หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

วางแผน จัดทำเอกสารบันทึกประวัติ คู่มือวิธีการใช้งานเอกสาร คลัง การบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-DONE-119A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ วางแผน จัดทำเอกสารบันทึกประวัติ คู่มือวิธีการใช้งานเอกสาร คลัง การบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพนักจัดการเครื่องมืออุปกรณ์พื้นที่สีเขียว ระดับ 2

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
เป็นหน่วยสมรรถนะที่ผู้ปฏิบัติงานมีทักษะในการปฏิบัติงานประจำขั้นพื้นฐานทั่วไปเกี่ยวกับเครื่องมือ และเครื่องจักรกลการเกษตร ต้องมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพสามารถวางแผน จัดทำเอกสารบันทึกประวัติ คู่มือวิธีการใช้งาน เอกสารคลัง การบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรก่อนนำไปใช้งานรวมทั้งสามารถแก้ปัญหาพื้นฐานที่พบเป็นประจำโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี เครื่องมือ และข้อมูลพื้นฐานภายใต้การแนะแนวของผู้บังคับบัญชา

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03241 จัดทำเอกสารบันทึกประวัติเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 1.1 จำแนกชนิดของเครื่องจักรกลการเกษตรได้ 155650
03241 จัดทำเอกสารบันทึกประวัติเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 1.2 อธิบายขั้นตอนการจัดทำเอกสารบันทึกประวัติเครื่องมือเครื่องจักรกลได้ 155651
03241 จัดทำเอกสารบันทึกประวัติเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 1.3 จัดทำเอกสารบันทึกประวัติเครื่องมือเครื่องจักรกลได้ตามมาตรฐานวงจรการบริหารงานคุณภาพ 155652
03242 จัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้งาน เครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 2.1 อธิบายขั้นตอนการจัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้งานสำหรับเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรได้ 155653
03242 จัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้งาน เครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 2.2 จัดทำเอกสารคู่มือวิธีการใช้งานสำหรับเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรได้ตามมาตรฐานวงจรการบริหารงานคุณภาพ 155654
03243 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 3.1 อธิบายขั้นตอนการจัดทำเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรได้ 155655
03243 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร 3.2 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรได้ตามมาตรฐาน วงจรการบริหารงานคุณภาพ 155656
03244 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย 4.1 อธิบายขั้นตอนการจัดทำเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยได้ 155657
03244 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย 4.2 จัดทำเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยได้ตามมาตรฐานวงจรการบริหารงานคุณภาพ 155658
03245 จัดทำเอกสารวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตร 5.1 อธิบายวิธีการบำรุงรักษาเครื่องจักรกลการเกษตรได้ 155659
03245 จัดทำเอกสารวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตร 5.2 อธิบายขั้นตอนการจัดทำเอกสารวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือได้การเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรได้ 155660
03245 จัดทำเอกสารวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตร 5.3 จัดทำเอกสารวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตรได้ตามมาตรฐานวงจรการบริหารงานคุณภาพ 155661

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ทักษะการจัดทำเอกสารคลังเอกสารประวิติ เอกสารคู่มือวิธีการใช้งานและวิธีการบำรุงรักษาเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลการเกษตรและเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย

2.ทักษะการบันทึกเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรโดยการจดบันทึก หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงานประกอบด้วย 4ขั้นตอนคือการวางแผน    การดำเนินงานการประเมินผลและการปรับปรุง    

2. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร ซึ่งเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการใช้งานคือ เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดินเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ย เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืช เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณ และเครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง                

3. กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่แบ่งประเภท และชนิดตามพิกัดศุลกากร (Harmonized System: HS Code) และลักษณะการใช้งานโดยทั่วไปของเครื่องจักรกลการเกษตรไทยประกอบด้วย แทรกเตอร์ เครื่องเตรียมดิน เครื่องปลูก เครื่องบำรุงรักษา เครื่องเก็บเกี่ยว และเครื่องมืออื่นๆ 

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย ซึ่งคืออุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา

5. เอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรเครื่องจักรกลทางการเกษตร และเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย เป็นเอกสารที่รวบรวมหมวดหมู่ จำนวนเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลทางการเกษตรแต่ละประเภท การเบิกจ่ายรับคืนเอกสารการเก็บรักษาเอกสารการตรวจสอบเครื่องมือการเกษตรประจำปี    

6. ประวัติเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร คือรายละเอียดของเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร

7. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานงานทำการบำรุงรักษาเครื่องมือ และเครื่องจักรกล โดยทำงานเป็นกลุ่ม และมุ่งเน้นด้านการทำความสะอาด การตรวจสอบ การหล่อลื่น และการกำกับดูแล

8. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)เป็นการวางแผนโดยกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่หรืออื่นๆเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการวางแผนการป้องกันไว้ล่วงหน้าทำให้ไม่ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์หรืออุปกรณ์แบบฉุกเฉิน 

9. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) เป็นวิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือสินทรัพย์ตามสภาพของสินทรัพย์ 

10. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective or Breakdown Maintenance) หรือการบำรุงรักษาหลังเกิดการเสียหาย โดยจะดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมสินทรัพย์ก็ต่อเมื่อสินทรัพย์เสียหายจึงทำให้ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์ 

11. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

12. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานมาตรา 16และมาตรา 19


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1.หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือการเกษตร หรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรจากนายจ้าง หรือ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมเกี่ยวกับเครื่องมือ หรือเครื่องจักรกลทางการเกษตรซึ่งจัดโดยหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนหรือ

3. หากไม่มีหลักฐานความรู้ตามข้อ 1 และ 2 ข้างต้น ต้องมีประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับเครื่องมือการเกษตร หรือเครื่องจักรกลทางการเกษตร และสามารถอ่าน เขียน และสื่อสารด้วยภาษาไทยได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

1.ความรู้พื้นฐานและทักษะที่เกี่ยวข้องกับประเภท และชนิดของเครื่องมือการเกษตร

2. ความรู้พื้นฐานเรื่องวงจรการบริหารงานคุณภาพ

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้จากการประเมินแบบปรนัย และแบบอัตนัย

2. การสอบปฏิบัติ


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ    

1. ขอบเขตความหมายของคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องตามราชบัณฑิตยสถาน, (2554)

เครื่องมือ คือสิ่งของสำหรับใช้ในการประดิษฐ์ สร้าง หรือทำ โดยปริยายหมายถึงคนหรือสิ่งที่ใช้ทำประโยชน์อย่างเครื่องมือ

อุปกรณ์ คือ เครื่องมือ, เครื่องใช้, เครื่องช่วย, เครื่องประกอบ

คำว่า”เครื่องมือการเกษตร” ในหน่วยสมรรถนะอาชีพนักจัดการเครื่องมืออุปกรณ์พื้นที่สีเขียว หมายรวมถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ตามคำจำกัดความในคำอธิบายรายละเอียดที่ 2

เครื่องจักรคือ กลอุปกรณ์ต่างๆ ที่ประกอบกันขึ้นเป็นเครื่องเพื่อใช้ประโยชน์ในการผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

2. ขอบเขตของหน่วยสมรรถนะนี้ หมายถึงเฉพาะเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตรตามคำจำกัดความใน(ข) คำอธิบายรายละเอียด

3. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับวงจรการบริหารงานคุณภาพตามคำจำกัดความใน (ข) คำอธิบายรายละเอียด

4. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554 ข้อ 3 ตามคำอธิบายรายละเอียดที่ 11 และพระราชบัญญัติความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 หมวด 2 มาตรา 16 19 ตาม(ข) คำอธิบายรายละเอียด

5. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องเอกสารคลังเครื่องมือการเกษตร เครื่องจักรกลทางการเกษตร และเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยตามคำจำกัดความใน (ข) คำอธิบายรายละเอียด

6. ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้เรื่องเอกสารประวัติเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลการเกษตร ตามคำจำกัดความใน (ข) คำอธิบายรายละเอียด

7. ผู้เข้ารับการประเมินต้องให้ความสำคัญเกี่ยวกับการบำรุงรักษา ตามคำจำกัดความใน      (ข) คำอธิบายรายละเอียด

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. วงจรการบริหารงานคุณภาพ (PDCA) คือ กิจกรรมพื้นฐานในการพัฒนาประสิทธิภาพและคุณภาพของการดำเนินงาน (อาชีวะระงับโรค, 2547 )ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ

1.1 P: Plan การวางแผนหมายถึง ทักษะในการกำหนดเป้าหมายการวิเคราะห์และสังเคราะห์หาวิธีการและกระบวนการให้บรรลุเป้าหมายนั้นๆ โดยจะต้องมีการกำหนดตัวบ่งชี้กำกับไว้เพื่อจะได้นำไปใช้ในการประเมินผลดำเนินการ

1.2 D: Do การดำเนินงานหมายถึง ทักษะในการปฏิบัติตามแผน ตามขั้นตอนและเงื่อนไขต่างๆ ที่กำหนดไว้ กรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากมี    การเปลี่ยนแปลงปัจจัยสิ่งแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก จะต้องมีการปรับแผนในระหว่างดำเนินการโดยมีคำอธิบายและเหตุผลประกอบ

1.3 C: Check การประเมินผลหมายถึง ทักษะในการรวบรวมข้อมูลของผลการดำเนินงานที่สอดคล้องกับประเด็นตัวบ่งชี้ที่สร้างไว้ เพื่อนำมาใช้เปรียบเทียบกับเป้าหมายของแผนในขั้นตอน  ที่ 1 ในการประเมินนี้จะต้องพิจารณาในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพของผลงานด้วย

1.4 A: Act การปรับปรุง หมายถึง กิจกรรมที่มีขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นหลังจากได้ทำการตรวจสอบแล้วการปรับปรุงอาจเป็นการแก้ไขแบบเร่งด่วน เฉพาะหน้าหรือการค้นหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหา เพื่อป้องกันไมให้เกิดปัญหาซ้ำรอยเดิม การปรับปรุงอาจนำไปสู่การกำหนดมาตรฐานของวิธีการทำงานที่ต่างจากเดิมเมื่อมีการดำเนินงานตาม

2. กลุ่มเครื่องมือการเกษตร เป็นเครื่องมือและอุปกรณ์หรือเครื่องทุ่นแรงที่ใช้สำหรับงานดูแลบำรุงรักษางานภูมิทัศน์ (โยธะคง, 2541) หรือใช้การประกอบอาชีพการเกษตร โดยสามารถที่จะใช้ในงานประณีตที่เครื่องทุ่นแรงอื่นๆ ไม่สามารถใช้ได้ (ใจเที่ยง, 2545) เครื่องมือประเภทนี้แบ่งตามลักษณะการ ใช้งาน คือ

2.1 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานทำความสะอาดและงานดิน เป็นเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับการทำความสะอาด การขุดดิน การตักดิน การพรวนดิน การผสมดิน การตีดิน การเกลี่ยดิน การปรับระดับดิน และการเคลื่อนย้ายดิน ประกอบด้วย จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน และอีเตอร์

2.2 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานน้ำเป็นอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นในการนำน้ำจากจุดจ่ายน้ำไปให้แก่พืชพรรณ โดยใช้คนควบคุม ยกเว้นระบบติดตั้งโดยสมบูรณ์ทั่วทั้งบริเวณที่ควบคุมเวลาทำงาน ประกอบด้วย บัวรดน้ำ สปริงเกอร์    ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ สปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพ ถังน้ำ และสายยาง

2.3 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานปุ๋ยเป็นเครื่องมือที่ออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับงานใส่ปุ๋ยแห้ง และใส่ปูนขาวเป็นหลัก แต่อาจนำไปใช้กับงานหว่านเมล็ดพืชที่มีขนาดเล็ก และยาปราบศัตรูพืชที่เป็นเม็ด ประกอบด้วย เครื่องใส่ปุ๋ยแบบใช้มือหมุนและใช้ล้อหมุน และเครื่องมือใส่ปุ๋ยแบบหยอด

2.4 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการป้องกันกำจัดศัตรูพืชเป็นเครื่องมือที่ออกแบบสำหรับใช้งานกำจัดศัตรูพืช โรค แมลง วัชพืช ทั้งที่เป็นยาน้ำ และยาผง บางครั้งสามารถประยุกต์ใช้กับการใส่ปุ๋ยน้ำทางใบได้ด้วย แต่ต้องระวังเวลาเปลี่ยนกิจกรรมการใช้ต้องล้างเครื่องมือให้สะอาด ประกอบด้วย เครื่องพ่นยาน้ำแบบถังกลมและถังแบน และเครื่องพ่นยาผง 

2.5 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานการตัดหญ้าสนามเป็นเครื่องมือและอุปกรณ์เพื่อตัดหญ้าในแนวนอน และแนวตั้ง ประกอบด้วย เครื่องตัดหญ้าแบบคนเดินตามและคนนั่งขับ กรรไกรตัดหญ้า มีดดายหญ้า เครื่องตัดขอบด้วยแรงคน และเครื่องเล็มหญ้า

2.6 เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้กับงานตัดแต่งพืชพรรณประกอบด้วย กรรไกรตัดแต่งกิ่งแบบด้ามสั้น ด้ามยาว และแบบกระตุก เลื่อยตัดแต่ง กรรไกรตัดเล็มรั้วต้นไม้ เลื่อยโซ่ มีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด รวมทั้งมีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่ง

2.7 เครื่องมือและอุปกรณ์อำนวยความสะดวกและซ่อมบำรุง เป็นอุปกรณ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือให้งานอื่นๆสะดวกในการปฏิบัติงาน ประกอบด้วย 

2.7.1 อุปกรณ์อำนวยความสะดวก ได้แก่ รถเข็นแบบล้อเดี่ยว และแบบสองล้อ ปุ้งกี๋ และบันได 

2.7.2 เครื่องมือในการซ่อมแซม ได้แก่

2.7.2.1 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมวัสดุ-อุปกรณ์ทั่วไป ได้แก่ เครื่องมอเตอร์ติดหินลับหรือติดแปรงเหล็กลวดหินลับมีด แปรงเหล็กลวด ตะไบประเภทต่างๆ (หางหนู สามเหลี่ยม แบบใบมีดหรือใบแบน) กบมือ กบไฟฟ้า ค้อน สิ่ว ตะปู ประแจ ไขควงชนิดต่างๆ สว่านมือ สว่านไฟฟ้า สี และอะไหล่ต่างๆ

2.7.2.2 เครื่องมือใช้ซ่อมแซมเครื่องยนต์และเครื่องไฟฟ้า ได้แก่ ประแจเลื่อน ประแจปากตาย ไขควง กรวยเติมน้ำมัน กระป๋องหยอดน้ำมัน เครื่องกระบอกอัดจาระบี ผ้าเช็ดทำความสะอาด อะไหล่เครื่องยนต์ ปลั๊ก สวิทซ์ไฟฟ้า สายไฟ และเทปพันสายไฟ 

2.7.2.3 ตู้เก็บเครื่องมือและอุปกรณ์



2.8 การทำความสะอาดและเก็บรักษาเครื่องมือการเกษตรเบื้องต้น (โยธะคง, 2541)

จอบชนิดต่างๆ ได้แก่จอบขุด จอบถากหรือจอบเอนกประสงค์ จอบคอห่าน และจอบสามง่าม ช้อนปลูก ส้อมพรวน มือเสือ คราดชนิดต่างๆ ได้แก่ คราดใช้กับสนามหญ้า คราดที่ใช้กับงานสวนทั่วไป เสียม พลั่ว เครื่องมือย่อยดินหรือเครื่องพรวนดิน อีเตอร์ จอบดายหญ้า หรือจอบถาก และมีดชนิดต่างๆ ได้แก่ มีดหวด มีดดายหญ้า มีดที่ใช้ในการตอนกิ่ง ติดตา ทาบกิ่งทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยล้างให้สะอาด เช็ดให้แห้ง และทาน้ำมันตรงส่วนที่เป็นโลหะเพื่อป้องกันสนิม

กรรไกรตัดแต่งกิ่ง กรรไกรตัดหญ้า และเลื่อยตัดแต่งกิ่งทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรล้างทำความสะอาด เช็ดให้แห้ง ทาน้ำมันกันสนิมหรือหยอดน้ำมัน เก็บเข้าที่โดยการแขวน

บัวรดน้ำทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้แล้วควรล้างทำความสะอาดถัง ตัวถัง และฝักบัวเพื่อป้องกันการอุดตัน คว่ำให้แห้งและเก็บเข้าที่

สปริงเกอร์ชนิดต่างๆ ได้แก่ หัวน้ำหยด หัวพ่นหมอก มินิสปริงเกอร์ และสปริงเกอร์แบบป๊อปอัพทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้งานควรใช้น้ำแรงดันสูงล้างเพื่อป้องกันการอุดตันจากคราบสกปรกต่างๆ

ถังน้ำ สายยาง และปุ้งกี๋ ทำความสะอาดและเก็บรักษาโดยภายหลังการใช้ควรทำความสะอาด ทำให้แห้ง และเก็บคว่ำเข้าที่ โดยสายยางให้ม้วนเก็บเข้าที่อย่าให้มีส่วนใดหักงอ

3. กลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่แบ่งประเภท และชนิดตามพิกัดศุลกากร (Harmonized System: HS Code) และลักษณะการใช้งานโดยทั่วไปของเครื่องจักรกลการเกษตรไทย(อุดมกิจมงคล, 2554) ประกอบด้วย 

3.1 แทรกเตอร์ (Tractors)เป็นเครื่องจักรกลการเกษตรที่มีความสำคัญต่อการทำเกษตรกรรมแผนใหม่ เนื่องจากใช้เป็นแหล่งกำลังหลักสำหรับลากและขับอุปกรณ์หรือเครื่องมือการเกษตรอื่นๆ เช่น เครื่องเตรียมดิน เครื่องบำรุงรักษา เครื่องเก็บเกี่ยว ฯลฯ โดยแทรกเตอร์ที่ใช้ในการเกษตรมีทั้งชนิด 4 ล้อ และ 2 ล้อ ซึ่งแทรกเตอร์ 4 ล้อที่ใช้ในประเทศไทย สามารถแบ่งตามแรงม้าได้ 3 ขนาด คือ ขนาดเล็กต่ำกว่า 18 แรงม้า ขนาดกลาง 18-50 แรงม้า และขนาดใหญ่ 50 แรงม้าขึ้นไป ส่วนแทรกเตอร์ 2 ล้อ เรียกอีกชื่อว่า รถไถเดินตาม (Pedestrian controlled tractoes) มีขนาดแรงม้าไม่เกิน15 แรงม้า

3.2 เครื่องเตรียมดิน (Tillage equipment)

เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเกษตรสำหรับการเตรียมดินเพื่อการเพาะปลูก แบ่งเป็นเครื่องเตรียมดินครั้งแรก เช่น ไถหัวหมู (Mold board plow) ไถจาน (Disk plow) ไถดินดาน (Subsoiler) ไถยกร่อง (Lister) และเครื่องมือเตรียมดินครั้งที่สอง เช่น พรวนจาน (Disk harrow) พรวนซี่สปริง (Spring tooth harrow) คราด (Spike) ลูกกลิ้ง (Land roller) และทุ่นลาก (Float) 

3.3 เครื่องปลูก (Planting equipment)

เป็นเครื่องมือหรืออุปกรณ์ทางการเกษตร เพื่อการเพาะปลูกพืชด้วยวิธีการต่างๆ ตามกรรมวิธีในการปลูกและเลี้ยงดูต้นไม้ตั้งแต่เพาะเมล็ดหรือนำต้นที่โตแล้ว หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของต้น ได้แก่ หัว กิ่ง ต้นอ่อน ไปปลูกแล้วบำรุงให้เจริญเติบโต เช่น เครื่องหว่านเมล็ด (Spacing drill) เครื่องปลูกพืชหัว (Planters) เครื่องย้ายต้นกล้ารวมถึงดำนา (Transplanters) และเครื่องปลูกอ้อย (Sugar cane planter)    

3.4 เครื่องบำรุงรักษา (Crop protection equipment)

เป็นเครื่องมือที่ใช้บำรุงรักษา เช่น เครื่องสูบน้ำ (Water pumps) เครื่องพ่นยา (Sprats) เครื่องพรวนระหว่างแถว (Cultivator) เครื่องหว่านปุ๋ย (Fertiliser distributors) และเครื่องตัดหญ้า (Mowers) 

เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บเกี่ยว เช่น เครื่องเกี่ยวนวดข้าว (Combine harvester) เครื่องเก็บเกี่ยวอ้อย (Sugar harvester) เครื่องทำฟอนฟาง (Straw or fodder balers) เครื่องเก็บเกี่ยวรากหรือหัวพืช (Root or tuber harvesting) เครื่องนวด (Threshing) และเครื่องสี (Hullers and Mills) 

3.6 เครื่องมืออื่นๆ (Other equipment)

เครื่องจักรที่ใช้ในงานปศุสัตว์ (Livestock machine) คือ เครื่องรีดนม (Milking machines) เครื่องเตรียมอาหารสัตว์ (Feeding stuffs) เครื่องเลี้ยงสัตว์ปีก (Poultry keeping) และเครื่องทุ่นแรงที่ทำให้ผลิตผลสำเร็จรูป (Crop processing equipment) คือ เครื่องคัดแยกขนาด (Grading) เครื่องอบแห้ง (Dryers) และเครื่องยก (Conveyors) 

4. เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย (Personal Protective Devices (PPD) หรือPersonal Protective Equipment (PPE)) หมายถึงอุปกรณ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในการสวมใส่ขณะทำงานเพื่อป้องกันอันตรายเพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยป้องกันการเกิดอุบัติเหตุได้ หรือช่วยลดอาการบาดเจ็บจากหนักให้เป็นเบา เช่น ถ้าใช้เครื่องมืออุปกรณ์ความปลอดภัยก็จะทำให้ลดความเสี่ยงในการทำงานมากกว่าเดิมการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัยเป็นวิธีการหนึ่งในหลายวิธีในการป้องกันอันตรายจากการทำงานโดยทั่วไปจะมีการป้องกันและควบคุมที่สภาพและสิ่งแวดล้อมของการทำงานก่อนโดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรมการกั้นแยกไม่ให้ปะปนกับสิ่งอื่นหรือการใช้เซฟการ์ดแบบต่างๆหรือการที่จะต้องปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเปลี่ยนกรรมวิธีการทำงานส่วนในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ก็จะนำกลวิธีการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายมาใช้ประกอบด้วยเพื่อช่วยป้องกันอวัยวะของร่างกายในส่วนที่ต้องสัมผัสงานมิให้ประสบอันตรายจากภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นขณะทำงาน คือ หมวกป้องกันศีรษะ กระบังหน้า อุปกรณ์ป้องกันหู แว่นนิรภัย หน้ากากกันฝุ่นละออง ถุงมือนิรภัย เข็มขัดนิรภัย ชุดป้องกัน และรองเท้านิรภัย (เอเฟท, 2547)

5. เอกสารคลังเครื่องมือการเกษตรเครื่องจักรกลทางการเกษตร และเอกสารคลังเครื่องมือและอุปกรณ์ความปลอดภัย หมายถึง เอกสารที่รวบรวมหมวดหมู่ จำนวนเครื่องมือการเกษตรและเครื่องจักรกลทางการเกษตรแต่ละประเภท การเบิกจ่ายรับคืนเอกสารการเก็บรักษาเอกสารการตรวจสอบเครื่องมือการเกษตรประจำปีโดยการจดบันทึก หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เกิดระเบียบแบบแผน เพื่อป้องกันและรักษาเครื่องมือการเกษตรและรวมถึงหรือเครื่องจักรกลการเกษตรให้อยู่ในสภาพที่ดี มีความพร้อมในการนำออกไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว ทันเวลา ด้วยค่าดำเนินการที่ต่ำ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและกำไรให้กับกิจการ (ฉิ่นไพศาล, 2558)

6. ประวัติเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร คือ รายละเอียดของเครื่องมือการเกษตร และเครื่องจักรกลทางการเกษตร ได้แก่ บริษัทผู้ผลิต การส่งมอบ การติดตั้ง การใช้งาน การซ่อมแซมและการบำรุงรักษา เอกสารสามารถจัดทำโดยการจดบันทึก หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์  (ฉิ่นไพศาล, 2558)

7. การบำรุงรักษาด้วยตนเอง (Autonomous Maintenance) หมายถึงกิจกรรมต่างๆ ซึ่งผู้ปฏิบัติงานงานทำการบำรุงรักษาเครื่องมือ และเครื่องจักรกล โดยทำงานเป็นกลุ่ม และมุ่งเน้นด้านการทำความสะอาด การตรวจสอบ การหล่อลื่น และการกำกับดูแล (ดัดแปลงจาก ฉิ่นไพศาล, 2558) 



8. การบำรุงรักษาเชิงป้องกัน (Preventive Maintenance)จะเป็นการวางแผนโดยกำหนดระยะเวลาในการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่หรืออื่นๆเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น จะเป็นการวางแผนการป้องกันไว้ล่วงหน้าทำให้ไม่ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์หรืออุปกรณ์แบบฉุกเฉิน โดยทั่วไประยะเวลาในการทำงานสามารถหาข้อมูลอ้างอิงได้จากคู่มือของผู้ผลิตหรือจากแผนการบำรุงรักษาที่ใช้งานอยู่ ข้อดี สามารถทำการวางแผนการบำรุงรักษาและแผนการใช้สินทรัพย์ได้ง่าย โดยทั่วไปมักจะปฏิบัติตามคู่มือผู้ผลิต ทำให้สามารถใช้งานสินทรัพย์ได้มากกว่าการบำรุงรักษาแบบแก้ไข (ฉิ่นไพศาล, 2558; แสงธรรม, 2560; ยวงสุวรรณ, 2560)

9. การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์ (Predictive Maintenance) จะเป็นวิธีบำรุงรักษาอุปกรณ์หรือสินทรัพย์ตามสภาพของสินทรัพย์ การบำรุงรักษาเชิงพยากรณ์จะใช้หลักการที่ว่าโดยทั่วไปเมื่อมีความเสียหายเกิดขึ้น อุปกรณ์หรือสินทรัพย์จะแสดงสัญญาณบางอย่างออกมา ดังนั้นถ้าหากเราสามารถทำการตรวจจับสัญญาณที่แสดงออกมาได้ เราก็สามารถทำการบำรุงรักษาก่อนที่สินทรัพย์จะเสียหาย ได้แก่ ความร้อนเสียงการสั่นสะเทือน และเศษผงโลหะ (ฉิ่นไพศาล, 2558; แสงธรรม, 2560; ยวงสุวรรณ, 2560)

10. การบำรุงรักษาแบบแก้ไข (Corrective or Breakdown Maintenance) หรือการบำรุงรักษาหลังเกิดการเสียหาย โดยจะดำเนินการแก้ไขหรือซ่อมแซมสินทรัพย์ก็ต่อเมื่อสินทรัพย์เสียหายจึงทำให้ต้องหยุดการใช้งานสินทรัพย์ เช่น หลอดไฟแสงสว่าง เครื่องจักรในโรงงาน ข้อดี ได้ใช้ประโยชน์จากอายุการใช้งานของเครื่องจักรอย่างคุ้มค่า ไม่ต้องเสียกำลังคนและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษา ข้อสังเกต เราไม่สามารถวางแผนและกำหนดเวลาในการซ่อมแซมหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนได้บางครั้งจำเป็นต้องรีบทำงานให้เสร็จจึงทำให้คุณภาพของการซ่อมแซมไม่ดีพอ โดยปกติเมื่อเกิดการเสียหายแล้วมักจะทำให้การเสียหายอย่างรุนแรงเป็นผลให้การซ่อมแซมหรือแก้ไขจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก มากไปกว่านั้นความเสียหายที่เกิดขึ้นอาจจะมีผลกระทบกับ ความปลอดภัย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม (ฉิ่นไพศาล, 2558; แสงธรรม, 2560; ยวงสุวรรณ, 2560)

11. มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง กำหนดมาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล พ.ศ. 2554

ข้อ 3 มาตรฐานอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ได้แก่ มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรฐานขององค์การมาตรฐานสากล (International Standardization and Organization: ISO) มาตรฐานสหภาพยุโรป (European Standards: EN) มาตรฐานประเทศออสเตรเลียและประเทศนิวซีแลนด์ (Australia Standards/New Zealand Standards: AS/NZS) มาตรฐานสถาบันมาตรฐานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (American National Standards Institute : ANSI) มาตรฐานอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (Japanese Industrial Standards: JIS) มาตรฐานสถาบันความปลอดภัยและอนามัยในการทำงานแห่งชาติประเทศสหรัฐอเมริกา (The national Institute for Occupational Safety and Health: NIOSH) มาตรฐานสำนักงานบริหารความปลอดภัย และอาชีวอนามัยแห่งชาติกรมแรงงาน ประเทศสหรัฐอเมริกา (Occupational Safety and Health Administration: OSHA)และมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association: NFPA)

12. พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554

หมวด 2 การบริหาร การจัดการ และการดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน

มาตรา 16 ให้นายจ้างจัดให้ผู้บริหาร หัวหน้างาน และลูกจ้างทุกคนได้รับการฝึกอบรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อให้บริหารจัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่นายจ้างรับลูกจ้างเข้าทำงาน เปลี่ยนงาน เปลี่ยนสถานที่ทำงาน หรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย จิตใจ หรือสุขภาพอนามัยให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมลูกจ้างทุกคนก่อนการเริ่มทำงานการฝึกอบรมตามวรรคหนึ่งและวรรคสองให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกำหนด

มาตรา 19 ในกรณีที่นายจ้างเช่าอาคาร สถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ หรือสิ่งอื่นใดที่นำมาใช้ในสถานประกอบกิจการ ให้นายจ้างมีอำนาจดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับอาคารสถานที่ เครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์หรือสิ่งอื่นใดที่เช่านั้นตามมาตรฐานที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 8


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือกและข้อสอบอัตนัย

18.2 การสอบปฏิบัติ

  



ยินดีต้อนรับ