมือการใช้เก็บกวาด

        9.1 ใช้อุปกรณ์ที่เป็นไม้กวาดและลักษณะคล้ายคลึงไม้กวาด (broom and broom-like) 

            9.1.1 คราดไม้ไผ่ คราดสปริง (bamboo-tine rake and spring tine rake)         ใช้คราดสิ่งสกปรกต่างๆออกจากสนามก่อนการตัดหญ้า และคราดเศษหญ้าหลังตัดออกจากสนามหญ้า และสิ่งสกปรกออกจากสนามเวลามีสิ่งสกปรกเกิดขึ้นในสนาม

            9.1.2 ไม้กวาด กวาดใบไม้เศษดิน ขุยดินที่เกิดขึ้นในสนาม ที่มีขนาดเล็กทำให้เศษดินแต่กตัวกลับลงไปสู่พื้นสนามอีกครั้งหนึ่ง

        9.2 เครื่องมือเก็บใบไม้ (mechanical sweeper) แบบมีถุงเก็บ ขับเคลื่อนโดยแรงคน เครื่องมืออีกชนิดหนึ่งคือเครื่องเป่าใบไม้รวมกอง เป็นรถแทรกเตอร์นั่งขับ เครื่องเป่าใบไม้แบบคนเดินตามควบคุมการทำงาน เมื่อเป่าใบไม้รวมกองแล้ว จากนั้นจึงเก็บใบไม้

    10. วิธีและการใช้เครื่องมือการเกษตรในการบดสนามหญ้า

    สำหรับสนามหญ้าตามงานภูมิทัศน์โครงการขนาดเล็ก ควรใช้ลูกกลิ้งขนาดเล็กซึ่งมีน้ำหนักประมาณ 50-100 กิโลกรัม ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ลูกกลิ้งน้ำ ภายนอกที่ใช้บดเป็นแผ่นเหล็กกลมเชื่อมสามารถบรรจุน้ำภายในได้ มีเครื่องหมายแสดงระดับการเติมน้ำสัมพันธ์กับน้ำหนัก ลูกกลิ้งเหล็กบรรจุน้ำภายใน มีแกนหมุนต่อเชื่อมและศูนย์กลางของลูกกลิ้งกับคันชักลาก สามารถขับเคลื่อนด้วยแรงคน

    การบดสนามหญ้า จะบดเมื่อพบว่าสนามหญ้าไม่ราบเรียบ เกิดหลุมบ่อ หรือหลังตัดหญ้าสนามหญ้าเกิดรอยเนื่องจากล้อรถตัดหญ้า ตัดหญ้าขนาดสนามเปียกชุ่ม ช่วงของการบดที่เหมาะสมคือช่วงสนามหญ้า    ไม่ชุ่มน้ำหรืออ่อนนุ่มเกินไป สนามหญ้าพื้นดินแข็งเกินไป ควรรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อให้ดินอ่อนตัวลงบ้างแล้วจึง     บดอัดในเครื่องตัดหญ้าแบบที่นั่งพ่วง (trailing seat mower) จะมีลูกกลิ้งสำหรับบทสนามหญ้าอยู่ส่วนหลัง ซึ่งส่วนหน้าติดใบมีดตัดหญ้าแบบเกลียวหมุนระหว่างตัดหญ้าสนาม สนามหญ้าจึงได้รับการบดอัดไป      พร้อมๆ กัน 

    11. เวลาของการให้น้ำแก้สนามหญ้า

        11.1 เวลาของการให้ที่เหมาะสม คือ ช่วงตอนเช้า และตอนบ่ายๆ แต่ถ้าเป็นช่วงเวลาเช้า    ให้น้ำแก่สนามหญ้าพอชุ่มพอเพียง ตอนบ่ายก็ไม่มีความจำเป็น เพราะโดยทั่วไปผู้คนต้องการใช้สนามหญ้าเวลาบ่ายมากกว่าตอนเช้า ช่วงเวลาบ่ายสนามหญ้าไม่ชื้นแฉะ อย่างไรก็ตามการให้น้ำแก่สนามหญ้ามิได้เป็น        กฎตายตัวว่าจะต้องเป็นตอนเช้า ตอนกลางวัน และตอนเย็น แต่ละช่วงอาจมีข้อดีแต่กต่างกัน ดังนี้

            11.1.1 การให้น้ำแก่สนามหญ้าในตอนเช้า แสงแดดช่วยแผดเผาให้น้ำระเหยขึ้น    ไม่ทำให้น้ำขังแฉะในสนามนานเกินไปโดยเฉพาะในส่วนพื้นที่ที่ดินมีความแน่นตัวทำให้การเกิดโรคเกิดวัชพืชน้อยลง

            11.1.2 การให้น้ำแก่สนามหญ้าในเวลากลางวัน ช่วยลดอุณหภูมิแก่สนามหญ้าและพื้นดิน ทำให้หญ้าสนามปรุงอาหารได้ดีขึ้น รากหญ้าพัฒนาเร็วขึ้น แต่ระบบการให้น้ำที่ดีที่สุดคือแบบฝนโปรย (sprinkler system) ข้อระวังอย่าให้น้ำแก่สนามหญ้าเวลาที่แดดร้อนจัด

            11.1.3 การให้น้ำแก่สนามหญ้าเวลาเย็น เหมาะสำหรับสนามหญ้าบางประเภท เช่น สนามกีฬากรีนพัต  แต่โดยทั่วไปสนามหญ้าตามอาคาร บ้านพักอาศัย ไม่ค่อยนิยมทำให้หญ้าสนามเกิดโรค     ได้ง่าย

        11.2  สังเกตความต้องการน้ำของหญ้า ถ้าพบว่าใบหญ้ามีสีไม่สดใสเขียวซีดอมน้ำตาล เหี่ยว พับ แสดงว่ายากสนามต้องการน้ำ หรือตรวจสภาพหญ้าดูว่าพื้นสนามแห้ง แสดงว่าญาติสนามต้องการน้ำ หรือการทดสอบอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กัน คือ ใช้เท้าเหยียบลงไปในสนามหญ้าแล้วถอนเท้ากับ ถ้าหญ้าสนาม           ไม่เด้งตัวกลับอย่างรวดเร็วแสดงว่าสนามหญ้าขาดน้ำหญ้าสนามต้องการน้ำ



    12. ปริมาณน้ำที่ให้แก่สนามหญ้า

           การจะให้น้ำมากหรือน้อยกว่าสนามหญ้า ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่นำมาประกอบ ในการพิจารณา เช่น        

        12.1 ชนิดของหญ้าสนาม หญ้าสนามแต่ละชนิดการเจริญเติบโตแต่กต่างกัน ขึ้นอยู่กับการเจริญเติบโตของลำต้น การหยั่งลึกของราก ผิวสัมผัสของใบหญ้ามาเลเซีย หญ้าเซนต์ออกัสตินต้องการน้ำมากกว่าหญ้านวลน้อย หญ้าญี่ปุ่นและหญ้าแพรก เวลาปลูกในสภาพอากาศแจ้งเช่นเดียวกัน 

        12.2  อายุของหญ้าสนาม หญ้าสนามปลูกใหม่ต้องการปริมาณน้ำ และความถี่ของการให้น้ำสูงกว่า เนื่องจากระบบรากยังพัฒนาอยู่ระดับผิวดิน การแน่นนำตัวไม่เต็มที่

        12.3 ชนิดของดินที่ใช้เตรียมพื้นที่ และการอุ้มน้ำของดิน ถ้าการให้น้ำปริมาณเท่ากันดินทรายอุ้มน้ำได้น้อยกว่าดินร่วน ดินร่วนอุ้มน้ำได้น้อยกว่าดินเหนียว ความถี่การให้น้ำดินทรายมากกว่าดินร่วน ดินร่วนมากกว่าดินเหนียว

        12.4 สภาพของอากาศในฤดูหนาว ฤดูร้อน ที่มีความเข้มของแสงสูง หญ้าสนามคายน้ำมาก ความต้องการน้ำของหญ้าสนามมากกว่าในฤดูฝนที่มีความชื้นในดินและบรรยากาศสูงกว่า



    13. วิธีการให้น้ำแก่หญ้าสนาม

           ที่นิยมมี 3 วิธี คือการให้น้ำแบบเหนือผิวดิน แบบปล่อยท่วม และแบบระบบใต้ดิน 

        13.1 การให้น้ำแบบเนื้อผิวดิน

        13.1.1 แบบฝนโปรย (sprinkler) เป็นการให้น้ำแบบฝอยละอองเหนือผิวพื้นสนามหญ้า     โดยมีหัวให้น้ำแบบต่างๆ กัน ต่อเชื่อมเข้ากับสายยางจากจุดให้น้ำหัวให้น้ำแบบฝนโปรยมีหลายชนิด เช่น แบบหมุนรอบตัว(rotary sprinkler) แบบปรับองศาการทำงานได้ (pulse-jet sprinkler) แบบก้านเสียบลงในดิน (static sprinkler)แบบสายแกว่งไปมา (oscillating sprinkler) มีล้อเคลื่อนย้ายเวลาทำงาน (travelling sprinkler) และแบบหัวพ่นหมอก (standard nozzle) ลักษณะการพ่นน้ำมี 3 แบบคือ

                1) แบบพ่นออกรอบทิศทาง (spray head) ทำให้น้ำแบบฝนโปรยจะพ่นน้ำออกพร้อมกันเป็นวงกลม ได้แก่หัวให้น้ำแบบหมุนรอบตัว แบบพ่นหมอก

                2) แบบสายแกว่งไปมา (oscillating head) การพ่นน้ำไม่ได้เป็นรูปวงกลม แต่ออกเป็นลักษณะรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ได้แก่ หัวให้น้ำแบบสายแกว่งไปมา 

                3) หมุนพ่นออกเป็นทิศทางเดียว (rotating sream head) หัวให้น้ำพ่นน้ำผ่านรูซึ่งมีเพียงรูเดียว หรือหลายรูที่ปลายหัวพ่นน้ำสามารถปรับความละเอียด ความหยาบของฝอยละออง ขณะเดียวกันสามารถปรับองศาการทำงานได้ด้วย

            13.1.2 แบบใช้บัวรดน้ำ (water can) เป็นวิธีการที่ปฏิบัติกันมานาน เหมาะสำหรับพื้นที่สนามหญ้าแคบๆ แต่เป็นการให้น้ำแบบประณีต และแบบดั้งเดิม

        13.2 การให้น้ำแบบปล่อยท่วม

        โดยวิธีปล่อยให้น้ำท่วมแปลงหญ้าทั้งแปลง วัตถุประสงค์ส่วนใหญ่ต้องการให้น้ำซึมผ่านชั้นดินล่างลงไปได้ลึก ทำให้รากหญ้าพัฒนาสู่แนวลึกได้ และนอกจากนี้ยังเป็นการชะล้างเกลือที่มีตามผิวดินลงสู่ดินเบื้องล่าง โดยทั่วไปแล้วสนามหญ้าไม่มียมปฏิบัติ แต่จะปฏิบัติกันมากในพื้นที่ปลูกหญ้าสนาม เพื่อผลิตแผ่นหญ้า(sod) จำหน่าย

        13.3 การให้น้ำผ่านระบบใต้ดิน

        คือ ระบบท่อ ระบบลำเลียงน้ำ และหัวให้น้ำฝังอยู่ใต้ดิน แต่เวลาให้น้ำจริงให้น้ำแบบฝนโปรย จะโผล่ขึ้นทำงานเนื้อผิวดิน โดยใช้ระบบความดันน้ำ หลังการทำงานสิ้นสุดหัวให้น้ำจะยุบตัวลงไปในกระบอกเก็บ ทำให้มองดูมีความเรียบร้อยระบบการให้น้ำแบบนี้เรียกว่า Pop-Up System หรือ riser การควบคุมการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ หัวการให้น้ำที่นิยมมี 2 แบบ คือแบบฝนโปรย และแบบพ่นหมอก ทิศทางของการให้น้ำมี 2 ทิศทาง คือ แบบพ่นออกรอบทิศทาง และแบบพ่นออกทิศทางเดียว ทั้ง 2 แบบนี้สามารถปรับองศาของการทำงานได้ 

    14. การลดปัญหาการให้น้ำแก่สนามหญ้า

        การให้น้ำแก่ญาติสนามต้องปฏิบัติเป็นประจำทุกวันยกเว้นในฤดูฝนซึ่งการให้น้ำแต่ละครั้ง    คือค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นดังนั้นจึงพยายามหาวิธีลดการใช้น้ำแก่สนามหญ้าลงในรูปแบบต่างๆ เช่น

        14.1  เพิ่มความทนแล้งแก่หญ้าสนาม ซึ่งเป็นเทคนิควิธีทำอย่างไรให้รากหญ้าสนามหยั่งลึกในดินและทำให้ระบบรากหญ้าสนามมีความเข้มแข็งทนทานซึ่งจะเป็นวิธีทำให้หญ้าสนามทนแล้งเพิ่มขึ้น(drought resistance) ซึ่งมีวิธีการดังนี้

            14.1.1 เสริมแต่งผิวหน้าสนามหญ้าโดยวิธีเจาะรูอากาศด้วยเดือยแหลม (spiking)  ลงไปในสนามหญ้าแล้วใช้วัสดุเสริมแต่งผิวหน้ากวาดลงในรูทำให้ดินร่วนซุยลดปัญหาการแน่นตัวน้ำซึมผ่านได้สะดวกทำให้รากหญ้าพัฒนาเร็วขึ้นและหยั่งรากลึก

            14.1.2 ไม่ควรตัดหญ้าสนามต่ำกว่าคำแนะนำควรปล่อยให้ญาติสนามยาวกว่าปกติในฤดูร้อน

            14.1.3 การใช้ปุ๋ยฟอสเฟตอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อให้รากหญ้าพัฒนาดีขึ้น

            14.1.4 กำจัดเศษหญ้าออกโดยวิธีการครูดหญ้า (scarifying) ทำให้น้ำซึมผ่านสู่ดินเบื้องล่างได้สะดวกขึ้น 

        14.2 การให้น้ำอย่างทั่วถึง

        การให้น้ำอย่างทั่วถึงและชุ่มในฤดูร้อนทำให้ดินอุ้มความชื้นไว้ได้นานช่วยลดความถี่ของการให้น้ำลงการที่น้ำซึมผ่านชั้นผิวดินลงไปได้ลึกจะทำให้รากหญ้าหยั่งลงสู่ดินลึกสามารถหาอาหารและน้ำในระดับใต้ดินลึกได้จึงมีส่วนทำให้ย่ามีความสมบูรณ์แข็งแรง



15. วิธีการใส่ปุ๋ยสนามหญ้า

วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใส่ปุ๋ยสนามหญ้ามี 3 วิธีคือ 

15.1 ใช้มือหว่าน (hand application) ใช้สำหรับปุ๋ยเม็ด หว่านให้เม็ดปุ๋ยกระจายออกทางกว้าง วิธีการหว่านเพื่อให้สังเกตง่าย ควรคลุกปุ๋ยกับทรายหยาบ จะสามารถสังเกตการกระจายของปุ๋ย เพราะการหว่านปุ๋ยโดยใช้มือไม่สามารถควบคุมความสม่ำเสมอได้อาจเป็นอันตรายแก่หญ้าสนามบางจุดที่ได้รับปุ๋ยมากเกินไป เช่น ใบไม้ หรือ หญ้างามที่เป็นกระจุก

15.2 ใช้เครื่องใส่ปุ๋ยที่ใช้กับปุ๋ยเม็ด ใช้กันทั่วไปมี 2 แบบคือ 

15.2.1 เครื่องหว่านปุ๋ย (rotary broadcast spreader) เป็นเครื่องหว่านปุ๋ยแบบหมุน (rotary type) โดยใช้แรงเหวี่ยงออกจากแกน หมุนเป็นวงกลม ปุ๋ยจะกระจายออกเป็นรัศมีความกว้างขึ้นอยู่กับแรงเหวี่ยงของเครื่อง

15.2.2 เครื่องใส่ปุ๋ยแบบหยอด (drop spreader) เป็นเครื่องใส่ปุ๋ยที่ได้รับความนิยมสูง เพราะสามารถตรวจสอบความสม่ำเสมอ และแนวการใส่ปุ๋ยได้อย่างทั่วถึง แต่การทำงานช้ากว่าแบบเครื่องหว่านปุ๋ย

15.2.3  การใส่ปุ๋ยน้ำ (liquid dilutor) ปุ๋ยน้ำเป็นปุ๋ยที่ทำให้หญ้าสนามใช้ประโยชน์อย่างรวดเร็ว เนื้อปุ๋ยมีความเข้มข้น การใส่จึงต้องละลายน้ำเพื่อให้เกิดความเจือจาง การใส่ปุ๋ยน้ำจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่ใช้ ถ้าใช้บัวรดน้ำอาจจะช้า ถ้าใช้เครื่องพ่นยาน้ำจะทำงานได้ด้วยความรวดเร็ว การใส่ปุ๋ยน้ำจะใช้ในรูปของการให้ปุ๋ยทางใบ ดังนั้นญาติสนามสามารถนำปุ๋ยไปใช้ได้รวดเร็วกว่าการใส่ปุ๋ยแบบเม็ด

16. ข้อพึงระวังในการใส่ปุ๋ยแก่สนามหญ้า

16.1 ปุ๋ยไนโตรเจน หลังใส่ปุ๋ยต้องให้น้ำแก่สนามหญ้า ถ้าไม่ให้น้ำแก่สนามหญ้า จะทำให้ใบหญ้าสนามไหม้เฉพาะเม็ดปุ๋ยจะติดค้างอยู่ตามใบ คบใบ และลำต้น

16.2 การใส่ปุ๋ยแบบหว่าน ให้คำนึงถึงความสม่ำเสมอของเม็ดปุ๋ย กระจายอย่างทั่วถึง บางเม็ดปุ๋ยที่ใส่จับกันเป็นก้อนเนื่องจากปุ๋ยมีความชื้นควรทำให้เม็ดปุ๋ยแยกตัวออกเป็นอิสระก่อนหว่านไม่ว่าจะหว่านด้วยมือหรือเครื่องหว่าน หลังหว่านปุ๋ยต้องรดน้ำสนามให้ชุ่มทุกครั้ง

16.3 ลดข้อผิดพลาดอันเกิดจากการใส่ปุ๋ยแบบหยอดให้คำนึงถึงแนวใส่ หลีกเลี่ยงแนวใส่ปุ๋ยซ้ำ (double dose) เกิดช่องว่างระหว่างแถบของการใส่ปุ๋ยทำให้หญ้าสนามที่ได้รับปุ๋ยไม่ทั่วถึง

17. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) 

หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงาน เพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิม การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงาน โดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม การกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆ หรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณี ที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้น ขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

18. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA) และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

19. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มี        

การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 ประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบ

18.2 การสอบปฏิบัติ

 



ยินดีต้อนรับ