หน่วยสมรรถนะ

หน่วยสมรรถนะ

จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรพื้นที่สีเขียวพิเศษ

สาขาวิชาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว


รายละเอียดหน่วยสมรรถนะ


1. รหัสหน่วยสมรรถนะ ECM-ELVT-114A

2. ชื่อหน่วยสมรรถนะ จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรพื้นที่สีเขียวพิเศษ

3. ทบทวนครั้งที่ 1 / 2564

4. สร้างใหม่ ปรับปรุง

5. สำหรับชื่ออาชีพและรหัสอาชีพ (Occupational Classification)

อาชีพเจ้าหน้าที่จัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรพื้นที่สีเขียว ระดับ 3

ISCO-08 รหัสอาชีพ 9214 คนงานปลูกพืชสวนและไม้ดอกไม้ประดับ

 



6. คำอธิบายหน่วยสมรรถนะ (Description of Unit of Competency)
หน่วยสมรรถนะนี้ประกอบไปด้วย การจัดเตรียมวัสดุและทรัพย์ากรที่ต้องใช้ในการจัดทำพื้นที่สีเขียวพิเศษ ที่เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ เช่น แหล่งทดลอง หรือแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร รวมถึงการขยายพืชพรรณไม้ต่างๆ  ผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพย์ากรต่างๆ ที่ต้องใช้ในการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ ตามที่กำหนด และการขยายพืชพรรณไม้ด้วยวิธีต่างๆ

7. สำหรับระดับคุณวุฒิ
1 2 3 4 5 6 7 8

8. กลุ่มอาชีพ (Sector)
ผู้ประกอบอาชีพธุรกิจจัดการพื้นที่สีเขียว 

9. ชื่ออาชีพและรหัสอาชีพอื่นที่หน่วยสมรรถนะนี้สามารถใช้ได้ (ถ้ามี)
N/A

10. ข้อกำหนดหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง (Licensing or Regulation Related) (ถ้ามี)
N/A

11. สมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน (Elements and Performance Criteria)
หน่วยสมรรถนะย่อย (EOC) เกณฑ์ในการปฏิบัติงาน (Performance Criteria) รหัส PC
(ตามเล่มมาตรฐาน)
รหัส PC
(จากระบบ)
03151 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ 1.1 จำแนกพืชพรรณไม้ตามวิธีการจำแนกแบบต่างๆ 155607
03151 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ 1.2 อธิบายการเลือกใช้พืชพรรณไม้ได้ 155608
03151 จัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ 1.3 จัดเตรียมพืชพรรณไม้เฉพาะสำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ 155609
03152 ขยายพันธุ์พืชพรรณไม้ด้วยวิธีต่างๆ 2.1 อธิบายวิธีการขยายพันธุ์พืชพรรณไม้ด้วยวิธีการต่างๆ 155610

12. ความรู้และทักษะก่อนหน้าที่จำเป็น (Pre-requisite Skill & Knowledge)
N/A

13. ทักษะและความรู้ที่ต้องการ (Required Skills and Knowledge)

(ก) ความต้องการด้านทักษะ

1. ความสำมารถในการวางแผนการดำเนินงาน

2. ความสำมารถในการจำแนกพืชพรรณไม้ การขยายพันธุ์ และการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับรูปแบบพื้นที่สีเขียวพิเศษ

 

(ข) ความต้องการด้านความรู้

1. ความรู้เกี่ยวกับพืชพรรณไม้ชนิดต่างๆ ที่ใช้กับรูปแบบพื้นที่สีเขียวพิเศษแต่ละแบบ

2. ความรู้เกี่ยวกับการขยายพันธุ์พืชพรรณไม้ด้วยวิธีการต่างๆ 

 


14. หลักฐานที่ต้องการ (Evidence Guide)

(ก) หลักฐานการปฏิบัติงาน (Performance Evidence)

1. แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และเอกสารที่เกี่ยวข้อง                        

2. หนังสือรับรองประสบการณ์การทำงาน จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ข) หลักฐานความรู้ (Knowledge Evidence)

1. ผลคะแนนสอบทั้งภาคความรู้และปฏิบัติ

2. หนังสือรับรองการผ่านการอบรมที่เกี่ยวกับงานในอาชีพ จากหน่วยงานที่เชื่อถือได้

(ค) คำแนะนำในการประเมิน

หลักฐานที่ต้องการเพื่อแสดงถึงสมรรถนะในส่วนนี้ ต้องมีความสำคัญและตอบสนองตามข้อกำหนดของสมรรถนะย่อยและเกณฑ์การปฏิบัติงาน โดยต้องแสดงถึง

1. ผู้ประเมินทำการประเมินความรู้ของผู้เข้าทดสอบตามแบบที่กำหนด

2. ผู้ประเมินทำการประเมินทักษะ วิธีการปฏิบัติงานในสถานที่ทำงานและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องของผู้เข้าทดสอบตามแบบที่กำหนด

(ง) วิธีการประเมิน

1. การประเมินผลความรู้โดยประเมินจากแบบทดสอบความรู้

2. การประเมินผลการปฏิบัติโดยใช้การประเมินจากแบบทดสอบการปฏิบัติงาน 

3. การประเมินผลโดยการพิจารณาจากแฟ้มสะสมผลงาน และการสัมภาษณ์


15. ขอบเขต (Range Statement)

(ก) คำแนะนำ

ผู้เข้ารับการประเมินต้องมีความรู้และทักษะในการจัดเตรียมวัสดุและทรัพยากรดังต่อไปนี้

1. การจำแนกพืชพรรณไม้ตามพื้นที่สีเขียวพิเศษและการเลือกใช้อย่างถูกต้อง

2. การขยายพันธุ์พืชพรรณไม้ด้วยวิธีต่างๆและการปฏิบัติการขยายพันธุ์

(ข) คำอธิบายรายละเอียด

1. การจัดเตรียมพืชพรรณไม้สำหรับการจัดพื้นที่สีเขียวพิเศษ คือ การจัดเตรียมพืชพรรณไม้ตามความต้องการ จำแนกประเภทของพืชพรรณไม้ได้อย่างถูกต้องตามรูปแบบพื้นที่สีเขียวพิเศษ แหล่งเรียนรู้ธรรมชาติได้แก่ แหล่งทดลอง หรือแหล่งเรียนรู้พืชสมุนไพร 

2. การขยายพันธุ์พืชพรรณไม้ด้วยวิธีการต่างๆ คือ การเพิ่มจำนวนพืชพรรณไม้ต่างๆ ให้มีจำนวนมากเพียงพอต่อความต้องการ โดยต้องยังคงลักษณะของพันธุ์ และคุณสมบัติเหมือนเดิม การขยายพันธ์พืชมี 2 แบบคือ การขยายพันธ์แบบอาศัยเพศ และแบบไม่อาศัยเพศ

3. การขยายพันธุ์พืชโดยใช้เพศ(Sexual Propagation) การขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ  หมายถึง  การใช้เมล็ดที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียแล้วนำไปเพาะปลูกขยายพันธุ์ต่อไปข้อดีและข้อเสียของการขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ  

ข้อดี

1) ทำได้ง่าย  สะดวก  รวดเร็วไม่ต้องใช้ความรู้ความชำนาญมากนัก

2) เป็นวิธีที่พืชบางชนิดสามารถขยายพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติ

3) สามารถทำได้เป็นจำนวนมากตามความต้องการ

4) เสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการขยายพันธุ์แบบอื่น ๆ

5) เมล็ดให้ความสะดวกในแง่การขนส่ง

6) สามารถเก็บรักษาไว้ได้นานพอสมควร

7) ต้นที่ได้จากการเพาะเมล็ดจะแข็งแรงทนต่อสภาพลมฟ้าอากาศ มีอายุยืนเพราะมีระบบรากลึก

ข้อเสีย

1) มีโอกาสกลายพันธุ์ได้ง่าย

2) ลำต้นสูงใหญ่มากทำให้ยากแก่การเก็บเกี่ยว และการดูแลรักษา

3) ต้นที่สูงมากๆ อาจถูกลมพัดทำให้ผมหลุดร่วงหรือกิ่งต้นหักโค่นได้ง่าย

4) พืชบางชนิดถ้าปลูกด้วยเมล็ดจะให้ผลช้ามาก เช่น มังคุด มะม่วง

5) ปลูกได้น้อยต้นในเนื้อที่ที่เท่ากัน  เมื่อเปรียบเทียบกับการปลูกด้วยกิ่งตอน

4. การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ (Asexual Propagation)การขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ  คือ การขยายพันธุ์พืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชเป็นการเพิ่มจำนวนต้นพืชจากส่วนต่างๆ ของลำต้น ที่ทำได้สำเร็จก็เพราะส่วนต่างๆ ของพืชสามารถสร้างส่วนที่ขาดขึ้นมาทดแทน เช่น ถ้าตัดกิ่งมาชำ กิ่งก็สามารถเกิดราก ถ้าตัดรากมาชำ รากก็สามารถเกิดต้นใหม่ได้ ถ้านำใบมาชำ ใบสามารถเกิดทั้งต้นและรากใหม่ นอกจากนี้เรายังสามารถนำกิ่งของต้นหนึ่งมาทาบบนกิ่งของต้นตอให้ต่อเป็นต้นเดียวกัน  หรือสามารถทาบกิ่งพันธุ์กับรากของต้นตอให้เป็นต้นใหม่ที่ท่อน้ำท่ออาหารต่อกันได้สนิท เช่น การตอน การปักชำ การติดตาต่อกิ่ง การทาบกิ่ง  โดยการขยายพันธุ์จากใบ กิ่ง รากของพืชการขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศมีวิธีการต่างๆ ดังนี้

4.1 การตอน หมายถึง การทำให้กิ่งพืชเกิดรากในขณะที่ยังติดอยู่กับต้นแม่เมื่อกิ่งออกรากดีแล้วก็ตัดไปชำก่อนปลูกหรือตัดปลูกเลย ต้นที่ปลูกและตั้งตัวได้แล้วจะกลายเป็นต้นพืชต้นใหม่ต่อไป

ข้อดีของการตอน

1. ให้พันธุ์เหมือนเดิม  นอกจากจะไปตอนส่วนของกิ่งที่แปรสภาพจากพันธุ์เดิม

2. การตอนจะทำให้จำนวนรากมากกว่าการปักชำ

3. กิ่งตอนมีขนาดใหญ่กว่ากิ่งปักชำ จึงเจริญเร็วกว่าให้ดอกและให้ผลดีกว่าเร็วกว่า

4. กิ่งตอนเมื่อนำไปปลูกมีเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่ากิ่งปักชำ

5. เป็นพุ่มเตี้ยสะดวกในการปฏิบัติงานต่างๆ เช่น การเก็บเกี่ยว การดูแลรักษา

6. กิ่งตอนมีระบบรากฝอย จึงแผ่กระจายด้านกว้างมากกว่าด้านลึก เหมาะที่จะนำไปปลูกในพื้นที่ที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง หรือดินล่างเป็นดินดาน

ข้อเสียของการตอน

1. กิ่งมีขนาดโต  การย้ายปลูกจึงทำได้ยากต้องเอาใจใส่มากขึ้น

2. จำนวนกิ่งที่ได้ต่อต้นน้อยกว่ากิ่งปักชำเพราะมีขนาดโตกว่ากิ่งปักชำ

3. ไม่มีรากแก้วทำให้ล้มได้ง่าย

4. กิ่งตอนมีวิธีการที่ยุ่งยาก ต้นพืชที่ได้กินเนื้อที่มากยากแก่การไถพรวนและกำจัดวัชพืช

5. เป็นวิธีการที่ค่อนข้างแพง ขยายงานใหญ่ไม่ได้ง่ายในเรือนเพาะชำ เพราะต้อใช้แรงงานมากการเอาใจใส่ก็มากด้วย

4.2 การปักชำ คือ  การทำให้ส่วนต่างๆ ของพืชออกรากและแตกยอดเป็นต้นใหม่  หลังจากที่ตัดออกมาจากต้นแม่แล้ว บางทีเรียกว่าการปักชำ แต่การตัดนั้นใช้ได้กับต้น  กิ่ง  ใบ  และราก  ส่วนการปักชำหมายถึงต้นและกิ่งที่นำมาปักเท่านั้นการปักชำเป็นวิธีที่นำยมกันแพร่หลายมาก โดยเฉพาะการขยายพันธุ์พืชพวกไม้ดอกไม้ประดับ ทั้งพวกผลัดใบและไม่ผลัดใบ ทั้งใบแคบและใบกว้าง ทำเป็นการค้าได้และสามารถทำได้กับไม้ผลบางชนิดที่ออกรากได้ง่าย เช่น องุ่น ชมพู่ ส้มบางชนิด

ข้อดีของการปักชำ

1) ต้นพืชที่ได้จะมีลักษณะเหมือนต้นแม่ทุกประการ ยกเว้นการปักชำรากของพืชบางชนิด

2) เป็นวิธีที่ง่ายไม่ยุ่งยากซับซ้อน

3) การทำเอทิโอเลท (Etiolation)  เช่น  การควั่นกิ่ง ปาดกิ่ง  บิดกิ่ง  และการบ่มกิ่งจะช่วยให้กิ่งตอนออกรากได้ดีขึ้น

4) การเลือกกิ่ง  กิ่งตอนควรสมบูรณ์และแสงแดดส่องถึง

5) ความชื้น  อุณหภูมิ  การถ่ายเทอากาศในขณะที่ตอนกิ่ง

6) อายุกิ่ง  กิ่งอ่อนออกรากดีกว่ากิ่งแก่

4.3 การติดตาต่อกิ่ง  หมายถึง  ศิลปะในการเชื่อมหรือประสานส่วนของพืชเข้าด้วยกันเชื่อมติดกัน  และเจริญเติบโตเป็นต้นเดียวกันประโยชน์ของการติดตาต่อกิ่งคือ สามารถขยายพันธุ์พืชที่ไม่สามารถขยายพันธุ์โดยการไม่ใช้เพศแบบอื่นได้  เช่น  ขนุน  มะม่วง  พุทรา  เป็นต้น และยังเป็นประโยชน์ในการเปลี่ยนยอดพันธุ์เดิมที่ปลูกอยู่นานแล้ว สามารถเร่งการเจริญเติบโตทำให้พืชออกดอกผลเร็วกว่าการเพาะเมล็ด และพืชเจริญเติบโตแข็งแรงดี  เพราะต้นตอมีระบบรากที่ดีการปักชำหรือตอน

4.4 การทาบกิ่ง หมายถึง  การนำต้นพืช 2 ต้น  ซึ่งต่างก็ยังมีรากและยอดด้วยกันมาทำให้เชื่อมประสานติดเป็นเนื้อเดียวกัน  กิ่งพันธุ์ดีที่ใช้ทาบกับต้นตอนั้นควรจะมีขนาดเท่าๆ กับต้นตอหรือจะใหญ่กว่ากันบ้างก็ได้  ถ้ากิ่งพันธุ์มีขนาดใหญ่กว่าต้นตอมากๆ ควรใช้ต้นตอทาบให้มากกว่า 1 ต้น กิ่งพันธุ์ดีนี้จะต้องเป็นกิ่งพันธุ์ที่ต้องการ  จึงควรเป็นต้นพันธุ์ที่ทราบคุณภาพแน่นอนแล้วว่าเป็นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตตามที่ต้องการจริงๆ  จึงจะทาบกิ่งมาปลูก  ข้อสำคัญจะต้องเป็นพืชในตระกูลเดียวกัน  หลังจากที่ทำการทาบกิ่งพันธุ์ดีกับต้นตอจนแผลเชื่อมกันดีแล้ว จะตัดกิ่งทาบออกจากต้นแม่  ในกรณีที่ทาบแบบประกับจะต้องตัดยอดต้นตอเหนือรอยต่อออกทิ้งไป  เหลือเฉพาะส่วนของกิ่งพันธุ์ดีเท่านั้น

 


16. หน่วยสมรรถนะร่วม (ถ้ามี)
N/A

17. อุตสาหกรรมร่วม/กลุ่มอาชีพร่วม (ถ้ามี)
N/A

18. รายละเอียดกระบวนการและวิธีการประเมิน (Assessment Description and Procedure)

เครื่องมือในการประเมินให้ดูจากคู่มือการประเมิน ซึ่งประกอบด้วย

18.1 การประเมินความรู้ด้วยข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก

18.2 การสอบปฏิบัติ

18.3 การสอบสัมภาษณ์

18.4 รายละเอียดกระบวนการประเมิน เครื่องมือและเกณฑ์การประเมินอยู่ในคู่มือการประเมินสมรรถนะ

 



ยินดีต้อนรับ