(ก) คำแนะนำ
1. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้ ข้อที่ 18และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้
2. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องการปฏิบัติงานเกี่ยวกับงานปรับพื้นที่ในการจัดสวนตามทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge) ข้อ (ข) ความต้องการด้านความรู้
(ข) คำอธิบายรายละเอียด
1. วัชพืชในสนามหญ้า
1.1 สาเหตุที่ทำให้เกิดวัชพืช
1.1.1 การเตรียมพื้นที่ก่อนการปลูกหญ้าสนามไม่ดีมีวัชพืช (เมล็ดส่วนของลำต้น) หลงเหลืออยู่ในดินและไม่มีการทิ้งช่วงเวลาตรวจสอบว่าพื้นที่เตรียมปราศจากวัชพืชจริง
1.1.2 ดินที่นำมาใช้ภาษาจากวัชพืชแต่ไม่มีความอุดมสมบูรณ์หลังปลูกหญ้าสนามไปแล้วทำให้หญ้าสนามอ่อนแอเมื่อมีเมล็ดวัชพืชปลิวมาตกโดยพาหะต่างๆ ทำให้เม็ดวัชพืชมีพื้นที่สำหรับงอก
1.1.3 เลือกหญ้าสนามที่ไม่มีคุณภาพมาปลูกคือมีวัชพืชปะปนมาในแผ่นหญ้าชิ้นส่วนของหญ้าสนามและเมล็ดวัชพืชปะปนมาในเมล็ดหญ้าสนาม
1.1.4 การจัดการสนามหญ้าไม่ดี
1.2 แหล่งแพร่กระจายวัชพืช
1.2.1 นกเป็นพาหนะ(bird-borne seed) เกิดจากนกไปกินเมล็ดวัชพืชเป็นอาหารแล้วถ่ายมูลลงในสนามหญ้าหรือเมล็ดวัชพืชอาจติดตามตัวนกแล้วร่วงหล่นลงในสนามหญ้าและสภาพแวดล้อมเหมาะสมงอกเป็นวัชพืชขึ้นเจริญเติบโตและแพร่กระจายต่อไป
1.2.2 เกิดจากลมเป็นพาหะ(wind- borne seed)เมล็ดวัชพืชพวกนี้มีน้ำหนักเบามีปีกหมุนแล้วร่วงลงสู่สนามหญ้างอกเจริญเติบโตแพร่กระจายในสนามหญ้า
1.2.3 เมล็ดและชิ้นส่วนลำต้นของวัชพืชที่อยู่ในสนามหญ้าติดมากับเครื่องตัดหญ้ากระบะเก็บเศษหญ้าที่ทำความสะอาดไม่ทั่วถึง
1.2.4 เศษเล็กเศษน้อยของลำต้น(bit of stem) และเมล็ดที่ติดมากับปุ๋ยหมัก(compost)มูลสัตว์
1.2.5 ไหล (stolon) ของวัชพืชที่เจริญเหนือดินหรือส่วนต่างๆของวัชพืชที่มีอยู่เดิมแล้วเจริญเป็นวัชพืชต้นใหม่
1.3 ผลกระทบที่สนามหญ้ามีวัชพืช
1.3.1 ทำให้สนามหญ้าไม่มีคุณภาพเพราะมีพรรณไม้ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นแซม
1.3.2 วัชพืชเป็นแหล่งอาศัยของโลกและแมลงที่เป็นศัตรูของสนามหญ้าเพราะวัชพืชบางชนิดเป็นแหล่งแพร่กระจายหรือเป็นพาหะ
1.3.3 แย่งปัจจัยที่มีการต่อการเจริญเติบโตของหญ้าสนามเช่นแย่งน้ำ แย่งปุ๋ยเป็นสาเหตุทำให้หญ้าสนามอ่อนแอทรุดโทรม
1.3.4 การใช้สนามมีปัญหา และอุปสรรคเพราะวัชพืชบางชนิด บางพันธุ์ มีหนามแหลม ใบมีความระคายเคืองใบแหลมคมลำต้นแข็งเช่นต้นหญ้าคาไม่ยราบ ผักโขมหนามโคกกระสุนทำให้เกิดเกิดความระคายเคืองเป็นอันตรายเวลาเข้าไปใช้สนามหญ้า
1.3.5 เสียเวลาแรงงานและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาสนามเพิ่มขึ้น
1.4 ชนิดของวัชพืช
วัชพืชที่ขึ้นแบ่งได้หลายประเภทคือ
1.4.1แบ่งตามความกว้างแคบของใบเช่นวัชพืชใบแคบเป็นพวกหญ้าหรือการเจริญคล้ายหญ้าและพวกใบกว้างเป็นวัชพืชที่นอกเหนือจากหญ้า
1.4.2 แบ่งตามวงจรชีวิตแบ่งได้ 2 กลุ่มคือวัชพืชอายุสั้นและวัชพืชอายุหลายปี
1.5 วิธีป้องกันกำจัดวัชพืช
ที่ปฏิบัติในการป้องกันมีกำจัด2 วิธีคือ
1.5.1 หลักการป้องกันกำจัดวัชพืช
1.5.1.1 การป้องกัน (prevention) เป็นการป้องกันไม่ให้วัชพืชจากที่อื่นแพร่ระบาดเข้ามาในพื้นที่หนึ่งๆ
1.5.1.2 การควบคุม (control) เป็นการลดผลเสียหายจากวัชพืชที่เกิดแก่พืชปลูกให้มากที่สุด
1.5.1.3 การกำจัด (eradication) เป็นการทำลายให้หมดสิ้น คือ ทำให้ส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชในพื้นที่นั้นหมดสิ้นไป เพื่อป้องกันการแพร่กระจายและขยายพันธุ์
1.5.2 วิธีป้องกันมีกำจัดวัชพืชมี 3 วิธี คือ
1.5.2.1 วิธีกล (mechanical control ) เป็นการกำจัดวัชพืชทางกายภาพ ด้วยมือถอน ใช้เหล็กและตัดราก (asparagus knife weeder) เสียม จอบขุดออก การกำจัดโดยวิธีกล ควรกำจัดแบบ ถอนรากถอนโคน หรือ ถอนต้นก่นราก (ทำลายให้ถึงต้นต่อทำลายให้สิ้น) โดยเฉพาะวัชพืชที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว โดยแบ่งได้ดังต่อไปนี้
1) การใช้แรงงานคน
- การปลูกพืชที่มีเนื้อที่ปลูกขนาดเล็ก
- การปลูกพืชที่ต้องการการดูแลแบบพิถีพิถัน
- สภาพที่แรงงานหาง่ายและราคาถูก
- สภาพที่ต้องการความปลอดภัย (จากสารพิษตกค้าง)
- สภาพที่วัชพืชไม่ร้ายแรงและไม่หนาแน่น
2) การใช้แรงงานสัตว์ เป็นการใช้แรงงานจากสัตว์ใหญ่ในการลากจูงอุปกรณ์ต่าง ๆ พวกไถ และคราด ในการไถพรวน หรือคราดเศษวัชพืช ข้อจำกัดคือ ในสภาพที่มีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่จะไม่สามารถทำได้ทันเวลา
3) การใช้เครื่องทุ่นแรง เป็นการใช้เครื่องมือในการไถพรวนติดกับรถแทรกเตอร์หรือรถไถเดินตาม เพื่อทำลายวัชพืชโดยการฝังหรือกลบกล้าต้นวัชพืชลงไปในดิน หรือพลิกเอารากวัชพืชขึ้นมาทำให้ต้นวัชพืชแห้งตาย
4) การใช้วัสดุคลุมดิน อาศัยหลักการบดบังแสงเพื่อให้วัชพืชไม่สามารถเจริญเติบโตหรืองอกได้ วัสดุที่ใช้ เช่น ฟางข้าว ใบไม้ กาบมะพร้าว ใบอ้อย ขี้เลื่อยกระดาษ พลาสติก นอกจากลดปัญหาวัชพืชแล้วยังช่วยรักษาความชื้นในดิน ลดแรงปะทะของน้ำฝน และเพิ่มอินทรียวัตถุในดินในกรณีที่เป็นวัสดุธรรมชาติ
1.5.2.2 วิธีเขตกรรม (cultural control) เป็นการปฏิบัติในแปลงปลูกเพื่อลดปัญหาการแก่งแย่งแข่งขันของวัชพืชทางอ้อม
1) การทดน้ำระบายน้ำ นิยมใช้ในการทำนาดำ วัชพืชหลายชนิดเมื่อถูกน้ำท่วมขังในระยะหนึ่งก็จะตายลง
2) การปลูกพืชคลุมดิน
- มีการเจริญเติบโตดีสามารถคลุมผิวดินได้รวดเร็ว เติบโตเร็วกว่าวัชพืช สามารถคลุมดินได้ก่อนวัชพืชเติบโต
- เป็นพืชที่ไม่ทำให้เกิดผลเสียหายแก่พืชปลูกไม่แก่งแย่งกับพืชปลูกมากนัก และเพิ่มความสมบูรณ์ของดิน
- มีอายุการเจริญเติบโตที่ยาวนาน มีอายุข้ามปี ไม่มีปัญหาเรื่องแห้งตายในฤดูแล้ง (ทำให้ไฟไหม้)
- ไม่เป็นแหล่งอาศัยของศัตรูพืช
- ทนทานต่อสภาพแวดล้อม
3) การปลูกพืชหมุนเวียน เป็นการปลูกพืชต่างชนิดสลับกันไปในรอบปีการเพาะปลูก เพื่อช่วยลดการแก่งแย่งของวัชพืช เพราะว่าการปลูกพืชต่างชนิดกันจะมีวิธีการเพาะปลูก การดูแล การจัดการที่ต่างกัน ทำให้วัชพืชมีความแต่กต่างกัน
4) การปลูกพืชแซม เป็นการใช้หน้าดินให้เป็นประโยชน์และลดปัญหาวัชพืชไปในตัว โดยพืชแซมควรมีลักษณะดังนี้
- มีอายุการเจริญเติบโตที่ให้ผลผลิตไม่ยาวนาน
- มีการแต่กกิ่งก้านสาขาไม่มาก
- มีระบบรากไม่แผ่กว้าง หรือลึกจนเกินไป
- มีลำต้นไม่สูง
- ไม่มีผลกระทบต่อพืชปลูกทั้งทางตรงและทางอ้อม
- มีตลาดรองรับการจำหน่ายผลผลิต
1.5.2.3 ชีววิธี (biological control) เป็นการใช้สิ่งมีชีวิตในการจัดการวัชพืช (แมลง จุลินทรีย์ สัตว์) วิธีนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะควบคุมวัชพืชให้สมบูรณ์ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่เป็นการลดปริมาณวัชพืชในระดับหนึ่ง ที่ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
1) การใช้แมลงในการควบคุมวัชพืชใช้ผีเสื้อแคคตัส ควบคุมกระบองเพชรในออสเตรเลีย โดยด้วงเจาะเมล็ด Acanthoscelides puniceus และ Acanthoscelides quadridentatus นำมาจากออสเตรเลียเพื่อควบคุมไม่ยราบยักษ์
2) การนำจุลินทรีย์มาควบคุมวัชพืช โดยนำเอาจุลินทรีย์เชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดมาควบคุมวัชพืช เช่น Alternaria eichhornia , Myothecium roridum และ Rhizoctonia solani มาควบคุมผักตบชวา
3) การนำสัตว์มาควบคุมวัชพืช เป็นการนำสัตว์มาควบคุมการแพร่ระบาดของวัชพืช เช่น การนำหอยทาก Marisa cornuarietis มาควบคุม สาหร่ายพุงชะโด
2. หลักการเตรียมพื้นที่ในส่วนงานการทดสอบหน้าดิน
เริ่มทำการปรับสภาพพื้นที่ หากเป็นบ้านใหม่ นั้นอาจไม่ยุ่งยากมากนัก แค่ปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอเท่ากันแต่ถ้าเป็นบ้านเก่าต้องทำการกำจัดวัชพืช ออกให้หมดก่อน หลังจากนั้นนำทรายมาปรับสภาพพื้นที่ให้เท่ากัน แล้วใช้น้ำฉีดให้ทั่ว เพื่อให้ดินอัดแน่นยิ่งขึ้น แล้วดูการไหลของน้ำว่าเกิดการขังขึ้นจุดไหนบ้าง หลังจากนั้นให้ใช้ปูนขาวโรย เพื่อเป็นตัวกำหนดจุดตกแต่งต่างๆของสวนต่อไป
3.การขุดย้ายต้นไม้
ขั้นตอนที่ 1
หากเป็นกลุ่มพืชใบเลี้ยงคู่ ซึ่งเป็นพวกที่มีระบบรากแก้วและมีกิ่งก้านแต่กแขนง เช่น มะม่วง โมก แก้ว ชบา เทียนทอง ก่อนย้ายปลูกให้ตัดแต่งกิ่งบางส่วนออกประมาณครึ่งหนึ่งเพื่อลดการคายน้ำ โดยเลือกตัด กิ่งย่อย กิ่งที่เป็นมุมแหลม กิ่งที่มีโรคและแมลงเข้าทำลาย เหลือกิ่งหลักไว้เท่าที่จำเป็น และควบคุมให้ได้ขนาดทรงพุ่มใหม่ตามต้องการ หลังจากตัดแต่งกิ่งควรใช้ปูนแดงป้ายที่รอยตัด (โดยเฉพาะกิ่งขนาดใหญ่) เพื่อป้องกันการเข้าทำลายของโรคและแมลง แต่หากเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวซึ่งมีใบเรียวยาว ทรงพุ่มแต่กกอ และมีแต่ รากแขนง เช่น พลับพลึง รางทอง ว่านสี่ทิศ เฮลิโคเนีย ให้ตัดใบออกครึ่งใบ และควรระวังไม่ตัดโดนยอดอ่อน ที่แทงขึ้นมาใหม่
ขั้นตอนที่ 2
ขุดล้อมต้นโดยตัดเฉพาะรากแขนงบางส่วนออกและเหลือรากแก้วไว้ ทิ้งระยะเวลาประมาณ 1 เดือน เพื่อให้ต้นไม้มีการปรับตัว จึงย้ายออกไปปลูกยังที่ใหม่ โดยทั่วไปขนาดความกว้างของตุ้มขึ้นอยู่กับขนาดทรงพุ่ม โดยกะระยะให้ห่างจากโคนต้นออกมาประมาณ 25-30 เซนติเมตร ส่วนขนาดความลึกของตุ้มดินประมาณ 40 เซนติเมตร ในกรณีที่พบว่าต้นโทรมเมื่อตัดรากแขนงออกไป ควรรออีกสักประมาณ 2 เดือน เพื่อดูอาการ เมื่อเริ่มแต่กใบใหม่จึงย้ายต้นไม้ออกจากพื้นที่ได้ (ไม้พุ่มและไม้คลุมดินที่มีขนาดเล็กสามารถย้ายปลูกได้ทันทีโดย ไม่ต้องล้อมทิ้งไว้) ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวซึ่งไม่มีรากแก้ว การขุดล้อมสามารถตัดรากและย้ายไปพักไว้ หรือปลูกลงที่ใหม่ตามต้องการได้ทันที ขนาดของตุ้มดินตามความเหมาะสมของทรงพุ่มต้น
ขั้นตอนที่ 3
หลังจากตัดรากแขนงทิ้งไว้ 1 เดือน ให้ตัดรากแก้วออก จากนั้นนำตาข่ายพลาสติกกระสอบหรือ ซาแลนรองตุ้มดิน ใส่ขุยมะพร้าว จากนั้นผู้กตุ้มดินขึ้นมา นำต้นไม้วางพักในบริเวณที่ร่มรำไร คอยรดน้ำตุ้มดินให้ชุ่มเสมอ รอให้มีการแต่กรากและใบใหม่
ขั้นตอนที่ 4
แกะตุ้มดินและย้ายปลูกลงดินตามตำแหน่งที่ต้องการ โดยรองก้นหลุมและใส่ดินผสมใหม่ลงไปในหลุมปลูก เพื่อให้ดินโดยรอบตุ้มดินร่วนซุย แต่กรากใหม่ได้ง่าย ข้อควรระวังคือขนาดหลุมปลูกควรใหญ่กว่าตุ้มดิน สำหรับใส่ดินผสมที่มีลักษณะโปร่ง ร่วนซุย รองก้นหลุมและรอบตุ้มดินเพื่อให้รากต้นไม้แต่กใหม่ได้ง่าย
เกร็ดเพิ่มเติม
• ก่อนอื่นต้องพิจารณาว่าต้นไม้ที่ต้องการย้ายปลูกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมแบบไหน เช่น ไม้ในร่ม หรือไม้กลางแจ้ง เพื่อจะได้นำไปไว้ในตำแหน่งที่เหมาะสม
• ไม่ควรย้ายต้นไม้ในช่วงฤดูหนาว เนื่องจากต้นไม้ส่วนใหญ่จะแต่กตาดอกมากกว่าตาใบ และมักมีการพักตัว อาจทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโตได้ ทางที่ดีควรเลือกปฏิบัติในช่วงเข้าหน้าฝน เพื่อให้พืชได้รับน้ำเต็มที่
• การล้อมต้นไม้เพื่อการย้ายปลูก หรือที่นิยมเรียกว่า บอล (Ball) นอกจากจะล้อมโดยให้มีตุ้มดินติดอยู่กับรากเพื่อป้องกันรากขาดแล้ว พืชบางชนิดยังนิยมขุดล้อมแบบรากเปลือย คือไม่มีดินติดมากับราก เช่น ลั่นทม เนื่องจากการเกิดรากใหม่จะดีกว่า
• หากย้ายต้นไม้โดยไม่ตัดใบออกก่อนจะส่งผลให้ใบเหี่ยวจนกิ่งแห้ง และลามถึงต้นได้ เนื่องจากเมื่อรากต้นไม้ถูกตัด ทำให้รากดูดน้ำจากดินได้น้อยลง หากใบมีอยู่เท่าเดิมก็จะสังเคราะห์แสงและคายน้ำไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการดังกล่าว
3.1 เครื่องมือสำหรับการขุดล้อม ย้ายปลูกต้นไม้
เครื่องมือในการขุดล้อม ย้ายปลูกต้นไม้ขึ้นอยู่กับขนาดและชนิดของต้นไม้ สถานที่ดำเนินการ และรูปแบบดำเนินงาน แต่ปกติทั่วไป เครื่องมือที่จำเป็นประกอบด้วย
3.1.1 กรรไกรตัดแต่งกิ่ง ใช้สาหรับตัดกิ่งและรากที่มีขนาดเล็กกว่า 1 นิ้ว อาจจะเป็นกรรไกรตัดกิ่งธรรมดา หรือกรรไกรตราปลาของสวิส เพราะมีความทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ส่วนในงานที่ต้องตัดแต่งกิ่งไม้เล็กหรือการตัดเถาวัลย์ในระดับสูง สามารถใช้กรรไกรที่มีด้ามจับยาว มีเชือกชักแทนการใช้บันได้ปีนขึ้นไปตัด
3.1.2 เลื่อยตัดกิ่งไม้สด ใช้สำหรับตัดแต่งกิ่งหรือรากที่มีขนาดโตเกิน 1 นิ้ว ซึ่งกรรไกรไม่สามารถตัดได้ อาจใช้แบบด้ามจับหรือคันธนู ในบางครั้งหากเป็นต้นไม้ที่มีขนาดกิ่งและรากใหญ่มากๆ อาจใช้เลื่อยยนต์หรือขวาน
3.1.3 เครื่องมือขุด-ตัดราก ประกอบด้วยจอบ พลั่วตักดิน ปุ้งกี๋ ขวาน มีดอีเตอร์ ชะแลง ไม่นิยมขุดด้วยรถตักดิน เนื่องจากระบบรากจะฉีกขาด และตุ้มดินจะได้รับความกระทบกระเทือนมากเกินไป
3.1.4 อุปกรณ์ห่อตุ้มดิน ใช้กระสอบป่าน ใยสังเคราะห์พรางแสง กระสอบปุ๋ย ผ้ามุ้งพลาสติก เชือกป่าน เชือกฟาง เข็มเย็บกระสอบป่านและขุยมะพร้าว
3.1.5 ถังพ่นยา ใช้สาหรับพ่นยาฆ่าแมลง ป้องกันเชื้อรา ฮอร์โมนเร่งรากและเร่งใบ
3.1.6 อุปกรณ์แต่งรักษาแผล ในการตัดราก ตัดกิ่ง ควรจะทาแผลรอยตัดด้วยปูนขาว หรือยาป้องกันเชื้อรา
3.1.7 อุปกรณ์ในการยกและย้ายต้นไม้ การยกต้นไม้ที่ไม่โตมากนัก อาจใช้คน 2-3 คน หากเกินกำลังคนก็ใช้รอกและสามขาแขวนรอก แต่หากมีน้ำหนักมากเกิน 50 กิโลกรัม ขึ้นไป ควรใช้ลวดสลิง โซ่และรถยก
- อุปกรณ์เสริมสำหรับยกต้นไม้ขนาดใหญ่ ซึ่งต้องใช้ลวดสลิงหรือโซ่
- ไม้เนื้ออ่อน 1.5×3 นิ้ว 1×3 นิ้ว ยาว 0.75 เมตร หรือ 1.20 เมตร
- ตะปู 3 นิ้ว และ ตะปู 5 นิ้ว
- กระสอบป่านและเชือกฟาง
3.1.8 อุปกรณ์ค้ำยันต้นไม้
- ไม้เสาเข็ม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-6 นิ้ว ยาวตามความจาเป็น
- ลวดสลิงและกิ๊บรัดสลิง
- สมอบก หรือ แผ่น คสล. ใช้ฝังลงในดินเพื่อใช้ยึดลวดสลิง สำหรับตรึงต้นไม้ขนาดสูงใหญ่ในที่โล่งแจ้ง ซึ่งไม่มีต้นไม้อื่น หรืออาคารใดๆ ให้ยึดเกาะสลิง
3.1.9 อุปกรณ์รดน้ำต้นไม้
- สายยางอ่อนหรือท่อ PE ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-1 นิ้ว
- หัว Sprinkler และอุปกรณ์การติดตั้ง
- วาล์วน้ำหรือหัวเสียบสายยาง
- เครื่องสูบน้ำแรงดันสูง
3.1.10 อุปกรณ์การปลูกต้นไม้
- ทรายหยาบ
- ปุ๋ยคอก
- วัสดุคลุมโคนต้นไม้ เช่น ขุยมะพร้าว ใบไม้ผุ ฟางข้าว
- ปูนขาว หรือ Rock Phosphate
3.2 รูปแบบการขุดล้อมต้นไม้ขนาดใหญ่
3.2.1 การขุดล้อมแบบไม่มีดินติดไปกับระบบราก (Bare root) วิธีนี้เหมาะที่จะใชกับพันธุ์ไม้ขนาดเล็กที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 3-3.5 นิ้วเท่านั้น หรือพวกกิ่งปักชำที่ออกรากแล้วเท่านั้น โดยขุดร่องดินรอบโคนต้นพร้อมกับตัดระบบรากที่อยู่ภายในร่องทิ้ง สางเอาดินออกจากระบบรากโดยเริ่มจากรอบนอกเข้าหาโคนต้นทีละส่วนหรือซีก เอากระสอบป่านหรือผ้าที่ชุ่มน้าห่อระบบรากนั้นไว้ เพื่อกันไม่ให้รากแห้งและป้องกันการเสียหายของราก จากนั้นเริ่มสางเอาดินออกจากส่วนอื่นๆ ต่อไปจนหมดทั้งระบบราก ห่อระบบรากทั้งหมดด้วยวัสดุเก็บความชื้น ผู้กมัดให้เรียบร้อยต้นไม้นั้นพร้อมที่จะขนย้ายได้ หากจำเป็นจะต้องห่อระบบรากนั้นไว้นานหลายวันก็ให้เพิ่มสแปคนัมมอส พีทมอส หรือขุยมะพร้าวที่ชื้นเข้าไปเพื่อกันระบบรากแห้ง
3.2.2 การขุดล้อมโดยมีดินติดไปกับระบบราก (Balled & burlaped or Soil ball) จุดประสงค์หลักของการขุดล้อมรูปแบบนี้ก็คือขนาดของก้อนดินที่ติดไปกับต้นนั้นควรมีปริมาณดินน้อยที่สุดหรือมีเท่าที่จำเป็นเพียงพอที่จะหุ้มป้องกันระบบรากที่ติดไปกับต้นไม้เท่านั้น เส้นผ่านศูนย์กลางโคนต้นต่อระยะห่างจากขอบโคนต้นถึงขอบตุ้มดินเป็น 2:1, 1:1 หรือ 2:3 ดินควรมีความชื้นปานกลาง เพื่อจะได้ขุดล้อมง่าย การขุดล้อมโดยมีดินติดไปกับระบบรากมี 3 วิธีดังนี้
3.2.2.1 การขุดล้อมสด หรือ การขุดล้อมเคลื่อนย้ายในขั้นตอนเดียว คือ การขุดล้อมที่สามารถยกและเคลื่อนย้ายต้นไม้ที่ทำการขุดล้อมออกจากหลุมได้ทันที เหมาะสำหรับพืชที่แข็งแรงทนทาน ขนาดใหญ่ เปลือกหนา และดูแลรักษาง่าย เช่น โพ ไทร กร่าง ราชพฤกษ์ ยางอินเดีย และลีลาวดี
3.2.2.1 การขุดล้อมคาหลุม คือ การขุดล้อมที่พักต้นไม้ไว้กับหลุมระยะหนึ่งเหมาะสำหรับพืชที่ต้องการการปรับตัวระยะหนึ่ง พืชที่ผลัดใบ ที่ไม่สามารถปรับตัวได้ทันที อาศัยระยะการสร้างระบบรากฝอยในตุ้มดินมากขึ้นก่อนที่จะตัดรากแก้วและขนย้าย มี 2 ลักษณะดังนี้
- การขุดล้อมเตือน ใช้กับต้นไม้ที่ขุดล้อมยากจำเป็นต้องอาศัยเวลานานเป็นปี โดยขุดดินรอบโคนต้น แล้วค่อยๆ ตัดรากออกทีละด้าน และตั้งแต่เริ่มขุดครั้งแรกก็ต้องตัดแต่งกิ่ง และค้ำยันต้นไว้ให้เรียบร้อย ตัวอย่างต้นไม้ที่ต้องใช้วิธีนี้ ได้แก่ ต้นไม้ที่มีอายุมาก เปลือกบาง เจริญเติบโตช้า เช่น ตะโกนา มะเกลือ จัน ฯลฯ
- การขุดล้อมเพื่อให้ใบร่วง เป็นการลดการคายน้ำใช้กับต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลาง เช่น ตะแบก เสลา ปีบ นนทรี หางนกยูง ฯลฯ โดยจะขุดรอบโคนต้นแล้วใช้วัสดุห่อหุ้มตุ้มดินไว้ให้แน่น หลังจากนั้น 15-30 วัน จึงตัดรากทั้งหมดแล้วเคลื่อนย้าย
3.2.2.3 การขุดร่องเป็นรูปสี่เหลี่ยม (Box method) วิธีนี้เหมาะกับต้นไม้ที่ต้องการดินติดไปกับระบบรากแต่สภาพพื้นที่เป็นดินปนทรายหรือทรายล้วนๆ วิธีนี้ช่วยป้องกันไม่ให้ก้อนดินหรือทรายแต่กง่ายนั่นเอง จะทำการขุดร่องเป็นรูปสี่เหลี่ยม นำแผ่นไม้สอดลงไปทั้ง 4 ด้าน ตอกตะปูให้ติดกันเป็นคอกสี่เหลี่ยมขุดเอาดินด้านใต้ระบบรากออกพร้อมสอดแผ่นไม้เข้าไปรองรับแล้วผู้กเชือกให้มีลักษณะคล้ายกล่อง แล้วจึงยกทั้งกล่องที่มีต้นไม้ขึ้นเพื่อโยกย้ายโดยที่ระบบรากไม่กระทบกระเทือน
3.3 ขั้นตอนและวิธีการขุดล้อมและย้ายปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ การขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้ขนาดใหญ่ มีความแต่กต่างจากการปลูกต้นไม้จากกล้าไม้โดยสิ้นเชิงจึงต้องวางแผนเตรียมความพร้อมอย่างเข้มงวด รัดกุมชัดเจนในทุกขั้นตอน ความสำเร็จในการขุดล้อมย้ายปลูก ขึ้นอยู่กับการดำเนินงานตามลำดับขั้นตอนด้วยความระมัดระวังและความชำนาญ เช่นเดียวกับการประกอบชิ้นส่วนของเครื่องจักร ที่จะต้องมีขั้นตอนก่อนหลังตามลำดับ การขุดล้อมย้ายปลูกมีความยากกว่า ตรงที่มีชีวิต มีเวลาเข้ามาเกี่ยวข้องอีกปัจจัยหนึ่ง ลำดับขั้นตอนที่สำคัญในการขุดล้อมย้ายปลูก มีดังนี้
3.3.1 การสำรวจเบื้องต้น เป็นการสำรวจทั่วไปสำหรับการวางแผนการขุดล้อม ได้แก่ สำรวจต้นไม้ที่จะทำการขุดล้อม เพื่อให้ทราบชื่อ ชนิด ขนาด ความโตของลำต้น ความสูง จำนวนกิ่งใหญ่ รูปร่างของทรงพุ่ม ระบบเรือนราก ความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ เพื่อนำข้อมูลไปกำหนดชนิดขนาดของรถยกและรถบรรทุกขนส่ง จำนวนคน เครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์การขุดล้อม ตลอดจนฤดูกาลหรือช่วงเวลาที่เหมาะสม สำหรับชนิดของต้นไม้และเส้นทางขนส่งต้นไม้นั้น ตลอดจนวางแผนในการตัดแต่งทรงพุ่มเพื่อการขนส่ง
สำรวจสถานที่ เป็นการสำรวจพื้นที่ซึ่งต้นไม้ขึ้นอยู่และสถานที่ที่จะนำต้นไม้ไปปลูก เส้นทางคมนาคม ข้อมูลที่ต้องการทราบ คือ ความสามารถในการเข้าถึงต้นไม้และสถานที่ปลูก สำรวจสิ่งที่เป็นอุปสรรคต่อการขุดล้อม
สำรวจชนิดดิน หิน ในบริเวณต้นไม้ขึ้นอยู่และสถานที่ปลูก ดินและหินบริเวณที่ต้นไม้ขึ้นอยู่มีความสำคัญต่อการทำ ตุ้มดิน ส่วนแหล่งปลูกจะต้องคำนึงถึงการระบายน้า ข้อมูลเหล่านี้จะต้องนำมาใช้วางแผนเตรียมการห่อหุ้มตุ้มดินและการจัดการเตรียมหลุมปลูก จะต้องเตรียมหลุมปลูกหรือเรือนเพาะชำให้เรียบร้อยแล้วเสร็จเป็นเบื้องต้น ก่อนจะดำเนินการขุดล้อมต้นไม้ อย่าขุดล้อมถ้ายังไม่เตรียมสถานที่ปลูกให้เรียบร้อย
สำรวจอุปกรณ์ในการให้น้ำ ก่อนการย้ายปลูกจะต้องจัดเตรียมและทดลองระบบการให้น้ำให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะจะต้องให้น้ำทันทีและต่อเนื่องเมื่อปลูกต้นไม้แล้วเสร็จ
สำรวจจัดหาคนดูแลรับผิดชอบ คนรับผิดชอบดูแลต้นไม้ขนาดใหญ่เป็นเรื่องสำคัญไม่แพ้ขั้นตอนอื่น ผู้รับผิดชอบดูแลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจหรือได้รับการถ่ายทอดความรู้ ในการดูแลบำรุงรักษาต้นไม้มาแล้วเป็นอย่างดี
3.3.2 การเตรียมอุปกรณ์และเครื่องมือ ต้องเตรียมเครื่องมือในการขุด อุปกรณ์ในการตักดิน รถเข็น วัสดุปลูก ไม้ค้ายัน อุปกรณ์ในการยก รถสาหรับการยก รถบรรทุก อุปกรณ์ในการห่อหุ้มตุ้มดิน เชือกฟาง ค้อน ตะปู บันได้ สำหรับตัดแต่งกิ่ง กระสอบป่าน สายยางรดน้า สีน้ำมันและยาทาปิดบาดแผลจากการตัดแต่ง ผ้าใบหรือแผ่นใยสังเคราะห์ผืนใหญ่ สำหรับคลุมต้นไม้และเรือนยอด เพื่อป้องกันลมขณะขนส่ง ตลอดจนอุปกรณ์อื่นๆ ดังกล่าวข้างต้น และที่สำคัญที่สุด คือ คน ซึ่งจะต้องได้รับการฝึกฝนให้มีความชำนาญและอดทน สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็ว ต่อเนื่อง ตั้งใจทำงานให้ทันเวลาจนกว่าจะทำการปลูกและค้ำยันแล้วเสร็จ (ในกรณีย้ายปลูกในคราวเดียวกัน)
3.3.3 การตีตุ้มหรือตุ้มดิน คือ การขุดดินและตัดรากโดยรอบต้นไม้ ในระยะห่างจากโคนต้นตามขนาดเหมาะสมแก่ความจำเป็นในการเจริญเติบโต และความสามารถในการอุ้มดินของระบบราก ตุ้มดินโดยทั่วๆ ไปมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเท่ากับเส้นรอบวงของโคนต้นหรือโตกว่าเล็กน้อย รูปร่างของตุ้มดินอาจเป็นทรงกลมแบบผลส้มโอ รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าหรือรูปไข่ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสมหรือข้อจำกัดในการจัดการ ทั้งสถานที่ขุด การขนส่ง ชนิดของต้นไม้และสถานที่ปลูก ตลอดจนความสามารถในการอุ้มดินของรากไม้ชนิดนั้นๆ
ตุ้มดินซึ่งมีขนาดใหญ่จะมีผลดีต่อการฟื้นตัวของต้นไม้ และการขุดล้อมจะเป็นผลสำเร็จมากกว่า แต่จะมีน้าหนักมากและเสี่ยงต่อการที่จะแต่กได้ง่าย ถ้าใช้กับต้นไม้ที่มีรากฝอยน้อย ตุ้มเล็กจะมีน้าหนักเบากว่าและสะดวกในการขนส่ง แต่จะมีผลเสียต่อการฟื้นตัว ทำให้การเจริญเติบโตช้า มีความเสี่ยงต่อการตายสูงกว่าตุ้มใหญ่ภายหลังการขุดแล้วเสร็จ ยกต้นไม้ขึ้นเมื่อขุดตัดแต่งราก ทำแผลกันเชื้อรา ทำการห่อหุ้มตุ้มดินและอัดขุยมะพร้าวในตุ้มดินพร้อมการเย็บหรือผู้กรัดด้วยเชือกให้แน่นหนา แข็งแรง ล้มต้นไม้เอนราบลงบนพื้นดิน (อาจค้ำยันเพื่อป้องกันกิ่งด้านล่างหักฉีก ถ้าไม่มีกิ่งขนาดใหญ่) เพื่อตัดแต่งกิ่ง
3.3.4 การตัดแต่งทรงพุ่ม สำหรับขั้นตอนนี้หากต้นไม้มีขนาดใหญ่มากอาจเริ่มตัดแต่งกิ่งบางส่วนก่อนการตีตุ้มหรือทำไปพร้อมกับการตีตุ้ม เพื่อลดน้าหนักของเรือนยอดที่อาจทำให้ต้นไม้โค่นล้มจะต้องกำหนดว่ากิ่งใดหรือด้านใดของต้นไม้ที่จะวางลงที่พื้นรถ กิ่งด้านล่างจะต้องสามารถรับน้ำหนักได้ไม่ฉีกหัก แต่ถ้าหากต้นไม้มีเฉพาะกิ่งขนาดเล็ก จะต้องเตรียมไม้หรือฉากเหล็กสำหรับการค้ำยัน เมื่อเอนล้มต้นลงภายหลังการขุดแล้วเสร็จจะทำการตัดแต่งกิ่งที่เหลือให้เรียบร้อย
ในการขุดล้อม ย้ายปลูก จะต้องลดการคายน้าของต้นไม้ให้เหลือน้อยที่สุด เพราะขณะที่ขุดและตัดราก ต้นไม้มีความสามารถในการหาน้าและอาหารน้อย การตัดกิ่งให้สั้นเพื่อลดจานวนใบและตัดบางกิ่งทิ้งไป เป็นการช่วยลดการคายน้ำ
3.3.4.1 หลักเกณฑ์ในการเลือกกิ่งที่จำเป็นต้องตัดทิ้ง มีดังต่อไปนี้
- กิ่งกระโดง เป็นกิ่งที่เจริญจากทรงพุ่ม พุ่มตรงชะลูด สูงกว่ากิ่งอื่นในทรงพุ่ม ถือว่าเป็นกิ่งผิดปกติ ควรตัดทิ้งหรือตัดให้สั้นเสมอทรงพุ่ม
- กิ่งซ้อนกิ่ง หมายถึง กิ่งของต้นไม้ที่มีระดับสูงต่ำใกล้เคียงกันอยู่ในระนาบ (ทิศทาง) เดียวกัน ตั้งแต่ 2 กิ่งขึ้นไป ตัดออกให้เหลือเฉพาะกิ่งที่แข็งแรงกว่าเพียงกิ่งเดียว
- กิ่งกระจุก คือ กิ่งหลายกิ่งที่แต่กออกจากลาต้นที่ตำแหน่งเดียวกันและพุ่งออกไปในทิศทางเดียวกัน ในการตัดแต่งทรงพุ่ม ควรเหลือไว้เพียง 1-2 กิ่ง
- กิ่งพิการ เป็นกิ่งที่มีบาดแผลฉีกขาด กิ่งเป็นโรค กิ่งผุกร่อน มีแมลงรบกวน กิ่งที่มีกาฝากเกาะกิน กิ่งหักห้อยต้องตัดทิ้ง
- กิ่งผิดทิศทาง หมายถึง กิ่งที่มีความเจริญเติบโต พุ่งเข้าในทรงพุ่มหรือออกไปในทิศทางที่ตรงข้าม ถือว่าเป็นกิ่งที่ต้องตัดทิ้ง
- กิ่งขนาดเล็กและกิ่งที่ไม่สมบูรณ์ในทรงพุ่ม ควรตัดแต่งออกให้หมดเพื่อเป็นการลดการคายน้า เนื่องจากกิ่งเหล่านี้ไม่สามารถเจริญเติบโตอีกต่อไปได้ มักจะทิ้งกิ่งในอนาคต
3.3.4.2 วิธีการตัดแต่งกิ่ง มี 2 วิธี
- การตัดเพื่อแต่งทรงพุ่ม เป็นการตัดกิ่งให้สั้นลง ต้องคำนึงถึงการแต่กกิ่งในอนาคตด้วย ปกติกิ่งใหม่จะแต่กออกมาตรงตาบริเวณรอยตัด จึงต้องเลือกเว้นตาบนสุด ให้มีทิศทางการแต่กกิ่งตามที่ต้องการ
- การตัดกิ่ง จะต้องตัดให้แผลชิดลาต้นและเรียบ อาจใช้ยาป้องกันเชื้อรา สีน้ำมัน หรือ ปูนขาวทาปิดรอยแผล
3.3.5 การยกย้ายขนส่ง หลังตัดแต่งกิ่งเรียบร้อยแล้วจึงย้ายตำแหน่งของสลิงหรือโซ่ ไปยังตำแหน่งระหว่างเรือนยอดกับตุ้มดินประมาณน้ำหนักกึ่งกลางลำต้น ขั้นตอนนี้จะต้องใช้กระสอบป่านพันรอบต้นและตีทับด้วยไม้เนื้ออ่อน 1.5×2 นิ้ว หรือ 1.5×3 นิ้ว โดยรอบต้นตรงตำแหน่งที่จะเกาะสลิงหรือโซ่ยกต้นไม้ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่ลำต้นการยกขึ้นรถบรรทุกเพื่อการขนส่ง ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ ห้ามบุคคลผู้ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากสลิงหรือโซ่ขาดหรือกิ่งไม้หัก ต้นไม้อาจพลิกตกลงจากรถ ฯลฯ เมื่อวางราบกับพื้นดีแล้วจึงยึดตรึงให้แน่นหนา ตัดแต่งกิ่งอีกครั้งแล้วจึงคลุมผ้าป้องกันลมโกรกในขณะขนส่ง หากต้นไม้ยื่นยาวออกจากตัวรถมากจะต้องติดสัญญาเพื่อป้องกันอุบัติเหตุ เช่น หลอดไฟสีแดง แผ่นสะท้อนแสงหรือผ้าสี เป็นสัญญาณตามกฎจราจรกำหนด
3.3.6 การเตรียมหลุมปลูก จะต้องเตรียมหลุมปลูกให้กว้างและลึกเพียงพอ เตรียมวัสดุปลูกและทดสอบการซึมน้าเพื่อความมั่นใจว่าบริเวณที่ปลูกต้นไม้ใหญ่ มีการระบายน้าดีเพียงพอ สำหรับต้นไม้ การทดสอบง่ายๆ คือ การเติมน้าใส่หลุมปลูกประมาณครึ่งหลุม ถ้าเป็นหลุมปลูกที่มีการระบายน้าดี น้ำก็จะหมดในเวลา 1 ชั่วโมง แต่ถ้าหากเวลาผ่านไปหลายๆ ชั่วโมง ยังมีน้ำขังอยู่ในหลุมปลูก จะต้องแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆ หรือเปลี่ยนตำแหน่งที่จะปลูกไปยังที่ซึ่งเหมาะสมกว่า ให้แล้วเสร็จล่วงหน้า หากดินอ่อนมากอาจจะต้องใช้เสาเข็มหรือวางไม้หมอนยาวๆ หลายอัน ที่ก้นหลุม เพื่อรองรับน้าหนักต้นไม้แล้วกลบด้วยทรายหยาบ หนา 15-30 เซนติเมตร ป้องกันการทรุดตัวหรือทำให้ต้นไม้เอียง ในพื้นที่แฉะ ระดับน้าใต้ดินสูงหรือดินมีการระบายน้าเลว การนำต้นไม้ขุดล้อมไปปลูกจะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หากไม่สามารถทำร่องระบายน้ำแก้ไขการระบายน้ำได้จะต้องทำกองดินให้สูงขึ้นกว่าพื้นดินเดิม หลักการสำคัญ คือ ระดับของก้นหลุมส่วนที่จะวางตุ้มดินจะต้องสูงกว่าระดับน้ำใต้ดินไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร ความกว้างและยาวในการยกโคก อาจจะกว้างกว่าตุ้มดิน 2-3 เท่าขึ้นไปก็ได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม
3.3.7 การขุดร่องระบายน้ำ เพื่อแก้ไขการระบายน้าในบริเวณที่ปลูกต้นไม้ ที่ดินขาดคุณสมบัติในการซึมน้ำหรือน้ำซึมได้น้อย เช่น ดินเหนียว ดินลูกรังซึ่งมีดินเหนียวผสมมากและดินที่มีการบดอัดแน่นในขณะถมปรับดิน
การขุดร่องระบายน้า ปกติเป็นการขุดจากหลุมปลูกต้นไม้ ความลึกของร่องเท่ากับความลึกของหลุมปลูกต้นไม้ ส่วนความกว้างไม่จากัด โดยทั่วไปกว้างประมาณ 0.30-1.00 เมตร ขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่และจานวนต้นไม้ที่ปลูก ภายในร่องอาจจะใส่ท่อเจาะรูพรุน ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 4-10 นิ้ว ต่อยาวไปจนถึงจุดทิ้งน้า แล้วกลบด้วยทรายหยาบจนเต็มร่อง ร่องระบายน้าจะช่วยป้องกันไม่ให้น้ำขังท่วมโคนต้นไม้ ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้นไม้ตายจากรากเน่า
3.3.8 การปลูก ในการปลูกควรพิจารณารูปทรงและทิศทางของกิ่ง ให้ทรงพุ่มหมุนไปในทิศทางและมุมมองที่สวยงาม แล้วจึงกลบหลุมด้วยทรายหยาบผสมปุ๋ยหมักจนเต็มหลุม พร้อมกับรดน้ำและเหยียบย้ำรอบตุ้มดินให้แน่น เพื่อป้องกันการเกิดโพรงในหลุม แล้วจึงคลุมโคลนด้วยใบไม้แห้งฟาง หรือวัสดุคลุมดิน เพื่อรักษาความชื้นในดิน ข้อควรระวังที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ อย่าใช้ดินที่ค่อนข้างเหนียว ซึ่งขุดขึ้นมาจากหลุมปลูกมากลบโคนต้นไม้อย่างเด็ดขาด เพราะจะเกิดปัญหาของการซึมของน้ำลงสู่ระบบรากของต้นไม้และอาจเกิดโพรงดินขึ้นในหลุมทำให้รากเน่าได้ การดูแลบำรุงรักษาภายหลังการปลูกต้องมีการให้น้ำ พ่นยา และตรวจสอบการซึมน้ำอย่างสม่ำเสมอ เมื่อใบแก่ควรจะตัดลิดกิ่งกระจุกทิ้งบ้าง ให้ปุ๋ยเคมี 16-16-16 เพื่อความสมบูรณ์ของต้น เมื่อใบแก่จัดและทำการตัดแต่งกิ่งปีละครั้งหลังการปลูก เพื่อลดทรงพุ่มให้มีขนาดเล็กลง เป็นการป้องกันลมและเพื่อความสวยงาม
3.4 เทคนิคเพิ่มเติมสำหรับการล้อมเตือน และ การขุดล้อมไม้โตช้า
3.4.1 การล้อมเตือน เป็นวิธีการขุดล้อมต้นไม้เพื่อให้โอกาสต้นไม้ได้รู้ตัวก่อนการขุดล้อมจริง การขุดล้อมเตือนเป็นการตีตุ้ม ตัดรากเล็กๆ ออก คงเหลือรากขนาดใหญ่เอาไว้ 3-4 ราก รอบต้น ขุดเสร็จจะต้องห่อตุ้มดินอัดขุยมะพร้าวและมัดตรึงตุ้มให้แน่น โดยยังคงเว้นรากใหญ่ไว้นอกตุ้มดิน
การล้อมเตือนต้นไม้ใช้เวลาตั้งแต่ 1 สัปดาห์ จนถึงหลายเดือน หรืออาจเป็นปีขึ้นอยู่กับชนิดต้นไม้และความพร้อมในการย้ายปลูก ส่วนมากต้นไม้ที่มีการล้อมเตือนจะทิ้งใบหมดหรือเกือบหมดต้น เมื่อถึงเวลายกหรือย้ายไปจากหลุมเดิม จึงสะดวกกว่ามีใบติดต้นไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่ล้อมเตือนทิ้งไว้ในหลุมนั้นต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและทิ้งร่องดินรอบตุ้มไว้ไม่ต้องกลบ เมื่อต้องการย้ายต้นไม้ไปจากที่เดิม ก็เพียงแต่ตัดรากแก้ว รากด้านข้างที่เว้นไว้โดยรอบออกให้หมด ห่อหุ้มมัดแต่งตุ้มดินที่เหลือและตุ้มดินตอนล่างสุดให้แน่นหนาเรียบร้อย ก็ถือว่าเสร็จสมบูรณ์
การล้อมเตือนถ้าใช้เวลาเกิน 1 เดือน ควรค้ำยันเพื่อป้องกันไม้ล้ม วิธีนี้เหมาะกับดินค่อนข้างเหนียวหรือดินร่วนเหนียว ไม่เหมาะกับดินร่วนทราย ต้นไม้ชนิดที่มีรากฝอยบริเวณใกล้ๆ ลำต้นมาก เหมาะที่จะใช้วิธีล้อมเตือน เช่น ไทร ปาล์ม มะเกลือ หว้า ต้นไม้สกุลอินทนิล สกุลประดู่ วงศ์ไม้แค และมะกอกป่า
ข้อควรระวัง ในการล้อมเตือนเมื่อต้นไม้ทิ้งใบ ต้องรีบย้ายในทันที ห้ามย้ายต้นไม้ขณะผลิใบอ่อน ถ้าไม่สามารถย้ายขณะทิ้งใบได้ ต้องรอให้ใบอ่อนที่ผลิออกมาภายหลังแก่เสียเต็มที่ก่อน
3.4.2 การขุดล้อมย้ายปลูกต้นไม้โตช้า มีต้นไม้โตช้าที่มีคุณค่า รูปทรงงดงาม และหายากหลายชนิด เช่น กุ่มบก แจงใบเล็ก แจงใบใหญ่ ตะโกนา ตะโกหนู จัน จันทร์กระพ้อ หมากแดง ต้นไม้เหล่านี้โตช้า เพราะลักษณะเฉพาะประจำตัวของต้นไม้นั้นทำให้หาอาหารได้น้อย คือ ระบบรากของต้นไม้เหล่านี้รากฝอยและรากขนอ่อนน้อยมาก โดยเฉพาะใกล้ๆ โคนต้น ในการขุดล้อมต้นไม้โตช้าจึงต้องใช้วิธีการล้อมเตือน เพื่อให้แต่กรากใกล้ๆ โคนต้นหรือแต่กรากใหม่ในขอบเขตของตุ้มดิน
วิธีการขุดต้นไม้โตช้า มีลำดับขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ตัดแต่งกิ่งของต้นไม้ที่จะขุดให้สั้นและโปร่งขึ้น
ขั้นตอนที่ 2 แบ่งพื้นที่ที่จะขุดรอบโคนต้น (ตุ้มดิน) เป็น 4-6 ส่วน ซึ่งต้องพิจารณาตามอายุและขนาดของต้นไม้เป็นลำดับถ้าต้นโตอายุมากจะต้องแบ่งพื้นที่รอบโคนต้นไม้ให้เป็นหลายส่วนมากขึ้น
ขั้นตอนที่ 3 ทำการขุดล้อมเตือนโดยขุด 1 ส่วน เว้น 1 ส่วน หรือ ขุด 1 ส่วน เว้น 2 ส่วน ขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ตามขั้นตอนที่ 2
ขั้นตอนที่ 4 ทายาป้องกันเชื้อราและฮอร์โมนเร่งรากบริเวณปลายรากที่ตัด ทาทับด้วยสีน้ามันหรือปูนขาว
ขั้นตอนที่ 5 วางเรียงแผ่นไม้ สังกะสี แผ่นปูนหรือวัสดุอื่นๆ ที่แข็งแรงพอที่จะปิดกั้น ไม่ให้รากที่แต่กออกมาใหม่ไชชอนออกนอกแนวตุ้มดิน โดยให้วัสดุดังกล่าวอยู่ห่างตุ้มดินประมาณ 10-20 เซนติเมตร ลึกถึงก้นหลุมแล้วจึงผสมดินกับขุยมะพร้าวและปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ในอัตรา 1:3:1 กลบดินผสมลงในร่องที่ขุด (ระหว่างแผ่นกั้นกับตุ้มดิน) อาจเว้นร่องรอบหลุมไว้ จนถึงเวลาขุดย้ายจริงในครั้งสุดท้ายก็ได้
ขั้นตอนที่ 6 ค้ำยันต้นไม้และดูแลรดน้า รอคอยจนกว่ามีรากใหม่ปรากฏให้เห็น จึงดำเนินการขุดและย้ายปลูกต่อไป จากขั้นตอนแรกจนถึงขั้นตอนสุดท้าย อาจใช้เวลาหลายเดือน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดูแล บำรุงรักษาอย่างใกล้ชิด
4. หลักการเบื้องต้นของการปรับระดับพื้นที่
ปรับระดับพื้นที่ เป็นขั้นตอนแรกของการเตรียมพื้นที่ ซึ่งใช้เวลาค่อนข้างมาก ในกรณีการ จัดสวนสำหรับบ้านที่ก่อสร้างใหม่ ควรรอให้งานก่อสร้างส่วนใหญ่เสร็จแล้ว มีการวางท่อน้ำ ท่อประปา วางสายไฟเรียบร้อย จึงเริ่มทำการปรับพื้นที่ การปรับพื้นที่เริ่มตั้งแต่การกำจัดสิ่งที่ไม่ต้องการให้มีในสวนของเราออกไป เช่น หิน กรวด ทราย วัสดุเหลือทิ้งจากงานก่อสร้าง วัชพืช รวมทั้งต้นไม้ที่ไม่ต้องการ เป็นต้น หลังจากกำจัดสิ่งต่างๆ เหล่านี้เรียบร้อยจะเห็นสภาพพื้นที่ที่แท้จริง ซึ่งอาจจะเป็นหลุมบ่อสูงต่ำไม่เท่ากัน ทำการปรับหน้าดินให้เรียบตามที่ต้องการ การปรับดินจะต้องคำนึงถึงการระบายน้ำด้วย จะต้องไล่ระดับของดินให้สูงไปหาต่ำตรงบริเวณที่เป็นท่อระบายน้ำ เพื่อไม่ให้น้ำขังเมื่อฝนตก ทุกจุดของการจัดสวนจะต้องคิดถึงเรื่องการระบายน้ำ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ใกล้ชายคาบ้าน ซึ่งน้ำจะไหลลงมามากเมื่อฝนตก ควรพิจารณาปรับทางระบายน้ำ รวมทั้งการเลือกพรรณไม้ให้เหมาะกับสภาพพื้นที่
4.1 การเตรียมพื้นที่ (Ground preparation) เป็นขั้นตอนของการปลูกเพื่อให้ต้นไม้อยู่รอด (Survival) สูงและมีการเจริญเติบโตในระยะแรกเร็ว โดยการเตรียมพื้นที่เพื่อควบคุมการแข่งขันของพันธ์ไม้ จำกัดอุปสรรคด้านสรีระของต้นไม้ต่อการเจริญเติบโต ปรับปรุงโครงสร้างของดินในระยะแรกเพื่อช่วยในการพัฒนารากของต้นไม้และเพื่อให้ต้นไม้รับออกซิเจน น้ำและอาหารอย่างเพียงพอ การปรับปรุงการระบายน้ำจากพื้นที่ชุ่มน้ำ (Wes sites) และรักษาความชื้นในที่แห้งแล้ง (Dry sites) โดยการเตรียมพื้นที่มี 2 ลักษณะคือ โดยใช้แรงงานคน (Manual clearance) และการใช้เครื่องจักรกล ( Mechanical clearance) (สัจจาพร หงษ์ทองและคณะ,2553)การเตรียมดินปรับแต่งพื้นที่ จะต้องเตรียมพื้นที่โดยดายหญ้า เก็บวัชพืชออกจากพื้นที่ให้หมด แล้วใช้หน้าดินร่วน ถมปรับแต่งพื้นที่ให้ได้รูปเนดินตามที่ต้องการ โดยทั่วไปนิยมแต่งเนินดินให้มีรูปทรงต่างๆ ได้แก่
4.1.1 เนินแบบขั้นบันได้ การทำเป็นชั้นๆโดยแต่ละชั้นจะคำนึงถึงเส้นระดับ (Conture Line) ทำให้เนินแบบนี้มีมุมมองได้หลายระดับ แต่มีข้อเสียตรงที่ถ้าปรับเนินดินแต่ละชั้นเป็นมุม จะทำให้การตัดหญ้าตรงตัดได้ต้องใช้คนเล็มเก็บงานรอยต่อของเนินลำบาก มาสามารถใช้เครื่อง แต่ถ้าปรับให้เนินแต่ละชั้นมีลักษณะโค้งมนจะทำให้ตัดหญ้าได้สะดวกกว่า นิยมทำเนินลักษณะนี้ในพื้นที่บริเวณไม่กว้าง และพื้นที่ความลาดเท เช่น บริเวณริมลำน้ำที่มีชายตลิ่งหรือบริเวณบ้านที่มีบ้านอยู่บนเนิน
4.1.2. สร้างเนินดินให้มีลักษณะนูนคล้ายหลังเต่า รูปเนินจะดูกลมกลึง มีความสูงต่ำคล้ายธรรมชาติ มีส่วนโค้ง เว้า นูน หากผู้จัดศิลปะในการตกแต่งเนินแบบนี้จะมีความสวยงามมาก เหมาะสมกับพื้นที่ที่มีบริเวณกว้าง เช่นสนามกอล์ฟ รีสอร์ท บริษัท โรงงานเนินดินที่สวยงามควรมีลักษณะดังนี้นูนเด่น ดูเป็นธรรมชาติผสมผสานกลมกลืนกับกลุ่มหินและพรรณไม้ความสูงของเนินแต่ละเนินลดหลั่นกันอย่างเหมาะสมเส้นขอบของเนินมีลีลาอ่อนช้อยสอดคล้องระหว่างต่อเนิน มองดูไม่ขัดความรู้สึก
4.1.3 เนินแบบลูกคลื่น เป็นเนินที่มีลักษณะเป็นลูกลอนเหมือนลูกคลื่นทะเล ผู้ที่จะสร้างเนินแบบนี้ได้สวยงามต้องเป็นผู้ที่มีความเข้าใจและมีประสบการณ์สูง นิยมทำในสนามกอล์ฟที่มีแต่เนินหญ้าและบ่อทราย ปกติจะไม่นิยมปลูกพรรณไม้ใดๆ บนเนินลักษณะนี้ ทำค่อนข้างยาก เพราะต้องใช้เครื่องมือหนักสร้างแบบหลังเต่าคร่าวๆ ก่อน แล้วจึงแต่งเนินให้เป็นลูกลอนแบบคลื่นน้ำ
การปรับปรุงดินเป็นงานต่อเนื่องจากการปรับแต่งเนิน ควรปรับปรุงดินให้มีความอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินที่เป็นดินเหนียว ควรใส่ถ่านแกลบ ทรายและปูนขาว เพื่อปรับสภาพ พี.เอช ของดินและจะช่วยทำให้ดินร่วนโปร่งระบายน้ำ อากาศได้ดีขึ้น ใส่ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ย กทม. หากเป็นปุ๋ยคอกควรหมักให้เมล็ดวัชพืชตายก่อน จึงจะนำไปใช้ไม่เช่นนั้นจะเกิดปัญหาวัชพืชงอกในภายหลัง
ข้อคำนึงในการปรับแต่งพื้นที่
1. พื้นที่ที่กว้างมากๆ ควรใช้กล้องส่องจับระดับพื้นที่จะได้ทราบความสูงต่ำ เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการปรับถมพื้นที่ที่กว้างมากๆ ควรใช้รถแทรคเตอร์ล้อยาง รถตีนตะขาบหรือรถเกรด แต่ถ้าพื้นที่ไม่มากอาจใช้จอบ คราด จะทำได้สะดวกและประหยัดกว่า ระดับของพื้นที่หากต้องการความละเอียดมากๆ ควรใช้สายยางใส่น้ำจับระดับแล้วใช้หมุดตอกทำเครื่องหมายบอกระดับ
2. เก็บเศษวัสดุ อิฐซีเมนต์ วัชพืช กิ่งไม้ ท่อนไม้ออกจากพื้นที่ให้หมด เพื่อให้หญ้าเจริญได้สม่ำเสนอ และเพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องตัดหญ้าได้รับความเสียหายขณะปฎิบัติงาน
3. ถ้าบริเวณที่จะต้องถมดินให้สูงกว่าระดับดินเดิมมากๆ และมีต้นไม้ใหญ่อยู่ควร ก่อฉาบปูนรอบๆโคนต้นไม้ไว้ก่อนที่จะถมเพื่อป้องกันไม่ให้ต้นไม้ตาย
4. การปรับพื้นที่รอบตัวอาคารในกรณีที่ถนนภายในบ้านอยู่สูงกว่าพื้นอาคารต้องปรับพื้นที่ให้ลาดเทไปสู่จุดระดับระบายน้ำ ทั้งนี้เพื่อป้องกันน้ำไหลเข้าตัวบ้าน แต่ถ้าถนนภายในบ้านอยู่ต่ำกว่าพื้นบ้านควร ปรับพื้นที่ให้ลาดเทไปที่ถนน เพื่อให้น้ำจากสนามหญ้าระบายไปที่ถนน และไหลลงสู่ร่องหรือท่อระบายน้ำอีกทีหนึ่ง
5. บริเวณที่มีความลาดเทมากๆ หากปรับพื้นที่ให้มีความลาดเทน้อยกว่า 25% ไม่ได้ก็ควรจะก่ออิฐหรือกำแพงคอนกรีตเป็นผนังกั้นไว้ หรืออาจใช้หินวางเป็นชั้นกันดินไหลและใช้เป็นขั้นบันได้เหยียบขึ้นเนินได้ด้วย
6. ออกแบบปรับแต่งพื้นที่ให้เป็นเนินลักษณะต่างๆ เพื่อให้สนามหญ้ามีความโดดเด่นสวยงาม
4.2 การสร้างลำธาร น้ำตก
สิ่งดังกล่าวนี้หากได้กำหนดไว้ในแบบจะจ้องดำเนินไปพร้อมๆกับการปรับแต่งพื้นที่
4.2.1.การสร้างลำธารและน้ำตก มีขั้นตอนในการปฎิบัติดังนี้
4.2.1.1 เลือกสถานที่ทำลำธาร บ่อ โดยพิจารณาเลือกบริเวณที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ
4.2.1.2 กำหนดขอบเขตรูปทรงของบ่อลำธาร ทำได้ดังนี้
หากผู้ปฎิบัติมีประสบการณ์หรือมีความชำนาญสูง อาจใช้ไม้ขีดลงไปบนพื้นที่ให้ได้รูปทรงตามที่ต้องการได้เลย
ถ้าผู้ปฎิบัติยังมีประสบการณ์น้อยให้ใช้สายยางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.5- 1นิ้ว เป็นอุปกรณ์ในการกำหนดของเขตรูปทรงของลำธารจะทำได้ง่ายและสะดวกกว่า จากนั้นจึงใช้ปูนขาวโรยตามแนวสายยาง
4.2.1.3 ขุดดินลำธารให้ได้ความลึกตามที่ต้องการ (ประมาณ 0.5-1 เมตร)
4.2.1.4 หาระดับขอบบ่อ โดยใช้อุปกรณ์ดังนี้
(1) สายยางใช้กับบ่อขนาดเล็ก
(2)กล้องส่องระดับใช้กับบ่อที่มีความกว้างใหญ่
4.2.1.5 ขุดฝังท่อต่างๆดังนี้
(1) ท่อสะดือบ่อ เพื่อใช้สำหรับระบายน้ำทื้งหรือล้างบ่อ
(2) ท่อสำหรับดูดน้ำหมุนเวียนทำน้ำตก
(3) ท่อระบายน้ำล้น
4.2.1.6 การทำพื้นบ่อปฎิบัติดังนี้
(1) ขุดหลุมให้มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.50 เมตร ลึกประมาณ 0.30 เมตร เตรียมไว้สำหรับจุ่มหัวกระโหลกดูดน้ำทำน้ำตก ส่วนบริเวณที่ปลูกบัวเล็กน้อย ให้ขุดหลุมขนาดโตกว่ากระถางปลูกบัวเล็กน้อย นำกระถางบัวใส่หลุมไว้แล้ว เทคอนกรีตให้รอบกระถางพอคอนกรีตใกล้จะแห้งให้ดึงกระถางออก
(2) ถ้าดินมีลักษณะอ่อนตัวให้ตอกเสาเข็มบริเวณที่จะทำพื้นลำธารด้วย
(3) ขุดปรับแต่งก้นบ่อให้มีความลาดเทไปทางสะดือบ่อ เพื่อให้สะดวกต่อการล้างทำความสะอาดบ่อในโอกาสต่อไป
(4) โรยหินที่ก้นบ่อแล้วตบทุบแน่น
(5) ผู้กเหล็กเทคอนกรีตพื้นลำธาร
4.2.1.7 การทำผนังบ่อ ถ้าเป็นบ่อขนาดเล็กอาจก่ออิฐฉาบปูน แต่ถ้าเป็นบ่อขนาดใหญ่ให้ใช้วิธีการโครงเหล็กเส้น ผู้กเหล็กแล้วเทคอนกรีต จะทำให้บ่อแข็งแรงไม่แต่กร้าวได้ง่ายและควรใส่น้ำยากันซึมด้วย ที่ขอบของบ่อลำธารต้องจับระดับเพื่อให้ระดับน้ำเสมอกับขอบ ตรงบริเวณที่จะมีการวางหินให้เว้นช่องว่างไว้
4.2.1.8 ทำชั้นน้ำตก ปฏิบัติดังนี้
ถ้าดินบริเวณที่จะทำชั้นน้ำตกอ่อนตัว ควรตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันชั้นน้ำตกอ่อนตัว ควรตอกเสาเข็มเพื่อป้องกันชั้นน้ำตกทรุดภายหลัง
ผู้กเหล็กเส้นเทคอนกรีตบริเวณที่จะทำแท่นน้ำตก แล้วก่ออิฐทำแท่นน้ำตกให้มีลักษณะเป็นชั้นตามแบบที่กำหนดไว้
4.2.1.9 จัดวางหินทำชั้นน้ำตกและวางหินขอบลำธารถ้าหินที่จะวางขอบลำธารมีขนาดใหญ่มากๆ ตรงจุดที่จะวางหินควรตอกเสาเข็มเสียก่อน แล้วเททับด้วยคอนกรีต จากนั้นจึงนำหิน ไปวาง ใช้ปูนซีเมนต์อุดยารอยต่อ อย่าให้น้ำรั้วซึ่มได้ (ถ้าหินที่จะวางขอบลำธารมีขนาดไม่เกิน 100 กก. อาจไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็มก็ได้)
4.2.1.10 ฉาบปูนบริเวณแท่นน้ำตกและผนังคอนกรีตให้อุดยาแนวให้ดีเป็นกรณ๊พิเศาและควรใส่ยากันซึมลงในส่วนผสมของคอนกรีตด้วย
ข้อคำนึงในการสร้างบ่อ ลำธาร
1. ในการผสมคอนกรีตเทพื้นหรือฉาบผนัง ควรผสมน้ำยากันซึมเข้าไปด้วย
2. หลังจากทำบ่อเสร็จแล้ว ควรปล่อยน้ำใส่บ่อหรือบ่มปูนไว้ 1-2 สัปดาห์ แล้วจึงถ่ายเปลี่ยนน้ำ
3. ถ้าบ่อมีขนาดไม่ใหญ่โต มีพื้นที่ไม่เกิน 10 ตารางเมตร ผนังบ่อควรทำให้มีลักษณะตั้งตรงจะดีกว่าแบบลาดเอียง เพราะจะทำให้บ่อดูลึกและกว้างเพิ่มขึ้น
4. ในกรณีทำบ่อเลียนแบบธรรมชาติควรมีการจัดวางหินบริเวณขอบบ่อและก้นบ่อด้วย
5. บริเวณชายบ่อที่ตื้นเขิน อาจทำเป็นหาดกรวดโดยใช้กรวดกดติดกับปูนซีเมนต์
6. ในระหว่าขุดพื้นบ่อหากต้องการต้องการปลูก ไม้น้ำให้ขุดหลุมให้มีขนาดโตพอที่จะวางกระถาง
7. บริเวณข้างบ่อที่มองเห็นท่อ เช่นท่อระบายน้ำล้น ท่อดูดน้ำหมุนเวียน ควรวางหินหรือปลูกพรรณไม้ปิดบังไว้
5. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร
เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ
5.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์
5.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์ ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง
5.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด
5.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือ ที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง
5.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า
5.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง
5.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย
5.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได้
5.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่
5.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแวมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ
5.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ
5.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์
5.8 การทำความสะอาดและเก็บรักษาเครื่องมือการเกษตรเบื้องต้น (โยธะคง, 2541)
จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน อีเตอร์จอบดายหญ้าหรือจอบถากและมีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด มีดดายหญ้า มีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม
กรรไกรตัดแต่งกิ่ง กรรไกรตัดหญ้า และเลื่อยตัดแต่งกิ่ง ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมหรือหยอดน้ำมัน เก็บเข้าที่โดยการแขวนบัวรดน้ำ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้แล้วควรล้างทำความสะอาดถัง ตัวถัง และฝักบัวเพื่อป้องกันการอุดตัน คว่ำให้แห้งและเก็บเข้าที่
สปริงเกอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยดหัวพ่นหมอกมินิสปริงเกอร์สปริงเกอร์และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้งานควรใช้น้ำแรงดันสูงล้างเพื่อป้องกันการอุดตันจากคราบสกปรกต่างๆ
ถังน้ำ สายยาง และปุ้งกี๋ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรทำความสะอาด ทำให้แห้ง และเก็บคว่ำเข้าที่ โดยสายยางให้ม้วนเก็บเข้าที่ อย่าให้มีส่วนใดหักงอ
6. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPP) หรือPersonal Protective Equipment (PPE))
หมายถึง อุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)
7. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554
ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI)มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)
8. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554
หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน
มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย
ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัย ให้นายจ้างจัดให้มี
การฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด
มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8
|