(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 18และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานจัดวางระบบน้ำและระบบระบายน้ำในการจัดสวนตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
ความหมายและความสำคัญของการชลประทาน
หลักการชลประทาน หมายถึง หลักเกณฑ์และวิธีการให้น้ำแก่พืชโดยการเพิ่มความชื้นให้แก่ดินจน ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช เพื่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด รวมถึงการจัดหาน้ำและการจัดการน้ำ มุ่งใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ของดิน น้ำ พืช และสภาพแวดล้อม มาพิจารณาออกแบบขนาดแหล่งน้ำออกแบบระบบส่งน้ำ และการนำน้ำ ไปใช้อย่าง เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
ความหมายของการชลประทาน
กรมชลประทานให้ความหมายว่าการชลประทาน คือกิจการที่ได้จัดการขึ้น เพื่อส่งน้ำจากทางน้ำ หรือแหล่งน้ำใดๆ ไปใช้ในการเพาะปลูก และหมายถึงการป้องกันการเสียหายแก่การเพาะปลูกอันเกี่ยวกับน้ำ
ความหมายของ IRRIGATION
Irrigation คือ การให้น้ำแก่พืชโดยบรรจุลงช่องว่างระหว่างเม็ดดิน เพื่อให้ดินนั้นมีความชุ่มชื้นพอเหมาะแก่การเจริญเติบโตของพืช
วัตถุประสงค์การให้น้ำ
เพื่อให้ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชพืชสามารถนำไปใช้ได้ทั้งหมด น้ำยังช่วยชะล้างหรือควบคุมความเข้มข้นของเกลือในดินบริเวณเขตรากพืชไม่ให้มีความเข้มข้นมากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อพืช และเพื่อให้ดินอ่อนนุ่มสะดวกต่อการไถเตรียมดินและรากพืชสามารถขยายตัวได้ดีในดิน
ความสำคัญของการชลประทานในงานภูมิทัศน์
โดยเหตุที่น้ำเป็นปัจจัยจำเป็นยิ่งต่อการเพาะปลูก ในฤดูฝนจะพบว่าพืชพรรณต่าง ๆ มีการเจริญงอกงามได้ดี เพราะว่าพืชได้รับน้ำจากฝนมีปริมาณมากเพียงพอตามที่พืชต้องการ เมื่อฝนไม่ตกหรือในฤดูแล้ง พืชขาดน้ำจะเหี่ยวเฉาและไม่เจริญงอกงามตามที่ควร จึงจำเป็นต้องจัดหาน้ำให้กับต้นไม้หรือพืชที่ปลูกในเวลาที่ฝนไม่ตก เมื่อสามารถกระทำได้เสมอ หรือทำการชลประทานให้ จึงกล่าวได้ว่า การชลประทานในงานภูมิทัศน์ จัดว่าเป็นงานที่มีความสำคัญและมีประโยชน์มากด้านหนึ่งในการช่วยให้พืชพรรณมีความเจริญเติบโตได้อย่างสมบูรณ์ นอกเหนือจากในงานภูมิทัศน์และยังทำให้เกษตรกรสามารถทำการเพาะปลูกให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้น
ในปัจจุบันพืชพรรณจำนวนมากที่ต้องอาศัยน้ำฝน น้ำจากแม่น้ำลำธาร และก๊อกสนาม ช่วยในเรื่องของการเพาะปลูกหรือการให้น้ำแก่พืชพรรณในงานภูมิทัศน์ เพราะยังไม่มีงานด้านชลประทานที่ดีในการช่วยทุ่นแรง หรือคอยจัดการระบบให้น้ำเข้าไปช่วยเหลือ
ซึ่งความสำคัญและประโยชน์ของการชลประทานในด้านต่าง ๆ สามารถสรุปได้ดังนี้
1. ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้นพอเหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชและต้นไม้ พืชได้รับน้ำพอเพียงตามที่ต้องการแต่ละชนิด
2. สามารถให้หลักประกันได้เป็นอย่างดีว่า พืชต่าง ๆ ที่ปลูกจะไม่ขาดน้ำตลอดฤดูกาล
3. ช่วยให้พื้นดินและบรรยากาศทั่วบริเวณพื้นที่เพาะปลูกเย็นในขณะที่อากาศร้อนจัด
4. ช่วยให้ดินมีความอ่อนนุ่มดี และง่ายต่อการพรวนดิน และการดูแล
5. ช่วยเพิ่มน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกเพื่อการชะล้างหรือละลายเกลือออกไปจากดินได้
6. การชลประทานช่วยลดการชะงักงานเจริญเติบโต หรือความเสียหายของพืช เมื่อเจอกับความเย็นจัด หรือร้อนจัด โดยใช้ระบบการชลประทานแบบฉีดฝอยเพื่อลดอุณหภูมิในสภาพอากาศร้อน และเพิ่มอุณหภูมิในสภาพอากาศเย็น
แหล่งน้ำ
การหมุนเวียนของน้ำที่เกิดขึ้นเป็นไปตามปรากฏการณ์ธรรมชาติซึ่งจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลทางอุตุนิยม เช่น อุณหภูมิความกดอากาศ ลม และสภาพทางภูมิศาสตร์ การหมุนเวียนของน้ำจะเป็นลักษณะวงจรคือไม่มีสิ้นสุดทั้งบนผิวโลกในบรรยากาศ และในมหาสมุทร กล่าวคือ น้ำจากส่วนต่างๆ ของผิวโลก เมื่อถูกความร้อนจากดวงอาทิตย์จะระเหยกลายเป็นไอน้ำ จากไอน้ำจะจับตัวรวมกันเป็นกลุ่มเมฆ และจากกลุ่มเมฆเมื่อรวมตัวกันมากขึ้นก็จะกลั่นตัวเป็น หิมะ ลูกเห็บ หมอก หรือ ฝนตกลงสู่ผิวโลก
น้ำบางส่วนจะถูกต้นไม้และผิวดินกักเก็บไว้ส่วนที่เหลือก็จะรวมตัวกันไหลลงตามแรงดึงดูดของโลก สู่แม่น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง บางส่วนก็จะไหลลงสู่ใต้ดินก็จะกลายเป็นน้ำใต้ดิน และไหลลงสู่ทะเล มหาสมุทร และเมื่อถูกความร้อนก็จะระเหยขึ้นในอากาศต่อไป การหมุนเวียนของน้ำที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ เรียก Water Cycle หรือ Hydrologic Cycle ส่วนที่ระเหยไป จากมหาสมุทร แม่น้ำลำธาร ผิวดิน และจากพืชจะกลับลงสู่ผิวโลกในปริมาณที่สมดุลกัน
รูปภาพที่ 1.1 วัฏจักรของน้ำ Water Cycle หรือ Hydrologic Cycle
มีผู้ประมาณการว่าบนโลก มีปริมาณน้ำ 3 ใน 4 ส่วนของโลก หรือปริมาณน้ำบนผิวโลก ทั้งหมดประมาณ 1.3 – 1.4 พันล้านลูกบาศก์กิโลเมตร เป็นน้ำทะเลประมาณ 97.5 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำแข็งที่ จับตามขั้วโลกเหนือและขั้วใต้ประมาณ 1.75 เปอร์เซ็นต์เป็นน้ำจืดบนผิวโลกและใต้ผิวโลกทั้งหมดประมาณ 0.73 เปอร์เซ็นต์ส่วนที่เหลือเป็นน้ำที่อยู่ในบรรยากาศในรูปของไอน้ำ เมฆ หมอกต่างๆ
ตารางที่ 1.1 ปริมาณน้ำที่มีอยู่บนโลก
แหล่งน้ำ (Source of Water) โดยทั่วๆ ไปจะได้รับน้ำจาก 3 แหล่ง คือ
1. น้ำในบรรยากาศ (Precipitation)
2. น้ำจากผิวพื้นหรือน้ำท่า (Surface Water)
3. น้ำใต้ดิน (Ground Water)
1. น้ำในบรรยากาศ (Precipitation) หมายถึง น้ำที่เกิดจากฝน ปรอยฝน หิมะ ลูกเห็บ และหมอก ที่สามารถน้ำมาใช้ในการชลประทานเพื่อการเกษตรได้ ในประเทศไทยนั้นจะได้รับน้ำฝนจากอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้โดยลมมรสุมนี้ เป็น กระแสลมที่น้ำ ไอน้ำมาจากอ่าวเบงกอล และอ่าวไทย เมื่อกระแสลมพัดปะทะภูเขาทำให้อากาศที่อุ้มไอน้ำไว้ มากถูกผลักดันขึ้นไปตามลาดเนินเขา อากาศจะเย็นลงเมื่อลอยสูงๆ ขึ้นไปตามลาดเขาในที่สุดก็กลั่นตัวเป็นเมฆ และฝนทางด้านต้นลมภูเขา พายุหมุนทางตะวันออก เนื่องจากกระแสอากาศจากทิศต่างๆ พัดส่อเข้าหากัน หรือปะทะกัน ทำให้เกิดการไหลลอยของ อากาศขึ้นสู่เบื้องบน แล้วเกิดเป็นเมฆ และฝนในบริเวณหรือแนวที่อากาศปะทะกัน ฝนเช่นนี้ เรียกว่าฝนที่เกิด จากพายุหมุน เช่นพายุโซนร้อน และฝนที่เกิดจากร่องความกดอากาศ โดยในกลางวันแผ่นดินได้รับการแผ่รังสี ของดวงอาทิตย์ที่ร้อน จึงมีการระเหยของน้ำมาก และเกิดการไหลลอยของไอน้ำ ขึ้นสู่เบื้องบน ทำให้เกิดเมฆทวีขึ้นแล้วกลายเป็นพายุฝนฟ้าคะนองในตอนเย็น และกลางคืน ในระยะที่เปลี่ยนจากฤดูร้อนเข้าสู่ฤดูฝน แต่มีบางส่วนที่มีฝนตกเกือบตลอดทั้งปีเช่น ภาคใต้ปริมาณฝนตกเฉลี่ยในประเทศไทยประมาณ 1,800 มิลลิเมตรต่อปีเนื่องจากปัจจัยทางธรรมชาติทำให้ประเทศไทยได้รับปริมาณฝนไม่เท่ากัน เช่น เขตตอนเหนือของภาค กลางเป็นเขตที่ได้รับฝนน้อย เขตที่รับลมฝั่งตะวันตกจะได้ปริมาณฝนมากกว่าฝั่งตะวันออก ฝนในกลุ่มแม่น้ำ ปิง วัง ยม น่าน และป่าสัก จะได้รับปริมาณฝนน้อยกว่ากลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ส่วนฝนในภาคตะวันออกเฉียง เหลือจะมีมากตามบริเวณที่ขนานกับแนวลุ่มแม่น้ำส่วนภาคใต้ฝั่งตะวันออกของอ่าวไทยจะได้รับปริมาณฝนมากกว่าเขตอื่นๆ ฤดูฝนในประเทศไทยจะมีเพียง 6 เดือน คือเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนพฤษภาคม ถึง ปลายเดือนตุลาคม ในฤดูฝนของทุกปีจะมีระยะเวลาฝนไม่ตกบางเรียกว่า “ฝนทิ้งช่วง” มักจะเกิดขึ้นประมาณปลายเดือนมิถุนายน – ต้นเดือนกรกฎาคม ส่วนที่เหลือ 6 เดือนจะไม่มีฝนตก หรือตกเล็กน้อย
2. น้ำผิวพื้นหรือน้ำท่า (Surface Water) หมายถึงน้ำที่ไหลอยู่ตามผิวดิน เช่น น้ำที่ไหลตามแม่น้ำ ห้วย หนองคลอง บึง ทะเลสาบ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ น้ำผิวพื้นจัดเป็นแหล่งทรัพย์ากรที่สำคัญ สำหรับการชลประทาน หรือการเกษตรกรรม ลักษณะของน้ำผิวพื้นจะมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับน้ำ บรรยากาศ และน้ำใต้ดิน เช่นน้ำฝนที่ตกลงมา บางส่วนจะไหลซึมลงใต้ดิน น้ำใต้ดินไหลซึมออกมาเป็นน้ำซับ และไหลออกมา กลายเป็นน้ำผิวพื้น น้ำฝนบางส่วนจะไหลลงสู่แม่น้ำ ลำธาร หรือขังอยู่ตามที่ลุ่มต่าง ๆ แม่น้ำลำธารในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ 1. พวกที่ไหลตลอดทั้งปี(Permanents Streams) ได้แก่แม่น้ำขนาดใหญ่ 2. พวกที่ไหลในช่วงฤดู(Intermittent Streams) ได้แก่ น้ำในร่องเขา หรือลำห้วยที่จะไหลในฤดูฝนเท่านั้น พอเข้าเขตฤดูร้อนมักจะแห้งไปตามธรรมชาติ
รูปภาพที่ 1.2 น้ำผิวดินหรือน้ำท่า
3. น้ำใต้ดิน (Ground Water) คือน้ำฝน หรือน้ำที่ซึมอยู่ตามช่องว่างของรอยแต่กร้าวของผิวเปลือกโลก น้ำที่แทรกซึมอยู่ตามชั้นหินได้แก่ น้ำบาดาล ส่วนมากเป็นน้ำที่สะอาดปราศจากเชื้อโรคนับว่ามีประโยชน์ส่วนน้ำที่ซึมอยู่ในชั้นดินได้แก่ น้ำบ่อ น้ำประเภทนี้ ไม่มีความสะอาด เพราะอาจมีสิ่งโสโครกปะปนอยู่ น้ำใต้ดินบางแห่งมีแร่ธาตุที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย บางที่มีรสเค็มไม่เหมาะที่จะน้ำมาใช้บ่อบาดาลบางแห่งจะมีความลึกมากโดยเฉพาะเขตแห้งแล้ง น้ำบาดาลจึงเป็นแหล่งน้ำใต้ดินที่สำคัญมากสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทั้งการบริโภคและการเกษตร
รูปแบบการให้น้ำ
การชลประทาน หรือการให้น้ำแก่พืชอาจทำได้หลายวิธีการเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งนั้นย่อมขึ้นอยู่กับ ลักษณะภูมิประเทศ คุณสมบัติของดิน การเตรียมพื้นที่เพาะปลูก วิธีการเพาะปลูก เงินค่าลงทุน ค่าบำรุงรักษา ตลอดจนน้ำที่จะต้องจัดหามาให้แก่พืช วิธีการให้น้ำแก่พืชสามารถแบ่งออกเป็นวิธีการใหญ่ๆ ได้ 4 แบบ คือ
1. การชลประทานแบบผิวดิน (Surface Irrigation)
2. การชลประทานแบบใต้ผิวดิน (Subsurface Irrigation)
3. การชลประทานแบบฝนเทียม (Sprinkler Irrigation)
1. การชลประทานแบบผิวดิน (Surface Irrigation) เป็นวิธีเป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชโดยปล่อยให้น้ำขังหรือไหลไปบนผิวดินแล้วซึมลงไปในดินตรงจุดที่น้ำนั้นขังหรือไหลผ่านโดยถือว่าผิวดินเป็นทางน้ำ ซึ่งอาจมีรูปร่างขนาด และลักษณะแต่กต่างกันออกไปคือมีขนาดตั้งแต่เป็นร้องน้ำเล็กๆ (Corrugation) หรือเป็นร่องน้ำคูขนาดใหญ่ขึ้นมา (Furrow) หรือเป็นร่องน้ำหรือแปลงขนาดใหญ่มีการควบคุมบังคับน้ำให้ท่วมพื้นที่เป็นแปลงๆ ไปคือ (Controlled flooding) ส่วนอีกวิธีหนึ่งเป็นการให้น้ำโดยธรรมชาติไม่มีอาคารบังคับ ควบคุมน้ำพื้นที่ก็ไม่มีการปรับน้ำจะไหลไปในลักษณะที่เรียกว่า น้ำบ่าหรือน้ำท่วมเราเรียกว่า Wild flooding ถือเป็น Un-controlled ชนิดหนึ่งมักจะไม่นับว่าเป็นการชลประทาน เพราะไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ
ข้อดีของการชลประทานแบบผิวดิน
1. สามารถใช้ได้กับดินและพืชเกือบทุกชนิด การออกแบบระบบส่งน้ำสามารถดัดแปลงให้ เหมาะสมกับขนาดและวิธีการส่งน้ำแต่ละประเภทได้
2. มีความคล่องตัวสูง คือสามารถให้น้ำแก่พืชได้ในระยะเวลาอันสั้น คือ 10 วันต่อครั้ง หรือให้ได้ทุกเวลาตามความต้องการ เช่น ถ้าหากอากาศร้อนพืชต้องการน้ำมาก ก็สามารถให้เพิ่มได้
3. ค่าลงทุนต่ำกว่าวิธีการให้น้ำแบบอื่นๆ เนื่องจากการชลประทานแบบนี้ จะปล่อยให้ไหลไปบนผิว ดินจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำตามแรงดึงดูดของโลก
4. ไม่ต้องมีอาคาร หรือเครื่องมือต้องบำรุงรักษา
5. เป็นหลักประกันได้ว่าพืชจะไม่ขาดแคลนน้ำตลอดฤดูกาลเพาะปลูก
6. เมื่อมีการออกแบบที่ดีแล้วจะมีประสิทธิภาพสูงเท่ากับการชลประทานแบบอื่นๆ
ข้อเสียการชลประทานแบบผิวดิน
1. ต้องปรับพื้นที่ให้เรียบและมีความลาดเทสม่ำเสมอ เพื่อที่จะส่งน้ำได้
2. ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่ไม่ราบเรียบ เพราะจะเสียค่าใช้จ่ายในการปรับพื้นที่ให้ราบเรียบ
3. อาจเกิดการพังทลายของดินในกรณีที่มีความลาดเทมากเกินไป
4. ต้องมีคันและคูกั้นบังคับน้ำ ท้าให้เสียพื้นที่การเพาะปลูก และกีดขวางการทำงานของเครื่องจักรเครื่องมือต่างๆ
5. ต้องใช้น้ำในปริมาณมาก และอาจเกิดปัญหาเรื่องการระบายน้ำได้ง่าย
6. ต้องมีความรู้และความชำนาญในวิธีการให้น้ำแบบท่วมเป็นผืน
1.1 การให้น้ำท่วมเป็นผืน (Flooding) เป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชทางผิวดินวิธีหนึ่งในที่นี้ จะกล่าว เฉพาะชนิดที่เป็น Controlled flooding คือมีการควบคุมบังคับน้ำโดยในพื้นที่ที่จะท้าการให้น้ำในแต่ละแปลง จะต้องมีคันนากั้นน้ำโดยรอบเพื่อควบคุมน้ำไม่ให้ไหลออกนอกเขตพื้นที่ วิธีการให้น้ำขึ้นอยู่กับแหล่งน้ำ คือถ้าน้ำที่จะส่งเป็นน้ำจากคลองชลประทาน ก็จะต้องมีคูส่งน้ำแยกจากคลองสายใหญ่เข้าไปในพื้นที่ส่งน้ำเข้าแปลง เพาะปลูกอาจจะเป็นประตูน้ำท่อกาลักน้ำแบบใดก็ได้โดยปกติมักจะไม่ส่งน้ำจากคลองสายใหญ่หรือคลอง ชลประทานเข้าแปลงนามาโดยตรงส่วนถ้าน้ำที่ได้เป็นน้ำจากแหล่งน้ำที่ต้องสูบส่งตามท่อปัญหาก็น้อยโดยการ ต่อท่อแยกหรือใช้ท่อที่มีประตูน้ำแบบเลื่อน
1.1.1 การให้น้ำแบบท่วมเป็นผืนยาว(Graded border) คือการปล่อยให้น้ำเข้าท่วมในพื้นที่เพาะปลูก เป็นผืนยาวโดยมีคันดินขนาดเล็กๆ สองคันซึ่งมีแนวตรงและขนานกันคอยควบคุมให้น้ำท่วมอยู่ในพื้นที่ที่ ต้องการ พื้นที่ระหว่างคันดินมีความลาดเทไปตามทิศทางการไหลของน้ำในแปลงเพาะปลูก การให้น้ำก็ทำโดย การเปิดให้ไหลเข้าทางหัวแปลง และต้องไม่ล้นออกจากแปลงด้วย บริเวณใดสูงก็ต้องปรับให้ราบเพื่อให้น้ำไหล เข้าไปอย่างทั่วถึงเต็มความกว้างของแปลงเพาะปลูก ปริมาณน้ำที่ปล่อยเข้าไปควรจะเท่ากับปริมาณของแปล นั้นๆ ถ้าหากดินที่มีอัตราการดูดซึมของน้ำช้าควรให้น้ำในปริมาณมากกว่าปริมาณที่ต้องการ เพราะดินจะดูดซับน้ำได้ไม่ทันขณะที่น้ำไหลผ่าน
การชลประทานแบบนี้ เหมาะกับพืชที่ปลูกโดยการหว่านด้วยเมล็ด ยกเว้นข้าวซึ่งต้องการน้ำขังอยู่ใน แปลงตลอดเวลา อย่างไรก็ตามพืชยืนต้นหรือสวนผลไม้ก็อาจให้น้ำวิธีนี้ ได้เหมือนกัน และสามารถใช้ได้กับดิน เกือบทุกชนิด แต่ไม่เหมาะกับดินทราย ความลาดเทตามยาวของแปลงไม่ควรจะชันเกิน 0.5 %
1.1.2 การให้น้ำท่วมผิวดินพื้นที่ราบและล้อมรอบด้วยคันกั้นน้ำ (Level Border or Basin) เป็นการให้น้ำแบบนาข้าว ในลักษณะพื้นที่ราบปล่อยให้น้ำท่วมขังจนกระทั่งถูกดูดซึมเข้าไปในดิน การให้น้ำจะ ใช้ปริมาณมาก เพื่อให้น้ำแผ่กระจายออกไปทั่วทั้งแปลงได้ในระยะอันสั้น การให้น้ำแบบBasin จะมีลักษณะ แบบสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยความกว้างและความยาวของแปลงมักจะเท่ากัน แต่การให้น้ำแบบ Level Border นั้น จะมีลักษณะคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า คือจะมีความยาวมากกว่าความกว้าง เพื่อให้การแผ่กระจายของน้ำเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั่วทั้งแปลง อัตราการให้น้ำจะต้องให้ในปริมาณ 2 เท่าของอัตราการดูดซึมของดินเพื่อให้น้ำท่วมพื้นที่อย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นได้ถ้าหากพื้นที่ภายใน แปลงราบการเปิดน้ำเข้าแปลงราบจะเปิดเข้าทางหัวแปลงด้านใดด้านหนึ่ง หรือเปิดพร้อมกันหลายด้านก็ได้
การชลประทานแบบนี้ สามารถใช้ได้กับพืชเกือบทุกชนิด แต่ถ้าเป็นพืชที่ไม่ชอบน้ำก็ควรยกคันเล็กๆ เป็นร่องน้ำน้าน้ำไปยังจุดต่างๆ ภายในแปลง โดยไม่ให้เกิดอันตรายกับพืชที่ปลูก
1.1.3 การให้น้ำท่วมขั้นบันได้ตามแนวเส้นขอบเนิน (Contour Level or Contour check) การให้ น้ำแบบนี้ จะมีลักษณะคล้ายแบบ Level Border แต่จะดัดแปลงให้เข้ากับสภาพพื้นที่ที่มีความลาดเท โดยการ เปลี่ยนแนวคันดินให้มาอยู่ในแนวเส้นขอบเนินลักษณะคล้ายขั้นบันได้ลดหลั่นกันลงไปเป็นขันๆ การปล่อยน้ำ จะปล่อยน้ำจากหัวแปลงทางด้านใดด้านหนึ่งหรือสองข้างของพื้นที่รับน้ำ แล้วปล่อยให้ไหลซึมลงไปในดินจนได้ ความลึกที่ต้องการแล้ว ระบายลงไปในแปลงขั้นต่อไปตามต้องการ การให้น้ำแบบนี้ เหมาะสำหรับพืชตระกูล ข้าวที่ต้องการน้ำขังตลอดเวลา พื้นที่ที่ใช้ควรเป็นดินขนาดปานกลางถึงดินที่มีเนื้อละเอียด
1.1.4 การให้น้ำท่วมจากร่องคูตามแนวเส้นขอบเนิน (Contour Ditch) เป็นการให้น้ำลักษณะ คล้ายกับนาขั้นบันได้ แต่จะต่างกันที่มีการขุดร่องคูเล็กๆ ตามแนวเส้นขอบเนิน แล้วปล่อยน้ำเข้าไปให้น้ำล้น จากร่องคูกระจายไปทั่วทั้งแปลง หรือบางครั้งอาจสร้างคันดินหรือฝายชั่วคราวเพื่ออัดน้ำจากคูส่งน้ำให้สูงขึ้น ไหลล้นออกไปท่วมพื้นที่แปลงนั้นๆ เมื่อไหลเต็มทั่วทั้งแปลงแล้ว ปล่อยให้ไหลลงแปลงถัดไป เช่นนี้ เรื่อยๆ ตลอดพื้นที่เพาะปลูก
การชลประทานแบบนี้ เหมาะสำหรับพืชที่ปลูกต้นติดกันทุกชนิด เช่น หญ้าอาหารสัตว์ถั่ว และพืช หว่านเมล็ดก็ใช้วิธีนี้ ได้หรือพืชที่ปลูกแล้วไม่ต้องมีการไถพรวนดินหรือยกร่องอีก ยกเว้นข้าวซึ่งต้องการน้ำเข้า ตลอดเวลา หญ้าเลี้ยงสัตว์ถั่ว และพืชที่หว่านด้วยเมล็ดก็ใช้วิธีนี้ ได้การให้น้ำแบบนี้ พื้นที่ควรมีความลาดเท ระหว่าง 0.5 – 1.5 เปอร์เซ็นต์
1.2 การให้น้ำแบบร่องคู (Furrow) คือการส่งน้ำให้ไหลเข้าไปในร่องคูแล้วซึมเข้าไปในบริเวณเขตรากพืช เพื่อให้พืชดูดอาไปใช้ได้การส่งน้ำมีหลายวิธีดังนี้
1.2.1 การให้น้ำแบบร่องคูระหว่างแถว (Graded furrow) การให้น้ำแบบนี้ จะใช้เครื่องมือหรือ อุปกรณ์ยกร่องตามระยะห่างระหว่างแถวของพืช การให้น้ำจะอัดน้ำเข้าตามร่องหัวแปลงหรือใช้วิธีกาลักน้ำ (Siphon) หรือใช้ท่อที่มีช่องเปิดด้านข้างซึ่งเรียกว่า Gated Pipe ปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในร่อง น้ำจะซึมเข้าไป ในดินได้ทั้งแนวดิ่งและแนวราบ ร่องคูนี้ จะมีแนวตรงขนาดและรูปร่างจะขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและดิน การชลประทานแบบนี้ สามารถใช้ได้กับพืชที่ปลูกเป็นแถวได้ทุกชนิด รวมทั้งพืชสวนด้วย และ สามารถใช้ได้ดีกับดินทุกประเภท ยกเว้นดินทรายเพราะการสูญเสียน้ำเนื่องจากไหลซึมเลยเขตรากพืชมาก เกินไป ความลาดเทของพื้นที่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์
1.2.2 การให้น้ำแบบร่องคูราบ (Level Furrow) การให้น้ำแบบนี้จะมีลักษณะคล้ายคลึงกับการ ให้น้ำแบบ Graded Furrow คือการปล่อยให้น้ำไหลเข้าไปในร่องคูแล้วซึมลงไปในดินทั้งแนวราบและแนวดิ่ง เข้าสู่รากพืช การให้น้ำแบบนี้ร่องคูจะอยู่ในแนวราบไม่มีความลาดเท ดังนั้นการให้น้ำจะต้องให้ในจำนวนมาก น้ำจึงจะไหลไปขังในร่องคูตลอดความยาวของร่องคูในอัตรามากที่สุดเท่าที่ร่องคูนั้น สามารถรับได้จนกระทั่งซึม ลงไปในดินเท่าที่ต้องการ
การชลประทานแบบนี้ สามารถใช้ได้กับพืชที่ปลูกเป็นแถว หรือพืชที่หว่านเมล็ดก็สามารถให้น้ำวิธีนี้ ได้โดยการยกร่องและให้น้ำก่อนหว่านเมล็ด และเหมาะสำหรับดินที่มีอัตราการซึมต่ำจนถึงดินที่ที่มีอัตราการ ซึมปานกลาง พื้นที่ควรจะเรียบและมีความลาดเทสม่ำเสมอ
1.2.3 การให้น้ำแบบร่องคูตามแนวเส้นขอบเนิน (Contour Furrow) การให้น้ำแบบนี้ จะทำร่องคูขนานไปตามแนวเส้นขอบเนิน ความลาดเทของร่องคูจะต้องไม่มากนัก คือ ให้มีเพียงเพื่อให้น้ำไหลไปยังปลายของร่องได้เท่านั้น คูส่งน้ำหรือท่อส่งน้ำจะอยู่ในแนวตั้งฉากกับร่องเพื่อจ่ายน้ำในร่องแต่ละร่อง ระบบการชลประทานแบบนี้ คือการปรับที่ดินเป็นขั้นบันได้ลดหลั่นเป็นชันๆ ตามล้าดับ เพื่อป้องกันการพังทลายของดิน การให้น้ำแบบนี้สามารถใช้ได้กับพื้นที่ที่มีความลาดเททั่วๆ ไป ยกเว้นพื้นที่ที่เป็นดินทราย สามารถ ใช้ได้กับพืชที่ปลูกเป็นแถวได้เกือบทุกชนิด และเหมาะกับพืชยืนต้นมากที่สุด
1.2.4 การให้น้ำแบบร่องคูเล็กๆ (Corrugation) หรือการให้น้ำแบบร่องลูกฟูก โดยการปล่อยให้ น้ำไหลไปในร่องน้ำเล็กๆและตื้น การชลประทานแบบนี้ ต่างจากการให้น้ำแบบร่องคูอื่นๆ คือร่องน้ำนั้นเล็กและตื้น ระยะห่างระหว่างร่องต้องไม่มากเกินที่น้ำจะล้นออกจากร่องน้ำจะไหลซึมมาพบกันเมื่อการให้น้ำสิ้นสุดลง
การชลประทานแบบนี้ เหมาะสำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทสม่ำเสมอระหว่าง 1 – 8 เปอร์เซ็นต์ เหมาะกับพืชที่ปลูกเป็นแถวหรือหว่านด้วยเมล็ด และไม่มีการไถพรวนต่อไป
2.2. การชลประทานแบบใต้ผิวดิน (Subsurface Irrigation) เป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการยกระดับน้ำใต้ดินให้สูงขึ้นมาอยู่ในระดับที่น้ำจะไหลซึมมาสู่ระดับเขต รากพืชได้ความลึกของระดับน้ำใต้ดินในขณะที่ท้าการให้น้ำขึ้นอยู่ระหว่าง 30 – 60 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของดินและความลึกของเขตรากพืชที่ปลูก การให้น้ำแบบใต้ดินนี้ เหมาะสำหรับดินที่มีเนื้อดินสม่ำเสมอ และมีความสามารถให้น้ำซึมผ่านได้ดีพอที่จะให้น้ำไหลได้ทั้งแนวราบและแนวดิ่ง พื้นที่ควรจะมีระดับเรียบและ มีระดับเดียวกัน พืชที่นิยมการให้น้ำแบบนี้ ได้แก่พวกพืชไร่ หญ้าเลี้ยงสัตว์ไม้ดอกไม้ประดับและผักต่างๆ แต่ไม่เหมาะกับพืชสวนหรือไม้ยืนต้น
วิธีการยกระดับน้ำใต้ดินสามารถทำได้ 3 วิธีคือ
1. การส่งน้ำให้ไหลไปตามคูส่งน้ำ
2. การส่งน้ำให้ไหลไปตามท่อที่ฝังไว้ใต้ดิน
3. การส่งน้ำแบบรูตุ่น (Mole Drains)
การส่งน้ำให้ไหลไปตามคูส่งน้ำ เป็นการชลประทานแบบใต้ผิวดินที่นิยมใช้กันมากกว่าการให้น้ำแบบในท่อเพราะการให้น้ำแบบนี้ จะมีราคาถูกกว่าการให้น้ำแบบท่อ คูส่งน้ำจะขุดขึ้นตามแนวเส้นขอบเนินเป็นระยะๆ ระยะห่างระหว่างคูจะไม่ห่างกันเกินไป เพื่อให้น้ำสามารถไหลซึมเข้าไปในดินได้อย่างทั่วถึง และ สามารถระบายออกได้เมื่อต้องการ คูที่ใช้ควบคุมระดับน้ำใต้ดินนี้ จะเชื่อมต้องกับคูส่งน้ำ ซึ่งจะมีอาคาร ชลประทานทำหน้าที่คอยควบคุมน้ำในคูให้อยู่ในระดับที่ต้องการ
การส่งน้ำให้ไหลไปตามท่อที่ฝังไว้ใต้ดิน เป็นการชลประทานที่ลงทุนสูงเพราะท่อที่ฝังไว้ใต้ดินจะเป็น ท่อใยหิน (Asbestos) หรือท่อ พีวีซีที่เจาะรูพรุนรอบๆ ท่อ ท่อนี้จะฝังลึกประมาณ 60 – 100 เซนติเมตร จากผิวดินขึ้นอยู่กับพืชที่ปลูกโดยมีความลาดเทเล็กน้อยวางเป็นแนวขนานกัน และขนานกับความลาดเทของพื้นที่ โดยส่วนปากท่อจะต่อเข้ากับคูส่งน้ำท้าหน้าที่รับน้ำส่งไปยังพื้นที่ ส่วนปลายล่างจะต่อเข้าท่อที่ท้าเป็นทาง ระบายน้ำที่เกินความต้องการออกไป
ตารางที่ 2.1 ข้อดีข้อเสียการชลประทานแบบใต้ดิน
2.3 การชลประทานแบบฉีดฝอยหรือฝนเทียม (Sprinkler Irrigation) การชลประทานแบบนี้ จะเป็นการให้น้ำแก่พืชโดยการฉีดน้ำขึ้นไปในอากาศแล้วตกลงมาเป็นฝอยคล้ายเม็ดฝน แล้วตกลงมาบนพื้นที่แปลงเพาะปลูกโดยสม่ำเสมอ ซึ่งมีอัตราของน้ำที่ตกลงมาน้อยกว่าอัตราการซึมของน้ำเข้าไปในดิน การชลประทานแบบนี้ ใช้ได้กับพืชและดินเกือบทุกชนิด แต่เนื่องจากการลงทุนของระบบชลประทาน แบบนี้ จะสูงมาก การเลือกระบบชลประทานวิธีนี้จะใช้ต่อเมื่อระบบการชลประทานแบบอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ หรือใช้ได้แต่ให้ประสิทธิภาพต่ำ การเลือกใช้ชลประทานแบบนี้ เมื่อมีสภาพพื้นที่และดินดังนี้
1. ดินที่เป็นดินร่วนปนทรายถึงดินทราย การชลประทานแบบอื่นไม่ได้ผลมีประสิทธิภาพต่ำ
2. ความลึกของหน้าดินตื้น ลักษณะพื้นที่ไม่เหมาะสมที่จะทำการปรับพื้นที่เพื่อการใช้ระบบการ ชลประทานแบบผิวดิน
3. พื้นที่ที่มีความลาดชันมาก และดินเกิดการพังทลายได้ง่าย
4. พื้นที่เป็นคลื่น ถ้าทำการชลประทานแบบผิวดินจะต้องปรับพื้นที่ท้าให้ต้องลงทุนสูง
5. ปริมาณน้ำที่ใช้ในการชลประทานมีน้อยเกินไปที่จะใช้ทำการชลประทานแบบผิวดิน
ตารางที่ 2.2 ข้อดีและข้อเสียระบบชลประทานแบบฉีดฝอย
1. ระบบน้ำ
1.1 ระบบการให้น้ำแบบธรรมดา
คือ การดึงน้ำออกจากแหล่งน้ำดิบโดยเครื่องสูบน้ำ หรือการดึงน้ำจากระบบประปาของชุมชน ผ่านมาตรวัด น้ำเข้าสู่ท่อลำเลียงน้ำที่ฝังอยู่ใต้ดินในพื้นที่การจัดภูมิทัศน์ ท่อลำเลียงน้ำที่นิยมมีอยู่ 3 ชนิด คือท่ออาบสังกะสี (galvanized iron pipe) ท่อความดันที่ผลิตจากโพลีมินีน (polyvinyle chloride) หรือท่อ PVC ท่อ และท่อที่ทนแรงน้ำ (polyethylene-PE) ทนแรงดันน้ำสูง (height density) ใช้กับระบบการให้น้ำแบบฝนโปรย ถ้าท่อแรงดันน้ำต่ำ (low density) ใช้กับการให้น้ำแบบหยด
การลำเลียงน้ำจะผ่านท่อดังกล่าวแบบใดแบบหนึ่ง และโผล่ปลายท่อขึ้นเนื้อดินเป็นจุดๆ ห่างกันประมาณจุดละ 15.0 ถึง 20.00 เมตรตามขอบแปลงชิดกำแพง หรือตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อต่อเข้ากับก๊อกสนาม (faucet) ที่ทำหน้าที่ควบคุมปิดเปิดการจ่ายน้ำ
วิธีการนำน้ำไปใช้รถพืชพรรณ
ที่ปฏิบัติโดยทั่วไปคือ ก๊อกสนาม-สายยาง (hose-bib) แล้วปลายอีกด้านหนึ่งต่อเข้ากับหัวให้น้ำแบบต่างๆ เช่น ต่อเข้ากับหัวให้น้ำแบบหัวพ่นหมอก (nozzle) หรือแบบ spray gun โดยใช้คนควบคุมการให้น้ำ ต่อเข้ากับสายยางให้น้ำฝนแบบฝนโปรย (sprinkler hose) การให้น้ำแก่พืชเป็นฝอยละเอียดเหมาะสำหรับสนามหญ้าแคบๆ แปลงดอกไม้ต่อเข้ากับผัวให้น้ำแบบฝนโปรยต่างๆแล้วปล่อยให้ทำงานเอง เช่น แบบสายแกว่งไปมา แบบหัวหมุนรอบตัว แบบหัวเหวี่ยง แบบมีล้อเคลื่อนอย่าให้ และแบบไม่เคลื่อนตัว
การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
หลังเสร็จสิ้นการให้น้ำแต่ละครั้ง ปิดก๊อกน้ำที่ควบคุมระบบการจ่ายน้ำ เก็บม้วน สายยาง เก็บหัวให้น้ำแบบต่างๆ และตรวจการอุดตันที่จะเกิดสิ่งสก ปรกหยอดน้ำมันหล่อลื่นที่แกนหมุน และเก็บไว้ในสถานที่เก็บให้เรียบร้อย
หมั่นตรวจรอยเชื่อมต่อระหว่างท่อลำเลียงน้ำแต่ละช่วง โดยเฉพาะช่วงต่อขึ้นมาเหนือดินที่ติดเข้ากับก๊อกสนาม อาจหลุดหรือหักได้ เนื่องจากการลากสายยางเวลาให้น้ำแก่พืชพรรณ วิธีการซ่อมบำรุงหรือป้องกัน คือ การเทคอนกรีตหุ้มเสา ปล่อยเฉพาะส่วนหัวก๊อกสนามไว้ และตกแต่งเสาหุ้มให้สวยงาม
ระบบการให้น้ำแบบฝนโปรยก้านเสียบเร็ว (rain spray quick coupling)
ระบบการให้น้ำแก่พันธุ์พรรณแบบนี้ เหมาะสำหรับสนามหญ้ามากที่สุด โดยการวางท่อฝังลำเลียงน้ำใต้ดินจากถังความดัน (pressure tank) แล้ววางจุดเพื่อรับหัวก้านเสียบขึ้นเป็นจุดๆ ตามตำแหน่งการให้น้ำที่เหมาะสม ผู้ดูแลการให้น้ำจะนำก้านเสียบมาเสียบตามจุด หรือตำแหน่งที่กำหนดไว้ (quick coupling valve) ครั้งละจุด หรือหลายๆจุดพร้อมกันก็ได้ ระบบการให้น้ำแบบนี้ประหยัดหัวฉีด เพราะสามารถเคลื่อนย้ายไปใช้ตามจุดต่างๆได้
1.2 ระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดินทั้งบริเวณ
แบบนี้เหมาะสำหรับงานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่ ใช้งบประมาณในการติดตั้งสูงแบบประหยัดเวลาครอบคลุมพื้นที่ได้อย่างทั่วถึง มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย สวยงามไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้สอยพื้นที่ ระบบปิดเปิดควบคุมการทำงาน ทำได้ทั้งใช้คนควบคุมระบบควบคุมกึ่งอัตโนมัติ หรือระบบควบคุมแบบอัตโนมัติ
การวางระบบการให้น้ำแบบหัวฉีดฝังใต้ดิน เป็นงานซับซ้อนมีความประณีต มีปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ ควบคุมได้เข้ามาเกี่ยวข้องอย่างมากมาย เช่น กระแสลม แสงแดด การระเหยน้ำ การสูญเสียน้ำ การเลือกหัวฉีดแบบฝนโปรยที่เหมาะสมกับชนิดของพรรณ ไม้ชนิดของพื้นที่ รวมถึงระบบแรงดันน้ำ ความเพียงพอของแหล่งน้ำ และความสะอาดสะอาดของน้ำ
แต่ส่วนใหญ่แล้วจะวางระบบควบคุมเป็นแบบอัตโนมัติ คือ การให้น้ำที่มีเครื่องควบคุมปิดเปิดโดยอัตโนมัติโดยตั้งเวลาการให้น้ำไว้โดยเรียบร้อย เมื่อถึงเวลากำหนดจะทำงานเอง หัวฉีดน้ำจะโผล่ขึ้นมาเหนือดินโดยแรงดันน้ำ และยุบตัวลงไปในกระบอกเมื่อเก็บเมื่อการให้น้ำสิ้นสุดเรียกระบบการให้น้ำแบบนี้ว่าแบ่งหัวให้น้ำขึ้นลงได้ตามภารกิจ (pop-up system)
หัวฉีดพ่นน้ำแบบ pop up System มีหลายแบบ 1) แบบพ่นออกเป็นฝอยละอองคล้ายหมอก (spray pop-up sprinkler) ลักษณะการพ่นเป็นฝอยละอองรอบทิศทางและควบคุมทิศทาง และ 2) แบบหัวเหวียงพ่นน้ำเป็นทิศทางเดียวหรือหัวหมุนรอบ (rotor pop-up sprinkler) สามารถปรับความอยากความละเอียดของการพ่นน้ำได้ ขณะเดียวกันสามารถสร้างตั้งองศาของการทำงานได้ด้วย
องค์ประกอบของระบบประกอบด้วย สถานีส่งน้ำ (pump house) ถังควบคุมแรงดัน ระบบควบคุมปิดเปิดน้ำแบบอัตโนมัติ (automatic controller) อุปกรณ์กรองน้ำให้สะอาด ท่อลำเลียง(ส่งน้ำ) เป็นท่อที่มีความทนทานต่อแรงดันน้ำ นิยมใช้ท่อ อีพี (polyethylene-PE) เป็นท่อม้วนสีดำ จุดกำหนดการให้น้ำแบบ pop-up
ท่อส่งน้ำ
ท่อถูกนำมาใช้ในระบบการให้น้ำตั้งแต่การลำเลียงน้ำ จากแหล่งน้ำมาถึงหัวปล่อยน้ำ ซึ้งผู้ใช้ระบบน้ำต้องพิจารณาว่าต้องใช้ท่อชนิดใด ขนาดใด เป็นท่อเมน ท่อเมนย่อย และท่อย่อย ท่อส่วนมากจะใช้ 2 คือท่อพีวีซี ( PVC ) และท่อ ( PE )
ท่อพีวีซี ( PVC )
ท่อชนิดนี้เป็นท่อพลาสติกมีน้ำหนักเบา เชื่อมต่อกันได้ง่ายสามารถเชื่อมต่อกับท่อชนิดอื่นได้ด้วย ไม่เป็นสนิม ทนต่อการกัดกร่อนของกรดและสารเคมี แต่มีข้อเสียคือ เมื่อถูกทับด้วยน้ำหนักมาก ๆ อาจเกิดการแต่กหักได้ หรือเกิดการกรอยแต่กได้ง่ายเมื่ออยู่ในที่แดดจัดเป็นเวลานานๆ แต่เนื่องจากท่อพีวีซี มีความยาวมาตรฐาน 4 เมตร และขนาดมาตรฐานที่มีขายทั่วไปมีตั้งแต่เส้นผ่าศูนย์กลาง ½ นิ้ว ถึง 16 นิ้ว ข้อควรคำนึงในการใช้ท่อพีวีซีกับระบบการให้น้ำอีกข้อหนึ่งคือขนาดความหนาของท่อ ซึ่งความหนาของท่อจะมีผลต่อแรงดันของน้ำ ซึ่งระบบค่าการรับแรงดันของท่อพีวีซีกำหนดไว้เป็นชั้น ( class ) ตามมาตรฐาน ดังนี้
ชั้น 5 หมายถึง รับแรงดันของน้ำได้สูงสุด 5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
ชั้น 8.5 หมายถึง รับแรงดันของน้ำได้สูงสุด 8.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
ชั้น 13.5 หมายถึง รับแรงดันของน้ำได้สูงสุด 13.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
ท่อพีอี ( PE )
เป็นท่อโพลีเอทธิลีนที่มีสีดำ จึงมักเรียกว่าท่อดำ เป็นท่อซึ่งผลิตเพื่อระบบเกษตร เรื่องจากท่อพีอี ขนาดเล็กจะมีราคาถูกกว่าท่อชนิดอื่น ๆ ตัดจ่อง่านและเจาะรูง่าย ทำให้สะดวกในการติดตั้งมีน้ำหนักเบาและมีความยึดหยุ่นสูงกว่าท่อพีวีซีมาก จึงสามารถรับแรงกดทับได้โดยไม่แต่กหัก มีความยาวตั้งแต่ 50 – 200 เมตร จึงสามารถลดจำนวนข้อต่อลงไปได้มากขนาดของท่อนิยมเรียกเป็น มิลลิเมตร สำหรับค่าที่บอกถึงความสามารถในการรับแรงดันกำหนดไว้เป็นชั้นตัวเลข (PN) ดังนี้
PN 2.5 หมายถึงรับแรงดันน้ำได้สูงสุด 2.5 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
PN 4 หมายถึงรับแรงดันน้ำได้สูงสุด 4 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
PN 6.3 หมายถึงรับแรงดันน้ำได้สูงสุด 6.3 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
PN 10 หมายถึงรับแรงดันน้ำได้สูงสุด 10 กิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร
ท่อพีอี แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ท่อพีอีความหนาแน่นต่ำ (LDPE) มีความยาวตั้งแต่ 50 – 200 เมตร โค้งงอและม้วนได้ สามารถเจาะหรือต่อหัวจ่ายน้ำได้ง่ายจึงนิยมใช้เป็นท่อย่อย อีกชนิด คือ ท่อพีอีความหนาแน่นสูง (HDPE) มักใช้เป็นท่อเมนหรือท่อย่อย ท่อขนาดไม่เกิน 63 มิลลิเมตร สามารถม้วนได้ที่ความยาว 50 เมตร ส่วนท่อขนาดใหญ่ผลิตเป็นท่อนความยาว 6 เมตร และท่อที่มีขนาดตั้งแต่ 50 มม. ขึ้นไปจะมีราคาสูงกว่าท่อพีวีซี
หมายเหตุ
1.ท่อ LDPE ขนาดท่อ 16-25 มม. ยาวม้วนละ 100 เมตร
2.ท่อ HDPE ขนาดท่อ 32-50 มม. ยาวม้วนละ 100 เมตร
หัวปล่อยน้ำ หรือ หัวสปริงเกลอร์ ( Sprinkler Head )
เป็นอุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่รับน้ำมาจากท่อย่อย และจ่ายให้กับต้นพืชตามปริมาณที่กำหนดหัวปล่อยน้ำมีมากมายหลายแบบ ซึ่งผู้ใช้ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับชนิดของพืช สิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณา คืออัตราการจ่ายน้ำ หมายถึงปริมาณน้ำต่อหน่วยเวลา แรงดันที่ใช้ของหัวปล่อยน้ำ รูปแบบการกระจายน้ำ
หัวสปริงเกลอร์ ทำหน้าที่จ่ายน้ำโดยฉีดน้ำออกจากหัวฉีดไปในอากาศให้แต่กกระจายเป็นเม็ดน้ำเล็กๆ ตกลงมายังพื้นที่เพาะปลูกพืชพรรณ การกระจายน้ำมีรูปแบบวงกลม หรือแบบท่อมีรูเล็กๆ ให้ฉีดน้ำออกมาตลอดความยาวของท่อ ระบบสปริงเกลอร์ต้องการ 2 สิ่ง คือ อัตราการไหลของน้ำและแรงดัน หากแรงดันไม่พอระบบจะใช้งานได้ไม่ดี แรงดันจึงเป็นเหมือนพลังงานในการผลักดันให้สปริงเกลอร์ทำงาน จึงได้อัตราการไหลของน้ำออกมาอย่างถูกต้อง แต่ก่อนที่น้ำจะไหลมาถึงบริเวณหัวสปริงเกลอร์จะเสียแรงดันไปในเส้นทางที่ผ่าน เช่น มิเตอร์วัดน้ำ ท่อ วาล์ว ข้อต่อและประตูน้ำต่างๆ แล้วจึงผ่านมายังหัวสปริงเกลอร์ และต้องมีแรงดันเหลือพอให้หัวสามารถที่จะทำงานได้ แรงดันมีผลต่อการกระจายของน้ำให้โปรยทั่วพื้นอย่างสม่ำเสมอ
หัวฉีดแบบพ่นฝอย ( Spray Heads )
หัวฉีดแบบหมุนรอบ ( Rotary Nozzles )
หัวจ่ายน้ำแบบหมุนรอบ ( Rotors )
หัวจ่ายน้ำแบบก้านกระแทก ( Impacts )
หัวรดน้ำแบบต่อสวมเร็ว ( Quick Coupling Systems )
เครื่องกรอง ( Fitter )
เครื่องกรองถือว่าเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งในระบบการให้น้ำที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งแก้ปัญหาการอุดตันของหัวปล่อยน้ำได้ เนื่องจากหัวปล่อยน้ำมีรูจ่ายน้ำที่มีขนาดเล็กมาก เศษผงต่างๆ ที่ถูกดูดผ่านเครื่องสูบน้ำเข้าไปในท่อจะอุดตันที่รูจ่ายน้ำระบบการกรองใช้ในการกรองเอาอนุภาคเล็กๆ ออกมาให้เหลืออนุภาคที่เล็กมากพอที่จะไม่อุดทางออกของการจ่ายน้ำ เครื่องกรองน้ำที่นิยมใช้ในระบบการให้น้ำในงานภูมิทัศน์แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ไส้กรองแบบตะแกรง (Screen Filter) ไส้กรองแบบดิกส์หรือกรองแบบแหวน ( Disc Filter)
เครื่องสูบน้ำ(Pumping unit) หรือ Source of supply
เป็นแหล่งกำเนิดน้ำอาจจะทำ โดยการสูบน้ำจากแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มความดันให้หัว Sprinkler เครื่องนี้ อาจจะเคลื่อนด้ายเครื่องยนต์หรือ มอเตอร์ไฟฟ้าก็ได้
ปั๊มน้ำ นั้นมีมากมายหลายแบบ เช่น ปั้มน้ำบาดาล, ปั้มบาดาล, ปั้มหลายใบพัด, ปั้มหอยโข่ง, ปั้มหอย โข่งหลายใบพัด, ปั้มเคมี, ปั้มเฟือง, ปั้มแช่, ปั้มได้โว่, ปั๊มได้อะแฟรม , Booster pump ในการ ใช้งาน การเกษตร ที่ใช้งานกันส่วนใหญ่เป็น ปั๊มน้ำหอยโข่ง ใบพัดเดี่ยว หรือหลายใบพัด ปั๊มแช่ หรือ ได้โว่ ก็ใช้บ้างแต่ส่วนใหญ่ใช้กับบ่อปลามากกว่าปั๊มหอยโข่ง หลายใบพัด INTERSIGMA - MULTITAGES PUMP เหมาะสำหรับงานที่ต้องการน้ำมาก และต้องการส่งไกล
ปั้มน้ำหอยโข่ง self-priming ชนิดหลายใบพัด สำหรับงานที่ต้องการส่งสูงๆ ส่งได้ถึง 130 เมตร จ่าย น้ำได้สูงสุดถึง 12,000 ลิตรต่อชั่วโมง ดูดน้ำลึกได้ 8 เมตร ปั๊มสูบน้ำแรงอัดสูงเพื่องาน อุตสาหกรรม งานอัดฉีด FEED BOILER งานชลประทาน งานอัดเข้า SPRINKLESS เพื่อใช้ในสวนเกษตร จัดสวนหย่อมหรือสนามหญ้าที่ต้องการปริมาณน้ำมากและแรงอัดสูงทนทานและแข็งปั๊มอัดฉีดแรงสูงเพื่ออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ หรือ งานอัดฉีดน้ำที่ต้องการน้ำมากและแรงอัดสูง เหมาะสำหรับส่งน้ำขึ้นเขาหรือเนินสูง ใบพัดท้าจากเหล็กหล่อชนิดแข็งจึงมีความแข็งแรงและทนทาน
ประตูน้ำ หรือ วาว์ล
หน้าที่หลักของประตูน้ำ คือการควบคุมการเปิดและปิดน้ำ ควบคุมปริมาณการไหลของน้ำ ประตูน้ำมีหลายชนิดและหลากหลาย ตลอดจนวัสดุที่ใช้ทำจะแต่กต่างออกไปแต่จะมีลักษณะการทำงานอยู่ 2 ลักษณะ คือ
ใช้เกลียวเป็นตัวยกและปิดจานควบคุมช่องทางการไหลของน้ำ ( Gate Valve )
ใช้ลูกปืนกลมเป็นตัวควบคุมช่องการทางการไหลของน้ำ ( Ball Valve )
วาล์วไฟฟ้าควบคุมการจ่ายน้ำ (Solinoide Valve ) มีขนาดทางน้ำเข้าและทางน้ำออก
แผ่นได้อะแฟรมได้รับการออกแบบให้สามารถรองรับแรงกระแทกเมื่อมีการเปิด-ปิดวาล์ว สกรูน็อตยึดกับตัวฝาครอบวาล์ว เมื่อทำการถอดและประกอบทำให้สะดวกในการดูแลและซ่อมแซมวาล์วทุกตัวใช้เกลียวมาตรฐาน BSP และสามารถติดตั้งร่วมกับอุปกรณ์ควบคุมแรงดันน้ำ (Accu-set) ได้
เกจวัดแรงดันน้ำ
ควรใช้เกจวัดแรงดันติดตั้งในบริเวณท่อส่งใกล้กับเครื่องสูบน้ำ (PUMP) เมื่อเดินเครื่องสูบน้ำแล้วแรงดันจะปรากฏบนเกจโดยเข็มจะกระดิกไปทำให้ทรายได้ว่าเครื่องสูบน้ำทำงานด้วยแรงดันเท่าไร
บางครั้งอาจใช้เกจวัดแรงดันติดตั้ง 2 จุด ก่อนและหลังเครื่องกรองน้ำ เพื่อวัดแรงดันของน้ำที่ไหลผ่านกรอง หากสังเกตพบว่าแรงดันที่อ่านได้จากเกจ ซึ่งอยู่หลังเครื่องกรองน้ำต่ำกว่าแรงดันของ
เกจที่อยู่หน้าเครื่องกรองน้ำมาก แสดงว่าเครื่องกรองน้ำเริ่มอุดตันน้ำไหลผ่านไม่สะดวก จะต้องถอดไส้กรองออกมาล้างทำความสะอาด
ตัวควบคุมอัตโนมัติ (Controller)
ตู้ควบคุมระบบรดน้ำต้นไม้อัตโนมัติ สามารถควบคุมได้ตั้งแต่ระบบเล็ก เช่นบ้านพักอาศัย ไปจนถึงระบบใหญ่ เช่นสวนสาธารณะ สนามกีฬา หรือสนามกอล์ฟ หน้าจอแสดงผลมีขนาดใหญ่ ตั้งโปรแกรมการทำงาน สามารถปรับการให้น้ำตามฤดูกาล มีโปรแกรมหน่วงเวลาระหว่างสถานี มีระบบควบคุมด้วยมือ และสามารถรักษาข้อมูลไว้ได้นาน โดยไม่ต้องมีแบตสำรองข้อมูล สามารถต่อกับเซนเซอร์ตัดการจ่ายน้ำอัตโนมัติกรณีฝนตกได้ มีทั้งแบบสั่งการด้วยกระแสไฟฟ้าโดยตรง หรือสั่งการด้วยแบตเตอรี่
เซนเซอร์ (Sensor)
อุปกรณ์ทำหน้าที่ตรวจวัดสภาพภูมิอากาศ เช่น ตรวจวัดปริมาณน้ำฝน ปริมาณแสงแดด อุณหภูมิ หรือแรงลม เพื่อประมวลผลและส่งข้อมูลให้ตู้ควบคุมการรดน้ำ (Controller) สั่งการจ่ายน้ำหรือหยุดจ่ายน้ำ ตัวอย่างเช่น ตั้งเวลาตู้ควบคุมให้ทำการรดน้ำในเวลา 8.00 น. ทุกวัน เครื่องก็จะทำงานทุกวันเวลา 8.00 น. แม้ฝนตกเครื่องก็ยังคงทำงานตามเดิม ถ้าติดตั้งเซนเซอร์ตรวจจับปริมาณน้ำฝน (mini click) เมื่อฝนตกเซนเซอร์จะสั่งการตัดการทำงานของตู้ Controller ช่วยให้พืชได้น้ำตามปริมาณที่ต้องการจริง และยังลดการสูญเสียน้ำได้เป็นอย่างดี
ข้อต่อต่างๆ ในระบบท่อไม่ว่าเป็นท่อเหล็ก ท่อพีวีซี หรือท่อพีอี จะมีข้อต่อลักษณะต่างๆ เพื่อสะดวกในการใช้งาน ในระบบน้ำจะใช้ท่อชนิดต่างๆ บางครั้ง อาจใช้รวมกัน
การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
หมั่นตรวจสอบระบบการส่งน้ำ ระบบการกรองน้ำ ระบบความควบคุมแรงดัน ระบบควบคุมเวลาอัตโนมัติให้อยู่ในสภาพพร้อมการใช้งาน ตรวจสอบการอุดตันของหัวพ่นน้ำ ทั้งแบบพ่นฝอยละอองคล้ายหมอกและแบบหมุนเวียน ทำตำแหน่งจุดหัวพ่นให้ชัดเจนสวยงาม เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่เกิดจากการใช้เครื่องมือตัดหญ้าสนาม
1.3 ระบบการให้น้ำแบบหยด
การให้น้ำแบบหยด เป็นวิธีการให้น้ำแก่พืชแต่ละต้นโดยตรง ในกรณีการปลูกพืชเป็นแถว หรือการให้น้ำแก่พืชที่ปลูกเป็นกลุ่ม โดยมีการควบคุมปริมาณน้ำที่ส่งให้กับพืชครั้งละน้อยอย่างสม่ำเสมอ ด้วยหัวปล่อยน้ำที่เรียกว่า emitter ซึ่งเป็นท่อจ่ายน้ำขนาดเล็กซึ่งผลิตจาก low density polyethylene resin ที่ติดไว้ตามจุดของท่อจ่ายน้ำ ตามระยะห่างของต้นพืชหรือกลุ่มพืช น้ำที่ปล่อยจากหัวให้น้ำต้องมีความเหมาะสมกับความต้องการของน้ำของพืช
การให้น้ำแบบหยดเหมาะสมกับการปลูกพืชแบบเป็นระเบียบ แปลงปลูกดอกไม้ การปลูกต้นไม้เป็นกลุ่ม แต่ไม่เหมาะสมกับการให้น้ำแก่สนามหญ้า
องค์ประกอบของระบบการให้น้ำแบบหยด ประกอบด้วย เครื่องกำเนิดแรงดันน้ำคือปั๊มน้ำต้องเหมาะสมเครื่องควบคุมความดันของน้ำ เป็นเครื่องวัดความดันของน้ำ เครื่องกรองน้ำมีความสำคัญมาก เพราะบางครั้งน้ำดิบจากแหล่งน้ำมีความสะอาดไม่เพียงพอเครื่องควบคุมระบบปิดเปิดการจ่ายน้ำตามเวลาที่กำหนดท่อประธาน (maim line) เป็นท่อหลักที่ลำเลียงน้ำจากปั๊ม เพื่อจ่ายน้ำเข้าสู่ท่อแยกประธานเป็นท่อ EP ฝังอยู่ใต้ระดับผิวดิน ท่อแยกประธาน (sub main line) เป็นท่อแขนงแต่ละสาย โดยมากฝังอยู่ใกล้ระดับผิว เพื่อส่งน้ำผ่านท่อแขนง ท่อแขนง (lateral line) เป็นท่อที่ต่อแยกจากท่อแยกประทาน เพื่อเสียบหัวปล่อยน้ำวางอยู่ใกล้ระดับผิวดิน และหัวปล่อยน้ำ (emitter) ทำหน้าที่ควบคุมการไหล หรือหยดของน้ำจาก ท่อแขนงสู่แปลงปลูกต้นไม้ หลุมปลูกต้นไม้
การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
ตรวจสอบสิ่งสกปรกเข้าสู่เครื่องสูบน้ำ ตรวจสอบหัวจ่ายน้ำที่ทำงานเป็นปกติ เพราะหัวจ่ายน้ำมีโอกาสตันได้ถ้ามีสิ่งปฏิกูล เนื่องจากน้ำสกปรก
2. ระบบการระบายน้ำ (drainage system)
ระบบการระบายน้ำเป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดระบบหนึ่งของงานภูมิทัศน์ ถ้าระบบการระบายน้ำไม่ดี ไม่สะดวก จะมีผลต่อการใช้สอยพื้นที่สิ่งก่อสร้าง การเจริญเติบโตของพืชพรรณ ทำให้พื้นที่ฉ่ำน้ำ แฉะ เนื่องจากการระบายน้ำไม่ออก การวางระบบน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น
การระบายน้ำ เป็นวิธีการกำจัดน้ำที่มากเกินความต้องการออกจากพื้นที่ โดยใช้วิธีการระบายน้ำแบบผิวดิน (surface drain)แบบร่องคู (ditch drain) และที่นิยมมาก สำหรับการระบายน้ำในงานภูมิทัศน์ คือ แบบร่องเปิด (open ditch drain) และแบบร่องมีฝาปิดเปิด สำหรับทำความสะอาด และวางท่อระบายน้ำใต้ดิน (tile drain) คือ การที่น้ำซึมผ่านชั้นดินลงสู่ท่อระบายน้ำ ผ่านรูพรุนที่เจาะไว้ เหมาะสำหรับสนามหญ้า
การดูแลรักษาและซ่อมบำรุงท่อระบายน้ำแบบร่องเปิดและแบบร่องมีฝาปิด-เปิด
ความสำคัญและประโยชน์ของการระบายน้ำ
หากพิจารณาอย่างผิวเผินแล้วอาจคิดว่า การระบายน้ำของพื้นที่เพาะปลูกนั นไม่มีความสำคัญ และไม่มีความจำเป็นเหมือนการชลประทาน จึงไม่ต้องให้ความสนใจ หรือคำนึงถึงเรื่องการระบายน้ำของพื้นที่เพาะปลูกให้มากนักก็ได้ แต่เมื่อมีการชลประทานก็ย่อมต้องมีการระบายน้ำด้วย เพราะบนพื้นที่เพาะปลูกเมื่อมีการชลประทานหรือฝนตกก็อาจมีน้ำขังและใต้ดินก็อาจจะมีระดับน้ำใต้ดินสูงท่วมรากพืชได้ กว่าจะระบายทิ้งไปได้เองตามธรรมชาติ หรือระเหยแห้งไปเองตามธรรมชาติก็เสียเวลานาน การที่ดินมีน้ำมากเกินไปจะมีผลเสียต่อพืชและสิ่งแวดล้อมหลายประการคือ
1. ดินที่มีน้ำอิ่มตัวโดยตลอด น้ำจะเข้าไปแทนที่อากาศในดินหมด ท้าให้ขาดการถ่ายเทอากาศในดินระบบรากพืชจะขาดอากาศ กล่าวคือนอกจากจะทำให้รากพืชขาดออกซิเจนแล้วยังป้องกันไม่ให้รากคายคาร์บอนได้ออกไซด์ได้โดยสะดวกอีกด้วย ยิ่งกว่านั้นการขาดออกซิเจนจะท้าให้การเน่าของอินทรีย์ช้าลงทำให้พืชได้รับไนโตรเจนช้าลงด้วย และได้รับสารที่เป็นพิษที่เกิดจากปฏิกิริยาที่ขาดออกซิเจนแทนเช่นไฮโดรเจนซัลไฟด์และดีเซนซึ่งจะเป็นเหตุให้พืชตายได้ และหากทิ้งไว้นานๆ จะเป็นผลเสียแก่ดินด้วย
2. การที่มีระดับน้ำใต้ดินสูงเกินไป ระดับน้ำนั้นจะกั้นรากพืชมิให้หยั่งลึกลงไปในดินได้เต็มที่รากพืชจะตื้น และมีจำนวนน้อยกว่าที่ควรเป็น ทำให้รากดูดหาอาหารไปเลี้ยงล้าต้นไม่พอ และอาจท้าให้พืชขาดน้ำเร็วขึ้นเมื่อน้ำใต้ดินลดลง
3. ดินที่มีน้ำขังแฉะตลอดเวลา ทำให้โครงสร้างของดินเลวลง ดินที่เคยมีโครงสร้างโปร่งจะทึบแน่นได้ ไม่เป็นผลดีแก่การเจริญเติบโตของรากพืช รากพืชที่มีอยู่ก็จะเน่าตายได้
4. ถ้าหากน้ำหรือดินมีเกลือมาก เช่น พื้นที่ชายทะเล หรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย เมื่อมีน้ำใต้ดินที่อยู่สูงใกล้ผิวดินระเหยไป จะเหลือแต่เกลือสะสมตกค้างอยู่เขตรากพืชหรือผิวดินทำให้พื้นที่บางแห่งไม่สามารถปลูกพืชได้เลย เพราะความเค็มของเกลือ
5. ดินที่เปียกแฉะจะทำให้เมล็ดพืชที่หว่านเน่าหรืองอกช้า เพราะดินเปียกมีอุณหภูมิต่ำต้องใช้พลังงานแสงอาทิตย์มาก และนานเพื่อให้ดินอุ่นพอที่เมล็ดพืชงอก คือต้องให้น้ำระเหยออกไปก่อนนั้นเอง ทำให้ระยะเวลาการเพาะปลูกสั้นลง หรือปลูกพืชไม่ทันกับฤดูกาล
6. ทำให้โรคพืช และวัชพืช หรือพืชน้ำที่ไม่มีประโยชน์ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
7. ดินที่เปียกมากย่อมท้าให้เป็นอุปสรรคขัดขวางการเก็บเกี่ยว หรือการใช้เครื่องจักรกลเกษตรในการทำงาน
ประโยชน์ของการระบายน้ำ
การระบายน้ำที่ดีจะให้ประโยชน์แก่เกษตรชลประทาน และสังคมได้ในหลายทาง เช่น
1. อำนวยความสะดวกให้แก่การไถ และปลูกพืชในตอนต้นฤดูกาลเพาะปลูก
2. ช่วยขยายฤดูกาลเพาะปลูกให้ยาวนานยิ่งขึ้น
3. ช่วยเพิ่มอาหารพืช และเพิ่มความชื้นที่พืชจะน้ำไปใช้ โดยการท้าให้ดินในบริเวณที่รากพืชจะ
หยั่งลงไปได้ให้ลึกขึ้น
4. ช่วยท้าให้การถ่ายเทอากาศในดินดีขึ้น
5. ลดการกัดเซาะ และเกิดร่องน้ำบนผิวดิน โดยการเพิ่มปริมาณน้ำาที่ซึมลงไปในดิน
6. ช่วยเพิ่มความเหมาะสมให้แก่การเจริญเติบโตของแบคทีเรียในดิน
7. ชะล้างเกลือที่มากเกินออกจากดิน
8. ท้าให้อุณหภูมิในดินสูงขึ้นในกรณีอากาศเย็นจัด
9. ท้าให้การสุขาภิบาลดีขึ้น อันท้าให้สุขภาพและความเป็นอยู่ในชนบทดีขึ้น
ทางระบายน้ำแบบคูระบายน้ำ (Open ditch drain) อาคารระบายน้ำแบบน้ำ จะมีลักษณะเป็นคูเปิดเช่นเดียวกับคลองส่งน้ำ แต่ท้าหน้าที่กลับกันโดยปกติแล้วจะใช้ในการระบายน้ำผิวดินหรือเป็นที่รวบรวม
น้ำจากท่อระบายน้ำไปสู่ที่ทิ้งน้ำ คูระบายน้ำนี สามารถใช้ระบายน้ำได้ทั้งน้ำผิวดินและน้ำใต้ดินในขณะเดียวกัน
ข้อดีของคูระบายน้ำ คือ
- ค่าลงทุนต่ำไม่มีปัญหาเรื่องรากพืชมาอุดตันเหมือนท่อระบายน้ำ
- ระบายน้ำได้เร็วเพราะมีขนาดใหญ่ และสามารถใช้ระบายน้ำได้ทั่วผิวดินและใต้ผิวดิน
ข้อเสียของคูระบายน้ำ คือ
- ต้องเสียพื้นที่เป็นจำนวนมาก ท้าให้ไม่เหมาะกับพื้นที่ที่มีราคาแพง
- ต้องมีการบำรุงรักษาโดยการขุดลอกกำจัดวัชพืช
- ต้องซ่อมแซมตลิ่งเป็นประจ้า
- กีดขวางการท้างานของเครื่องจักรเครื่องยนต์
ทางระบายน้ำแบบรูตุ่น (Mole drain) เป็นการระบายน้ำโดยการลากท่อนโลหะที่มีลักษณะคล้ายลูกปืนขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 7.5 – 15 เซนติเมตร (3-6 นิ ว) เข้าไปในดิน ท่อหรือโพรงที่เกิดขึ้นโดยวิธีนี้จะอยู่ลึกจากผิวดิน 0.5 – 1.20 เมตร (1.5 – 4 ฟุต) และระยะห่างระหว่างแถว 1- 10 เมตร ( 3 – 30 ฟุต) การระบายน้ำแบบนี้ เป็นแบบชั่วคราว ส่วนใหญ่จะใช้ได้ดีในระยะ 2 – 3 ปี แรกเท่านั้น อายุการใช้งานจะขึ้นอยู่กับองค์ประกอบโครงสร้างความแข็งแรงของดิน ความชื้นของดิน ปริมาณของฝน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางและความลึกของมันเป็นต้น
ทางระบายน้ำแบบท่อระบายน้ำ (Tile Drain) เป็นทางระบายน้ำที่ทำขึ้นโดยการฝังท่อดินเผาหรือท่อคอนกรีตซึ่งยาวท่อนละ 30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 10 – 15 เซนติเมตร เป็นแนวไว้ใต้ดินปัจจุบันนิยมใช้ท่อ พี วี ซี เจาะรูตามแนวยาว เพราะเป็นท่อที่มีขนาดความยาวกว่าท่อแบบดินเผา ความลึกและระยะห่างระหว่างแนวท่อขึ้นอยู่กับพื้นที่ หรือความสามารถให้น้ำซึมผ่านได้ของดิน และความลึกของระดับน้ำใต้ดินที่ต้องการควบคุมทางระบายน้ำแบบท่อน้ เป็นแบบที่นิยมใช้กันมาก เพราะไม่ต้องเสียพื้นที่ที่ทำการเพาะปลูก ไม่กีดขวางการทำงานในไร่นา และไม่ต้องการดูแลรักษาเป็นประจำเหมือคูระบายน้ำข้อเสีย คือการลงทุนครั้งแรกสูงมาก อาจมีการอุดตันเนื่องจากมีรากพืชบางชนิดเข้าไปอุด หรือมีการตกตะกอนหรือตกผนึกของสารละลายที่ถูกชะล้างออกจากดินในท่อที่อยู่ต่ำกว่าแนวระดับที่ได้ออกแบบไว้ หากมีการอุดตันหรือช้ารุด การตรวจหาและซ่อมแซมทำได้ยาก หากพื้นที่ที่ทำการระบายน้ำแบบนี้ เป็นดินเหนียวจะสู้การระบายแบบคูระบายน้ำไม่ได้
ทางระบายน้ำแบบบ่อระบายน้ำ (Well Drain) เป็นทางระบายน้ำที่ทำขึ้นโดยการขุดหรือเจาะบ่อให้น้ำที่ต้องการระบายไหลเข้ามาแล้วสูบทิ้งออกไป บ่อระบายน้ำมีอยู่สองแบบคือ บ่อตื้น (Water Table orGravity Well) ซึ่งเป็นที่ระดับน้ำในบ่อเท่ากับระดับน้ำใต้ดิน ส่วนใหญ่เป็นบ่อที่ขุดลงไปลึกกว่าระดับน้ำใต้ดินไม่มากนัก การระบายน้ำจากบ่อตื้นนี จะเป็นการลดระดับน้ำใต้ดินโดยตรง บ่ออีกแบบคือบ่อบาดาล (Artesian Well) ซึ่งน้ำที่ไหลเข้าไปในบ่อจะมาจากชั้นกรวดหรือทรายที่อยู่ระหว่างความกดดันสูง ถ้าหากเจาะบ่อลึกลงไปถึงชั้นน้ำแล้วระดับน้ำในบ่อจะอยู่สูงหรือต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดินก็ได้
1.1 การระบายน้ำแบบร่องเปิด
เป็นวิธีหนึ่งของการระบายน้ำแบบร่องคู (ditch drain) ไม่มีฝาปิด-เปิด โดยทำเป็นร่องรับน้ำในจุดต่ำสุดของแนวลาดเอียงของพื้นที่รับน้ำ เช่น จากสนามหญ้า แปลงดอกไม้ พื้นที่ผิวคาดแข็ง ไหล่ถนนลักษณะของรองรับน้ำ ได้แก่ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปสี่เหลี่ยมด้านเท่ารูปสี่เหลี่ยมคางหมูรูปสามเหลี่ยมตัววี (v) และรูปครึ่งวงกลมหรือตัวยู (U)
ร่องระบายน้ำแบบร่องเปิดทั้ง 4 แบบ นิยมมากที่สุดในงานภูมิทัศน์ คือ แบบครึ่งวงกลม มองดูสวยงาม การดูแลรักษาง่าย ทำความสะอาดโดยใช้จอปลายมน ลากตามแนวยาวของร่องก็สามารถทำความสะอาดได้
ระบบระบายน้ำผิวดินแบ่งออกได้ 4 แบบคือ
1. การระบายน้ำแบบหลังเต่า (Bedding or Crowning System)
2. การระบายน้ำแบบไร้รูปแบบ (Random Ditch System)
3. การระบายน้ำแบบขวางความลาดเท (Cross Slope System)
4. การระบายน้ำแบบคูขนาน (Parallel Ditch System)
1.2 การระบายน้ำแบบฝังท่อใต้ดิน มีปากปล่องรับน้ำโผล่ขึ้นระดับผิวดิน ตามแนวเขตรั้วของพื้นที่ระบายน้ำ ท่อระบายน้ำฝังอยู่ใต้ดิน ใช้ท่อเอสเบสโทส (asbestos) จุดระบายน้ำลงสู่ท่อเจาะเป็นรูพรุน ทิ้งหินกรองเพื่อป้องกันการอุดตัน ปากปล่องวางห่างกันเป็นช่องเท่ากับความยาวของท่อระบายน้ำ คือ 4.00 เมตร หรือมากกว่าตามความเหมาะสม ปากปล่องมีฝาปิด-เปิดเพื่อทำความสะอาดจุดล่าสุดของ ปากปล่องเป็นแอ่งดักทรายหรือตะกอนดิน (sand tap)
ระบบระบายน้ำใต้ดินหมายถึงอาคารระบายน้ำต่างๆ ที่จัดวางไว้ท้าหน้าที่ระบายน้ำใต้ดินไปสู่ที่ทิ้งน้ำ อาคารระบายน้ำใต้ดินส่วนใหญ่เป็นแบบท่อ (Tile Drain) ระบบระบายน้ำใต้ดินที่ใช้กันทั่วๆ ไปมีอยู่ 5 แบบคือ
1. ระบบท่อขนาน (Gridiron or Parallel System)
2. ระบบก้างปลา (Herringbone System)
3. ระบบท่อประธานคู่ (Double Main System)
4. ระบบไร้รูปแบบ (Random System)
5. ระบบสกัดกั้น (Interception System)
การดูแลรักษาและซ่อมบำรุง
ถ้ามีการชำรุดให้ซ่อมบำรุง ส่วนการดูแลรักษาให้ทำความสะอาดตามร่องคู นำสิ่งสกปรก เศษหญ้าเศษใบไม้ เศษดินที่เป็นอุปสรรคต่อการระบายน้ำออก ตักทรายหรือตะกอนดินออกจากบ่อดักทราย
3. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร
เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งาน คือ
3.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์
3.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง
3.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด
3.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง
3.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า
3.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง
3.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
3.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได้
3.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่
3.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ
3.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ
3.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์
4. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE))
หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)
5. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554
ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)
6. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย
ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มี การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8
|